พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด

สยามรัฐออนไลน์ 29 กันยายน 2561 22:52 น. สยามรัฐพระเครื่อง

พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ อีกไม่กี่เดือนจะมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งของชาติไทย คือ วันที่ 28 ธันวาคม เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของ สมเด็จพระศรีสรรเพชร์ (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4) พระมหากษัตริยาธิราชที่ยิ่งใหญ่ ที่รู้กันจักกันดีในพระนาม ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือ ‘สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) มหาราช’ พระมหาคุณูปการของพระองค์เป็นที่ทราบกันทั่วไป จนมีผู้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปในลักษณาการต่างๆ เป็นที่เคารพสักการะไปทั่วและมีกฤษฎาภินิหารปรากฏเป็นที่อัศจรรย์มากมาย สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) มหาราช พระนามเดิมว่า "สิน" ชื่อจีนเรียกว่า “เซิ้นเซิ้นซิน” เป็นบุตรของขุนพัฒน์ (นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้) และ นางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ.2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะจึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง) และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปี ตามขนบประเพณีไทย อุปสมบทได้ 3 พรรษา ก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงานด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด
ปี พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่พระเจ้าเอกทัศน์ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน พ.ศ. 2308 โปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม
พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด
จนปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ายากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี
พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด
ด้วยพระราชกรณียกิจในการกอบกู้ชาติของพระองค์ และความสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ราชการจึงมีนโยบายที่จะสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ขึ้น โดยกำหนดให้ตั้งที่วงเวียนใหญ่ ธนบุรี ซึ่งกรมศิลปากรได้ออกแบบมาให้ประชาชนเลือกด้วยกัน 7 แบบ ปรากฏว่าประชามติที่ได้คือแบบบรมรูปทรงม้าในพระหัตถ์ทรงดาบ แต่การดำเนินงานต้องชะงักลงเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2492 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อนุมัติเงินงบประมาณ 200,000 บาท สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของคนจริง โดยกรมศิลปากรออกแบบพระบรมรูปและพระแท่น ปั้นหล่อเรียบเรียงและจัดทำแผ่นจารึก กรมโยธาธิการตกแต่งบริเวณวงเวียนใหญ่ บริษัท สหการก่อสร้าง จำกัด สร้างแท่นฐาน พ.ศ. 2494 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทำการปั้นพระบรมรูปเสร็จ ทางราชการจึงจัดประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเททองพระเศียรเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2494
พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด
ขณะนั้น วัดสุทัศนเทพวราราม โดย ท่านเจ้าคุณศรีสัจจาญาณมุนี (สนธิ์) ได้ดำริจัดสร้างพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดเล็กขึ้น โดยจัดพิธีเททองหล่อพระรูปดังกล่าว 2 ครั้งด้วยกัน คือ วันที่ 26 มกราคม 2494 ทำพิธีหล่อจำนวน 3,000 องค์ และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2494 เทหล่อเพิ่มอีก 5,000 องค์ โดยใช้ชนวนเก่าที่เหลือจากการเทพระกริ่งรุ่นต่างๆ ของสายวัดสุทัศน์มาผสมด้วย ลักษณะของรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นรูปเหมือนเต็มองค์ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ สวมพระมาลาพระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ ประทับนั่งบนพระแท่นฐาน 2 ชั้น น้ำหนักถ่วงมือ เนื้อสีเหลืองอมเขียว ได้รับความนิยมเสาะหากันทั่วไปทั้งในหมู่ชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีน
พระบาท สมเด็จ พระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ โปรด เกล้า ให้ สร้าง สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้น เมื่อ ใด
ในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ กระผมจึงขอเรียนเชิญชาวไทยทั่วประเทศกราบสักการะดวงพระวิญญาณแห่งองค์สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) มหาราช เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระคาถาบูชาจำง่ายๆ สั้นๆ ป้องกันภัยพิบัติกำจัดเสี้ยนศึกศัตรูสร้างความเป็นสิริมงคลกับตนเองโดย ตั้งนโมสามจบอธิษฐานบูชาเก้าคาบว่า "โอม ปู่ตากจตุอิตัง ตากสินราชะโย ตังอิ" ครับผม โดย:รามวัชรประดิษฐ์

สมุดภาพไตรภูมิ ขึ้นเมื่อใด

เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๙ โดยตรัสสั่งอัครมหาเสนาธิบดี เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ให้จัดพระสมุดเนื้อดี ในที่นี้ หมายถึง สมุดไทยขาวคุณภาพดีไปส่งให้แก่ช่างเขียน สำหรับเขียนภาพไตรภูมิโดยทรงกำหนดให้ไปเขียนใน สำนักของสมเด็จพระสังฆราช สันนิษฐานว่า คือ สมเด็จ พระสังฆราชศรี เดิมอยู่วัดพนัญเชิง กรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อกรุงแตกหนีพม่าไปอยู่ ...

จุดประสงค์ของการทำสมุดภาพไตรภูมิในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คืออะไร

ในการเขียน " สมุดภาพไตรภูมิ " ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดให้ดำเนินการจัดทำกันอย่างประณีตพิถีพิถันกวดขันกันเป็นพิเศษ รวมความว่า พระราชประสงค์ในการจัดทำสมุดภาพไตรภูมิบุราณฉบับนี้ ก็เพื่อให้มหาชนทั้งหลายได้มีความเข้าใจในเรื่องนรกสวรรค์ได้ถูกต้องตรงตามพระบาลี แล้วจะได้พากันตั้งหน้าประกอบแต่กรรมดีละเว้นกรรมชั่ว ...

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงธนบุรีในปี พ.ศ.ใด

หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่ธนบุรี ตั้งราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ขนานนามว่า"กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" และทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ในพระชนมายุ 34 พรรษา ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 และพระราชกรณียกิจหลังจากนั้นของพระองค์ คือการปราบปรามก๊กต่าง ๆ ที่แตกแยกเป็นฝ่าย ...

วันพระเจ้าตากสิน 2564ครบกี่ปี

และในปี พ.ศ. 2564 ครบ 254 ปี แห่งการสถาปนากรุงธนบุรี ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่ออาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกประการ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่หน้าพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี