Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

หมายเลข 1 Create Form Template ส่วนนี้เป็นการสร้างชิ้นงานใหม่โดยใช้เทมเพลต (Template) ที่โปรแกรมจัดเตรียมไว้ หรือที่สร้างเก็บไว้ใช้งานเองก็ได้

หมายเลข 2 Open a Recent Item ส่วนนี้ใช้สำหรับเปิดไฟล์งานที่เคยเรียกใช้แล้ว โดยโปรแกรม

จะแสดงรายชื่อไฟล์งานเรียงลำดับจากการบันทึกครั้งล่าสุดเป็นต้นไป เราสามารถเปิดไฟล์งานเก่าได้โดยคลิกเลือกจากรายการชื่อไฟล์ที่แสดงอยู่ แต่ถ้าเป็นการเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรก ก็จะไม่แสดงชื่อไฟล์ในส่วนนี้ ซึ่งเราสามารถเปิดไฟล์งานที่ต้องการได้โดยคลิกเลือก Open…เพื่อค้นหาไฟล์งานที่ต้องการ

หมายเลข 3 Create New ในส่วนนี้ใช้สำหรับสร้างไฟล์งานใหม่ ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบของไฟล์งานได้หลายรูปแบบ เช่น Action Script 2.0, Action Script 3.0 เป็นต้น

หมายเลข 4 Learn ส่วนนี้เป็นการสอนใช้งานและสอนการสร้างชิ้นงานแบบต่างๆ

หมายเลข 5 ส่วนของการแนะนำโปรแกรม

หมายเลข 6 ส่วนของการดาวน์โหลดโปรแกรมหรือดูข้อมูลการใช้งานโปรแกรมจากเว็บไซต์ Adobe

หมายเลข 7 ไม่ต้องการให้แสดงหน้าจอ Welcome Screen อีกในครั้งต่อไป

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.6  ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Adobe Flash CS6

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

หมายเลข 1 แถบเมนูคำสั่ง (Menu Bar) เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมด

หมายเลข 2 กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เป็นกล่องที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการสร้าง และปรับแต่งวัตถุต่างๆ เครื่องมือจะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพ เราสามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้

หมายเลข 3 ไทมไลน์ (Timeline) เป็นส่วนสำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดการเคลื่อนไหว

ของวัตถุที่นำมาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา 

หมายเลข 4 ชุดพาเนล (Panels) ใช้สำหรับปรับแต่งค่าต่างๆ ซึ่งแยกออกตามประเภทการทำงาน

หมายเลข 5 ชุดไอคอนพาเนลทางลัด (Icon Panels) เป็นไอคอนทางลัดสำหรับใช้พาเนลต่างๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดพื้นที่การทำงาน ถ้าไม่ได้ใช้งานก็สามารถพับเก็บได้

หมายเลข 6 สเตจ (Stage) เป็นพื้นสีขาวสำหรับสร้างชิ้นงานและแสดงผลงาน

หมายเลข 7 ปุ่มสำหรับเปลี่ยนพื้นที่การทำงาน (Workspace) เลือกพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน และการสร้างมูฟวี่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการตั้งค่าเกี่ยวกับการใช้งานในโปรแกรมทั้งหมด ดังนี้

FILE คำสั่งจัดการกับไฟล์งานในลักษณะต่างๆ เช่น สร้างไฟล์ใหม่, เปิดไฟล์, ปิดไฟล์, บันทึกไฟล์ภาพ, นำเข้าไฟล์ต่างๆ, การส่งออกชิ้นงาน เป็นต้น

Edit คำสั่งแก้ไขและปรับแต่งภาพ เช่น การตัด, การคัดลอก, การวาง, การค้นหาแทนที่  เป็นต้น รวมถึงการปรับแต่งค่าเบื้องต้นของโปรแกรม

View ใช้เลือกมุมมองการแสดงผล เช่น ย่อ-ขยายภาพ, แสดงแถบไม้บรรทัดหรือเส้นกริด เป็นต้น

Insert ใช้จัดการกับการเคลื่อนไหว การเพิ่มเฟรม และการสร้างซิมโบลแบบต่างๆ 

Modify ใช้ปรับแต่งวัตถุ, ภาพบิตแมป, รูปทรง, ซิมโบล  รวมทั้งการจัดวางและการหมุนวัตถุ

Text ใช้จัดการกับข้อความตัวอักษร เช่น รูปแบบ, ขนาด, ระยะห่าง  เป็นต้น

Commands ใช้ทำงานกับภาษาคำสั่งรูปแบบต่างๆ เช่น XML, Action Script, Flex Component เป็นต้น

