เงินเดือนเจ้าอาวาสออกวันไหน

เงินเดือนพระ...เท่าไหร่ --------------------------- …สมัยผมเป็นเด็กรู้เพียงว่าพระจะไม่นอนบนฟูกอย่างเก่งก็เอาผ้าห่มหนาปูพ...

Posted by แพร่ข่าว ออนไลน์ on Monday, February 26, 2018

[ดาวน์โหลดท้ายข่าว] บัญชีอัตรานิตยภัตปรับใหม่ "ฉบับย่อ" พระสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ เลขานุการ พระเปรียญ 9 ประโยคและพระอธิการ ที่ประกาศใช้ตั้งแต่เมษายน 2554 หลังล่าสุด สปช. เสนอเก็บภาษีพระที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท

27 พ.ค. 2558 สืบเนื่องจากข้อเสนอของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ให้เก็บภาษีพระภิกษุที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท และเก็บภาษีวัดที่จัดกิจกรรมเชิงพุทธพาณิชย์ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบข้อเสนอดังกล่าวและมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ศึกษาถึงความเป็นไปได้และรายงานกลับมาภายใน 30 วัน หรือวันที่ 12 มิ.ย. นี้ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยกว้างขวางนั้น

จากข้อมูลเมื่อปี 2554 พบว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะนั้นได้เห็นชอบเพิ่มเงินนิตยภัต เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการประกอบกิจพระศาสนา 195,572,400 บาท จากเดิมได้รับ 930 ล้านบาท รวมเป็น 1,122,572,400 บาท และให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ซึ่งนิตยภัตที่ปรับขึ้นนั้น ปรับขึ้นตั้งแต่ระดับชั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า จนถึงระดับชั้นพระครูสัญญาบัตร โดยมีพระสงฆ์ 40,000 รูป ที่จะได้รับเงินนิตยภัตเพิ่ม ดังนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ปรับเป็น 37,700 บาท สมเด็จพระสังฆราช 34,200 บาท ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช 30,800 บาท สมเด็จพระราชาคณะ 27,400 บาท กรรมการ มส. 23,900 บาท เจ้าคณะใหญ่หนต่างๆ 23,900 บาท พระราชาคณะ เจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ 20,500 บาท เจ้าคณะภาค-แม่กองบาลี-แม่กองธรรม 17,100 บาท รองเจ้าคณะภาค 13,700 บาท เจ้าคณะจังหวัด-เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช 10,300 บาท 

ส่วนระดับชั้นพระราชาคณะนั้น เจ้าคณะรองชั้นสัญญาบัตร-พระราชาคณะชั้นธรรม 13,700 บาท พระราชาคณะชั้นเทพ-พระราชาคณะเจ้าคณะจังหวัด 10,300 บาท พระราชาคณะชั้นราช 6,900 บาท พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-ปลัดกลาง-พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.9 5,500 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.7-8 5,200 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.5-6 -เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 4,800 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.4/รองเจ้าคณะจังหวัด-เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 4,500 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.3-พระราชาคณะชั้นสามัญยกฝ่ายวิปัสนาธุระ-เจ้าคณะอำเภอ-เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี-พระเปรียญธรรม 9 ประโยค (ป.ธ.9)-พระคณาจารย์เอก 4,100 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญยก-พระครูปลัดชั้นเอกของสมเด็จพระราชาคณะ-พระคณาจารย์โท 3,800 บาท

สำหรับตำแหน่งพระครูสัญญาบัตรตั้งแต่พระราชาคณะชั้นสามัญยก/เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ-พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก-เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนต่างๆ 3,800 บาท พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท-เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก-ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ-พระครูสัญญาบัตรเทียบเท่า ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ-รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก-เลขานุการเจ้าคณะภาค-พระครูปลัดรองสมเด็จพระราชาคณะ 3,400 บาท พระครูสัญญาบัตรระดับเจ้าคณะอำเภอชั้นโท-เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี-รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท-ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก-พระครูสัญญาบัตรเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก-รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก-เจ้าคณะตำบลชั้นเอก-เลขานุการรองเจ้าคณะภาค-เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด-พระครูปลัดของเทียงรองสมเด็จพระราชาคณะ-พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราชชั้นเอกได้รับ 3,100 บาท 

พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท-เจ้าคณะตำบลชั้นโท-ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท-พระครูสัญญาบัตรเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท-เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก-รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี-พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราชชั้นโท-พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นธรรม-เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัด 2,700 บาท พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรี-เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท-เจ้าอธิการ 2,500 บาท พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี-เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ 2,200 บาท พระครูสัญญาบัตรรองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์-ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์-เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอ-พระอธิการ 1,800 บาท และเลขานุการเจ้าคณะตำบล 1,200 บาท

อนึ่งตามระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยการเบิกจ่ายนิตยภัต พ.ศ. 2514 "นิตยภัต" หมายถึง เงินงบประมาณที่กรมการศาสนาได้รับเป็นประจำปี เพื่อจ่ายถวายอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง หรือพระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรานิตยภัตซึ่งขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังแล้ว โดยกรมการศาสนาจะเบิกจ่ายนิตยภัตถวายพระภิกษุ ตามอัตราและวงเงินที่ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง

สำหรับบัญชีอัตรานิตยภัตปรับใหม่ "ฉบับย่อ" พระสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ เลขานุการ พระเปรียญ 9 ประโยคและพระอธิการ ที่ประกาศใช้ตั้งแต่เมษายน 2554 สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนา ถือเป็นศาสนาประจำชาติ และรัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าภัตตาหารประจํา ที่เรียกว่า นิตยภัต แก่พระภิกษุ สามเณร ที่สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการถวายเงินอุดหนุนอุปถัมภ์นิตยภัต จะถวายแด่ พระสังฆาธิการ พระสมณศักดิ์ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค และพระเลขานุการ ตามความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 

ทำความรู้จัก "สมณศักดิ์" พระสงฆ์ของไทยตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการปกครองสงฆ์

 “พระมหาไพรวัลย์” แนะแก้เรื่องใหญ่วงการสงฆ์ก่อน “ห้ามพระจับเงิน”

เงินเดือนเจ้าอาวาสออกวันไหน

ความเป็นมาของนิตยภัต 

นิตยภัต คือ ค่าภัตตาหารที่พระมหากษัตริย์ถวายแก่พระภิกษุ สามเณรเป็นนิตย์ สมัยก่อนพระมหากษัตริย์ จะทรงมีพระราชศรัทธาถวาย ภัตตาหาร อัฐบริขาร และพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นรายปีแก่พระสงฆ์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ยุบเลิกเบี้ยหวัดรายปี เปลี่ยนเป็นเบี้ยหวัดรายเดือนแทน 

ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 การถวายภัตตาหารเป็นสํารับ ๆ เช้าและ เพลทุกวัน และทุก 3 วันพระในหนึ่งเดือน แต่ไม่ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่ได้ รับนิตยภัตนั้นเป็นพระสงฆ์ประเภทใดบ้าง ที่แน่นอนคือพระสงฆ์ที่ได้รับที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์และพระพิธีธรรม หรือที่เรียก “พระจตุเวท” หรือ “พระจตุรเวท” คือพระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์ให้มาสวดจตุรเวทที่หอพระศาสตราคม ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ทุกวันพระตลอดปีจนถึง ปัจจุบัน โดยแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1. สํารับพระสงฆ์ฉัน 3 วันพระ 60 สํารับ ๆ ละ 1 เฟื้อง 1 สลึง 
2. สํารับพระสงฆ์สวดพระจตุเวท (ปัจจุบันเรียกจตุรเวท คือ พระพิธีธรรม) 3 วันพระ 14 สํารับ ๆ ละ 1 เฟื้อง 1 สลึง 
3. สํารับพระสงฆ์หม้อเพล 60 สํารับ ๆ ละ 1 เฟื้อง 1 สลึง 
4. สํารับพระสงฆ์นิตยภัต 1,200 สํารับ ๆ ละ 1 เฟื้อง 1 สลึง

