เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน



กิตตินันท์ นาคทอง Facebook.com/kittinanlive

เมื่อวันก่อน ธนาคารกรุงเทพ เปิดตัวผลิตภัณฑ์บัตรเดบิต “บีเฟิสต์ ดิจิทัล” (Be1St Digital) และเปิดให้สมัครผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking ไปเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565

ฟังดูแล้วอาจจะคิดว่าเป็นบัตรเดบิตธรรมดา แต่ส่วนตัวคิดว่าแตกต่างกว่าที่เคย

เพราะเป็นบัตรที่แยกการใช้งานระหว่าง บัตรเวอร์ชวล (Virtual Card) สำหรับช้อปออนไลน์ กับ บัตรพลาสติก (Physical Card) ที่ออกแบบมาให้ไม่มีหมายเลขบัตร และข้อมูลบนบัตรใดๆ นอกจากชื่อ และนามสกุลผู้ถือบัตรเท่านั้น

อาจมีคนสงสัยว่า ทำไมถึงทำผลิตภัณฑ์บัตรเดบิตออกมาแบบนั้น?

แม้จะไม่มีเหตุผลแน่ชัด แต่หากยังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้ว ประมาณเดือนตุลาคม 2564 ผู้ถือบัตรเดบิตกว่า 64 ล้านใบทั่วประเทศ ต่างประสบปัญหา ถูกหักเงินในบัญชีธนาคารจำนวนเล็กน้อย หลายร้อยรายการจนเกลี้ยงบัญชี

กระทั่งธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ตรวจสอบพบว่าเป็นพฤติกรรมของมิจฉาชีพที่เรียกว่า “BIN Attack” อาศัยข้อมูลจากบัตรจริง แล้วสุ่มเลขบัตรเพิ่ม ก่อนสวมรอยทำธุรกรรม ผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ใช้ OTP

กว่าผู้ถือบัตรตัวจริงจะรู้ตัว เงินก็ค่อยๆ ไหลออกจากบัญชี หายเกลี้ยงไปหมดแล้ว!

ภายหลังจะเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเพิ่มวิธียืนยันตัวตนเวลาช้อปออนไลน์ เช่น ส่งรหัส OTP ผ่าน SMS ให้เรากรอกทุกครั้ง รวมทั้งเพิ่มระดับการตรวจจับและสกัดกั้นรายการผิดปกติมากขึ้น

ธนาคารบางแห่ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เปลี่ยนรูปแบบออกบัตรเดบิตใหม่ มาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2564 โดยให้ออกบัตรเวอร์ชวล ผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy ก่อน ซึ่งใช้ได้ทันที แล้วกดรับบัตรพลาสติกเพิ่ม

โดยธนาคารจะจัดส่งบัตรพลาสติกภายใน 14 วันทำการ ซึ่งบัตรพลาสติกที่ได้รับนับจากนี้ จะไม่แสดงหมายเลขรหัส CVC/CVV ด้านหลังบัตรอีกต่อไป หากต้องการทำธุรกรรมออนไลน์ ให้ดูข้อมูลบัตรได้ที่แอปฯ SCB Easy เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งบัตรเวอร์ชวลและบัตรพลาสติก ธนาคารยังคงคิดค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท จึงรู้สึกแปลกใจอยู่บ้าง เพราะธนาคารอื่น อย่างธนาคารกสิกรไทย กรุงไทย ทีเอ็มบีธนชาต ฯลฯ ถ้าเป็นบัตรเวอร์ชวลจะออกให้ฟรี

เข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์บัตรเดบิตเดิมนั่นแหละ แต่เปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน โดยให้กดดูเลข CVV/CVC ผ่านแอปฯ แทนที่จะใส่ลงไปในบัตร ข้อมูลบัตรไปอยู่ในมือคนอื่นก็เอาไปทำธุรกรรมออนไลน์ไม่ได้

เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน

มาถึงคิวของธนาคารกรุงเทพ คราวนี้ออกบัตรเดบิตทั้งแบบบัตรเวอร์ชวล และบัตรพลาสติกพร้อมกัน ใช้ข้อมูลบัตรเดียวกัน ช่วงแนะนำถึง 31 สิงหาคม 2565 สมัครฟรี ส่งฟรีถึงบ้าน ปีต่อไปค่อยจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท

