บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีสมโภชพระนครใหม่  คือ กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ – ๒๓๒๙ เนื้อเรื่องประกอบด้วยเรื่องราวน่ารู้ต่างๆ เริ่มด้วยหิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน และกำเนิดตัวละครสำคัญๆทั้งฝ่ายยักษ์ ลิง และมนุษย์ แล้วจึงดำเนินเรื่องการสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ซึ่งต้องสู้รบกันหลายครั้งกว่าจะได้ชัยชนะเด็ดขาด   ประกอบด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นและเรื่องแทรกที่สนุกสนานบันเทิง เสริมด้วยอารมณ์ขัน ทำให้เรื่องราวมีสีสันเหมาะสมกับการแสดงละคร ทั้งยังให้คติธรรมที่ว่า ธรรมย่อมชนะอธรรม และยกย่องความซื่อสัตย์ ความกตัญญู บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากคนไทยทุกยุคทุกสมัย

ตัวอย่าง จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณลับหอกโมกขศักดิ์ บอกชื่อเพลงโอด ดังนี้

ฯ๒คำฯ โอด
     เมื่อนั้น                       ทศเศียรสุริยวงศ์รังสรรค์
เห็นน้องท้าวเจ็บปวดจาบัลย์   กุมภัณฑ์ตระหนกตกใจ
จึ่งมีพระราชบัญชา            เจ้าผู้ฤทธาแผ่นดินไหว
ออกไปรณรงค์ด้วยพวกภัย       เหตุใดจึ่งเป็นดั่งนี้ฯ

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
เรื่องรามเกียรติ์ในการแสดงโขน และในจิตรกรรมฝาผนัง
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
บทละคร
ใช้เป็นบทประกอบการแสดงละคร ประกอบด้วยบทสนทนาที่ดำเนินไปตามท้องเรื่องและรูปแบบของการแสดงไทยมีละครหลายชนิดทั้งละครร้อง ละครรำ ละครใน ละครนอก โขน  หนังตะลุง ลิเก ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีละครพูด ดังนั้น จึงยังไม่แบ่งเนื้อเรื่องเป็นฉากไม่มีการกล่าวถึงฉากและการจัดฉากให้เห็นจริงเดิมละครไทยจะแสดงเฉพาะบางตอนเท่านั้น ไม่ได้แสดงตลอดทั้งเรื่อง เช่น เรื่องรามเกียรติ์ตอนสีดาหาย ตอนหนุมานจองถนน เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ตอนอิเหนาเผาเมือง ตอนอิเหนาตามบุษบา เป็นต้น จนกระทั่งไทยได้แบบอย่างจากตะวันตก จึงมีการปรับปรุงละครไทยขึ้นใหม่หลายรูปแบบ และเรียกชื่อต่างๆกัน เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์   ละครร้องล้วนๆ ละครสังคีต ละครพูด

นอกจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ แล้ว ยังมีบทละครที่เป็นวรรณคดีมรดกที่มีคุณค่าอีกมาก เช่น  บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
ลิเก
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
เป็นบทละครที่มีคุณค่าสมควรรักษาไว้เป็นมรดกไทย ประกอบด้วยศิลปะในการแต่งที่ประณีต บทละครมีขนาดกะทัดรัด รักษาขนบในการชมเมืองที่ได้แบบอย่างจากเรื่องรามเกียรติ์และเน้น องค์ห้าของละครดี จนกลายเป็นแบบ แผนของการแต่งบทละครในสมัยหลัง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงยกย่องว่าบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนี้ เป็นบทละครที่ครบองค์ห้าของละครดี คือ
๑. ตัวละครงาม (หมายถึง เครื่องแต่งตัวหรือรูปร่าง)
๒. รำงาม
๓. ร้องเพราะ
๔. พิณพาทย์เพราะ
๕. กลอนเพราะ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (ครองราชย์ปี พ.ศ ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗) เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณความดีทั้งในด้านการปกครอง การสาธารณสุขและศิลปวัฒนธรรมหลายด้าน เช่น ด้านสถาปัตยกรรม ดนตรี วรรณคดี และการละคร

เนื้อเรื่องของบทละครเรื่องอิเหนามาจากพงศาวดารชวา กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวัญสื่อองค์ซึ่งเป็นพี่น้องกัน และครองนคร ๔ นคร คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาแห่งเมืองกุเปันได้หมั้นหมายกับบุษบาราชธิดาเมืองดาหา ต่อมาได้พบกับจินตะหราก็หลงรักเมื่อถูกบังคับให้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับบุษบา จึงลอบหนีออกจากเมืองไปหาจินตะหรา จนกระทั่งเมื่ออิเหนาไปช่วยท้าวดาหารบกับท้าวกะหมังกุหนิงและได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำอุบายเผาเมืองดาหา แล้วลักพาบุษบาไป ท้าวอสัญแดหวาโกธรแค้นในการกระทำอันมิชอบของอิเหนา จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปตกที่แคว้นปะมอตันอิเหนาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายระหว่างตามหาบุษบา จนกระทั่งได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส เรื่องจึงจบลงด้วยความสุข

คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำและทำนองเพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถกำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน การดำเนินเรื่อง การแต่งบทร้อง ความยาวของบทเข้ากับลีลาท่ารำ นับเป็นศิลปะการแสดงที่ประณีต งดงามยิ่งของละครไทย

ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่แสดงให้เห็นลักษณะอาการของตัวละครเมื่อเสียใจ หรือผิดหวัง

ฯ๑๐คำฯ

(ร่าย)เมื่อนั้น                     โฉมยงองค์ระเด่นจินตะหรา
ค้อนให้ไม่แลดูสารา             กัลยาคั่งแค้นแน่นใจ
แล้วว่าอนิจจาความรัก          พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป   ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน           ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา         จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก           เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อฦาชั่วไปทั่วทิศ      เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร
เสียแรงหวังฝังฝากชีวี          พระจะมีเมตตาก็หาไม่

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
จินตนาการจากเรื่อง อิเหนา ตอนบุษบาชมสวน ภาพเขียนโดย นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
เสภาเป็นบทกลอนชนิดหนึ่งใช้ขับเพื่อความบันเทิง ได้รับความนิยมในหมู่นักเลงกลอนตั้งแต่สมัยอยุธยา และกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งใน สมัยรัชกาลที่ ๒ และ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้แต่งเสภามักจะเลือกหานิทานนิยายเรื่องเล่าที่ตน เคยรู้จัก มาแต่งเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนจึงมีผู้แต่งหลายคน ใครพอใจจะขับเสภาตอนในก็แต่งขึ้นเองเฉพาะตอนที่ตนขับ   ดังนั้น บางตอนจึงมีผู้แต่งหลายคน แต่ละคนจะมีสำนวนเฉพาะตน และมีรายละเอียดแตกต่างกัน เมื่อมีการรวบรวมบทเสภาเป็นเรื่องเดียว จึงต้องมีการตรวจสอบชำระ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นประธานชำระเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้ทรงวินิจฉัยเกี่ยวกับผู้แต่งด้วย ปรากฏว่า มีผู้แต่ง    หลายคน เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   สุนทรภู่ ครูแจ้ง และยังไม่ทราบนามผู้แต่งบทเก่าอีกหลายตอน

บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นบทร้อยกรองที่มีความยาวมาก แต่งเป็นบทกลอนซึ่งมีแบบแผนฉันทลักษณ์เหมือนกลอนสุภาพ แต่เมื่อขึ้นต้นตอนใหม่ หรือกล่าวถึงบุคคลใหม่ จะใช้คำขึ้นต้นว่า “ครานั้น” เช่น

ครานั้นจึงโฉมเจ้าเณรแก้ว
เย็นแล้วจะไปเทศน์ก็ผลัดผ้า
ห่มดองครองแนบกับกายา
แล้วไปวันทาท่านขรัวมี

          บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน บางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์บ้าง แต่มิได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์  นับได้ว่าเป็นเรื่องราวของคนไทยแท้ ๆ โดยมิได้ดัดแปลงจากวรรณกรรมของชาติอื่น ตัวละครในเรื่องมีชีวิตจิตใจราวกับคนจริงๆ ที่มีชีวิตอย่างคนธรรมดาซึ่งมีทั้งทุกข์และสุข ความสมหวัง และความผิดหวัง แก่นสำคัญของเรื่องกล่าวถึงรักสามเส้าของขุนแผน ขุนช้าง และนางพิมหรือนางวันทองการดำเนินเรื่องเริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กของตัวละครเอกทั้งสาม ความสมหวังในรักของขุนแผนหรือพลายแก้วกับนางพิม แล้วกลายเป็นการพลัดพรากจากกัน ไปสู่ความสมหวังในรักของขุนช้างที่มีต่อนางพิม เกิดการแย่งชิงความรักกันระหว่างขุนช้างกับขุนแผน การดำเนินเรื่องจะมีการแทรกเรื่องย่อยที่สนุกสนานตื่นเต้นสลับกับความเศร้ารันทด ขณะเดียวกัน ผู้อ่านผู้ฟังเสภาเรื่องนี้จะได้รับสารประโยชน์เกี่ยวกับค่านิยมของคนไทยในด้านไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ประเพณีต่างๆ ลักษณะของชีวิตความเป็นอยู่สำนวนภาษา คำคมที่จับใจ และสุภาษิต การใช้ภาษาในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นตัวอย่างที่คนไทยยึดถือและจดจำได้อย่างขึ้นใจ

ตัวอย่างโวหารแสดงความรัก จากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนเดินทางไปกับวันทองในป่า ขุนแผนกล่าวย้ำความรักที่มีต่อวันทอง ดังนี้

 “…โอ้แสนสุดสวาทของพี่เอ๋ย
อย่าคิดเลยพี่หาเป็นเช่นนั้นไม่
อันตัวเจ้าท่าเทียมกับดวงใจ
สิ้นสงสัยแล้วเจ้าอย่าเสียดแทง
พี่รักเจ้าเท่ากับเมื่อแรกรัก
ด้วยประจักษ์เห็นใจไม่กินแหนง…”

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
จินตนาการจากเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอนนางพิมสั่งเรือน ภาพเขียนโดย นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
ลิลิตตะเลงพ่าย
เป็นวรรณคดีไทยที่แต่งด้วยถ้อยคำไพเราะและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะกวีได้ตอบสนองรสนิยมของคนไทย ที่มีจิตใจละเอียดอ่อน ชอบวรรณศิลป์ ชอบใช้ถ้อยคำที่คล้องจอง คมคาย และชวนคิด ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นหนังสือที่มีศิลปะการใช้ภาษาที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแต่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติความดีเด่นของลิลิตตะเลงพ่ายคือ การเล่นคำและการใช้โวหารอุปมาอุปไมย เพื่อให้เกิดภาพพจน์ จินตนาการ และสะเทือนอารมณ์ กวีได้สอดแทรกความรู้ต่างๆมากมาย เช่น การจัดกระบวนทัพของไทยสมัยอยุธยา และยุทธศาสตร์แต่ไม่เคร่งครัดในด้านภูมิศาสตร์ นอกจากนี้กวียังได้นำชื่อนกและชื่อต้นไม้มาใช้ในบทครวญถึงนางตามแบบอย่างลิลิตยวนพ่าย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (พ.ศ. ๒๓๓๓ – ๒๓๙๖) ผู้ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ และทรงครองเพศสมณะจนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริง  แม้จะทรงมีพระภารกิจด้านศาสนาอยู่มาก แต่ก็ทรงศึกษาหนังสือทั้งด้านศาสนา นิติศาสตร์  โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จึงทรงพระนิพนธ์หนังสือได้มากมาย ทางด้านวรรณคดี ทรงมีฝีมือเป็นเลิศในการแต่ง โคลง ฉันท์ และลิลิต

