สิ่ง ใด ที่ แสดง ถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย มาก ที่สุด

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

Show

                     ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น

          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทยมีถีชีวิตที่เรียบง่าย เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งสังคมไทยได้รับอิทธิพลมากจากอารยธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้นในสมัยรัชการที่ 4 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงแทบทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น

                     เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสมัยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกด้านโดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมีการกำหนดทิศทางและแบบแผนมากขึ้น

           ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

           1. ปัจจัยภายใน

                1.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

                        สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ลักษณะของพื้นที่ ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ช่วยกำหนดการจัดระเบียบและสภาพต่างๆ ในสังคม

                1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร

                        การเปลี่ยนแปลงเรื่องขนาดและการกระจายของประชากรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาจะเกิดการรับเอาวัฒนธรรมไปใช้ หรือเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมของตน

          2. ปัจจัยภายนอก

              2.1 สังคมที่อยู่โดดเดี่ยวและสังคมที่มีการติดต่อสมาคม

                       สังคมที่มีการติดต่อสมาคมกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ บ่อยครั้ง จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็วในทำนองเดียวกันสังคมที่อยู่โดดเดี่ยวจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากหรือเกิดการคงที่ทางวัฒนธรรม

             2.2 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม

                       สังคมที่มีการแข่งขัน จะมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากกว่าสังคมที่มีแบบแผน หรือโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน

             2.3 ทัศนคติและค่านิยมเฉพาะสังคม

                       สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะมีทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป ทัศนคติและค่านิยมเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงไร เช่น ในสังคมที่ยึดมั่นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมจะเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยและช้ามาก ส่วนสังคมที่มีค่านิยมที่ส่งเสริมการยอมรับให้มีสิ่งใหม่ๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว

             2.4 ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ

                        ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ ของสมาชิกในสังคม เป็นปัจจัยที่ช่วยบอกทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น เมื่อมีความต้องการทีแน่นอนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมแล้วก็จะมีาการตอบสนองต่อความต้องการนั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด

            2.5 พื้นฐานทางวัฒนธรรม

                       เมื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนไป จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ในปัจจุบันที่พื้นฐานทางวัฒนธรรมในด้านเทคโนโลยี หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญกว่าในอดีต ทำให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ มาใช้ในการผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป

          รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                    การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุที่สำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติประการหนึ่ง กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้กระทำอีกประการหนึ่ง แต่ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสามารถทำให้เกิดรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ ดังนี้

              1.การเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กล่าวว่า ทุกสังคมจะมีวิวัฒนาการแบบเดียวกันตลอด โดยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมขั้นต่ำไปสู่สังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมระดับสูงขั้นต่อไป นักวิชาการที่เสนอรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบเส้นตรงได้แก่ ออกุสต์ กองต์ เลวิส เฮนรี่ มอร์แกน และคาร์ล มาร์คซ์ เป็นต้น

              2.การเปลี่ยแปลงแบบวัฎจักร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่มีความสม่ำเสมอ สังคมจะมีจุดเริ่มต้น จากนั้นจะค่อยๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงที่สุดก็จะเสื่อมสลายไป คล้ายกับความเจริญของมนุษย์ที่เริ่มจากเด็กทารก เติบโตเป็นวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยชรา และในที่สุดก็ตายจากไป หรือหากเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาในวันหนึ่ง ๆ คือ เริ่มจากเช้ามืด สว่าง และมืด แล้วค่อย ๆ กลับมาเช้าใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เมื่อสังคมมีความเจริญถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะค่อย ๆ เสื่อมสลายลง โดยไม่ได้สูญหายไปแต่จะมีการปรับปรุงและเจริญขึ้นมาใหม่ เช่น สังคมของกรีก อียิปต์ จีน อินเดีย เป็นต้น

          อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

                  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจไม่ได้รับการยอมรับเสมอไป การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจได้รับการยอมรับเพียงบางส่วน หรือบางอย่างอาจไม่ได้รับการยอมรับเลย ซึ่งอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจสรุปได้ดังนี้

                  1. การเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง                   การเปลี่ยนแปลงจะไม่ได้รับการยอมรับ หากสมาชิกในสังคมไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นจากการทดลอง เช่น การสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถนำมาทดลองได้ เช่น ภูตผีปีศาจ วิญญาณ เป็นต้น สังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่มีต่อสังคม

                  2. ความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิม                   สังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิมหรือช่วยให้สังคมพัฒนาดีขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องไม่ขัดต่อวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมของสังคม ซึ่งสังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้าสิ่งนั้นสอดคล้องกับการปฏิบัติเดิมของตน และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้

                  3. กลุ่มรักษาผลประโยชน์                   กลุ่มที่รักษาผลประโยชน์จะคัดค้านการเปลี่นแปลงถ้าพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้เสียผลประโยชน์ของกลุ่ม แต่ในทางตรงกันข้าม กลุ่มจะให้การสนับสนุนถ้าพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม

                  4. ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง                   ตัวแทนการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลหรือมีอำนาจจะประสบผลสำเร็จามากกว่าตัวแทนที่ไม่มีใครรู้จักและหากตัวแทนการเปลี่ยนแปลงมีความเข้าใจและรู้จักวัฒนธรรมที่ตนเข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรใหม่และวัฒนธรรมเดิม จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเป็นไปตามความคาดหมาย

ปัจจัยใดที่ทำให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 1. สภาพแวดล้อม ธรรมชาติ และประชากร 2. การพัฒนาเศรษฐกิจ 3. ทัศนคติ/ความเชื่อของคนในสังคม 4. การเคลื่อนไหวทางสังคม 5. กระบวนการทางวัฒนธรรม 6. การประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย มีอะไรบ้าง

2.1 คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องของสิทธิสตรีมากขึ้น สตรีจะมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น 2.2 แนวโน้มครอบครัวมีขนาดเล็กลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวระบบเครือญาติลดลง หน้าที่การอบรมเลี้ยงดูบุตร หรือการขัดเกลาทางสังคมลดลง 2.3 สถาบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางการผลิตบุคคลเข้าสู่อาชีพและตลาดแรงงานที่ขาดแคลนมากขึ้น

ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของสังคม เช่น ขนาดของ ประชากร ระดับการศึกษา สุขภาพอนามัย โดยจะเน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความ สัมพันธ์ เช่น ความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหน้าที่ของโครงสร้างสังคม เช่นการเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม กลุ่มสังคม เป็นต้น G.

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

๒. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมคือ การเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่างๆที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง มีทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยการเปลี่ยนนามธรรมยากกว่ารูปธรรม เช่น ด้านค่านิยม ระเบียบบรรทัดฐาน สัญลักษณ์ทางสังคม ฯลฯ และต้องใช้เวลา ยาวนานกว่าจะเปลี่ยนแปลงไป