บัตรใบนี้เปิดให้สมัครผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking เท่านั้น หากสมัครผ่านสาขาจะไม่ได้บัตรแบบนี้ เหมาะสำหรับคนที่อยากได้บัตรเดบิตที่ใช้งานช้อปออนไลน์ ควบคู่กับบัตรพลาสติกแบบพิมพ์ชื่อเฉพาะตัว

คนที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารกรุงเทพ สามารถดาวน์โหลดแอปฯ เปิดบัญชี e-Savings แบบไม่มีสมุดคู่ฝากได้ไม่มีขั้นต่ำ ยืนยันตัวตนเสร็จ เปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ค่อยสมัครบัตรเดบิตก็ได้ ไม่ต้องไปสาขาธนาคาร

การสมัครบัตรเดบิตบีเฟิสต์ ดิจิทัล เปิดให้สมัครได้ตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 น. สมัครเสร็จแล้วจะได้บัตรเวอร์ชวล ก่อนใช้งานต้องเปิดวงเงินชำระค่าสินค้า/บริการของบัตรก่อน แล้วใช้ช้อปออนไลน์ได้ทันที

ส่วนบัตรพลาสติกจะจัดส่งทาง EMS ของไปรษณีย์ไทย ใช้เวลา 7 วันทำการ โดยธนาคารจะส่ง SMS แจ้งรหัส Tracking Number สำหรับติดตามผ่านระบบ Track & Trace ทางแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือไลน์ของไปรษณีย์ไทย

จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า สมัครบัตรวันพฤหัสบดีที่แล้ว สัปดาห์ต่อมาธนาคารแจ้งรหัส Tracking Number วันอังคาร บัตรเข้าระบบวันพฤหัสบดี ก่อนจะได้รับบัตรวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดไป ส่วนต่างจังหวัดอาจจะล่าช้าหน่อย

เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน

เมื่อรับบัตรเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดใช้งานบัตรพลาสติก เข้าไปที่เมนู “จัดการบัตรเดบิต” เลือก “เปิดใช้งานบัตรเดบิต” กรอกเลขที่บัตร หลักที่ 7-12 จากบัตรเวอร์ชวล ตั้งรหัส PIN 6 หลัก แล้วกรอกรหัส OTP เพื่อเปิดใช้งาน

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถเปิด/ปิดการใช้งานบัตรเดบิตได้ที่เมนู “จัดการบัตรเดบิต” เลือก “เปิด/ปิดการใช้งานบัตรเดบิต” ซึ่งจะมีผลต่อทั้งสองประเภทบัตร แต่หากปิดการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี บัตรจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

ทีแรกผู้เขียนคาดหวังว่าบัตรพลาสติกที่ได้รับ หน้าตาจะเป็นแบบ บัตรแกร็บเพย์ (GrabPay) ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งวางคอนเซปต์เป็นบัตรพลาสติกแบบไร้ตัวเลขใบแรกในเอเชีย (Asia’s first numberless physical card)

เท่าที่พออธิบายได้ก็คือ บัตรแกร็บเพย์ดีไซน์จะออกเรียบๆ ไม่มีเลขหน้าบัตร เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร และรหัส CVC/CVV โดยด้านหลังชื่อจะเป็นแถบแม่เหล็ก ชื่อ-นามสกุลผู้ถือบัตรภาษาอังกฤษ และช่องลงลายมือชื่อผู้ถือบัตรเท่านั้น

แต่ปรากฏว่าเมื่อบัตรส่งมาถึงมือ แม้หน้าบัตรระบุชื่อ นามสกุล คนละบรรทัด พร้อมกับด้านหลังบัตรเป็นช่องลายมือชื่อ แต่ก็มีตัวเลขด้านหลังบัตรอยู่ดี คือ รหัสสาขาเจ้าของบัญชี 4 หลัก และหมายเลขคำขอออกบัตร (Ref.)

