โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปิดตอนไหน

วันนี้ (4 เม.ย.) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นายจารึก เหล่าประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  พร้อมด้วย​ นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (สสจ.) , รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และ นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 (ขอนแก่น) ร่วมแถลงข่าวพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ 2 ราย คือ รายที่ 15 และ​ 16 ทั้งหมดเป็นบุคลากรทางการแพทย์ประจำโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)

นายจารึก​ กล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ ทีมสอบสวนโรค ลงพื้นที่สอบสวนโรค เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจัดงานเทศกาลสงกรานต์ตามที่กำหนดไว้เดิม ยังคงสามารถจัดได้​ แต่ต้องคุมเข้มตามมาตรฐานความปลอดภัยสาธารณสุขอย่างเข้มงวด

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปิดตอนไหน

งด​ ละเว้นกิจกรรม ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก​ มีการเว้นระยะห่างลดความแออัด งดเว้นกิจกรรมการละเล่นสาดน้ำสงกรานต์ หรือกิจกรรมที่จะต้องมีการใกล้ชิดระหว่างกัน​ ซึ่งจังหวัดขอนแก่น​ จะเร่งดำเนินการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเต็มที่​

“ขณะนี้ฝ่ายปกครอง​เตรียมตรวจสอบร้านมาเจนต้า ฮักมอลล์ หลังพบไทม์ไลน์แพทย์ 2 คน​ที่ติดเชื้อโควิด- 19 ได้ไปชมคอนเสิร์ตที่ร้านดังกล่าว​ หากพบไม่ปฏิบัติตามที่ทางจังหวัดกำหนด จะต้องสั่งปรับและสั่งปิดทันที”

นายจารีก บอกด้วยว่า สำหรับไทม์ไลน์ของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 15 ที่ตรวจพบยืนยันติดเชื้อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่า มีประวัติไปรับประทานอาหาร และซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า แล้วกลับเข้าที่พัก

หลังจากนั้นมาทำงานในภาควิชาศัลยศาสตร์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบปะกับเพื่อนแพทย์ และบุคลากร ตลอดจนผู้ป่วยบางส่วน รวมทั้งได้ไปชมคอนเสิร์ต​ โดยขณะนี้ รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มข.ได้ออกประกาศยกระดับการควบคุมการบริหารจัดการ ระดับสูงสุด

ส่วนผู้ป่วยรายที่ 16 ทำงานในภาควิชาศัลยศาสตร์ มีประวัติพบปะกับเพื่อนแพทย์ และบุคลากร ตลอดจนผู้ป่วยบางส่วนเช่นกัน สำหรับรายนี้​ ได้เดินทางไปที่กรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีความสัมพันธ์กัน เป็นบุคลากรทางการแพทย์เช่นเดียวกัน

ขณะที่ นพ.สมาน กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ยืนยันว่าสามารถควบคุมได้ ตามแผนการควบคุมจัดการโควิดระดับสูงสุด คือ ระดับที่ 5 ที่ เป็นการควบคุมเฉพาะพื้นที่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น ​

ในส่วนกลุ่มเสี่ยงนั้นได้ตรวจเชิงรุก พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มที่ใกล้ชิด กลุ่มเสี่ยงเดินทางมาตรวจโรค ส่วนสถานที่ที่มีการสืบสวนโรคและเป็นพื้นที่เสี่ยงได้ดำเนินการปิด พร้อมทั้งไม่ได้เป็นการควบคุมทั้งจังหวัด ขอให้ประชาชนยังคงปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ขอให้ตื่นตัวแต่อย่าตื่นตระหนก

ด้าน รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า โรงพยาบาล ได้กำหนดมาตรการในการค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง บุคลากร และผู้ป่วย ส่วนกลุ่มบุคลากรที่มีการสัมผัสใกล้ชิด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม-2 เมษายน 2564 ให้ติดต่อหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยงาน เพื่อรายงานตัว และส่งรายชื่อมาที่งานเวชกรรมสังคม [email protected]

