ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย from Kran Sirikran

กำเนิดในลุ่มแม่น้ำสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนคริตศักราช

           มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ทอดโค้งจากฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซียจึงมีสมญานามว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์”ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทำให้ชนเผ่าต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากมาย(ปัจจุบันนี้ได้แก่ประเทศอิรักและซีเลีย)

ชนกลุ่มต่างๆที่สร้างอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย

1. สุเมเรียน

 

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ซิกกูแรต (วิหารบูชาเทพเจ้า)

– ตั้งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบเมโสโปเตเมียที่เรียกว่า        “ซูเมอร์”
– ปกครองแบบนครรัฐ (City States) แต่ละนครรัฐเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน มีกษัตริย์เป็นผู้นำ นครรัฐที่สำคัญเช่น เมืองอูร์ เมืองเออรุคและเมืองอิริดู เป็นต้น
– นับถือเทพเจ้าหลายองค์ มีเทพเจ้าประจำนครรัฐ เน้นโลกนี้เป็น
สำคัญ ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า

– สร้างซิกกูแรต (วิหารบูชาเทพเจ้า)
– วรรณกรรมกิลกาเมช กล่าวถึงการพจญภัยของสีรบุรุษชาวสุเมเรียน
– วรรณกรรมเอนลิล กล่าวถึงการสร้างโลกและน้ำท่วมโลก
– รู้จักใช้ระบบชลประทาน เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ
– ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าวสาลี
– รู้จักใช้ยานพาหนะเช่น รถม้า
– รู้จักใช้โลหะผสม(สำริด) ทำเครื่องมือ เครื่องประดับ
– รู้จักทอผ้า
– รู้จักการบวก ลบ คูณ ทำปฏิทินจันทรคติ(ข้างขึ้น ข้างแรม) การนับวันเวลา

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม)

– ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม(รูปลิ่ม) เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยปากกาที่ทำจากต้นอ้อแล้วนำไปตากแห้ง

2. อมอไรต์ หรือ บาบิโลน

                                                 

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

– เป็นเผ่าเซมิติก อพยพมาจากทะเลทรายอาระเบียน มายึดครองนครรัฐของสุเมเรียน
– ขยายอาณาจักรไปกว้างขวางและสถาปณาจักรวรรดิบาบิโลเนีย
– กษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี

– มีการประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือกฎหมายฮัมมูราบี มีบทลงโทษแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

3. ฮิตไทต์และคัสไซต์

ฮิตไทต์

– เป็นเผ่าอินโดยุโรเปียน
– เดิมอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซีย ขยายตัวมาตามลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส โจมตีทางเหนือของซีเรีย ปล้นกรุงบาบิโลนและปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อมา
– มีความสามารถในการรบมาก
– เป็นชนเผ่าแรกที่รู้จักใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ รู้จักใช้รถเทียมม้าทำศึก
– ตรงกับสมัยที่อียิปต์เรืองอำนาจ
– กษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3แห่งฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 2แห่งอียิปต์ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน และหากบุคคลที่ 3มาโจมตี ต้องช่วยเหลือกัน

คัสไซต์

-เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน

4. แอสซีเรียน

 

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
                                                   พระราชวังซาร์กอน 

– เป็นเผ่าเซมิติกมาจากทะเลทรายอาหรับ
– ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนิเนเวห์
– สามารถในการรบและการค้า
– ขยายอำนาจถึงฟินิเชีย ปาเลสไตน์ อียิปต์และเปอร์เซีย
– กองทัพแข็งแกร่ง มีระเบียบวินัยสูง
– ใช้เหล็กทำอาวุธ

– มีการก่อสร้างที่ใหญ่โตมหึมา มำทำเป็นโดม เช่นพระราชวังซาร์กอน

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

– มีการปั้นแบบนูนตัวและลอยตัว ให้อารมณ์สมจริง
– มีการแกะสลักภาพ เคลื่อนไหวแบบธรรมชาติ
– กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ “พระเจ้าอัชชูบานิปาล” เป็นสมัยที่เจริญสูงสุด มีการสร้างหอสมุดรวบรวมข้อมูลมหาศาลและยังรวบรวมแผ่นดินเหนียวที่มีอักษรคูนิฟอร์ม22,000แผ่น

5.แคลเดียน

 

