ที่เล่น เซิ ร์ ฟ ส เก็ ต. 2565

คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทรนด์ที่มาแรงม๊ากมากในตอนนี้ต้องยกให้เจ้า ‘Surf Skate’ กิจกรรมกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่ใครๆ ก็เล่นได้ เป็นการผสมผสานกันของสเกตบอร์ดและกีฬาโต้คลื่นหรือเซิร์ฟ (Surf) นั่นเอง ซึ่งเซิร์ฟสเก็ตนั้น ตัวบอร์ดจะไม่แข็งแรงเท่าสเก็ตบอร์ด ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้พริ้วและง่ายกว่า เวลาเล่นจึงไม่ต้องออกแรงเท่าการเล่นสเก็ตบอร์ดนั่นเอง

วันนี้เราได้รวบรวม 9 สถานที่เล่นเซิร์ฟสเก็ตรอบๆ กรุงเทพฯ มาฝากเพื่อนๆ กัน เผื่อใครที่สนใจอยากลองเล่น แต่ไม่รู้ต้องไปที่ไหน ไปดูกันได้เลยว่าจะมีแถวไหนบ้าง

ที่เล่น เซิ ร์ ฟ ส เก็ ต. 2565

1. CentralWorld

Soul skaters ลานสเก็ตใหญ่ยักษ์ใจกลางเมือง ที่ เซ็นทรัลเวิล์ด เอาใจสายเอ็กซ์ตรีม เนรมิตลานหน้าห้างให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนที่อยากมาไถบอร์ดเพื่อฝึกทักษะ นอกจากนั้นยังมีเวิร์กชอปในการเล่นบอร์ดแต่ละประเภทจากนักกีฬาสเก็ตบอร์ดของสมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งประเทศไทยให้ด้วย (มีทุกวันเสาร์เวลา 17.00 – 19.00 น.) แต่ที่นี่เค้าจะมีแค่ถึงปลายเดือนมีนาคมเท่านั้นนะ ใครอยู่ใกล้ๆ แถวนั้น ต้องรีบไปลองฝีมือกันหน่อยแล้ว!

การเดินทาง : BTS ชิดลม
เวลาทำการ : 16.00 – 21.00 น.

2. Fortune Town (ดาดฟ้า)

Sky Park BKK ลานสเก็ตบนดาดฟ้าชั้น 10 ของอาคาร ฟอร์จูน ทาวน์ ย่าน พระราม 9 เพื่อนๆ สามารถขึ้นไปเล่นเซิร์ฟสเก็ต วิ่งออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งชวนเดอะแก๊งค์ไปเล่นบาสเก็ตบอลก็ได้เช่นกัน การเดินทางก็ง่ายมากๆ สามารถนั่ง MRT มาลงสถานีพระราม 9 ได้เลยจ้า

การเดินทาง : MRT พระราม 9
เวลาทำการ : 17.00 – 20.00 น.

3. สวนรถไฟ

ตอนนี้สวนรถไฟเค้าเปิดโอกาสให้คนที่ชอบเล่นกิจกรรมนี้เข้ามาเล่นกันฟรีๆ ได้แล้วน้า หมดปัญหาการเล่นในสถานที่ไม่ปลอดภัย มาไถบอร์ดกันในสวน บรรยากาศชิลๆ อบอุ่นๆ ด้วยกัน และถ้าใครไม่มีบอร์ดของตัวเอง ชมรมสเก็ตบอร์ดและโรลเลอร์สเก็ตเพื่อการกีฬา (SRC) ก็มีบอร์ดให้ยืมเล่นด้วย หายห่วงได้เลย!

การเดินทาง : MRT สวนจตุจักร
เวลาทำการ : 06.00-20.30 น.

