รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

    

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์

     ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์เริ่มเมื่อสมเด็จเจ้าพระนามหากษัตริย์ และสมุหนายกในสมัยกรุงธนบุรี ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และมีพระมหากษัตริย์สืบสันตติวงศ์เป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันรวม ๙ พระองค์ คือ

๑. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

๒. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

๓. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๔. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๕. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๖. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๗. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

๘. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

๙. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

          

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

การสถาปนาราชธานี

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลลกมหาราช ได้โปรดฯ  ให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้นบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตรงข้ามกรุงธนบุรี ขนานนามเมื่อแรกสร้างว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์” สาเหตุที่ทรงเลือกกรุงเทพฯ เป็นราชธานีใหม่  มีดังนี้

๑. ราชธานีเดิมนั้นอยู่ทางฝั่งตะวันตกเป็นท้องคุ้งน้ำเซาะตลิ่งอยู่ตลอดเวลาเวลามีศึกสงครามก็รัก ษาเมืองยากทั้งการลำเลียงอาหารอาวุธยุทธภัณฑ์ก็ทำได้ลำบาก เพราะมีแม่นำอยู่ตรงกลางคล้ายเมืองพิษณุโลก ซึ่งเรียกกันอย่างสามัญว่า “เมืองอกแตก” ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะ

๒.  พระราชวังเดิมทางกรุงธนบุรีมีบริเวณคับแคบ มีวัดขนาบอยู่สองข้าง คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายพระราชวังออกไปได้

๓.  ทางฝั่งตะวันออกแม้ว่าจะเป็นลุ่มแต่ก็มีชัยภูมิที่เหมาะกว่า ที่สำคัญคือ เป็นหัวแหลมมีน้ำล้อมรอบ กว่าครึ่ง เมื่อขุดคูเมืองทางด้านเหนือและด้านตะวันออกแล้ว เมื่องใหม่นี้ก็จะมีชัยภูมิดีเหมาะสำหรับรับมือกับข้าศึกได้

     อนึ่งการย้ายราชธานีสามารถกระทำได้ทันที่ที่ขึ้นครองราชย์ แสดงให้เห็นว่าคงจะมีพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีแล้ว หรือบางที่อาจจะได้มีการตรวจวัดทำแผนที่แล้วด้วย แต่เนื่องจากรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชติดการศึกสงคราม จึงค้างมาจนสมัยราชวงศ์ใหม่ สำหรับสถานที่ที่จะสร้างพระบรมราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนเหล่านี้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ปัจจุบันก็คือ “สำเพ็ง” ซึ่งเป็นแหล่งชาวจีนอาศัยอยู่มาจนทุกวันนี้ โปรดฯ ให้มีพิธียกเสาเมืองขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ในการสร้างเมืองครั้งนี้ได้รื้ออิฐกำแพงกรุงศรีอยุธยา มาสร้างเป็นกำแพงเมืองและป้อมปราการที่กรุงเทพฯ ด้วย แสดงว่าทรงไม่มีความคิดที่จะกลับไปบูรณะ “กรุงเก่า” ให้กลับเป็นราชธนีใหม่อีกต่อไป

          

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ในที่นี้จะแบ่งประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ออกเป็น ๓ ช่วงเวลา ดังนี้

     ๑.  ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น                        พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔

     ๒.  ประวัติศาสตร์สมัยพัฒนาประเทศ                                 พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๗๕

     ๓.  ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน                                             พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน

ในหน่วยนี้จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔ ส่วนอีก ๒ ช่วงเวลานั้นจะกล่าวถึงในหน่วยต่อ ๆ ไป

          

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๔)

     สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือช่วงเวลาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยุ่หัว

        

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด
 
รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด
 
รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

                           ภาพที่ ๖.๑ สมัยรัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๓ เป็นยุคก่อบ้านสร้างเมือง

          

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

การเมืองการปกครอง

๑. การเสริมสร้างอาณาจักร

    ได้มีการขยายอำนาจควบคุมดินแดนโดยรอบ โดยใช้นโยบายทั้งการทำศึกปราบปรามและการแผ่ บารมีให้ความคุ้มครองกับชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

     ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพม่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีการทำศึกสมครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าประดุง ๒ ครั้ง หลังจากนั้นมีเพียงศึกขนาดเล็กตามพรมแดนและในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ส่งกำลังไปยึดมะริด ทวาย และตะนาวศรีตามคำชักชวนของอังกฤษ แต่เกิดการขัดแย้งจนไทยเรียกทัพกลับ

    ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชาติอื่น ๆ ได้แก่

     ๑. เขมร ในสมัยแรกไทยเป็นผู้สถาปนากษัตริย์เขมรทุกพระองค์ แต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัยไทยไม่ได้ควบคุมอย่างใกล้ชิด เขมรจึงหันไปสนิทสนมกับญวณจนญวณสามารถแผ่อิทธิพลเข้าแทรกแซงอย่างเต็มที่

     ๒. ญวน ในสมัยแรกองค์เซียงสือยอมอ่อนน้อมต่อไทย แต่หลังจากสถาปนาตนขึ้นเป็นจักพรรดิ ก็ ได้ขยายอิทธิพลสู่ลาวและเขมร แข่งขันอำนาจการปกครองกับไทย จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ส่งกองทัพไปปราบ เกิดเป็นศึกอันนัมสยามยุทธ์ ที่ยาวนานถึง ๑๔ ปี ผลคือเขมรต้องยอมรับเป็นประเทศราชทั้งฝ่ายไทยและญวณ ทำให้ฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในการถือสิทธิเข้ายึดครองเขมร สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     ๓. ลาว กษัตริย์เวียงจันทร์ โดยเฉพาะเจ้าอนุวงศ์ มีความสนิทสนมกับไทยมาก จนได้รับการ สนับสนุนจากไทยให้เข้าครอบครองจำปาศักดิ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยุ่หัวเจ้าอนุวงศ์ คิดตั้งตนเป็นอิสระ เป็นผลให้ไทยยุติระบบกษัตริย์ของเวียงจันทร์ลง

๔. หัวเมืองมลายู ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งตกเป็นประเทศราชของไทยสมัย ธนบุรีและสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่เมืองปัตตานีได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย และถูกแบ่งเป็น ๗ หัวเมืองได้ก่อการกบฏเรื่อยมา โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

      สำหรับไทรบุรี แม้จะได้รับการแทรกแซงจากอังกฤษแต่ไทยก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และแบ่งดินแดนของไทรบุรีส่วนหนึ่งจัดตั้งเป็น “รัฐปะลิส” ขึ้น แม้อังกฤษก็ต้องยอมรับอำนาจของไทยที่มีเหนือพื้นที่มลายูเหล่านี้ ดังเช่นที่ปรากฏในสนธิสัญญาเบอร์นี (Burrny Treaty) ที่ไทยทำกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙

      

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

๒. การปกครอง

      ๑. การปกครองโดยใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตามหลักสมมติเทพและพระมหากษัริย์จะ ปฏิบัติพระองค์อยู่ในกรอบทศพิศราชธรรม ปกครองตามหลักจักรวรรดิวัตร ซึ่งเป็นแนวทางตามหลักพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีการจัดระเบียบการสืบสันติวงศ์โดยในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๒๘ พระราชวงศ์ที่มีความสำคัญรองจากพระมหากษัริย์ คือ ตำแหน่งพระกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

     ๒.  การจัดระเบียบการปกครอง มีลักษณะดังนี้

     ก)  การปกครองส่วนกลาง การบริหารอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสำคัญทั้ง ๖ คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา นอกจากนั้นเป็นกรมกองระดับรอง บางส่วนขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ บางส่วนขึ้นอยู่กับกรมทั้ง ๖ แต่ละกรมจะมีขุนนางเจ้าสังกัดปกครองดูแล ในสมัยหระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแต่งตั้งเจ้านายที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้กำกับราชการกรมต่าง ๆ เหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง

     ข)  การปกครองส่วนภูมิภาค มีการจัดลำดับความสำคัญของหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี และอยู่ใน ความรับผิดชอบของเสนาบดีสำคัญ ๓ กรม คือ

สมุหนายก ดูแลหัวเมือง ภาคเหนือ และภาคอีสาน

สมุหกลาโหม ดูแลหัวเมือง ภาคใต้และภาคตะวันตก

เสนาบดีกรมพระคลัง ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก

     ค)  การปกครองส่วนประเทศราช ซึ่งได้แก่ ล้านนา หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์ เขมร และรัฐมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ยังยึดถือระเบียบปฏิบัติเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด เมืองใดขัเขืนถือว่าเป็นกบฏ

     ๓. กฎหมายและการศาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าสมัยอยุธยา รวมทั้งขึ้นตราใหม่เพื่อให้รัดกุมและเที่ยงธรรม มีชื่อเรียกง่า “กฎหมายตราสามดวง” คัดลอกไว้ ๓ ฉบับ ประทับตราประจำตำแหน่งเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ คือ ตราราชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม ตราคชสีห์ ประจำตำแหน่ง สมุหนายก และตราบัวแก้ว ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง

       

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

๓. ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

     ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนี้

     ๑.  อังกฤษ

     ๒. สหรัฐอเมริกา

      

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

สภาพสังคม

     การจัดระเบียบสังคมยังคงยึดถือระบบ ศักดินา แบบสมัยอยุธยาเป็นหลัก ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มคนในสังคมออกเป็น ๒ กลุ่ม

๑. ผู้ปกครอง

     ประกอบด้วย กษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง และสงฆ์ในสมัยนี้เป็นช่วงเริ่มสถาปนาราชวงศ์ใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระญาติวงศ์ให้ดำรงอิสริยยศในลำดับต่าง ๆ ตามลักษณสายสัมพันธ์ ส่วนเจ้านายที่ประสูติในภายหลังก็จะมีศักดิ์ตามสกุลยศ พระราชวงศ์นับเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้าง เสถียรภาพความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของประเทศ

     สำหรับพระสงฆ์ ถือเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือทั้งระดับบนและล่าง แต่ถ้าไม่ประพฤติอยู่ในธรรมวินัยอันบริสุทธิ์ก็อาจถูกฝ่ายบ้านเมืองชำระ ไต่สวนถึงกับให้ลาสิกขา ส่วนพระสงฆ์ที่ต้องการสึกโดยไม่ประพฤติ ผิดวินัยก็เปิดโอกาสให้รับราชการในหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ราชการยังทำนุบำรุงกิจการพระศาสนาและคณะสงฆ์ เช่น การจัดสอบสนามหลวง คือ สอบความรู้ด้านพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ด้วย

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา คือ วชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามกุฏ) ได้ประกาศตั้งนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา คือ ธรรมยุติกนิกาย โดยยังมีคณะสงฆ์เดิม คือ มหานิกายอยู่

๒. ผู้ถูกปกครอง ประกอบด้วย

     - ไพร่ ซึ่งถือเป็นแรงงานสำคัญของบ้านเมืองที่ราชการต้องการในช่วงอายุระหว่าง ๑๘-๖๐ ปี โดยไพร่ต้องสักข้อมือตามสังกัดและเมืองที่อยู่ เรียกว่า “การสักเลก” ไพร่ที่ไม่ต้องการรับราชการจะส่งเงินมาแทนได้ (ไพร่หลวงเสียปีละ ๑๘ บาท ไพร่สมเสียปีละ ๖ บาท)

     - ชาวต่างชาติ ในสมัยนั้นได้แก่คนจีนเป็นส่วนใหญ่ซึ่งได้รับการยกเว้น ไม่ต้องสักเลกแต่ต้องเสียค่า “ผูกปี้ข้อมือ” (๕บาท ทุก ๓ ปี)ด้วยการใช้ด้ายผูกข้อมือแล้วตีตราครั่งต่างเงื่อน เพื่อเป็นการตอบแทนการเข้ามาทำมาหากินในประเทศ นอกจากรัฐได้รายได้แล้วการผูกปี้ข้อมือทำให้ทราบจำนวนคนจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศด้วย

     - ทาส ซึ่งถือเป็นแรงงานและมีฐานะต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในชีวิตตนเองส่วนใหญ่เป็นทาสขัดดอกที่พ่อบ้านนำบุตรภรรยาไปขัดดอก

      

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

สภาพเศรษฐกิจ

     ยังเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม คือ การเกษตรกรรม และเนื่องจากมีการขยายตัวทางการค้ากับต่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้มีการผลิตสินค้าเกษตรเชิงอุตสาหกรรม เช่น ฝ้าย อ้อน มะพร้าว ยาสูบ พริกไทย เกลือ ดีบุก ทำรายได้สำคัญให้แก่ประเทศ

     นอกจากนี้นี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าอังกฤษ จากเกาะปีนังที่เมืองถลาง (ภูเก็ต) อังกฤษนำสินค้าที่ไทยต้องการ เช่น อาวุธปืน และผ้ามาแลกกับดีบุกและสินค้าอื่น ๆ เช่น งาช้าง หนังสัตว์ ไม้ฝาง

     ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ฝ่ายไทยได้แต่งเรือสำเภาออกไปค้าขายยังต่างประเทศด้วย มีทั้งสำเภาหลวง สำเภาส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ สำเภาของเจ้านายสำเภาของขุนนาง รวมทั้งสำเภาของเอกชนบางราย เช่น ชาวจีนในประเทศไทย โดยชาติที่มีการติดต่อค้าขายคือ จีนและแขก ซึ่งได้แก่ อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย มลายู จาม และชวา

     ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๗ จนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การติดต่อการค้ากับจีนในช่วงต้นเป็นการค้าในระบบบรรณาการ หลังจากนั้นก็เป็นการค้าขายแบบปกติ แต่ยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชสำนักเช่นเดิม ผลประโยชน์ที่ได้จากการค้ากับต่างประเทศมาจากการเก็บภาษี เช่น ภาษีปากเรือ ภาษีเข้า และภาษีออก ทำให้เศรษฐกิจในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์รุ่งเรือง เป็นผลให้รัฐมีรายได้นำไปฟื้นฟูประเทศในเวลาต่อมา

        

รัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วงเวลาใด

ความเจริญทางวัฒนธรรม

๑. ด้านพระพุทธศาสนา

     ๑.๑ การสังคายนาพระไตรปิฎก

            เมื่อแรกสร้างราชอาณาจักรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงมีพระราชปณิธานว่า

                           "... ตั้งใจจะอุปถัมภก                             ยอยกพระพุทธศาสนา

                         จะป้องกันขอบเขตขัณฑสีมา                   รักษาประชาชนแลมนตรี

     แสดงให้เห็นชัดว่าทรงถือเป็นพระราชทานภาระ ที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น พระไตรปิฎกอันเป็นหลักของพระพุทธศาสนาในเวลานั้นยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๔๒ จึงได้โปรดให้มีการสังคายนานั้นใหม่ ใช้เวลาถึง ๕ เดือน แล้วจารึก ในใบลานปิดทองทั้งหน้าและหลังกรอบ จึงเรียกว่า “ฉบับทอง”

     ๑.๒ การสร้างและปฏิสังขรณ์วัด

            เป็นความนิยมมาแต่โบราณการสร้างวัดเป็นการสร้างกุศล อย่างสูงในพระพุทธศาสนาด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่เพียงพอแต่พระมหากษัตริย์ เท่านั้นที่โปรดการสร้างวัด คนไทยที่มีทุนทรัพย์ก็นิยมสร้างวัด เช่นกัน ทำให้กรุงเทพฯ มีวัดอยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญมี ดพระศรีรัตนศาสดารามอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธาราม) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ (วัดสลัก) วัดสุทัศนเทพวราราม วัดอรุณราชวราราม วัดระฆังโฆษิตาราม วั ดราชโอรส วัดสระเกศ วัดราชสิทธาราม วัดยานนาวา และวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น

๒. ด้านจิตรกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม

     จิตรกรรมสกุลต่างรัตนโกสินทร์นั้นพัฒนาจากสกุลช่างธนบุร โดยเฉพาะในยุคแรก ๆ นั้นมีลักษณะคล้ายจิตรกรรมสมัยอยุธยา ซึ่งพัฒนามาจากแบบอย่างลายเส้นของสุโขทัย จนเกิดเป็นรูปแบบที่มีลักษณะของตนเอง   เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้มีการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังอาคารบ้านเรือน ตลอดจนวัดวาอาราม ในพระอุโบสถและพระวิหาร ก็มีการประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก และไตรภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และ๓ จิตรกรรมของไทยได้รับการพัฒนาจนเจริญถึงขั้นสูงสุด แสดงลักษณะเฉพาะตัว ถือได้ว่าเป็นยุคทองหรือยุคคลาสสิกของจิตกรรมไทยอย่างแท้จริง จิตรไทยที่ปรากฏให้เห็นได้แก่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ พระอุโบสถวัดสุวรรณดาราม วัดพระเชตุพน วัดสุทัศนฯ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๓. วรรณกรรม

     วรรณคดีที่มีชื่อที่สุดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้แก่ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง “อิเหนา” ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้เล่นละครหลวง ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงถือเป็นศิลปินที่เชี่ยวชาญทั้งด้านกวีนิพนธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์อีกด้วย

สมัยรัตนโกสินทร์ คือช่วงไหน

เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์โดย ทั่วไปจะหมายถึงช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2325-2475 และเรียกช่วงเวลาหลังจากการปลี่ยนแปลง การปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันว่า ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ หรือประวัติ ศาสตร์ไทยยุค ประชาธิปไตย เริ่มเมื่อ สมเด็จเจ้าพระยา ...

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย พศ.อะไร

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์).

สมัยรัตนโกสินทร์มียุคอะไรบ้าง

5. แบ่งตามลักษณะการปกครองเช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยเป็น 2 ยุค คือ – สมัยรัตนโกสินทร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475. – สมัยรัตนโกสินทร์ยุคประชาธิปไตย พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นอย่างไร

รัชกาลที่ 1-3(ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325-2394) การสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานี เมื่อขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) และสร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้