รัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยใดและเลิกใช้อย่างเป็นทางการในสมัยใด

ความสับสนของศักราช ไทยเคยใช้ทั้ง จ.ศ.- ร.ศ.ก่อนเป็น พ.ศ.!แต่ พ.ศ.ของไทยก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ของหลายชาติ!!

เผยแพร่: 19 ก.พ. 2564 09:11   ปรับปรุง: 19 ก.พ. 2564 09:11   โดย: โรม บุนนาค

รัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยใดและเลิกใช้อย่างเป็นทางการในสมัยใด

“ศักราช” ก็คือสิ่งที่กำหนดขึ้นหรือสมมุติขึ้นตามแต่ที่มา โดยนับเวลาเป็นปี เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิดก่อนหลังกันนานแค่ไหน

ในสมัยกรุงสุโขทัย เราใช้มหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระองค์มีชัยต่อแว่นแคว้นโดยรอบใน พ.ศ.๖๒๒ เป็นมหาศักราชที่ ๑ มหาศักราชจึงมีขึ้นหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี และได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย ใช้ในย่านนี้มาก่อนกรุงสุโขทัย ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกต่างๆ

ส่วนจุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นโดยสังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า หลังจากที่สึกออกมาชิงราชบัลลังก์ได้ใน พ.ศ.๑๑๘๒ จากนั้นได้แพร่เข้าในล้านนา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มีการติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิดในฐานะประเทศราช จุลศักราชจึงถูกนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ๒๑๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช

รัตนโกสินศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยยึดถือเอาปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และปีที่ประกาศใช้เป็นปี ร.ศ.๑๐๘ แต่ใช้อยู่ถึง ร.ศ.๑๓๑ แค่๒๔ ปีก็สิ้นสุด เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ.ในต้นรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในเรื่องเปลี่ยนศักราชนี้ไว้ในจดหมายเหตุรายวันว่า

“...ศักราชรัตนโกสินทร์ ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤศตศักราช ซึ่งดูเป็นการเสียรัศมีอยู่ จึ่งเห็นว่าควรใช้พุทธศักราชจะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้ว และอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองไทยเมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา...”

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เริ่มใช้พุทธศักราชเป็นศักราชในราชการมาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖
พุทธศักราช เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยก็มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นิยมใช้ในทางศาสนาเท่านั้น แต่เมื่อมีการประกาศใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว พ.ศ.ของไทยที่ใช้ในลาวและเขมรด้วย ก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ในแบบของลังกาที่นิยมใช้ในอินเดียและพม่า คือพุทธศักราชแบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับพุทธศักราชในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑ แต่แบบลังกา อินเดีย พม่า นับตั้งแต่พระพุทธเจ้านิพพานเป็นพุทธศักราช ๑ จึงเร็วกว่าไทย ๑ ปี อย่างในปีนี้ของเราเป็น พ.ศ.๒๕๖๔ แต่ของลังกา อินเดีย พม่า เป็น พ.ศ.๒๕๖๕ แล้ว

การเริ่มนับศักราช จะเริ่มนับจากจุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ อย่าง คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับในปีที่พระเยซูประสูติ ส่วนฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มนับในปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เริ่มอพยพชาวมุสลิมออกจากนครเมกกะใน พ.ศ.๑๑๖๕ ไปตั้งฐานใหม่ที่เมืองเมดินะห์ ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญของศาสนาอิสลาม

ปัจจุบัน มีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้พุทธศักราชในราชการ โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันแรกของเดือนมกราคม

ศรีลังกา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางพุทธศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

เมียนม่า ใช้จุลศักราชเป็นปีราชกาล และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชาเช่นกัน

กัมพูชา ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
ส่วนลาว ใช้คริสตศักราชเป็นปีราชการ และพุทธศักราชในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์
แต่อย่าลืมว่า ถ้าไปเจอคนลังกา อินเดีย หรือพม่า เขาบอกว่าเกิดใน พ.ศ.เดียวกับเรา ไม่ใช่เขาอายุเท่าเรานะ แต่แก่กว่าเรา ๑ ปี

รัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยใดและเลิกใช้อย่างเป็นทางการในสมัยใด

ข่าวประชาสัมพันธ์

ไทยไร้ทาสครบ 116 ปี 1 เมษายน วันเลิกทาส

1 เมษายน 2564

. 1 เมษายน พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” และ “พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสิทร์ศก 124” . เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น (ร.3) เมืองไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เนื่องจากพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ต้องตกเป็นทาสต่อไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่ (ทาสในเรือนเบี้ย) . ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรลูกทาสลูกไทย” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เป็นทาสอีก . ประเทศ ไทยมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน ข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิม ได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบอาชีพหลากหลาย . เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ทรงออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทยในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทยแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว . ทาส มี 7 ประเภท (ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา) 1. ทาสสินไถ่ เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา หรือขายตัวเอง ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน และทาสชนิดนี้ที่ปรากฏในวรรณคดีไทยคือนางสายทองซึ่งขายตัวให้กับนางศรีประจันนั่นเอง . 2. ทาสในเรือนเบี้ย เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้ . 3. ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป . 4. ทาสท่านให้ ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่น . 5. ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถือว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ . 6. ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส . 7. ทาสเชลย ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้ . การพ้นจากความเป็นทาส • โดยการหาเงินมาไถ่ถอน • การบวชเป็นสงฆ์โดยได้รับความยินยอมจากนายทาส • ไปการสงครามและถูกจับเป็นเชลย หลังจากนั้น สามารถหลบหนีออกมาได้ • แต่งงานกับนายทาสหรือลูกหลานของนายทาส • ไปแจ้งทางการว่านายทาสเป็นกบฏ และผลสืบสวนออกมาว่าเป็นจริง • การประกาศไถ่ถอนจากพระมหากษัตริย์ ในช่วงของการเลิกทาส . ปี 2448 ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) วันเลิกทาส ทุกวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของคนไทยอย่างล้นพ้น ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงให้มีการเลิกทาสนับแต่นั้นมา ไทยจึงเป็น ‘ไท’ จนถึงทุกวันนี้ #NNT #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #เลิกทาส #พระราชบัญญัติทาส ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/

รัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยใดและเลิกใช้อย่างเป็นทางการในสมัยใด

(ข่าวสารจาก facebook)

การนับศักราชแบบรัตนโกสินทร์ศกเริ่มใช้ในสมัยใด

ย่อว่า ร.ศ. เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยให้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี เดือนมีนาคมเป็นเดือน ...

รัตนโกสินทร์ศกเลิกใช้เมื่อใด

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ประกาศยกเลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455)

พุทธศักราชเริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยใด

จนถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชประจำชาติ แทนรัตนโกสินทร์ศก เหตุผลก็คือ พุทธศักราชช่วยเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้

รัตนโกสินทร์ศก มีที่มาจากใด

รัตนโกสินศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยยึดถือเอาปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ใน พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ ๑ และปีที่ประกาศใช้เป็นปี ร.ศ.๑๐๘