4. Mega บางนา (ลานจอดรถ IKEA)

เพิ่งเปิดให้บริการไปหมาดๆ กับลานไถบอร์ดทุกประเภทที่เมกะ บางนา! เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาออกกำลังกายและฝึกทักษะการไถบอร์ดประเภทต่างๆ บริเวณอาคารจอดรถ IKEA ชั้น 4 ห้าง Mega บางนา แต่ลานนี้จะเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 5 – 31 มีนาคม 64 เท่านั้น ใครอยู่แถวๆ บางนาก็แวะเวียนไปเล่นได้นะ ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายน้า

การเดินทาง : BTS อุดมสุข (ทางออก 5)
เวลาทำการ : 16.00 – 22.00 น.

5. Huamark Skate Park

สนามกีฬาในร่มที่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมกีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งประเทศไทย ซึ่งปกติแล้วจะเป็นที่ใช้ฝึกซ้อมของเหล่านักกีฬา แต่จริงๆ ทางสถานที่ก็เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเล่นได้เช่นกัน ซึ่งเค้ามีอุปกรณ์และทางลาดชันแบบจัดเต็มให้กลุ่มคนที่อยากลองพัฒนาฝีมืออีกระดับ ส่วนใหญ่แล้วที่นี่ก็จะเต็มไปด้วยกลุ่มคนสายเอ็กซ์ตรีมแบบสุดๆ ไปเลย

การเดินทาง : Airport Rail Link สถานี หัวหมาก
เวลาทำการ : 9.00 – 21.00 น.

6. Crystal Park เอกมัย-รามอินทรา (ดาดฟ้า ชั้น 8)

คอมมูนิตี้มอลล์ Crystal Park ก็มีลานสเก็ตเปิดให้บริการ สามารถเข้าไปเล่นได้ทุกวันตั้งแต่ 16.00 – 22.00 น. บริเวณดาดฟ้า ชั้น 8 ของตัวอาคาร พื้นที่โล่งกว้าง แถมยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเล่นด้วยน้า ที่นี่อาจจะไม่ได้ติดรถไฟฟ้า แต่ถ้าใครมีรถยนต์หรืออยู่ใกล้ๆ เลียบด่วน รามอินทรา ก็สามารถแวะเวียนไปเล่นได้เช่นกัน

เวลาทำการ : 16.00-22.00 น.

7. ลาน X-treme Plaza มธ. รังสิต

ถ้าใครมองหาพื้นที่ลานคอนกรีตขนาดกว้าง ต้องห้ามพลาดที่นี่เลย Thammasat X-treme Plaza ลานสำหรับเล่นสเก็ตบอร์ด ตั้งอยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต บริเวณนี้จะเป็นลานกิจกรรมสำหรับสายสปอร์ต เอ็กซ์ตรีมของเด็ก มธ. อยู่แล้ว สำหรับบุคคลทั่วไป จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 50 บาทในการใช้บริการนะ

เวลาทำการ : 16.00 – 21.00 น. (ปิดวันจันทร์)

8. ตลาดมะลิ (เมืองทองธานี)

เอาใจคนอยู่แถววนนทบุรีกันบ้าง ตลาดนัดมะลิ เป็นตลาดนัดกลางคืนของชาวปากเกร็ด ซึ่งนอกจากจะมีร้านค้าอาหารมากมายแล้ว ยังมีลานจอดรถที่รองรับรถได้ถึง 2,000 คัน ทำให้เกิดเป็นคอมมูนิตี้สำหรับชาวสเก็ตบอร์ดหรือเซิร์ฟสเก็ตได้เข้ามาเล่นกันในยามค่ำคืนนั่นเอง

เวลาทำการ : 18.00 – 22.00 น. (ยกเว้นวันที่มีงาน)