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
สวนลอยแห่งบาบิโลน

– เป็นเผ่าเซเมติก โค่นล้มแอสซีเรียนได้
– สถาปณาจักรวรรดิแคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่

– สร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน ในสมัยพระเจ้าเนบูชัดเนสซาร์
– ทำแผนที่ดวงดาว
– คำนวณการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา
– แบ่งสัปดาห์เป็น 7 วัน6. เปอร์เซีย

ชนเผ่าอินโดยุโรเปียน ปกครองบริเวณที่ราบสูงอิหร่านมีราชวงศ์ต่างๆปกครอง ดังนี้ 

 

1) ราชวงศ์อะคีเมนิด


                                                         

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

– ก่อตั้งโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช ขยายอำนาจไปจนถึงแม่น้ำสินธุ

อียิปต์

– พระเจ้าดาริอุส ขยายจักรวรรดิกว้างขวางไปอีก สร้างเมืองหลวงที่สวยงามชื่อ “เปอร์ชีโปลิช” สร้างถนนเชื่อมดินแดนในจักรวรรดิ ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของเปอร์เซีย
– มีศาสนาโซโรแอสเตอร์ เป็นศาสนาประจำชาติ มีเทพเข้าอาหุรามาสดาเป็นเทพฝ่ายดีและอาหริมันป็นเทพฝ่ายชั่ว
– ถูกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกยึดครอง ทำให้เสื่อมลง
2) ราชวงศ์เซลิวชิด
– ก่อตั้งโดยทหารของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก แต่ไม่มีอำนาจ
3) จักรวรรดิของชาวปาร์เถียน
– ย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด
4) ราชวงศ์ซัลซานิด
– ปกครองเป็นเวลา 400ปีเศษ มีศาสนาอิสลามมาแทนที่ศาสนาซีโรแอสเตอร์
5) ราชวงศ์อับบาสิด หรือ อาหรับมุสลิม
– มุสลิมรุ่งเรืองทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
– กษัตริย์ที่สำคัญคือ ฮารูณ อัล ราชิด ส่งเสริมด้านการค้าจนรุ่งเรือง
6) สมัยมองโกลปกครอง
– ฮุลากุข่านหลานเจงกิสข่านมายึดกรุงแบกแดด ปกครองเป็นเวลา 200ปีครึ่ง
7) ราชวงศ์ซาฟาวี
– ขับไล่มองโกลไปได้ ย้ายเมืองหลวงไปที่อิสฟาฮาน
– กษัตริย์ที่สำคัญคือ ชาห์ อับบาสมหาราช ปฏิรูปการปกครอง
– นับถืออิสลามนิกายชีอะห์
8) ราชวงศ์คะจาร์
– เชื้อสายเติร์ก ไม่ค่อยมีอำนาจ ปกครองแบบเผด็จการ
– รัสเซียและอังกฤษขยายอำนาจ
9) ราชวงศ์ปาเลวี
– กษัตริย์คนแรกคือ เรซา ชาห์ ปาเลวี เปลี่ยนชื่อจากเปอร์ซียเป็นอิหร่าน
– สมัยพระเจ้ามุฮำมัด เรซาห์ ชาห์ นำกฎหมายฝรั่งเศสมาใช้ มีการปฏิรูปที่ดิน แต่เศรษฐกิจก็ถดถ้อย
10) สมัยสาธารณรัฐอิสลาม

 

                                                 

ชนชาติใดเข้ามามีบทบาทในการสร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

– อยาโตลลา โคไมนี โค่นราชวงศ์ปาเลวี เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
– ต่อต้านสหรัฐอเมริกา
– เมื่ออยาโตลลา โคไมนีถึงแก่กรรม ผู้นำได้ดำเนินนโยบายสายกลาง ปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้เสรีภาพ ให้สิทธิสตรี

ชนบางกลุ่มที่สร้างอารยธรรมในเอเชียไมเนอร์

 

1.) ฮิตไตท์

-เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้เหล็ก

2.)ลิเดียน

-เป็นชาติแรกที่มีผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้

3.)ฟินิเชียน

-สร้างเรือใบขนาดใหญ่  รวมทั้งเมืองท่าขนาดใหญ่ด้วย

-นำอักษรของอียิปต์และลิ่่มมาดัดแปลงเป็นอักษรอัลฟาเบต(อักษรที่ใช้เสียงสระและพยัญชนะประสมกัน)ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษากรีก-ละติน