เนื้อเรื่องของลิลิตตะเลงพ่าย ได้เค้าเรื่องมาจากพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  กล่าวถึงการเสด็จเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา และมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จไปตีเขมร เพื่อเป็นการแก้แค้นเขมรที่ยกทัพมาตีชายแดนไทย ต่อจากนั้น เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระเจ้าหงสาวดีโปรดให้พระมหาอุปราชากรีฑาทัพมาตีไทย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ยกทัพเสด็จออกไปทำศึกนอกพระนครระหว่างที่ทัพพม่าปะทะกับทัพหน้าของไทย ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร และของสมเด็จพระเอกาทศรถตกมันวิ่งเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง สมเด็จพระนเรศวรทรงระงับความตกพระทัย และตรัสท้าพระมหาอุปราชากระทำสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงได้รับชัยชนะ เมื่อเลิกทัพกลับพระนคร สมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จรางวัลแก่ทหารผู้มีความชอบ และลงโทษประหารทหารที่ติดตามพระองค์ไม่ทัน ทั้งนี้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วได้กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ทหารเหล่านั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงยินยอมและโปรดให้ไปทำสงครามแก้ตัว หลังจากนั้นทรงดำเนินพระราชกรณียกิจต่อ ด้วยการทำนุบำรุงหัวเมืองเหนือ และรับทูตจากเมืองเชียงใหม่ที่มาขอเป็นเมืองขึ้น

          ตัวอย่าง โวหารแสดงความโกรธจากลิลิต ตะเลงพ่าย ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปรารภเรื่องที่จะไปปราบเขมร เนื่องจากเขมรมักจะยกทัพมาตีไทยระหว่างที่ไทยมีศึกกับพม่าทรงรู้สึกโกรธและเจ็บช้ำพระทัย ทำให้คิดอะไรก็
หมดความรื่นรมย์ จึงต้องยกทัพไปปราบให้หายแค้น ดังนี้

     “…คลุ้มกมลแค้นคั่ง ดังหนามเหน็บเจ็บช้ำ ย้ำ
ยอกทรวงดวงแด แลบชื่นอื่นชม…”
“…ครานี้กูสองตน ผ่านสกลแผ่นหล้า ควรไป
ร้ารอนเข็น เห็นมือไทยที่แกล้ว แผ้วภพให้เป็น
เผื่อน เกลื่อนภพให้เป็นพง…”

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งเมืองหงสาวดี ภาพสีฝุ่น พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยหลวงพิษณุกรรม (เล็ก) ที่มา : พระที่นั่งวโรภาษพิมานพระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธย
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
สามก๊ก
หนังสือเรื่องสามก๊กได้รับยกย่องให้เป็นยอดแห่งวรรณกรรมประเภทร้อยแก้วของไทย

กล่าวกันว่า เรื่องสามก๊กแต่เดิมเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟังในประเทศจีน ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๔๔๙) พวกงิ้วได้นำเรื่องสามก๊กมาแสดง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๐ – ๑๙๐๐    ตรงกับสมัยสุโขทัย) และสมัยราชวงศ์ไต้เหม็ง  (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๖) ได้มีการแต่งหนังสือโดยใช้เรื่องพงศาวดารเป็นหลัก นักเขียนผู้หนึ่งชื่อล่อกวนตง ชาวเมืองฮั่งจิ๋ว ได้นำเรื่องสามก๊กมาเขียนใหม่ เรียกว่า “สามก๊กจี่” มีความยาว  ๑๒๐ ตอน ต่อมานักปราชญ์อีก ๒ ท่าน คือ เม่าจงกังกับกิมเสี่ยถ่าง ได้ช่วยกันแต่งคำอธิบายเพิ่มเติมและพิมพ์เรื่องสามก๊กขึ้น เรื่องสามก๊กจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็วภายในประเทศจีน ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆรวมทั้งภาษาไทย ซึ่งเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้เป็นผู้อำนวยการการแปล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕

การแปลหนังสือสามก๊กใช้วิธีแปลสองชั้น ชั้นแรก ผู้รู้ภาษาจีนอย่างดีแต่รู้ภาษาไทยเพียงปานกลางได้อย่างต้นฉบับภาษาจีนแล้วถ่ายทอดเป็นภาษาไทย ชั้นที่สองผู้รู้ภาษาไทยอย่างดีได้นำฉบับที่ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้วมาเขียนเป็น  ความเรียง ใช้ภาษาไทยแบบที่คนไทยใช้กันจริงๆ  ยกเว้นเฉพาะชื่อที่เป็นภาษาจีน ดังนั้น ภาษาแปลที่ใช้ในหนังสือสามก๊กจึงเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์จนเป็นแบบอย่างของการบรรยายและพรรณนาที่ให้ภาพที่เด่นชัดแก่ผู้อ่าน และให้ความประทับใจจนมีผู้นำไปใช้ตาม เช่น สำนวนที่ว่า “ว่าแล้วก็ให้จัดโต๊ะสุราอาหารออกมาเลี้ยงกัน” เป็นต้น

เนื้อเรื่องของสามก๊ก กล่าวถึงการทำสงครามชิงชัยกันระหว่างโจโฉ เล่าปี่ และซุ่นกวนเริ่มเรื่องตั้งแต่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นอ่อนแอ อำนาจจึงตกอยู่กับขุนนางกังฉิน ทำให้เกิดความระส่ำระสายแตกแยก ต่างรบพุ่งเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน   จนเหลือ ๓ ก๊กใหญ่ คือ วุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก ต่างมีอาณาเขตเป็นอิสระ ภายหลังก๊กทั้งสามเสื่อมอำนาจลง มีผู้ตั้งราชวงศ์ใหม่ แผ่นดินจีนจึงกลับรวมกันเป็นอาณาจักรเดียว

อันที่จริงการแบ่งแยกอาณาเขตและการแย่งชิงอำนาจกันในจีนเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งใดน่าพิศวงเหมือนครั้งสามก๊ก เพราะแต่ละก๊กใช้อุบายต่างๆ เพื่อเอาชนะกัน ทั้งอุบายทางการเมืองการปกครอง และกลยุทธ์ ขณะเดียวกันก็ให้ บทเรียนคติธรรมในการดำเนินชีวิต และการทำงานตัวละครสำคัญในเรื่องมีบทบาทและพฤติกรรมที่เหมือนจริง ซึ่งมีทั้งดีและเลวปะปนกัน

การแปลเรื่องสามก๊กเป็นจุดเริ่มต้นของการแปลเรื่องจีนอื่นๆในสมัยต่อมา เช่น เรื่องไซ่ฮั่น ซ้องกั๋ง เป็นต้น

ตัวอย่าง การบรรยายลักษณะของเล่าปี่
          “…แลเมืองตุ้นก้วนมีชายคนหนึ่งชื่อเล่าปี่เมื่อน้อยชื่อเหี้ยนเต๊ก ก็ไม่สู้รักเรียนหนังสือ แต่มีน้ำใจนั้นดี ความโกรธความยินดีมิได้ปรากฏออกมาภายนอก ใจนั้นอารีย์นักมีเพื่อนฝูงมากใจกว้างขวาง หมายจะเป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวงกอปด้วยลักษณะรูปใหญ่สมบูรณ์ สูงประมาณห้าศอกเศษ หูยานถึงบ่า มือยาวถึงเข่า หน้าขาวดังสีหยก ฝีปากแดงดังชาดแต้มจักษุชำเลืองไปเห็นหู…”

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
ตัวเอกในสามก๊ก : ขงเบ้ง : ภาพหุ่นกระบอกทั้งหมดเป็นของ นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
พระราชพิธีสิบสองเดือน
หนังสือเรื่องนี้ได้รับการยกย่องจากวรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ว่าเป็นยอดของความเรียงอธิบาย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ลงพิมพ์ในนิตยสารวชิรญาณรายสัปดาห์ก่อน แล้วจึงรวมพิมพ์เป็นเล่มภายหลัง

เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชพิธีต่างๆที่กระทำในแต่ละเดือนตลอดทั้งปี ทรงอธิบายตำราเดิมของพระราชพิธี การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเลิกพิธี เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชพิธีตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ยกเว้น พิธี เดือน ๑๑ ที่มิได้รวมไว้ ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งจากตำราและจากคำบอกเล่าของบุคคล เช่น  พระมหาราชครู พราหมณ์ผู้ทำพิธี และจากการสังเกตเหตุการณ์ที่ทรงคุ้นเคย นับได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าทางด้านสังคมศาสตร์ ทรงใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และเขียนอธิบายตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เหมาะสมกับการเป็นคำอธิบายชี้แจงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ

          ตัวอย่าง พระราชพิธีลอยพระประทีป

    “การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็น
นักขัตฤกษ์ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทั่วไป ไม่
เฉพาะแต่การหลวง แต่จะนับว่าเป็นพระราชพิธี
อย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์
อันใดเกี่ยวข้องเนื่องในการลอยพระประทีปนั้น
เว้นไว้แต่จะเข้าใจว่า ตรงกับคำว่าลอยโคมลงน้ำ
เช่นกล่าวมาแล้ว แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี
ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ…”

[กลับหัวข้อหลัก]

บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
ประเพณีลอยกระทง จากจิตรกรรมฝาผนังวัดราชประดิษฐาราม กรุงเทพฯ
บทละคร รามเกียรติ์เป็น ภูมิปัญญา ด้าน ใด
นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี
นิทานคำกลอนได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรื่องจักรๆวงศ์ๆ หรือนิทานประโลมโลก คำว่า  “จักร” และ “วงศ์” เป็นคำประกอบชื่อตัวเอกของเรื่อง เช่น จักรแก้ว ลักษณวงศ์ สุวรรณวงศ์ซึ่งมีความหมายแสดงถึงความมีค่าหรือของสูงตรงกับรสนิยมของคนไทย แต่ก่อนนิทานคำกลอนแต่งด้วยกาพย์และกลอนสวดคละกัน เริ่มนิยมแต่งเป็นคำกลอนในสมัยรัชกาลที่ ๓ มาจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี

เนื้อเรื่องของนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีกล่าวถึงเรื่องราวชีวิตและการผจญภัยที่สนุกสนาน ตื่นเต้น มีทั้งสุขและทุกข์ของตัวเอก คือ พระอภัยมณี ซึ่งมีลักษณะที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากตัวเอกในเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยเคยได้ยินได้ฟัง เช่น พระอภัยมณีเดินทางเข้าป่าเพื่อศึกษาหาความรู้เยี่ยงกษัตริย์ในสมัยนั้น แต่มิได้เรียนวิชาศิลปศาสตร์ กลับเรียนวิชาเป่าปีซึ่งสามารถสะกดคนฟังให้หลับได้ ศรีสุวรรณซึ่งเป็นพระอนุชาของพระอภัยมณีก็เลือกเรียนวิชากระบี่กระบอง การผจญภัยที่ตื่นเต้นของพระอภัยมณี เริ่มด้วยพระอภัยมณีถูกนางผีเสื้อสมุทรลักพาไปอยู่กินกับนางในถ้ำใต้น้ำ จนกระทั่งนางได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อ สินสมุทร ซึ่งมีฤทธิ์และความสามารถเหนือมนุษย์ธรรมดา สามารถพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรไปสู่อิสรภาพได้ขณะว่ายน้ำหนี ได้มีครอบครัวเงือกช่วยพาไปยังเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยมณีได้เงือกสาวเป็นชายา และมีบุตรชายชื่อ สุดสาคร การผจญภัยของพระอภัยมณีครั้งต่อไปเป็นการสู้รบกับอุศเรนคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี พอได้รับชัยชนะก็เดินทางไปยังเมืองผลึก และอภิเษกสมรสกับนางสุวรรณมาลี นางละเวงขึ้นครองเมืองลังกาและคิดทำศึกกับเมืองผลึก นางใช้ไสยศาสตร์เป็นอาวุธทำให้พระอภัยมณีคลุ้มคลั่ง และถูกนางละเวงหลอกไปจนถึงเมืองลังกา ต่อมา พระอภัยมณีเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตทางโลก จึงออกบวชเป็นฤาษี นางสุวรรณมาลีกับนางละเวงก็ออกบวชเป็นชี ส่วนสินสมุทรได้ครองเมืองผลึก และสุดสาครได้ครองเมืองลังกา เรื่องก็จบลงด้วยความสุขตามแบบฉบับของวรรณกรรมนิทาน