แม้จะไม่สามารถนำตัวเลขเหล่านี้ไปทำธุรกรรมได้ แต่ส่วนตัวมองว่า ดูรกตาไปหน่อย ถ้าเห็นว่ารหัสสาขาเจ้าของบัญชี และหมายเลข Ref. จำเป็นต้องมี น่าจะให้เหลือเพียงบรรทัดเดียว ขนาดตัวอักษรเล็กลงมาหน่อย น่าจะสวยกว่านี้

เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน

สำหรับบัตรพลาสติก ใช้งานได้สองระบบ ได้แก่ Chip & PIN 6 หลัก ผ่านเครื่อง EDC หรือ POS ตามร้านค้าทั่วไป สูงสุดตามวงเงินที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนวงเงินได้ผ่านแอปฯ โดยจะมีผลทั้งบัตรเวอร์ชวลและบัตรพลาสติก

ส่วนระบบ คอนแทคเลส (Contactless) ใช้ได้กับเครื่อง EDC และ POS ที่รองรับ Mastercard PayPass แตะจ่ายรายการละไม่เกิน 1,500 บาท รองรับระบบ EMV ใช้แตะจ่ายกับระบบขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ ขสมก.

ส่วนการถอนเงินสดและสอบถามยอด หากใช้บัตรพลาสติกทำธุรกรรมต่างจังหวัด หรือเอทีเอ็มต่างธนาคาร ยังมีค่าธรรมเนียม แนะนำให้ถอนเงินเอทีเอ็มผ่านแอปฯ ธนาคาร ซึ่งมีเครื่องบัวหลวงเอทีเอ็มกว่า 10,000 จุดทั่วประเทศ

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ บัตรพลาสติกที่แสดงข้อมูลบัตรแบบเดิม สุ่มเสี่ยงที่จะถูกคัดลอกข้อมูล โดยที่ผู้ถือบัตรไม่รู้ตัว เช่น ระหว่างเติมน้ำมันแล้วส่งบัตรให้พนักงาน หรือพนักงานรูดบัตรที่เครื่อง EDC ตั้งอยู่ในจุดที่ลูกค้ามองไม่เห็น

บัตรพลาสติกรุ่นหลังๆ จึงใช้วิธีนำข้อมูลบัตร เช่น เลขที่บัตร 16 หลัก เดือน/ปีที่หมดอายุ และรหัส CVV/CVC ไปอยู่ด้านหลัง เหลือเพียงแค่ชื่อนามสกุล บนหน้าบัตรเท่านั้น เพื่อความสวยงามและความปลอดภัยในการใช้บัตร

แม้การออกแบบบัตร เหลือแต่ชื่อและนามสกุลผู้ถือบัตร จะทำให้บัตรดูปลอดภัย แต่ผู้ถือบัตรยังต้องเก็บรหัส PIN ไว้เป็นความลับ และควรเก็บบัตรให้อยู่กับตัว อย่าให้บัตรไปอยู่ในมือคนอื่น เพราะเสี่ยงต่อเงินในบัญชีจะหายไป

เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน

ส่วนบัตรเวอร์ชวลการ์ด พบว่าในแอปพลิเคชัน จะแสดงเลขที่บัตรเพียงบางส่วน และรายการล่าสุด หากต้องการดูข้อมูลบัตร ให้กดรหัสผ่านแอปฯ 6 หลัก และหากต้องการดูหมายเลข CVC ให้กดที่ไอคอนรูปดวงตา

สามารถนำข้อมูลบัตรไปช้อปออนไลน์ จ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมทั้งผูกกับเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ โดยเฉพาะ e-Wallet อย่าง Rabbit LINEPay, TrueMoney Wallet เพื่อความสะดวกในการใช้จ่าย

ระหว่างนั้นธนาคารจะส่ง SMS แจ้ง Verification Code ของบัตรเดบิต ซึ่งก็คือรหัส CVC เก็บรหัสนี้เป็นความลับเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม แม้บนหน้าแอปฯ จะแคปหน้าจอไม่ได้ แต่ควรระวังอย่าส่งต่อข้อมูลบัตรแก่บุคคลอื่น

มีคนสงสัยว่าตอนเปิดดูรหัส CVC ทำไมธนาคารต้องส่ง SMS แจ้ง Verification Code อีก เข้าใจว่าถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ถือบัตรไม่ต้องเปิดดูรหัส CVC บ่อยครั้ง แยกส่วนจากข้อมูลบัตรในแอปฯ ต่างหาก

สำหรับค่าธรรมเนียมบัตรบีเฟิสต์ ดิจิทัล ปกติสมัครบัตรครั้งแรกจะคิด 400 บาท ได้แก่ ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท ค่าออกบัตรเวอร์ชวล100 บาท ค่าออกบัตรพลาสติก 100 บาท แต่ช่วงเปิดตัว ฟรีค่าธรรมเนียม ถึง 31 สิงหาคม 2565