Control ควบคุมการแสดงผลงาน

Debug ตรวจสอบความผิดพลาดในการแสดงผลของชิ้นงาน

Window แสดง/ซ่อนหน้าต่างที่ปรากฏบนหน้าจอโปรแกรมและพาเนลต่างๆ

Help ใช้เรียกดูคำอธิบายในการทำงานต่างๆ  ของเครื่องมือหรือคำสั่งภายในโปรแกรม

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

กล่องเครื่องมือ (Toolbox) 

    จะรวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการสร้าง และปรับแต่งวัตถุต่างๆ ซึ่งเครื่องมือจะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพ เราสามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้ ถ้าไอคอนเครื่องมือมีสัญลักษณ์    อยู่ตรงมุมล่างขวาของเครื่องมือ แสดงว่ายังมีเครื่องมืออื่นในกลุ่มเดียวกันซ่อนอยู่ เมื่อคลิกค้างที่เครื่องมือก็จะปรากฏเครื่องมือในกลุ่มนั้นเพิ่มเติม ซึ่งเครื่องมือใน Toolbox แบ่งเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ 

1. Selection กลุ่มนี้มีเครื่องมืออยู่ 2 ลักษณะ คือ Selection ใช้สำหรับเลือกชิ้นงานหรือพื้นที่ของชิ้นงาน เพื่อเคลื่อนย้าย ลบหรือแก้ไขชิ้นงานนั้น และ Transform เป็นเครื่องมือที่ใช้ปรับเปลี่ยนรูปทรงจะมีทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

2. Drawing กลุ่มนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวาดภาพหรือสร้างชิ้นงาน รวมถึงการสร้างตัวอักษรด้วย

3. Paint เป็นกลุ่มเครื่องมือสำหรับการลงสี ทั้งสีพื้นและสีเส้นขอบ รวมถึงการดูดสี การลบชิ้นงานด้วยยางลบ และเครื่องมือที่ใช้สร้างข้อต่อในการเคลื่อนไหวของชิ้นงานด้วย

4. View เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ควบคุมมุมมองของชิ้นงาน ทั้งการขยายและการเลื่อนดู

5. Color เป็นกลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือกสีพื้นและสีเส้นขอบ รวมทั้งการตั้งค่าสีเริ่มต้นและการสลับสีพื้นกับสีเส้นขอบ

6. Option เป็นกลุ่มตัวเลือกเพิ่มเติมของเครื่องมือต่างๆ ที่เราเลือก ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามแต่ละเครื่องมือที่เลือกใช้ จากตัวอย่างเราเลือกเครื่องมือ Selection ที่ Option ก็จะปรากฏตัวเลือกเพิ่มเติมของเครื่องมือ Selection

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.7  กลุ่มเครื่องมือในโปรแกรม Adobe Flash CS6

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ใช้สำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหว โดยนำองค์ประกอบที่จะเคลื่อนไหว(เราเรียกองค์ประกอบต่างๆ ในชิ้นงานว่าออบเจ็กต์หรือวัตถุ) มาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา (เรียกว่าเฟรม : frame) ที่จะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะกำหนดเส้นเวลาให้เล่นภาพเคลื่อนไหวช้าๆ หรือเล่นแล้วหยุดก็ได้ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ เลเยอร์ และเฟรม

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.8  หน้าต่างไทมไลน์ (Timeline)

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

เปรียบเสมือนแผนใสที่สามารถวางภาพ หรือวัตถุได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระ ต่อกัน แต่จะประกอบกันเป็นชิ้นงานเดียว องค์ประกอบการทำงานของเลเยอร์มีดังนี้

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.9  ส่วนของเลเยอร์ในหน้าต่างไทมไลน์

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

หมายเลข 1 สร้างเลเยอร์ใหม่ (Add Layer)

หมายเลข 2 ลบเลเยอร์ (Delete)

หมายเลข 3 ปิด เปิดการแสดงเลเยอร์ (Show or Hide)

หมายเลข 4 ล็อก ปลดล็อกเลเยอร์ (Show or Hide)

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

เป็นส่วนที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดงอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้เฟรมจะแสดงผลทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Play head) วิ่งไปบนเฟรมทำให้เห็นชิ้นงานที่เราสร้างไว้ในแต่ละเฟรม ภาพที่ออกมาจึงดูเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยส่วนของเฟรมมีองค์ประกอบดังนี้

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.10  ส่วนของเฟรมในหน้าต่างไทมไลน์

