ประเทศใดมีเศรษฐกิจดี

เศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ

ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

The American Rescue Plan

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

The American Jobs Plan

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

The American Families Plan

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

  • การสนับสนุนด้านการศึกษา อาทิ การเข้ารับการศึกษาแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โครงการทุนการศึกษา
  • การสนับสนุนครอบครัว เด็ก และเยาวชน อาทิ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก โครงการด้านอาหาร
  • การให้เครดิตภาษีและเงินช่วยเหลือ
  • การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดหางบประมาณ อาทิ การเพิ่มอัตราการเรียกเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง

ที่มา:

  • Thai Business Information Center, Royal Thai Embassy, Washington, D.C.
  • White House

 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: สิงหาคม 2564

ประเทศใดมีเศรษฐกิจดี

จากการรายงานของ CS Global Partners บริษัทการตลาดและที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้ระบุถึงดัชนีความเป็นพลเมืองโลก World Citizenship Index (WCI) โดยประเมินจากประเทศและดินแดน 187 แห่งทั่วโลก วัดจากปัจจัยหลัก 5 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ด้านความปลอดภัย
  2. ด้านโอกาสทางเศรษฐกิจ
  3. ด้านคุณภาพชีวิต
  4. ด้านการบริหารจัดการ
  5. ด้านอิสระทางการเงิน

โดยจากผลสำรวจ ประเทศที่ครองอันดับ 1 ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ได้คะแนนไป 88.1 คะแนน ตามมาด้วยเดนมาร์ก ที่ได้คะแนนไป 88.0 คะแนน และอันดับ 3 ร่วม ที่ได้คะแนนเท่ากันคือ ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ได้คะแนนไป 86.9 คะแนน ส่วนยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐฯ ติดโผอยู่ที่อันดับ 20 ได้คะแนนไป 80.0 คะแนน

ประเทศใดมีเศรษฐกิจดี

การสำรวจในครั้งนี้พิจารณาจากข้อมูลสถิติที่เป็นทางการทั้งเชิงคุณภาพและเทคนิค ผลวิจัยจากธนาคารข้อมูลชั้นนำ บทสัมภาษณ์ และผลสำรวจนักลงทุนผู้มั่งคั่งกว่า 500 ราย ซึ่งในรายงาน WCR ไม่ได้มองในแง่ความแข็งแกร่งของพาสปอร์ตเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการเลือกขอสัญชาติที่สองด้วย

ด้วยการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้การเดินทางมีข้อจำกัดมากขึ้น อำนาจของหนังสือเดินทางจึงเริ่มมีความสำคัญ ผู้ที่ถือหนังสือเดินทาง 2 สัญชาตินั้นค่อนข้างได้เปรียบ เหล่าเศรษฐีทั่วโลกต่างมองหาตัวช่วยอย่างการลงทุนเพื่อขอสัญชาติ (Citizenship by Investment: CBI) 

โดย CBI จะให้สัญชาติแก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างถูกกฎหมายเพื่อแลกกับการสนับสนุนกองทุนของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นโอกาสเพื่อให้พลเมืองโลกสามารถย้ายไปอยู่ในสถานที่ใหม่ ๆ ได้อีกทางหนึ่ง

มิชา เอ็มเมทท์ CEO ของ CS Global Partners กล่าวว่า การยังคงผูกมัดอยู่กับประเทศและรัฐบาลเดียวนั้นเป็นข้อจำกัดในสิทธิเสรีภาพ และเนื่องด้วยความไม่แน่นอนของโลกปัจจุบัน ทั้งข้อจำกัดในการเดินทาง วิกฤตเศรษฐกิจที่มีความผันผวนในตลาด ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากมองหาการถือสัญชาติที่ 2 เป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของชีวิต

ทั้งนี้ รายงาน WCR ตั้งใจนำเสนอกระแสโลกเหล่านี้เพื่อช่วยให้กระบวนการขอสัญชาติที่สองเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ที่มีความมั่งคั่งรวมถึงวิเคราะห์เทรนด์โลกในปีนี้ ทั้งยังกล่าวถึงกระแสสกุลเงินดิจิทัลที่เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา


ที่มา: https://csglobalpartners.com/world-citizenship-report/



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ประเทศใดมีเศรษฐกิจดี
ประเทศใดมีเศรษฐกิจดี