บัตรนี้มีอายุการใช้งาน 5 ปี ถ้าบัตรหายหรือชำรุด ธนาคารจะไม่ออกบัตรทดแทนให้ ต้องอายัดบัตรและสมัครบัตรใหม่เท่านั้น และการทำรายการ เช่น กำหนดวงเงิน ระงับบัตรชั่วคราว อายัดบัตร จะมีผลทั้งสองประเภทบัตร

เลขหน้าบัตร ATM กรุงเทพ อยู่ตรงไหน

ที่น่าสนใจก็คือ โปรโมชันสำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรใหม่ 10,000 รายแรก จะได้รับ โค้ดส่วนลดช้อปปี้ (Shopee) ซื้อขั้นต่ำ 1,000 ลด 300 บาท ภายใน 1 วันทำการหลังสมัครบัตร ผ่านแอปฯ ธนาคาร เมนู “ไลฟ์สไตล์ สิทธิพิเศษ”

และเมื่อนำบัตรไปผูกกับแอปฯ TrueMoney Wallet แล้วใช้จ่ายที่เซเว่นอีเลฟเว่น โลตัส ครั้งแรกรับเงินคืนเข้าทรูวอลเล็ต 100% สูงสุด 50 บาท ครั้งต่อไปรับเงินคืน 5 บาท สูงสุด 20 ครั้ง (มี 1,000 สิทธิต่อเดือน) ถึง 31 กรกฎาคม 2565

นอกนั้นก็จะมีโปรโมชันร่วมกับ แกร็บ (Grab) ลาซาด้า (Lazada) และโปรโมชันร่วมธนาคารกรุงเทพกับมาสเตอร์การ์ด ที่จะมีออกมาเรื่อยๆ ซึ่งหากเป็นสายล่าโปรโมชัน ใช้สิทธิได้ทัน ถือว่าคุ้มพอสมควร เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมรายปี

ถ้าถามถึงความคุ้มค่าโดยภาพรวมจากที่ใช้งานบัตร แม้ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาทต่อปีจะถือว่าไม่ถูกไม่แพง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้บัตรช้อปออนไลน์ เน้นกดเงินสด ยังมีบัตรเดบิตธนาคารอื่น ที่กดเงินฟรีทุกตู้ ซึ่งจะคุ้มค่ากว่า

หรือไม่อย่างนั้น ถ้าใช้บัญชีธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก และมีแอปพลิเคชันอยู่แล้ว ถ้าถอนเงินที่ต่างจังหวัด ยังสามารถใช้งานกดเงินเอทีเอ็มผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งกดเงินฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิตก็ได้

แต่สำหรับคนที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตเป็นหลัก บัตรใบนี้ตอบโจทย์เมื่อใช้จ่ายผ่านเครื่อง POS หรือ EDC ตามร้านค้าเป็นประจำ จะโชว์บัตรแตะจ่าย หรือยื่นให้พนักงาน ก็ไม่ต้องกลัวจะถูกคัดลอกข้อมูลบัตรอีก

ส่วนบัตรเวอร์ชวล ข้อควรระวังก็คือ แม้จะมีระบบห้ามแคปหน้าจอ แต่ก็ไม่ควรถ่ายรูปข้อมูลบัตรเก็บไว้ หรือส่งต่อข้อมูลบัตรให้ผู้อื่น แต่ถ้าไม่ค่อยได้ใช้งานบัตรเดบิต ยังสามารถเปิด/ปิดการใช้งานบัตรเดบิตได้

ถึงกระนั้น บัตรดีไซน์แบบนี้ ธนาคารอื่นน่าจะมี เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าที่ต้องการแยกใช้งานระหว่างช้อปออนไลน์ กับรูดบัตรผ่านร้านค้า ต่อยอดไปยังบัตรรูปแบบอื่นๆ เช่น บัตรประจำตัวนักศึกษา บัตรลายลิขสิทธิ์ หรืออื่นๆ

อาจจะไม่การันตีว่าปลอดภัย 100% แต่ก็ถือว่าดีกว่าบัตรพลาสติกรูปแบบเดิม ที่เต็มไปด้วยข้อมูลบัตร สุ่มเสี่ยงต่อการถูกคัดลอกข้อมูลไปใช้ โดยที่ผู้ถือบัตรอาจไม่รู้ตัว