ลักษณะงานส่วนหน้าบ้านคืองานในตำแหน่งใดบ้าง

งานโรงแรมมีตำแหน่งอะไรบ้าง

April 3, 2020 Articles 7,164 Views

ธุรกิจโรงแรม เป็นธุรกิจบริการที่มีตำแหน่งงานหลากหลาย ซึ่งคุณสามารถหางานได้หลากหลายตำแหน่ง ในหลายแผนก ช่องทางหงานก็ไม่ยาก คุณสามารถหางานจากทางออนไลน์  Jobnsure มีงานโรงแรม มากมายหลายตำแหน่ง อัพเดททุกวัน มาให้คุณค้นหาและสมัคร แต่ก่อนที่คุณจะกดสมัครงาน มาเรียนรู้แผนกงานต่างๆ ตำแหน่งงานโรงแรมต่างๆ กันครับ

  • แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)
  • แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)
  • แผนกครัว (Chef)
  • แผนกบัญชี (Accounting)
  • แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)

แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)

แผนกต้อนรับส่วนหน้าเป็นแผนกที่ทุกโรงแรมต้องมี เมื่อมีแขกเข้ามาในโรงแรม ก็ต้องเดินมาที่เคาเตอร์แผนกต้อนรับก่อนเสมอ พนักงานต้อนรับมีหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก และขอให้แขกลงทะเบียน และชำระค่าห้องพัก แผนกต้อนรับ หรือสำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรม และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ในโรงแรมเพื่อช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ เมื่อแขกเรียกร้อง แผนกต้อนรับส่วนหน้าแบ่งออกเป็นหน่ยงานย่อยๆ ดังนี้

  1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
  2. พนักงานต้อนรับ (Reception)
  3. พนักงานสัมภาระ (Hall Porter)
  4. พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter)
  5. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator)
  6. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
  7. พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นตรงกับผู้จัดการใหญ่ (General Manager) แต่บางโรงแรมก็ขึ้นตรงกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House Manager) ในแผนกแม่บ้านจะมี หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) ทำหน้าที่คอยดูแลตรวจตราการทำงานของผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper) ซึ่งปกติจะมีประมาณ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด ในการทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าที่เกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย(ให้เช่า) ได้ อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและบริเวนอื่นในโรงแรม

แผนกครัว (Kitchen)

ในโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีห้องอาหารหลายห้องและบาร์เครื่องดื่มอยู่หลายจุด มักจะมีตำแหน่งและบุคคลที่มีหน้าที่ ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำงานประสานกับหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด

หน้าที่งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้องกุ๊กทำงานอะไรบ้าง แผนกครัว แบ่งย่อยเป็นแผนกต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager)
  2. กุ๊กใหญ่ หรือ หัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
  3. รองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (Second Chef or Sous Chef)
  4. หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
  5. ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef)
  6. กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)
  7. พนักงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant)

แผนกบัญชี (Accounting)

แผนกบัญชี (Accounting) เป็นแผนกที่บริษัทไหนก็ต้องมี และต้องเน้นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนักงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจในลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี และทำความคุ้นเคยกับลักษณะการดำเนินงานของโรงแรมอีกด้วย เช่น การควบคุมด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบัญชีที่ดีนั้นไม่ควรจำกันความสามารถ หรือหน้าที่เพียงการรวบรวมตัวเลขทางการเงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจและตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดเป็นตัวชี้ว่าเกิดปัญหาอะไร ขึ้น ตรงไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ แต่ในบางโรงแรม เวลาผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินมักจะเป็นผู้รักษาการแทน

แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)

ตามโรงแรมใหญ่ ๆ มักจะมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการเป็นผู้ดูแลการขายและการตลาดโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้จัดการแผนกขาย/การตลาด และทีมงาน ซึ่งมีงานหลัก ๆ ในการติดต่อกับลูกค้าที่จองเป็นกลุ่ม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Group Bookings หรือที่ติดต่อมาเพื่อจัดประชุมหรือจัดงานเลี้ยงที่โรงแรม นอกจากนั้น แผนกขายจะทำหน้าที่ติดต่อกับบริษัททัวร์และบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว รวมถึงการติดต่อกับบุคคลที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของโรงแรม โดยไปหาด้วยตนเอง หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย ส่วนแผนกการตลาดจะทำหน้าที่วางแผน และส่งเสริมงานขายด้วยวิธีส่งเอกสารถึงลูกค้าทางไปรษณีย์ (Direct mail selling) เช่น ส่งแผ่นพับโฆษราและเอกสารส่งเสริมการขายไปยังลูกค้า และการทำงานโฆษณาด้วย

ลักษณะงานส่วนหน้าบ้านคืองานในตำแหน่งใดบ้าง

ตำแหน่งใดอยู่ในส่วน front of the House

Front of House หรือ ส่วนหน้าบ้าน คือพื้นที่ทั้งหมดที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับทางร้านอาหาร ได้แก่ บริเวณที่ลูกค้าสั่งและทานอาหาร รวมถึงส่วนที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จุดที่พนักงานยืนรอให้บริการ พื้นที่รับรองลูกค้า

แผนกงานส่วนหน้ามีตำแหน่งอะไรบ้าง

1. Front Office Manager (ผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า) ... .
2. Bell Boy (พนักงานยกกระเป๋า) ... .
3. Cashier (พนักงานเก็บเงิน) ... .
4. Door Attendant (พนักงานเปิดประตู) ... .
5. Night Audit (ผู้ตรวจสอบกลางคืน) ... .
6. Receptionist (พนักงานต้อนรับ) ... .
7. Reservation Agent (พนักงานสำรองห้องพัก) ... .
8. Telephone Operator (พนักงานรับโทรศัพท์).

แผนกงานส่วนหน้า โรงแรม คืออะไร มีตําแหน่งอะไรบ้าง

การจัดแบ่งแผนกงานต่างๆ ในโรงแรม ตอนแผนกต้อนรับ.
1. ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager) ... .
2. พนักงานต้อนรับ (Reception) ... .
3. พนักงานสัมภาระ (Hall Porter) ... .
4. พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter) ... .
5. พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator) ... .
6. เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk).

Front Office มีหน้าที่อะไรบ้าง

➢พนักงานแผนกบริการบริเวณส่วนหน้าโรงแรมมีหน้าที่หลาย ประการ เช่น ทักทายแขก ขนกระเป๋า พาแขกไปส่งห้องพัก หรือพาแขกจากห้องพักไปยังแผนกต้อนรับ และพาไปส่งขึ้น รถเมื่อจะออกจากโรงแรมไป บริการส่งข่าวสารให้ข้อมูลต่างๆ เดินตามหาแขกภายในโรงแรม Paging Guest ฯลฯ