เงินติดล้อให้บริการอะไรบ้าง

เงินติดล้อ ให้บริการปล่อยสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแบบครบวงจร และเป็นนายหน้าประกันภัยที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่มุ่งเน้นการให้บริการพร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยความจริงใจ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ภายใต้แนวคิดที่มุ่งสร้างโอกาสทางการเงินที่เป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการได้รับความรู้ความเข้าใจทางการเงินให้กับสังคม โดยไม่ได้มุ่งแต่แสวงหาผลกำไรเป็นหลัก แต่เป็นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนทางสังคม

Show

ทำให้แม้มีคู่แข่งในธุรกิจหลายราย แต่ เงินติดล้อ ก็เป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เงินติดล้อให้บริการอะไรบ้าง

ด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเอกลักษณ์ เงินติดล้อ ได้หล่อหลอมพนักงานชาวเงินติดล้อกว่า 5,000 คนทั่วประเทศ ให้เกิดการเรียนรู้ ทดลอง และร่วมมือร่วมใจกันดูแลลูกค้าด้วยความจริงใจ

สิ่งที่จะตามมาคือ คุณภาพการให้บริการ และการยอมรับจากลูกค้า
นำไปสู่การทำธุรกิจที่มีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง พร้อมโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

เงินติดล้อ มีจุดแข็งทั้งด้านบริการที่จริงใจ มีผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการเงินและประกันภัยที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและเกิดการบอกต่อปากต่อปาก สร้างการขยายฐานลูกค้า

ในขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่เพียงร้อยละ 1.7 ณ สิ้นปี 2563
และมีอัตราเติบโตเฉลี่ย CAGR ของกำไรสุทธิในช่วง 2 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 36.0

นอกจากการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นสิ่งที่วัดความสำเร็จในการดำเนินงานแล้ว ช่องทางการสร้างรายได้ ยังมาจากการพัฒนาตัวเลือกการเข้าถึงการให้บริการที่มีช่องทางหลากหลายที่ผสมผสานช่องทางสาขา และ ช่องทางออนไลน์เป็นหนึ่งเดียว (Omni Channel)
เช่น Call Center 24 ชั่วโมง, เว็บไซต์, Facebook, Line Official Account TIDLOR, แอปพลิเคชัน เงินติดล้อ

การที่ เงินติดล้อ มุ่งเน้นลงทุนและพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ในการให้บริการลูกค้า เพื่อเพิ่มช่องทางเข้าถึงลูกค้า และยังเป็นการตอบสนองพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล
โดยการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า เช่น ระบบถามตอบอัตโนมัติ (Chatbot), การออกแบบระบบอนุมัติสินเชื่อจากข้อมูลคะแนนเครดิตของลูกค้า เป็นต้น

รวมถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เช่น บัตรกดเงินสดหมุนเวียน หรือ บัตรติดล้อ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีฯ ให้บริการสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแบบครบวงจร  ภายใต้ชื่อแบรนด์ “เงินติดล้อ” กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 พ.ค.นี้

 

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน 

1.ประกอบธุรกิจ ให้บริการสินเชื่อ เช่าซื้อ นายหน้าประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต และบริการที่เกี่ยวเนี่องอื่น ๆ

ให้บริการสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแบบครบวงจร (รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก รถไถ และรถแทรกเตอร์) สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง และบริการนายหน้าประกันภัยและประกันชีวิต ภายใต้ชื่อแบรนด์ “เงินติดล้อ” ซึ่งเป็น Non-bank ที่ ธปท. กำกับดูแล

ปัจจุบัน “เงินติดล้อ” ให้บริการ 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่

1. ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันครบวงจร ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 (คำนวณจากยอดหนี้คงค้างในปี 62)
2. ธุรกิจนายหน้าประกันภัย ซึ่งติดอันดับ 1 ใน 3

มีช่องทางให้บริการที่หลากหลาย ผ่านสาขามากกว่า 1,000 แห่ง ครอบคลุม 74 จังหวัด

2.ขายไอพีโอจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,043.54 907.42 หุ้น (รวมจัดสรรหุ้นส่วนเกิน 136.11 ล้านหุ้น)  