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

หมายเลข 1 เฟรม (Frame) โดย 1 ช่อง คือ 1 เฟรม

หมายเลข 2 หัวอ่าน (Playhead) แถบเส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด

หมายเลข 3 Onion Skinning จะเป็นการแสดงชิ้นงานที่อยู่บนเฟรมก่อนหน้าหรือหลังที่ Playhead แสดงอยู่ จะเป็นภาพจางๆ เพื่อเป็นไกด์ให้เราเห็นว่าวัตถุก่อนหน้าอยู่ตำแหน่งใดช่วยให้สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน

หมายเลข 4 แสดงค่า FPS ของชิ้นงาน (จำนวนการแสดงผลเฟรมต่อวินาที)

หมายเลข 5 แสดงเฟรมปัจจุบันที่ Playhead กำลังเล่นอยู่

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

เป็นหน้าต่างที่ใช้กำหนดค่าในการปรับแต่งวัตถุซึ่งโปรแกรม Adobe Flash CS6 มีการจัดหมวดหมู่ตามหน้าที่การใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกเปิดเฉพาะพาเนลได้โดยเลือกเมนูคำสั่ง Window > พาเนลที่ต้องการ ซึ่งมีพาเนลสำคัญที่ควรรู้จักมีดังนี้

Ü Properties Inspector เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุ ซึ่งเราสามารถปรับแต่งคุณสมบัติของวัตถุเหล่านี้ได้ ทั้งนี้รายละเอียดของ Property Inspector จะเปลี่ยนไปตามวัตถุที่เราเลือก โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งาน Property Inspector ด้วยเมนูคำสั่ง Windows > Properties 

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร
 

ภาพที่ 1.11  พาเนล Properties Inspector

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

Ü พาเนล library เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับเก็บองค์ประกอบที่จะใช้สร้างชิ้นงาน ได้แก่ ซิมโบล ภาพกราฟิก มูฟวี่ ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง ซึ่งเราสามารถสร้างโฟลเดอร์เพื่อจัดเก็บองค์ประกอบเหล่านี้ได้ เราสามารถเรียกใช้งานพาเนล library ได้ด้วยเมนูคำสั่ง Windows > library 

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.12  พาเนล library

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

Ü พาเนล color และพาเนล swatches ใช้เลือกสีและผสมสีตามที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ปรับแต่งสีให้กับทั้งภาพวาดและตัวอักษร โดยพาเนล color จะเป็นการผสมสีเองตามต้องการ และพาเนล swatches จะเป็นการเลือกสีจากจานสีตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้ โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล color ด้วยเมนูคำสั่ง windows > color และพาเนล swatches ด้วยเมนูคำสั่ง windows > swatches 

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.13  พาเนล color และพาเนล swatches

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

Ü พาเนล actions เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับสร้างโค้ด action Script (ภาษาที่ใช้งาน Flash) เพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น สร้างปุ่มที่ให้ผู้ใช้คลิกเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ทำเกมและเว็บที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยเราสามารถเรียกใช้งานพาเนล actions ด้วยคำสั่ง Windows > Actions 

Onion Skin มี คุณสมบัติ อย่างไร

ภาพที่ 1.14  พาเนล actions

ที่มา : สุชาดา ทิพโรจน์, 2560

        Ü สเตจ (Stage) และพื้นที่ทำงาน (Pasteboard) เราเรียกพื้นที่สีขาวตรงกลางหน้าจอที่ใช้จัดวางวัตถุต่างๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็นชิ้นงานว่า “สเตจ (Stage) หรือ Document Window” ส่วนบริเวณสีเทาล้อมรอบนั้นเราเรียกว่า “พื้นที่ทำงาน (Pasteboard)” จะใช้สำหรับวางวัตถุที่ยังไม่ต้องการให้แสดง ซึ่งเราอาจเปรียบสเตจเป็นเสมือนเวที และพื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่หลังเวทีที่ผู้ชมมองไม่เห็น แต่เราสามารถวางองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปแสดงได้

เราสามารถเปิด/ปิดพื้นที่การทำงานได้โดยใช้เมนูคำสั่ง View > Pasteboard ให้ปรากฏเครื่องหมายถูก เพื่อเปิดพื้นที่การทำงาน และใช้เมนูคำสั่ง View > Pasteboard อีกครั้ง เพื่อยกเลิกเครื่องหมายถูก เพื่อปิดพื้นที่การทำงาน (หรือกดคีย์ลัด++W)