วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีของภาคใด

                ผู้ให้กำเนิดมหาดุริยางค์ไทย คือ อาจารย์ประสิทธิ์  ถาวร ศิลปินแห่งชาติ ต่อมาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรม ได้นำวงมหาดุริยางค์ไทยมาแสดงต่อหน้าประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง

เป็นวงดนตรีที่มาพร้อมกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และฆ้องราว

รูปแบบของวง

วงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งของไทย ดังนี้

  • วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยระนาดเอก ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะคือฉิ่งและฉาบ โหม่ง
  • วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เพียงแต่วงนี้ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็กเข้ามา
  • วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่ได้เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้ามา

วงปี่พาทย์มอญมีการจัดรูปแบบวงที่แตกต่างจากวงปีพาทย์ของไทยตรงที่ตั้งฆ้องมอญไว้ด้านหน้าสุด ซึ่งการจัดรูปแบบวงนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าใครกำหนดและทำเพื่ออะไร บ้างก็ว่าเพื่อความสวยงามเมื่อมองจากด้านหน้า บ้างก็ว่าเป็นการให้เกียรติวัฒนธรรมมอญ บ้างก็ว่าเป็นเพราะฆ้องมอญทำหน้าขึ้นวรรคเพลงเช่นเดียวกับระนาดเอก

วิวัฒนาการในปัจจุบัน

ในปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญเจริญเติบโตอย่างมาก โดยการขยายวงให้ใหญ่ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ บางอาจจะมีฆ้องมอญถึง 10 โค้งหรือมากกว่านั้น ทำให้วงปี่พาทย์มอญนอกจากจะใช้เป็นเครื่องประโคมศพแล้ว ยังแสดงถึงเกียรติยศของผู้ตายอีกด้วย

นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มฆ้องมอญให้มากขึ้นแล้ว ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรีเพื่อให้เหมาะสมกับวง คือเปลี่ยนลักษณะของรางระนาดเอกและระนาดทุ้มให้เหมือนกับฆ้องมอญ เพียงแต่ย่อสัดส่วนให้ต่ำลง[1]

โอกาสที่ใช้บรรเลง

วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น

งานศพสมัยก่อนนั้นจะใช้เพลงประโคมที่เรียกว่า"ประจำวัด"โดยจะประโคมหลังการสวดพระอภิธรรมเสร็จสิ้น เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์นางหงส์ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเวียนเมรุ หาบกล้วย จุดเทียน ในยุคหลังๆได้มีครูดนตรีไทยที่มีเชื้อสายมอญแต่งเพลงมอญให้วงปี่พาทย์มอญเช่นประจำบ้าน ย่ำเที่ยง ย่ำค่ำ ฯลฯ

ในยุคปัจจุบันก็มีเพลงมอญเกิดขึ้นอย่างมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะนำเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักนำมาแต่งเป็นสำเนียงมอญ ทำให้เพลงมอญในปัจจุบันมีความแตกต่างจากเพลงมอญโบราณเป็นอย่างมาก

วงปี่พาทย์ เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีและพิธีต่าง ๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ

  • วงปี่พาทย์เครื่องห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
    1. ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และฉิ่ง
    2. ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี​ ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และ ทับ หรือ โทน
  • วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องห้า เพียงแต่เพิ่ม ระนาดทุ้มและ ฆ้องวงเล็ก เข้าไป
  • วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพียงแต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก เข้าไป

นอกจากนี้วงปี่พาทย์ยังมีอีก 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • วงปี่พาทย์นางหงส์
  • วงปี่พาทย์มอญ
  • วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗.ตะโพน, ๘.กลองทัด, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองทัด, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง
๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม

มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่ วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้วเสียงจะกร้าวแกร็ง แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย

การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๑ เสียง

วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

๔. วงปี่พาทย์เสภา

มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่นำตะโพน – กลองทัดออก ใช้กลองสองหน้าแทน แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้ วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒

 

วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.กลองสองหน้า/กลองแขก, ๕.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗. กลองสองหน้า / กลองแขก, ๘.ฉิ่ง, ๙.ฉาบ, ๑๐.กรับ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.กลองสองหน้า / กลองแขก, ๑๐.ฉิ่ง, ๑๑.ฉาบ, ๑๒.กรับ, ๑๓.โหม่ง
๕. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น 1 เลา ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และเพิ่มซออู้ กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย สัญญลักษณ์ที่โดดเด่น เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง

 

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), ๒. ระนาดทุ้มไม้, ๓.ระนาดทุ้มเหล็ก ,๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ขลุ่ยอู้, ๗. ซออู้, ๘.ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง, ๙. ตะโพน, ๑๐.กลองตะโพน, ๑๑.กลองแขก, ๑๒.ฉิ่ง, ๑๓.กรับพวง

๖. วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ) มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายู ๑ คู่ เข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี้

 

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ชวา,๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ฆ้องวงเล็ก, ๕กลองมลายู, ๖.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ชวา๒. ระนาดเอก ๓ ระนาดทุ้ม ๔. ฆ้องวงใหญ่ ๕. ฆ้องวงเล็ก ๖.กลองมลายู ๗. ฉาบเล็ก ๘. ฉิ่ง ๙. โหม่ง ๑๐.ฉาบใหญ่

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ชวา, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้ม, ๔.ระนาดเอกเหล็ก, ๕.ระนาดทุ้มหล็ก, ๖.ฆ้องวงใหญ่, ๗.ฆ้องวงเล็ก, ๘.กลองมลายู, ๙.ฉาบเล็ก, ๑๐.ฉาบใหญ่, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.โหม่ง, ๑๓.ฉาบใหญ่

๗. วงปี่พาทย์มอญ

เป็นวงดนตรีที่ชาวมอญนำเครื่องดนตรีเข้ามา พร้อมกับการย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้หลักการของวงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นหลัก แต่ใช้เครื่องดนตรีของมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวง เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ด้านหลังจะเป็นระนาดเอก ระนาดทุ้ม และเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ ของวงปี่พาทย์(ไทย) เมื่อตั้งวงดนตรีแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

โอกาสที่ใช้ชาวมอญจะใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล สำหรับชาวไทยจะใช้บรรเลงเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงของวงปี่พาทย์ แบ่งเป็น 3 ขนาด ดังนี้

ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒. ระนาดเอก ๓. ปี่มอญ ๔ ตะโพนมอญ ๕. เปิงมางคอก ๖. ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก ๓. ระนาดเอก ๔.ระนาดทุ้ม ๕. ปี่มอญ๖. ตะโพนมอญ ๗. เปิงมางคอก ๘. โหม่ง ๓ ลูก ๙.ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑.ฉาบใหญ่ ๑.กรับ

ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ฆ้องมอญวงใหญ่, ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก, ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗.ปี่มอญ, ๘.ตะโพนมอญ, ๙. เปิงมางคอก, ๑๐.โหม่ง ๓ ลูก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบเล็ก, ๑๓.ฉาบใหญ่, ๑๔.กรับ

วงดนตรีปี่พาทย์เกิดขึ้นในสมัยใด

ประวัติ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่เป็นวงดนตรีที่พัฒนามาจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่อีกต่อหนึ่ง เกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์โดยมีมูลเหตุมาจากการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้น

วงปี่พาทย์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีไทยชนิดใดบ้าง

วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์" วงปี่พาทย์อาจจำแนกประเภทแตกต่างกันไป แต่ที่พอจะรวบรวมได้ มีทั้งสิ้น 8 แบบ

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงใด

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), ๒. ระนาดทุ้มไม้, ๓.ระนาดทุ้มเหล็ก ,๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ขลุ่ยอู้, ๗. ซออู้, ๘.ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง, ๙. ตะโพน, ๑๐.กลองตะโพน, ๑๑.กลองแขก, ๑๒.ฉิ่ง, ๑๓.กรับพวง

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทอะไรบ้าง

2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไป เช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้ 2.1 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด