กราฟวงกลมเหมาะสมกับข้อมูลชนิดใด

การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟและแผนภูมิ (Graph & Chart) ถูกใช้กันโดยทั่วไปในการนำเสนอข้อมูลกับผู้อ่าน ผู้ฟัง เนื่องจากเป็นทางเลือกที่ดีในการสื่อข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายกว่าการใช้ตาราง ผู้อ่าน ผู้ฟังสามารถเข้าใจ และจดจำข้อมูลได้เป็นอย่างดี

กราฟวงกลมเหมาะสมกับข้อมูลชนิดใด

การนำเสนอข้อมูลลักษณะนี้ ต้องแน่ใจว่ารูปแบบของกราฟที่เลือกใช้ เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลเดียวกันโดยใช้กราฟหลายรูปแบบผสมผสานกัน

กราฟวงกลม (Pie Graph)

กราฟวงกลม จะนำเสนอเพื่อแสดงสัดส่วนของข้อมูลต่างๆ ต่อข้อมูลทั้งหมดที่คิดเป็น 100% การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบนี้ จะต้องมีการปรับ หรือคำนวณข้อมูลในแต่ละส่วน โดยให้ผลรวมของข้อมูลทั้งหมดคิดเป็น 100% และเท่ากับพื้นที่วงกลม และที่สำคัญต้องพิจารณาด้วยว่าข้อมูลมีไม่มากจนเกินไป ไม่ควรมีความแตกต่างของจำนวนตัวเลขของข้อมูลน้อยเกินไป จนไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างด้วยสายตา โดยทั่วไปสัดส่วนข้อมูลต่างๆ ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 7% ในการสร้างกราฟชนิดนี้ ควรให้ส่วนที่ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่สุดเริ่มที่ 12 นาฬิกา และขนาดที่มีขนาดเล็กรองลงมาอยู่ถัดไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

การอธิบายข้อมูล ควรมีคำอธิบายสั้นๆ และให้คำจำกัดความของข้อมูลอย่างคร่าวๆ สำคัญที่สุดตัวเลขที่แสดงอยู่ในส่วนต่างๆ ของกราฟวงกลม รวมกันแล้วต้องได้เท่ากับผลรวมของข้อมูลทั้งหมด ที่คิดเป็น 100%

กราฟแท่ง (Bar Graph)

กราฟแท่ง นิยมใช้กันมากในการเปรียบเทียบ โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน โดยกราฟแท่งแนวตั้งนิยมนำไปใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลชนิดเดียวกันที่เวลาแตกต่างกัน ส่วนกราฟแท่งแนวนอนมักใช้เปรียบเทียบข้อมูลต่างชนิดกันที่เวลาเดียวกัน

การแสดงผลด้วยกราฟแท่ง ควรกำหนดจำนวนศูนย์ที่แกนตั้งไว้เสมอ และความสูงไม่ควรถูกแบ่ง หรือตัดทอน (หากไม่จำเป็นจริงๆ) นอกจากนี้ควรแสดงข้อมูลทางสถิติกำกับไว้เสมอ รวมทั้งจำนวนข้อมูลที่แปลความหมายได้ง่าย สามารถใช้สีหรือลวดลาย หรือเน้นความแตกต่างของข้อมูลชนิดต่างๆ โดยให้ความกว้างและระยะห่างของแท่งกราฟมีขนาดเท่าๆ กันควรใช้ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่พอที่จะอ่านได้ชัดเจน เมื่อมีการย่อภาพเพื่อพิมพ์

กราฟแท่งเดี่ยว

เป็นรูปแบบกราฟแท่งที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง การนำเสนอควรเริ่มจากกลุ่มควบคุมก่อนเสมอ (กรณีนำเสนอข้อมูลงานวิจัย) หรือค่าน้อยที่สุดไปหาค่ามากที่สุด

กราฟแท่งกลุ่ม

เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม โดยมีข้อมูลชนิดเดียกัน 2 – 3 ชนิดกระจายในทุกกลุ่ม

กราฟเส้น (Line Graph)

รูปแบบการนำเสนอที่ใช้กันมากทำได้ง่าย และใช้ได้กับข้อมูลเกือบทุกชนิดใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลแบบง่ายที่สุด จนถึงข้อมูลที่ซับซ้อนที่สุด มักใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการให้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ มากกว่าจะแสดงเพียงจำนวนตัวเลขที่แท้จริงเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากกราฟเส้นแสดงความสำคัญของข้อมูลเพียงจุดเดียวการนำเสนอด้วยคำบรรยายจะเหมาะสมกว่า

ในการประมวลผลและรายงานผลเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้บริหารหรือผู้ี่นำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ให้เห็นแนวโน้มและคาดการณ์สถานการณ์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นกราฟจึงถูก นํามาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำเสนอข้อมูลที่กระชับ ชัดเจน และสื่อความหมายให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้เวลามากนักในการอธิบายข้อมูล

วันนี้จะมานำเสนอการเลือกใช้กราฟให้ถูกต้องกับการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ครับ