9. เซ็นทรัลลาดพร้าว

ร่วมอยู่ในโครงการเปิดพื้นที่สำหรับสายสเก็ตบอร์ด ของเซ็นทรัลพัฒนาเพื่อตอกย้ำการเป็น Center of Life  ศูนย์กลางการใช้ชีวิตของผู้คนในแต่ละชุมชนทั่วประเทศ ที่ทำให้ลานหน้าห้างกลายเป็นลานสำหรับสาย sport และกีฬาเอ็กซ์ตรีม ได้มาใช้พื้นที่ทำกิจกรรมกันฟรีๆ ซึ่งเซ็นทรัลลาดพร้าวก็เป็น 1 ในศูนย์การค้าที่อนุญาตให้คนเข้ามาเล่นได้ เล่นได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค. 64

การเดินทาง : BTS ห้าแยกลาดพร้าว / MRT พหลโยธิน
เวลาทำการ : 16.00 – 21.00 น.

จริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายสถานที่เลยที่เปิดพื้นที่ให้เด็กบอร์ดเข้าไปออกกำลังกาย นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างทั้ง 9 สถานที่เท่านั้น เพื่อนๆ ไปเล่นที่ไหนกันบ้าง อย่าลืมมาแชร์กันน้า : )

ทุบทุกสถิติ ตั้งแต่ปีก่อนจนมาถึงปี 2564 Surfskate (เซิร์ฟสเก็ต) ทำในสิ่งที่หลายชนิดกีฬาไม่เคยทำได้มาก่อน ทั้งสร้างกระแสคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตทั่วประเทศ เกิดอีเวนท์น้อยใหญ่มากมาย สินค้าขายดีจนขาดตลาด และอีกสารพัดปรากฏการณ์เซิร์ฟสเก็ตฟีเวอร์

ถึงตอนนี้จะอยู่ในช่วงกระแสซาลงพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดสองปีกว่าๆ นับตั้งแต่ Surfskate เริ่มเป็นที่รู้จัก โด่งดัง และอิ่มตัว มีอะไรต่อมิอะไรน่าพูดถึงมากจริงๆ

ที่เล่น เซิ ร์ ฟ ส เก็ ต. 2565

Surfskate ขึ้นสุด

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยเมื่อเอ่ยถึง “Surfskate” คือ สินค้าทั้งแบบคอมพลีทพร้อมเล่น, แผ่นสเก็ต, ทรัค, ล้อ, ลูกปืน, กริปเทป หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เคยกลายเป็นสินค้าขายดีที่สุดในบรรดาประเภทอุปกรณ์กีฬามาแล้ว นั่นก็เพราะ Demand และ Supply ไม่สอดคล้องกัน คือ ขณะที่ผู้บริโภคมีจำนวนมหาศาล ความต้องการสินค้ามีอย่างท่วมท้น แต่สินค้ากลับผลิตไม่เพียงพอ รวมถึงติดปัญหาการนำเข้า เพราะ “เซิร์ฟสเก็ต” ส่วนมาก Made in ต่างแดน เช่น สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, สเปน, แคนาดา, ญี่ปุ่น, จีน ฯลฯ แต่ปัญหาการขนส่งและมาตรการหลังจากเกิดโควิด-19 ทำให้อุปสงค์-อุปทาน ไม่ไปด้วยกัน

ยิ่งของไม่พอต่อความต้องการ “Surfskate” จึงกลายเป็น “ของมันต้องมี” ที่หลายคนขวนขวายมาครอบครอง ถึงขนาดในกลุ่มซื้อขายบนโซเชียลมีเดียเวลามีใครปล่อยของ เพียงพริบตาก็จะถูก F (ซื้อ) ไปอย่างรวดเร็ว

ในแง่คนเล่น ทุกมุมเมืองเกิดสังคมคนเล่น “เซิร์ฟสเก็ต” จากภาพของเด็กสเก็ตที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับสังคม ไปที่ไหนก็มีแต่คนมองแง่ลบ กลายเป็นว่าห้างร้านต่างๆ ที่เคยไม่ต้อนรับ กลับเปิดพื้นที่ให้เล่นสเก็ตกันอย่างออกหน้าออกตา