เสนอขายหุ้นทั้งหมดจำนวนไม่เกิน 907,428,600 หุ้น คิดเป็น 39.1% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO 

ประกอบด้วย(1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ขายโดยเงินติดล้อไม่เกิน 210,816,700 หุ้น(2) หุ้นสามัญเดิมที่ขายโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาไม่เกิน 284,144,300 หุ้น(3) หุ้นสามัญเดิมที่ขายโดย Siam Asia Credit Access Pte. Ltd. ไม่เกิน 412,467,600 หุ้น

มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชู) 136.11 ล้านหุ้น คิดเป็น 15% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด

3.เคาะราคาไอพีโอ 36.50 บาท คิดเป็น P/E ที่ 32.6-35 เท่า

กำหนดช่วงราคาเสนอขายที่ 34-36.50 บาทต่อหุ้น หากดูกำไรสุทธิปี 63 ที่ 2,416 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดจำนวน จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.04 บาทต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น ( P/E Ratio) ประมาณ 32.60–35 เท่า

เทียบ P/E Ratio ของบริษัทจดทะเบียนอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันสำหรับธุรกิจสินเชื่อ เฉลี่ย 27.4 เท่า และสำหรับธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต เฉลี่ย 37.7 เท่า โดยอ้างอิงข้อมูลในช่วงระยะเวลา 180 วันย้อนหลังล่าสุดนับจาก 31 มี.ค.64

ธุรกิจให้สินเชื่อ

บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC) มี P/E Ratio เท่ากับ 25.2 เท่า
บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น (SAWAD) มี P/E Ratio เท่ากับ 19.7 เท่า
บมจ.ศักดิ์สยามลิสซิ่ง (SAK) มี P/E Ratio เท่ากับ 35.1/3 เท่า
บมจ.บัตรกรุงไทย  (KTC) มี P/E Ratio เท่ากับ 27.9  เท่า
บมจ.อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) (AEONTS) มี P/E Ratio เท่ากับ 12.6  เท่า

ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต

บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น (TQM) มี P/E Ratio เท่ากับ 53.7 เท่า

ขายหุ้นไอพีโอ : จำนวน 907.42 ล้านหุ้น คิดเป็น 39.1% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชู) 136.11 ล้านหุ้น
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโออยู่ที่ 2,318.98 ล้านหุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 3.70 บาท/หุ้น
 มูลค่าทางบัญชี : 5.60 บาท/หุ้น ณ ธ.ค.63
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 10 พ.ค.64
หมวดธุรกิจ : กลุ่มธุรกิจการเงิน / เงินทุนและหลักทรัพย์
 ที่ปรึกษาทางการเงิน : บล.เกียรตินาคินภัทร
ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บล.กสิกรไทย,บล.เกียรตินาคินภัทร และ บล.ไทยพาณิชย์

สัดส่วนการเสนอขายหุ้น

จำนวนหุ้นที่จัดสรรให้รายย่อยผ่านแบงก์ 46.50 ล้านหุ้น หรือ 5.1%
หุ้นส่วนใหญ่จัดสรรให้สถาบันในประเทศรวม 50.2%
สถาบันต่างประเทศรวม 29.4%
บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 8.7%
ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ 1.5%
บุคคลที่มีความสัมพันธ์ของบริษัทฯ 1.4%
พนักงานของบริษัทฯ 3.7%

4.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 20% ของกำไรสุทธิ 

บริษัทฯ มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่ต่ำกว่า 20% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ในแต่ละปี ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและทุนสำรองอื่น

5."เกียรตินาคินภัทร" มีความสัมพันธ์เป็นเจ้าหนี้

บริษัทฯ มีการใช้วงเงินกู้ยืมกับ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 99.97% ของบล.เกียรตินาคินภัทร ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม วงเงินกู้ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมียอดคงค้าง สิ้นปี 63 จำนวน 2,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.2% จากยอดเงินกู้ยืมคงค้างจากสถาบันการเงินทั้งหมดของบริษัทฯ โดยหลังจาก 31 ธ.ค.63 บริษัทฯ ได้มีการชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน ทำให้ยอดคงค้าง ณ วันที่ของเอกสารฉบับนี้เท่ากับ 1,000 ล้านบาท