ส่วนการจ่ายนิตยภัตเป็นเงินมาปรากฏหลักฐานในรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1190 (พ.ศ. 2371) โดยเมื่อพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใดแล้ว ก็พระราชทาน นิตยภัตและกําหนดอัตรานิตยภัตไว้ด้วย ดังนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช           5 ตําลึง 
2. สมเด็จพระพนรัตน์            5 ตําลึง
3. กรมหมื่นนุชิตชิโนรส         5 ตําลึง 
4. พระพรหมมุนี                    5 ตําลึง
5. พระพุทธโฆษา                 5 ตําลึง
6. พระพิมลธรรม                   4 ตําลึง 3 บาท 
7. พระธรรมอุดม                   4 ตําลึง 3 บาท 

ลดหลั่นลงมาตามลําดับจนถึงพระเปรียญตรีและพระครูสัญญาบัตร 1 ตําลึง 2 บาท จนถึงรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1256  ตรงกับ พ.ศ. 2433 จึงได้มี การปรับปรุงอัตรานิตยภัต ดังนี้

1. พระราชาคณะชั้นสมเด็จ              อัตรา 2 ตําลึง 
2. พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ         อัตรา 6 ตําลึง 
ลดหลั่นลงมาจนถึงต่ําสุดพระเปรียญตรี 1 ตําลึง 2 บาท

กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2467 ได้มีการปรับปรุงอัตรานิตยภัตทุกอัตรา โดยเฉพาะตําแหน่งสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏและพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ ที่ได้รับการสถาปนาก่อน พ.ศ. 2459  นอกจากจะได้รับนิตยภัต ตามอัตราที่ทรงกําหนดแล้ว ยังได้รับค่าข้าวสารอีกเดือนละ 1 บาท ส่วนผู้ที่ ได้รับการสถาปนาหลัง พ.ศ. 2459ไม่ได้รับค่าข้าวสาร

และ รัฐบาลยังมีการจัดสรรเงินงบประมาณ ถวายเป็นนิตยภัต แก่พระสังฆาธิการ พระสมณศักดิ์ พระเปรียญธรรม 9 ประโยค และพระเลขานุการ ซึ่งได้รับ เป็นประจําทุกปีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจ ด้านการบริหาร การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านสาธารณูปการโดยปรับปรุง อัตรานิตยภัตให้เหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจและสังคม 

เงินเดือนเจ้าอาวาสออกวันไหน

ปัจจุบัน ได้มีการกำหนดบัญชีอัตรานิตยภัต พระสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ เลขานุการ เปรียญธรรม 9 ประโยค และพระอธิการ ไว้ในคู่มือปฏิบัติงานนิตยภัต ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 เป็นต้นมา โดยกำหนดจ่ายนิตยภัตแก่พระสงฆ์ ดังนี้ 

เจ้าอาวาสวัดได้เงินเดือนไหม

พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก 4,800 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.4/รองเจ้าคณะจังหวัด 4,500 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท 4,500 บาท พระราชาคณะชั้นสามัญป.ธ.3 ได้ 4,100 บาท

เจ้าอาวาสมีเงินเดือนเท่าไร

พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี 2,200 บาท เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ 2,200 บาท พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ 1,800 บาท

เงินเดือนพระเรียกว่าอะไร

การถวายนิตยภัต (เงินเดือน) แก่พระสงฆ์ ก็เพื่อสนับสนุนเป็นค่าภัตตาหารประจําตามความเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการทํานุบํารุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญมั่นคงสืบไป

เจ้าคณะจังหวัดเกษียณอายุเท่าไร

มหาเถรสมาคมออกกฎ ให้พระสงฆ์อายุ 80 ปีขึ้นไปต้องเกษียน !