กลุ่มนักศึกษา ให้ส่งรายชื่อผ่าน Email: [email protected] กลุ่มผู้ป่วย หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ ส่งรายชื่อกลุ่มเสี่ยงและย้ายผู้ป่วย ไปอยู่ในหอผู้ป่วยเฉพาะ เพื่อการเฝ้าระวัง โดยทำการคัดกรองที่ ARI Clinic ใต้ตึก 2 ก .ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมาและวันนี้

ก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มข. ยังได้ออกประกาศสำคัญ มีข้อความระบุว่า เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลติดเชื้อโควิด-19 จึงส่งผลให้มีบุคลากรจำนวนมาก มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ จึงต้องงดการทำงาน ของบุคลากรจำนวนมาก ส่งผลให้มีบุคลากรจำนวนจำกัด ที่สามารถให้การบริการได้

ดังนั้น ในช่วงเวลานี้โรงพยาบาลศรีนครินทร์​ จึงขอความร่วมมือจากผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และคนทั่วไป คือ ผู้ป่วยเก่าทุกคนที่มีการนัดหมายตรวจวันที่ 5-16 เมษายน 2564 ถ้ายังมียาเพียงพอให้เลื่อนนัดออกไปก่อน หรือติดต่อขอรับบริการส่งยาถึงบ้าน

การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเป็นหลัก การผ่าตัดกรณีไม่ฉุกเฉิน จะการเลื่อนการผ่าตัดออกไปทั้งหมด ญาติผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปขอความร่วมมืองดเยี่ยมทุกกรณี กรณีเจ็บป่วยไม่ฉุกเฉินกรุณาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และงดรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่นๆ

และโรคที่ไม่ใช่มะเร็งได้แก่ โรคในระบบต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาวะรักษาไม่หายและมีการดำเนินโรคอยู่ในระยะสุดท้าย เช่น end-stage COPD, end-stage cardiac disease, end-stage renal disease (ปฏิเสธการล้างไตหรือไม่สามารถล้างไตได้), end-stage respiratory disease, end-stage dementia, Advance AIDS และโรคหรือภาวะวิกฤติที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้พิจารณาว่า ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคอง 

รูปแบบการให้บริการ 

  • กรณีผู้ป่วยใหม่ แนะนำตัว และแนะนำทีมการุณรักษ์ แจกนามบัตรพยาบาลเจ้าของไข้
  • ประเมิน ตรวจร่างกาย สั่งการรักษา เพื่อจัดการอาการปวดและอาการไม่สุขสบายต่างๆ สื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว เรื่องโรค แนวทางการดูแลรักษา และแผนการดูแลล่วงหน้าโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง
  • พยาบาล ประเมินปัญหาและความต้องการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณ รวมถึงให้ความรู้หรือคำแนะนำเรื่องยา และแผนการดูแลรักษาพยาบาล
  • พยาบาล ส่งต่อแผนการดูแลให้เครือข่ายใกล้บ้านร่วมดูแล มีระบบการดูแลต่อเนื่อง ได้แก่ การติดตามทางโทรศัพท์ การเข้าถึงทีมประคับประคองได้ในกรณีฉุกเฉินทางโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง การเยี่ยมบ้านในเขตอำเภอเมืองขอนแก่นโดยทีมเยี่ยมบ้านการุณรักษ์ และนอกเขตอำเภอเมืองเยี่ยมบ้านโดยเครือข่ายทีมประคับประคองใกล้บ้าน

  • พยาบาล แจกคู่มือ/แผ่นพับที่เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง
  • กรณีผู้ป่วยใหม่ พยาบาลลงบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงในสมุดประจำตัว และมอบสมุดประจำตัวให้ (เพื่อความรวดเร็วในการตรวจครั้งถัดไป แนะนำให้นำสมุดประจำตัวผู้ป่วยมาด้วยทุกครั้ง ส่วนผู้ป่วยเก่า บันทึกผลของการมาติดตามการรักษา และรายการยาที่ได้รับ
  • ลงบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงใน HO/OPD card และลงวันนัดผู้ป่วย 
  • ให้คำแนะนำในการเบิกยาที่ห้องยา และการมาตามนัด เจาะเลือด X-ray ก่อนพบแพทย์ในครั้งต่อไป
  • พยาบาลให้บริการ ทำแผล ฉีดยา และช่วยแพทย์ในห้องตรวจตามความเหมาะสม

