Global Positioning System (GPS) เป็นเทคโนโลยีใด

2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ

ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet

2. GPS ทำงานอย่างไร?

แต่เดิมนั้นจีพีเอสถูกผลิต คิดค้น และถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันทุกๆภาคส่วนและทุกคนสามารถใช้งานได้จากทั่วโลก และจุดนี้จะอธิบายสั้นๆว่าการทำงานของจีพีเอสนั้นทำงานอย่างไร

  • ดาวเทียม จี พี เอ ส หลักทั้งหมด 21 ดวง และดาวเทียมสำรองอีก 3 ดวง จะโคจรรอบโลกที่ความสูง 10,600 ไมล์ จากพื้นผิวโลก ดาวเทียมจะเว้นพื้นที่เท่าๆกันจากทุกมุมบนโลก และจะมีดาวเทียม 4 ดวง ที่อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า
  • ดาวเทียมแต่ละดวงจะประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เวลาในระบบจะไม่หยุดเดินและส่งสัญญาณวิทยุได้ตลอดจนกว่าดาวเทียมจะหมดอายุใช้งานและร่วงลง ดาวเทียมทุกดวงจะโคจรตามวงโคจรของตนเองและเวลาที่ใช้ในดาวเทียมดวงนั้นๆก็จะถูกตั้งค่าไว้แล้ว ซึ่งการถ่ายทอดตำแหน่งและเวลาของดาวเทียมแต่ละดวงยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องด้วย (โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งและเวลาจากสถานนีภาคพื้นดินวันละครั้ง และจะปรับข้อมูลที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย)
  • ทุกอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่ใช้อยู่บนภาคพื้นดินจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวนได้แบบ 3 มุม โดยจะสามารถบอกพิกัดได้จากการรับข้อมูลจาก 3 ใน 4 ดาวเทียม ซึ่งจะได้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เป็นค่าของละติจูดและลองจิจูด
  • อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสทุกตัวจะประกอบไปด้วยจอที่สามารถแสดงแผนที่โลกได้ โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ได้ก็จะไปแสดงให้สอดคล้องกับตำแหน่งบนแผนที่
  • อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่มีความสามารถเพิ่มเติม สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ครบทั้ง 4 ดวง โดยข้อมูลที่ได้จะแสดงถึงความสูงของตำแหน่งนั้นด้วย
  • ถ้าเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสสามารถที่จะคำนวนความเร็วและทิศทางในการเคลื่อนที่ได้ และนอกจากนี้หากเป็นระบบในอุปกรณ์รับสัญญาณที่มีความสามารถสูงขึ้นไปอีกจะสามารถระบุสถานที่เป้าหมายที่ต้องการไปและคำนวนเวลาในการเดินทางได้อีกด้วย

3. ประโยชน์ของ GPS

ในปัจจุบันเราสามารถพูดได้เต็มปากเลยว่า จีพีเอส มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตในยุคที่มีดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตไร้สาย ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและเร็วรวดมาก ในอดีตมนุษย์เราจำเป็นต้องเดินทางไม่ว่าจะเป็นหาที่อยู่หาอาศัยหรือหาอาหาร บ้างก็ผลัดหลงบ้างก็เจอกับอันตรายจากภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย

ปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงเดินทางเช่นกัน ไม่ว่าจะเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเอง หรือด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้คนในรุ่นเราไม่จำเป็นต้องหาเส้นทางหรือผลัดหลงเหมือนอย่างในอดีต ด้วยระบบ GPS ทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างง่ายดายและคาดเดาได้ล่วงหน้า มันจึงเป็นประโยชน์อย่างมากหากเดินทางไปยังที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือต้องการกำหนดจุดหมายการเดินทาง

GPS ยังถูกใช้ในกิจกรรมที่หลากหลาย

ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้ประโยชน์ของ จีพีเอส ในรูปแบบต่างๆคร่าวๆดังนี้

  • การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่างๆ การทำแผนที่ รวมไปถึงการงานสำรวจที่โดยส่วนใหญ่นิยมใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาไปได้ง่าย คงทน กันฝุ่นและน้ำได้อย่างดี หรือแม้แต่ใช้เป็นไฟฉายได้ในที่มืด
  • ใช้ในการนำทาง การใช้งาน จีพีเอส ในการนำทางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้งานได้ทั้งภาพ เสียง และรองรับได้หลายภาษา คนทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวกเพราะสามารถแสดงเป็นภาพสามมิติ ภาพเสมือนจริง และยังมีประสิทธิภาพอื่นๆอีกเช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบบลูทูธ หรือไวฟาย เป็นต้น
  • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งพิกัดสถานที่ การทำงานร่วมกับ ดาวเทียม จีพีเอส ร่วมไปถึงงานที่เกี่ยวกับที่ดิน เป็นต้น
  • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งพิกัดสถานที่ การทำงานร่วมกับดาวเทียม จีพีเอส ร่วมไปถึงงานที่เกี่ยวกับที่ดิน เป็นต้น
  • การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น จุดปลอดภัยหรือจุดหลบภัย จุดอำนวยความสะดวก หรือชุดป้องกันชูชีพที่ติดเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส
  • การจัดการขนส่ง ไม่ว่าจะขาส่งสินค้า หรือบริการต่างๆ ก็สามารถทำได้อย่างเป็นระบบและแม่นยำ
  • การติดตามอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นการปล้น หรือการค้ายาเสพติดก็สามารถนำ จีพีเอส มาใช้งานร่วมได้
  • การติดตามบุคคล ในด้านการกำกับตามกระบวนการยุติกรรม ผู้ต้องหา ผู้ต้องโทษ หรือบุคคลที่ต้องจับตามอง เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ทางด้านการทหาร การกำหนดรายละเอียดสถานที่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในด้านการทหาร การสอดแนม เป็นต้น
  • ใช้งานด้านสุขภาพและการกีฬา การวัดความเร็วเพื่อใช้ในการฝึกฝน ระยะทาง ซึ่งนำไปใช้ร่วมกับการคำนวนการเผาผลาญแคลลอรี่ได้อีกด้วย
  • กิจกรรมสันทนาการ เช่นการกำหนดจุดกิจกรรม จุดรวมกลุ่ม การวัดความเร็วการแข่งขัน การเดินป่า การบันทึกเส้นทาง จุด check point หรือใช้กับเครื่องบิน, รถบังคับวิทยุระบบควบคุมที่สามารถติดตามได้
  • การค้าขาย การเดินเรือสินค้า การบอกพิกัดร้านค้า หรือตำแหน่งระบุจากรูปภาพ การโฆษณาเชื้อเชิญโดยระบุตำแหน่งพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
  • การติดตามยานพาหนะ สิ่งของ หรือบุคคล ช่วยให้ติดตามหรือเช็คประวัติการเดินทาง ซึ่งจะทำให้ป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินให้กู้คืนกลับมาได้

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า ระบบจีพีเอสเข้ามามีบทบาทในการขนส่งหรือการเดินทางเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะใช้เพื่อการท่องเที่ยว หรือประกอบธุรกิจ การที่เราสามารถควบคุม ดูแล จัดการการเดินทางหรือเส้นทางได้ล่วงหน้าหรือได้ทันท่วงที นั้นทำให้การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามที่คาดไว้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้อีกด้วย

แอพพลิเคชัน Jarviz ก็ใช้ GPS ในการลงเวลาเข้าออก

การเช็คอิน และ เช็คเอาต์ (Check in, Check out), ด้วยระบบ GPS ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบว่าพนักงานแต่ละคนทำงานที่ไหน ถึงอยู่ที่บ้านก็สามารถทราบได้ ไม่ต้องใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ หรือ เครื่องตอกบัตร ให้เสียค่าใช้จ่าย และ เสียเวลา.