ช่วงอายุของคนเล่น “Surfskate” เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อธิบายความเป็น Surfskate for all ได้ดี เพราะตั้งแต่ลูกเล็กเด็กแดงไปจนถึงผู้สูงวัยแต่ใจยังเก๋า ต่างพากันมาโยกไหล่ส่ายสะโพกโชว์ลีลาพริ้วไหวดุจการโต้คลื่นบนบก

ที่เล่น เซิ ร์ ฟ ส เก็ ต. 2565

Surfskate ลงสุด

ปรากฏการณ์ “Surfskate” นอกจากสร้างสีสันให้วงการกีฬาและเป็นกิจกรรมสันทนาการแห่งยุค ความนิยมแบบก้าวกระโดดกลับส่งผลอีกด้านจนกลายเป็นจุดเปลี่ยนของวงการนี้ไปโดดยปริยาย

เรื่องแรก การปั่นราคา หลังจากสินค้าขาดตลาด การกักตุนและโก่งราคาก็เกิดขึ้น ช่วงระยะเวลาหนึ่ง “เซิร์ฟสเก็ต” เข้าสู่วังวน Resell อย่างเต็มตัว คือมีคนซื้อมาบวกราคาหลายเท่าตัวแล้วใช้กฎอุปสงค์-อุปทาน มาเป็นเกราะกำบัง แต่ไม่ว่าจะราคาแพงแค่ไหน ก็ยังมีคนยอมจ่ายเพื่อได้มาครอบครอง นั่นทำให้การปั่นราคาในช่วงนั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง

ต้องยอมรับว่าไม่ได้มีแค่พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยที่อาศัยช่วงราคาขึ้นหาของมาทำกำไร แม้แต่ร้านบางร้านก็อาศัยจังหวะชุลมุน บวกราคาที่เกินจากราคา Official จนกลายเป็นว่าภาพจำของ “Surfskate” คือกีฬาคนรวย

ในบางรุ่นที่มีคนดังเล่นหรือแค่ถ่ายภาพคู่กับ “เซิร์ฟสเก็ต” อาทิ Yow Pipe (ลายสายฟ้ายอดฮิต), Smoothstar 77 Toledo, Carver Blacktip เป็นต้น ก็เคยถูกปั่นราคาไปจนสูงลิบชนิดที่มีคนแซวว่าแพงกว่าทองเสียอีก

แต่นั่นก็เป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลายคนประมาณการณ์กันไว้แล้วว่า หลังจากผู้ผลิตเพิ่มกำลังการผลิตจนมากพอและสินค้าเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากๆ สมดุลจะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นจริงแล้ว แม้จะไม่ถูกทั้งหมด เพราะปริมาณกับความต้องการไม่ได้อยู่จุดสมดุล แต่เป็นภาวะสินค้าล้นตลาดในขณะที่คนซื้อกลับน้อยลง

เรื่องนี้พอจะอธิบายได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้ช่วงนี้เป็นขาลงของ “Surfskate” เพราะ

1. สถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมารุนแรงตั้งแต่เกิดระลอกใหญ่ในปี 2564 นี้ ทำให้กิจกรรมเกี่ยวกับ “เซิร์ฟสเก็ต” ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วประเทศต้องยุติลง เมื่อตลาดวายก็แยกย้ายกันกลับบ้าน หลายคนเล่นบ้านใครบ้านมัน แต่มีไม่น้อยที่เอากลับไปวางไว้เฉยๆ

2. โควิด-19 อีกเช่นกัน แต่คราวนี้เป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะหลายกิจการต้องปิด ต้องพักก่อน แต่รายจ่ายไม่ได้พักตาม เงินในกระเป๋าของอดีตนัก F ในตำนานก็กลายเป็นเพียงตำนานจริงๆ แม้จะมีรุ่นที่เคยอยากได้เข้ามาจ่อตรงหน้า แต่คนส่วนมากเลือกที่จะข้ามไป เพื่อเก็บเงินสดเอาไว้ในภาวะไม่แน่ไม่นอนแบบนี้

