ยาลดกรดไหลย้อนควรกินตอนไหน

การรักษาภาวะกรดไหลย้อนขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ทานยาเพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเบื้องต้น


ภาวะกรดไหลย้อน

  • ภาวะไหลย้อน (GER) เกิดจากสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหาร

  • ภาวะไหลย้อน (GER) เกิดขึ้นเป็นปกติในทารกและเด็กและจะหายไปเองเมื่อเติบโตขึ้น

  • ภาวะไหลย้อน (GER) อาจทำให้เกิดการอาเจียน ไอ เสียงแหบ และเจ็บปวดขณะกลืน

  • การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย มีวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยา และการผ่าตัด

 

ยารักษาภาวะกรดไหลย้อน 

1) ยาระดับที่ 1 ยาลดกรด (Antacids) หรือยาลดการผลิตกรด (H2-BLOCKERS) มักจะถูกใช้ก่อน ยาชนิดนี้ช่วยทำให้กรดไม่ไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร มักจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาน้ำ เช่น ชื่อสามัญ (ชื่อทางการค้า)

  • Cimetidine (Tagamet)

  • Ranitidine (Zantac)

  • Famotidine (Pepcid)

  • Nizatidine (Axid)

***ยาทุกชนิดจะมี 2 ชื่อเสมอ คือ ชื่อสามัญและชื่อการค้า (ยี่ห้อ-Brand) ยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันถือว่าเป็นยาชนิดเดียวกัน เช่น พาราเซตามอล เป็นชื่อสามัญของยา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อและราคาต่างกัน

2) ยาระดับที่ 2 ยาที่ทำให้หยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร คือ ยาในกลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตกรดของกระเพาะอาหารหรือไม่มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่มีรายงานผลข้างเคียงว่า อาจเกิดการท้องผูก คลื่นไส้ และปวดศีรษะ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น

  • Esomeprazole (Nexium)

  • Omeprazole (Prilosec)

  • Lansoprazole (Prevacid)

  • Rabeprazole (Aciphex)

  • Pantoprazole (Protonix)

3) ยาระดับที่ 3 คือ Prokinetic Agents ยาในกลุ่ม Prokinetic Agents ทำหน้าที่ช่วยทำให้หูรูดกระเพาะอาหารปิดได้สนิทขึ้นเพื่อทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน ยาในกลุ่มนี้มักจะใช้ร่วมกันกับยาในกลุ่มที่ 1 หรือยาลดกรด ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • Metoclopramide (Reglan)

  • Cisapride (Propulsid)

  • Erythromycin (Dispertab, Robimycin)

  • Bethanechol (Duvoid, Urecholine)


***มีการรายงานถึงผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงในเด็กและผู้ใหญ่จากการใช้ยา Metoclopramide และ Cisapride ผลข้างเคียงทางจิตคือ ภาวะสับสนกังวล ท้องเสีย คลื่นไส้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่น ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังทานยาชนิดอื่นอยู่ด้วยหรือไม่


วิธีลดภาวะกรดไหลย้อน 

นอกจากการใช้ยาแล้วยังมีวิธีอื่นที่จะใช้ลดอาการที่เกิดจากภาวะไหลย้อนได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานอาหารในปริมาณครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 2 – 3 ชั่วโมง

  • นอนให้ศีรษะสูง 6 – 8 นิ้ว โดยใช้ท่อนไม้รองพื้นเตียงบริเวณด้านหัวเตียงที่ศีรษะนอนทับ การใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้นจะไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากทำให้ลำตัวพับงอ

    �ä�ô�����͹����ŧ ���áԹ��Ŵ�ô����������������͹��Ǣͧ�ҧ�Թ�����㹡�áӨѴ�ô�繡���ѡ�ҷ������˵� �������ش�Թ�Ҵѧ����� ��м��������˵ط������ô�����͹����� �����¡�С�Ѻ�����ҡ���ա�ѧ��� �ѧ��鹼����¨�Ŵ������ҷ���ͧ��Դ�ѧ�������������� ����������û�ԺѵԵ�Ǣͧ������ ���

    หากใครที่ต้องการลดการทานยาและต้องการทานสมุนไพรที่ช่วยแก้กรดไหลย้อนจะแนะนำเป็นผง ผงกล้วยน้ำว้าดิบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกจากธรรมชาติ และ แนะนำการเลือกทานอาหารลดการกินของเผ็ดร้อน รสเปรี้ยว ของหมักดอง และเครื่องดื่มที่เป็นคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ( อ่านเพิ่มคลิ๊ก กรดไหลย้อน ห้ามกิน )

    ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เมื่อกล่าวถึงยาชนิดนี้ หลายท่านอาจคุ้นเคยมันเป็นอย่างดี เนื่องจากว่าสถิติของคนไทยในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนและเกิดอาการกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถพบได้ทุกเพศและทุกวัย เพราะพฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบการกินอาหารรสจัดจ้าน กินเร็ว และสมัยนี้ผู้คนมีพฤติกรรมการกินอาหารมื้อดึก จึงทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนและเป็นโรคกระเพาะกันได้ง่าย และเมื่อเกิดอาการขึ้นส่วนมากจะกินยาลดกรด เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ค่อนข้างคุ้นเคยยาชนิดนี้นั่นเอง

    โดยยาชนิดนี้มี 2 ประเภทยอดนิยม คือ แบบน้ำและแบบเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วแบบน้ำจะกินง่ายกว่า แต่แบบเม็ดก็ค่อนข้างเป็นที่นิยม เนื่องจากพกพาสะดวก สามารถพกไว้ในกระเป๋าหรือติดตัวไปได้ทุกที่ จึงทำให้เป็นที่นิยมมากกว่านั่นเอง