1. กราฟแท่ง (Bar charts)
กราฟแท่งนิยมใช้งานมาที่สุดโดยใช้แสดงการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา หรือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม

ภาพที่ 1 กราฟแท่ง

2. กราฟวงกลม (Pie charts)
กราฟวงกลมเหมาะสำหรับการใช้เปรียบเทียบข้อมูล ใช้ได้ทั้งข้อมูล discrete และ continuous และเหมาะสำหรับชุดข้อมูลขนาดเล็ก ไม่ควรใช้กับข้อมูลที่แบ่งได้มากกว่า 5 Categories

ภาพที่ 2 กราฟวงกลม

3. กราฟเส้น (Line Chart)
กราฟเสนใช้สำหรับแสดงข้อมูลที่มีความสมพันธ์กับเวลา (time-series) โดยจะใช้กับข้อมูลประเภท continuous โดยที่กราฟเส้นจะช่วยในการแสดง แนวโน้ม (trend) การเพิ่ม ลด และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล อย่า plot กราฟเกินกว่า 4 เส้น และใชเส้นทึบ (Solid Lines) เท่านั้น

ภาพที่ 3 กราฟเส้น

4. กราฟพื้นที่ (Area Charts)
กราฟพื้นที่แสดงความสมพันธ์ของข้อมูลกับเวลา (time-series) แต่แตกต่างจากกราฟเส้นโดยที่สามารถนำเสนอปริมาณของข้อมูลได้ด้วย แต่ไม่แสดงข้อมูลมากกว่า 4 Categories และเลือกใช้สีที่มีความแตกต่างเพ่อให้สามารถเห็นข้อมูลที่ซ้อนกันอยู่ 

ภาพที่ 4 กราฟพื้นที่ 

5. กราฟจุด (Scatter Plots)
กราฟจุดใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรข้อมูล 2 ชุด เหมาะสำหรับใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ 

ภาพที่ 5 กราฟจุด

6. Bubble Charts
ใช้สำหรับการแสดงผลเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลประเภท nominal หรือจัดอันดับ (ranking) และหลีกเลี่ยงการใช้ส้ญลักษณ์แปลก ๆ แทนการใชวงกลมซึ่งอาจนําไปสู่ความไม่ถูกต้องของข้อมูล

ภาพที่ 6 Bubble Charts

7. Heat Maps
ใช้แสดงการจัดกลุ่มข้อมูล (Categorical Data) โดยใช้ความเข้มของสีในการนําเสนอค่าของข้อมูลในแผนที่หรือตารางข้อมูล ควรเลือกใช้สีให้เหมาะสม ไม่ควรใช้สีที่ตัดกัน แนะนําให้ใช้สีเดียวแล้วไล่ความเข้มของสีตามค่าของข้อมูล

ภาพที่ 7 Heat Maps

การสร้างกราฟที่ดี จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ สามารถแสดงให้เห็นความก้าวหน้า แนวโน้มของผลลัพธ์ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ในอดีต ปัจจุบัน และพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตได้ โดยสิ่งสำคัญคือ ผู้รับสารสามารถเข้าใจกราฟ และเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยแสดงลูกศรขึ้น หรือลง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และแปลผลได้ง่าย กำหนดค่าเป้าหมายหรือค่าเทียบเคียงจะทำให้ทราบว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ มากน้อยเพียงไร ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเพื่อเลือกประเด็นในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป ด้วยหลักการเพียงเท่านี้ก็สามารถนำกราฟไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย 

แผนภูมิวงกลมเหมาะกับข้อมูลลักษณะใด

แผนภูมิวงกลม (Pie Charts) แผนภูมิวงกลมเหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่มีส่วนประกอบย่อยที่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งส่วนให้ดูง่าย และสวยงาม

กราฟแท่งเหมาะกับข้อมูลชนิดใด

แผนภูมิแท่ง ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบ ระหว่าง categories. สามารถน าเสนอได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน โดยกราฟแท่งแนวตั้งนิยม น าไปใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลชนิดเดียวกันที่เวลาแตกต่างกัน ส่วนกราฟ แท่งแนวนอนมักใช้เปรียบเทียบข้อมูลต่างชนิดกันที่เวลาเดียวกัน

กราฟเส้นเหมาะกับงานประเภทใด

1) กราฟเส้น (Line) แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในด้าน ระยะเวลา จากอดีตถึงปัจจุบัน และสามารถ พยากรณ์อนาคตจากข้อมูลในอดีต นิยมใช้ กับการแสดงข้อมูลที่มีความต่อเนื่องจำนวนมาก และเหมาะสำหรับการดูแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะยาว เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 30.

Line Chart นิยมใช้กับข้อมูลประเภทใด

กราฟเส้น Line Chart ใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อดูแนวโน้ม (Trends) โดยอาจจะเทียบกับมิติของเวลา (Time Series) เช่น กราฟยอดขายรายไตรมาส กราฟจำนวนลูกค้าใหม่ในแต่ละเดือน เป็นต้น กราฟในกลุ่มนี้ ก็จะมี Line Chart, Area Chart ซึ่งจะมีทั้งแบบ Cluster และ แบบ Stack.