โทโพโลยีแบบใดหากสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง

           

โทโปโลยีของเครือข่าย (Network Topology) จะอธิบายถึงแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตามลักษณะทางกายภาพ (Physical Topology) หรือทางตรรกะ (Logical Topology) ซึ่งจะแสดงถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ และเส้นทางการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เหล่านี้โทโปโลยีของเครือข่ายอาจจะมีผลต่อสมรรถนะของเครือข่ายได้ การเลือกโทโปโลยีอาจมีผลต่อ

-   ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่าย
-   สมรรถนะของอุปกรณ์เหล่านั้น
-   ความสามารถในการขยายของเครือข่าย
-   วิธีการดูแลและจัดการเครือข่าย

             การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายนั้นไม่ใช่แค่การใช้สายสัญญาณเชื่อมเข้าที่เน็ตเวิร์คการ์ดของแต่ละเครื่องเท่านั้น โทโปโลยีที่ใช้ต้องสัมพันธ์กับสายสัญญาณ เน็ตเวิร์คการ์ดระบบปฏิบัติการเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆที่จะเชื่อมกันเป็นเครือข่าย ทุกเครือข่ายต้องประกอบด้วยโทโปโลยีใดโทโปโลยีหนึ่งต่อไปนี้

1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)

              บางทีก็เรียกว่า “Linear bus” เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุด
แสดงการเชื่อมต่อแบบบัส ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่องเข้าด้วยกัน

โทโพโลยีแบบใดหากสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง

การเชื่อมต่อแบบบัส

             

คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วมหรือบัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในการส่งสัญญาณในสายที่แชร์กันนี้จำเป็นที่ต้องเข้าใจหลักการต่อไปนี้

-   ลักษณะการส่งข้อมูล การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับลื่อกลางหรือบัส

            เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่จะสามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาหนึ่ง ดังนั้นจำนวนคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อเข้ากับสื่อกลางจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เพราะยิ่งจำนวนคอมพิวเตอร์มากเท่าไร ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอนานเพื่อที่จะส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีผลทำให้เครือข่ายช้ามากขึ้น และยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการวัดว่าจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่ายนั้นมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างไร ปัจจัยที่จะทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงนั้นก็ไม่ใช่เฉพาะจำนวนคอมพิวเตอร์อย่างเดียว สิ่งต่อไปนี้เป็นปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายได้

-   ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
-   จำนวนของโปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์
-   ชนิดของแอพพลิเคชันที่ใช่เครือข่าย
-   ประสิทธิภาพของสายสัญญาณที่ใช้
-   ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

             ในขณะใดขณะหนึ่งคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายก็จะถูกเช็คดูว่ามีข้อมูลส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ หรือไม่ก็กำลังจะส่งข้อมูล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลได้ ดังนั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งจะหยุดทำงานก็จะไม่ทำให้เครือข่ายล่มได้ ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับและจะถูกติดไว้ที่ปลายสายสัญญาณการดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สายสัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณ จะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เน็ตเวิร์ดการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้นปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์ใดๆจะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณการรบกวนการสื่อสารของเครือข่ายเมื่อเกิดสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง หรือมีการถอดปลายสายออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้สายสัญญาณ ณ จุดนั้นไม่มีตัวเทอร์มิเนเตอร์ อันเป็นเหตุให้สัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งจะไปรบกวนสัญญาณเดิม และทำให้ข้อมูลนั้นเสียไป สัญญาณนี้ก็จะสะท้อนกลับไปกลับมาซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลใหม้ได้ นี่เป็นประเภทหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายนี้ล่ม ซึ่งมีผลทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้

2. โทโปโลยีแบบดวงดาว (Star Topology)

            คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชี่อมต่อด้วยสายสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รวมศูนย์ที่เรียกว่า “ฮับ (Hub)” รูปที่ 2.29 แสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบโทโปโลยีแบบดวงดาว

โทโพโลยีแบบใดหากสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง

โทโปโลยีแบบดวงดาว

           

การเชื่อมต่อในแบบนี้มีข้อดีคือ การรวมศูนย์เพื่อเป็นการบริหารทรัพยากร อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อแบบนี้จะสิ้นเปลืองสายสัญญาณมาก เนื่องจากเครื่องทุกเครื่องจะต้องใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อเข้ากับฮับ และอีกอย่างหนึ่ง  ถ้าหากอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูลหยุดทำงาน ระบบเครือข่ายจะล่ม   ทันที แต่อย่างน้อยก็รู้สาเหตุ ข้อดีอีกอย่างของโทโปโลยีแบบนี้คือ ถ้าสายสัญญาณขาด เฉพาะเครื่องที่ใช้สายสัญญาณนั้นเท่านั้นที่ไม่สามารถใช้เครือข่ายได้ ส่วนเครื่องอื่นๆยังใช้เครือข่ายได้เช่นเดิม เนื่องจากฮับจะทำหน้าที่เป็นตัวสิ้นสุดสัญญาณโดยอัตโนมัติเมื่อสายขาด การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องมาจากอีเทอร์เน็ตซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานเครือข่ายแบบท้องถิ่น  ซึ่งในปัจจุบันนั้น ก็จะใช้การเชื่อมต่อหรือโทโปโลยีแบบดวงดาว

3.  โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

                โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือเป็นวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วผ่านไปเครื่องถัดไป รูปที่ 2.30 เป็นการเชื่อมแบบโทโปโลยีแบบวงแหวนของคอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่มเช่นกัน

โทโพโลยีแบบใดหากสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง

โทโปโลยีแบบวงแหวน

4.  โทโปโลยีแบบเมซ  (Mesh Topology)

              คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อมต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินของข้อมูลได้เป็นอย่างดี

โทโพโลยีแบบใดหากสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง

แสดงการเชื่อมต่อแบบเมซ