3. การตัดราคาจากผู้หนีตาย เรื่องนี้แม้จะเป็นปกติของการทำธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ คือเมื่อร้านค้าหรือผู้ขายถือสินค้าเอาไว้จำนวนมาก แต่เกิดการ Dead stock ขึ้น วิธีการที่ง่ายที่สุด คือ ลดราคา แต่การลดราคาที่เกิดขึ้นในวงการ “Surfskate” กลับไปถึงขั้นตัดราคา อธิบายง่ายๆ ว่า ร้าน A และร้าน B เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแบรนด์เดียวกัน มีราคา Official กำหนดไว้เท่ากัน ต้นทุนเท่ากัน แต่เมื่อร้าน A รู้สึกว่าไม่อยากถือสินค้าไว้อีกต่อไป จึงเทขายด้วยการลดราคาต่ำกว่าทุน ท่ามกลางบรรยากาศของขาลง ทำให้ลูกค้าหรือคนอื่นที่มองเข้ามา จะเข้าใจว่าสินค้าแบรนด์นี้ควรจะราคาถูกเหมือนที่กำลังลดราคา ทำให้ร้าน B ที่อาจเดือดร้อนเช่นกัน แต่แบกรับการขาดทุนเท่าร้าน A ไม่ไหว จึงเสียโอกาสการขายสินค้าไป แม้จะเป็นร้านที่ขายราคา Official มาตลอด

อาจมองว่าเป็นกลไกการตลาด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับหลายร้านคือตัวแทนอย่างร้าน A ก่อนจะเป็นตัวแทนจำหน่าย เคยใช้วิธีขายเกินราคาในช่วงที่ราคากำลังพุ่งสูงมาก่อนแล้ว หมายความว่ากำไรมหาศาลที่เคยได้ จะเอามาถัวเฉลี่ยกับส่วนที่ขาดทุนได้เช่นกัน ขณะที่ร้าน B ขายราคากลางมาโดยตลอด จึงไม่มีกำไรเกินควรเพื่อมาชดเชยได้...เรื่องนี้น่าเห็นใจ

4. คนอินกับเรื่องอื่นมากกว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เซิร์ฟสเก็ต” เป็นกีฬากระแส เป็นแฟชั่น จึงมีเกิดและมีดับ มีนิยมและมีเสื่อมความนิยมเป็นธรรมดา เพราะในช่วงเวลาที่คนเล่นเซิร์ฟสเก็ต ก็มีกระแสฟีเวอร์อื่นๆ ตีคู่กันมา เช่น ไม้ด่าง, คริปโต เคอเรนซี เป็นต้น ความสนใจคนจึงเปลี่ยนไป

แต่ใช่ว่าขณะที่หลายคนมองว่าเป็นขาลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและอาจบ่งบอกถึงความเป็น Main stream ของ “Surfskate” คือ มีสนามสเก็ตเกิดขึ้นใหม่เยอะมาก, กิจกรรมงานแข่งขันกลับมาจัดเยอะ และหลายงานมีมาตรฐานทั้งเรื่องการจัดการและเงินรางวัล, ร้านที่ยังสู้ไหวมีสินค้าให้เลือกซื้อได้ทันทีในราคาปกติ, มีคนเล่นอยู่ไม่น้อย และหลายคนเลือกที่จะสนุกไปกับมัน บางคนตั้งใจพัฒนาฝีมือมากกว่าจับจ่ายใช้สอย และยังมีสินค้าจากหลายแบรนด์พัฒนาคุณภาพ มีสินค้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาขายเรื่อยๆ

สิ่งเหล่านี้กำลังตอบคำถามว่า “Surfskate” อาจเป็นกีฬาแฟชั่นก็จริง และมีขาลงก็จริง แต่ถามว่ามันตายไปแล้วหรือไม่ ก็คงยังไม่ตาย