6.นำเงินระดมทุน ขยายธุรกิจให้สินเชื่อ-นายหน้าประกันภัย

 

เงินติดล้อให้บริการอะไรบ้าง

 

7.อัตรากำไรสุทธิอยู่ 22.9% (สิ้นธ.ค.63) 

รายได้และกำไรของ TIDLOR เติบโตต่อเนื่อง   

รายได้ของเงินติดล้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงโควิด และยังคงรักษาอัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับสูง ตั้งแต่ปี 61-63 เป็นดังนี้

ปี 61ปี 62ปี 63 รายได้(ลบ.)7,569.4 9,457.910,558.9กำไรสุทธิ(ลบ.)1,306.2 2,201.72,416.1 อัตรากำไรสุทธิ(%)17.3 23.3

 22.9

8.มี IBD/E อยู่ที่ 3.4 เท่า 

TIDLOR มีระดับ IBD/E ณ สิ้นปี 63 อยู่ที่ 3.4 เท่า


งบแสดงฐานะการเงิน  ณ สิ้นธ.ค.63 ดังนี้

สินทรัพย์รวม : 53,335.5 ลบ.
หนี้สินรวม :  41,587.0 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 11,748.5 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E) : 3.4 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) : 4.7%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) : 22.9%
ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) : 15.2%
อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL) : 1.7%

9.หลังไอพีโอ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังถือหุ้นใหญ่ 30%    

หลังจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอแล้ว ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังคงสัดส่วนถือหุ้นใหญ่ 30% โดยมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอดังนี้

เงินติดล้อให้บริการอะไรบ้าง

10.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 1,043.54 ล้านหุ้น คิดเป็น 45% 

ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรกนี้ หุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหารที่ติด Silent Period รวมจำนวน 1,275,441,760 หุ้น คิดเป็น 55% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ซึ่งแบ่งเป็นหุ้นที่ถือโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ SACA จำนวน 695,695,530 หุ้น และ 579,746,230 หุ้น คิดเป็น 30% และ 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก

ทั้งนี้ หุ้นของบริษัทฯ ที่ไม่ติด Silent Period มีจำนวน 1,043,542,810 หุ้น คิดเป็น 45% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงหุ้นที่ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร (นอกจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ SACA) ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ จำนวนรวมไม่เกิน 13,000,000 หุ้น

เงินติดล้อ อยู่ในเครืออะไร

1. “เงินติดล้อ” บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีฯ

เงินติดล้อ ช่วยอะไร

ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน ค่าธรรมเนียมต่ำ รับรถจากทุกจังหวัด เจอเงินติดล้อที่ไหนก็สามารถขอสินเชื่อได้ทันที อีกทั้งยังมีบริการตรวจสภาพรถถึงบ้าน ไม่จำเป็นต้องขับมาเอง รับรถเก่าสูงสุดอายุ 25 ปี รวมถึงมีบริการรับปิดบัญชี รีไฟแนนซ์ ผ่อนหนักเป็นเบาได้

ตอนนี้เงินติดล้อมีกี่สาขา

พ.ศ. 2558 เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เงินติดล้อ จำกัด และเริ่มต้นให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance) พ.ศ. 2561 บริษัทมีสาขา 800 สาขา และรีแบรนด์ดิ้งใหม่ โดยนำคำว่า ศรีสวัสดิ์ออกจากโลโก้ของบริษัท พ.ศ. 2563 บริษัทมีสาขามากกว่า 1,000 สาขา ทั่วประเทศ

เงินติดล้อเป็นสถาบันการเงินไหม

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารรายแรกในประเทศไทย ที่ได้รับสินเชื่อจาก IFC เพื่อสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) 24 ส.ค. 2564.