ขอบเขตการบริการ

  • ผู้ป่วยใหม่จาก OPD ต่างๆ  ผู้ป่วยที่จำหน่ายจาก IPD  และผู้ป่วยที่บ้าน 
  • ผู้ป่วยเก่าที่นัดมาติดตามการรักษา

ขั้นตอนการให้บริการ

ขั้นตอนที่ 1 บริเวณหน้าห้องตรวจ

  • ผู้ป่วยเปิดสิทธิ์การรักษาก่อนรับบัตรคิวทุกครั้ง
  • รับบัตรคิวได้ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป
  • พยาบาลคัดกรองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ  (ขอความร่วมมือผู้ป่วยและญาติล้างมือด้วยน้ำยาที่เตรียมให้ ก่อนเข้าไปในบริเวณห้องตรวจทุกครั้ง)

ขั้นตอนที่ 2 โต๊ะที่ 1 – ภายในห้องตรวจ

  • ชั่งน้ำหนัก วัดไข้ ชีพจร และความดันโลหิต 
  • ผู้ป่วยและญาตินั่งรองเรียกตรวจ บริเวณหน้าห้องตรวจที่ 2-6

ขั้นตอนที่ 3  ห้องตรวจที่ 2-6 (5 ห้อง) สำหรับแพทย์ เริ่มตรวจเวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

  • เวลาในการตรวจผู้ป่วย (ผู้ป่วยใหม่-30-45 นาที / ผู้ป่วยเก่า – 15-30 นาที)
  • แพทย์ทบทวนประวัติผู้ป่วย ก่อนเรียกเข้าห้องตรวจ 
  • การดูแลที่จะได้รับ – ซักประวัติ ตรวจร่างกาย รักษาอาการปวดและอาการไม่สุขสบายต่างๆ รวมทั้งสื่อสารเรื่องโรค แนวทางการรักษา และแผนการดูแลล่วงหน้า

ขั้นตอนที่ 4 ภายหลังพบแพทย์ ท่านจะได้รับคำปรึกษาจากพยาบาล  

  • ใช้เวลาในการให้คำปรึกษาประมาณ 15-30 นาที 
  • การดูแลที่จะได้รับ – ทบทวนความรู้เกี่ยวกับสภาวะโรค แผนการดูแล การใช้ยา และการเข้าถึงทีมกรณีฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง แจกนามบัตรพยาบาลเจ้าของไข้

ขั้นตอนที่ 5 โต๊ะที่ 4

  • รับคำแนะนำในการรับยากลับบ้าน
  • รับใบนัดเพื่อมาติดตามการรักษาครั้งต่อไป

OPD Palliative Care

ดาวน์โหลดไฟล์

  • Flow การทำงาน OPD การุณรักษ์ กว.ชั้น 5

    ดาวน์โหลดไฟล์

ติดต่อสอบถาม

  • คลินิกดูแลแบบประคับประคอง เปิดให้บริการทุกสัปดาห์ ในวันพฤหัสบดี เวลา 13.00 - 16.30 น.  ณ อาคารกัลยาณิวัฒนุสรณ์ ชั้น 5 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในเวลาราชการ (หยุดวันนักขัตฤกษ์)

    โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปิดกี่โมง

    วัน | เวลาทำการ 08.00 – 16.00 น.

    โรงบาลศรีนครินทร์อยู่ตรงไหน

    123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง

    โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัดอะไร

    โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (Srinagarind Hospital) เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นโรงเรียนแพทย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    S M c แปลว่าอะไร

    สธ. จัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ (Special Medical Clinic : SMC) เพิ่มทางเลือกให้ประชาชน กระทรวงสาธารณสุข จัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ เพิ่มทางเลือกประชาชนที่ไม่สะดวกมารับบริการในเวลาราชการ และต้องการได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง ลดความแออัดของหน่วยบริการภาครัฐในเวลาราชการ