    ยาลดกรด ควรกินตอนไหน

    ยาชนิดนี้ ควรกินเมื่อเกิดอาการ เช่น อาการกรดไหลย้อน แสบท้อง  ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดอาการควรกินทันที และหลังจากนั้นกินติดต่อกัน 3 เวลาหลังมื้อาหาร เพื่อลดการหลั่งกรดและปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหารให้คงที่ ป้องกันไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

    ยาลดการหลั่งกรดห้ามกินกับยาอะไรบ้าง

    หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ยาบางประเภทไม่ควรกินร่วมกับยาประเภทอื่น ๆ เพราะจะทำให้ยาที่กินเข้าไปตีกัน เพราะฤทธิ์ของยาแต่ละตัวนั้นออกฤทธิ์ไม่เหมือนกันหรือตรงข้ามกัน โดยสารบางอย่างในตัวยา อาจมีฤทธิ์หรือกลไกการทำงานที่แตกต่างและไม่เข้ากัน สารบางอย่างอาจขัดการทำงานของกันและกันได้ จึงทำให้เกิดการตีกันของยาที่กินเข้าไป ซึ่งยาลดกรดไม่ควรกินกับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมทั้งยากันชัก สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก โดยเมื่อกินยาทั้ง 2 ประเภทนี้พร้อมกัน  จะทำให้สารในตัวยาลดกรด อย่าง อะลูมิเนียมและแมกซีเนียมจะเข้าไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของตัวยาเหล่านี้  ทั้งยังทำให้การดูดซึมยามีประสิทธิภาพลดลงอีกด้วย

    ยาแก้กรดไหลย้อน ยี่ห้อไหนดี

    โดยส่วนใหญ่แล้ว ยาแก้กรดไหลย้อน ทางแพทย์จะแนะนำยี่ห้อที่มีการออกฤทธิ์ในระดับกลาง เพราะยาลดกรดไหลย้อนที่ออกฤทธิ์ในระดับนี้ จะไม่มีความเป็นพิษต่อร่างกายและกระเพาะอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่ยี่ห้อที่แพทย์แนะนำ

    Antacil ( แอนตาซิล )

    เชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยยี่ห้อนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นยี่ห้อที่วางขายในไทยมาเนิ่นนาน เป็นยี่ห้อที่คนไทยนิยมกินเพื่อรักษาอาการกรดไหลย้อนและอาการต่าง ๆ เช่น อาการจุกเสียดแน่นท้อง แสบร้อนช่วงท้อง และโรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น มีการออกฤทธิ์กลาง ๆ และออกฤทธิ์เร็ว นอกจากนี้ยังมีให้เลือกกินได้ทั้งแบบเม็ดและแบบน้ำอีกด้วย

    Miracid ( มิราซิด )

    เป็นตัวยาที่ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากยาตัวนี้ออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว แต่ไม่มีพิษหรือทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกายและกระเพาะอาหาร หลายท่านที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกหลังจากกินอาหารรสจัด เมื่อกินยาตัวนี้เข้าไปไม่เกิน 5 – 10 นาที อาการแสบร้อนจะบรรเทาลง อีกทั้งยังสามารถพกพาได้สะดวก เนื่องจากเป็นกล้องและยาอยู่ในรูปแบบแผงแคปซูล

    Omeprazole ( โอเมพราโซล )

    ยาตัวนี้ เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนมากจะนิยมใช้ในผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน หรือมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ยาตัวนี้จะเข้าไปยับยั้งการหลั่งกรดและควบคุมไม่ให้กรดหลั่งออกมามากเกินไป จึงไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและทำการรักษาแผลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ จนทำให้เกิดอาการแสบร้อนช่องท้องจากกรดที่กัดกระเพาะ ซึ่งยาตัวนี้จะไม่มีสารตกค้างหรือสารอันตราย จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งยี่ห้อยอดนิยม

    ยาลดกรดควรกินก่อนอาหารกี่นาที

    ส่วนยาลดกรดในกระเพาะควรกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ยาหลังอาหาร เป็นยาที่อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมจึงรับประทานหลังอาหารได้ รับประทานหลังอาหาร 15 นาที

    ยาลดกรดต้องกินทุกวันไหม

    หยุดกินยาลดกรดบ่อยๆ และกินนานเกินไป ไม่แนะนำให้ซื้อยามากินเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน หรือแม้แต่การกินยาลดกรดเป็นเวลานานเกินกว่าระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่แนะนำไว้สำหรับแต่ละโรค รวมถึงไม่กินยาลดกรดพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียได้หลายอย่าง นั่นคือ

    กินยาลดกรด กี่นาทีหาย

    โดยยาลดกรดในที่นี้ น่าจะหมายถึงยาลดการหลั่งกรด ดังนั้นจะต้องกินก่อนมื้ออาหารเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ทันมื้ออาหาร เพราะเมื่ออาหารเข้าไปในกระเพาะจะกระตุ้นการหลั่งกรดออกมา จึงควรกินก่อนมื้ออาหารประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงค่ะ การใช้ยาควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์และมีการกลับไปติดตามอาการเป็นระยะว่าต้องปรับยาหรือไม่

    ยาลดกรดในกระเพาะตัวไหนดี

    10 อันดับ ยาแก้กรดไหลย้อน ยี่ห้อไหนดี รวมยาเม็ด ยาน้ำ.