ความแปลกใหม่และความสนุกสนานที่ได้รับทำให้นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีเป็นที่ติดใจผู้อ่านผู้ฟังอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดจินตนาการที่น่าตื่นเต้นระทึกใจ เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การผูกสำเภายนต์ การสร้างตัวละครที่มีลักษณะครึ่งสัตว์ครึ่งมนุษย์ การใช้เวทมนตร์คาถา เป็นต้น ทำให้นิทานคำกลอนมีหลายรส ขณะเดียวกัน สุนทรภู่ กวีผู้แต่งนิทานคำกลอนได้แทรกคติชีวิตได้ทุกตอนอย่างเหมาะสม เช่น สอนให้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา และสอนให้หยั่งรู้ถึงธรรมชาติจิตใจคน ปรากฏในตอนที่สุดสาครถูกผลักตกเหว เพราะหลงเชื่อชีเปลือย ซึ่งเป็นคนแปลกหน้า ดังนี้

“…แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล

           คุณค่าเด่นด้านอื่นๆของนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีคือ ให้ความรู้และขยายโลกทัศน์เกี่ยวกับสงคราม ทั้งสงครามที่สู้กันด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ และการใช้เสียงปี่ ซึ่งตีความว่าคือ เสียงสื่อสารมวลชน หรือการใช้ข่าวเป็นอาวุธ ทำลายฝ่ายตรงข้าม ดังที่ปรากฏในสมัยสงครามโลกและแม้จะไม่มีสงครามแล้ว ข่าวก็ยังเป็นอาวุธที่ใช้ทำลายล้างกันได้

วรรณคดีมรดกไทยเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ เพราะมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ให้ความรู้รอบตัว และความรู้ที่เป็นศาสตร์ ดังนั้น จึงมีผู้นิยมศึกษาวรรณคดีเพื่อเป็นภูมิความรู้ประดับตน

นอกจากนี้ วรรรณคดีไทยยังเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่มหลายยุคสมัย ทำให้คนรุ่นหลังเข้าใจและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรม ซึ่งบ่งชี้ถึงความเจริญของชนชาติไทยทั้งทางด้านภาษาและศิลปะ ดังนั้น การรู้จักวรรณคดีไทยด้วยการอ่านและศึกษาจึงนำคุณประโยชน์มาสู่ตนเองและ

รามเกียรติ์จัดเป็นละครประเภทใด

รามเกียรติ์ (ละครโทรทัศน์).

รามเกียรติ์ มีความสําคัญอย่างไร

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีความสําคัญเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ทางการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะเป็น “พระนารายณ์อวตาร” พระรามซึ่งเป็น “พระนารายณ์อวตาร” จึงมีความหมายพิเศษยิ่งกว่าความเป็นวีรบุรุษในตํานานนิทานหรือกษัตริย์ผู้ประเสริฐเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งหมายถึง “พระมหากษัตริย์ ...

รามเกียรติ์เกี่ยวข้องกับภาคใด

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะพ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ ...

จุดประสงค์ของการแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ คืออะไร

จุดประสงค์ของรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชกรมศิลปากร (2549, น.6) ว่า “เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระองค์เอง ตามประเพณีนิยมที่ ถือเอาความเจริญทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องวัดความมั่นคงของแผ่นดินในขณะนั้น” การเฉลิมพระ เกียรติโดยใช้วรรณคดีเป็นเครื่องมือนั้นถือเป็นขนบการยอพระเกียรติมาตั้งแต่สมัย ...