ข้อ ใด คือ การ บรรยาย ผล งาน ทัศน ศิลป์

           การเรียนรู้ทางด้านการวิจารณ์งานศิลปะ เป็นผลทำให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน และเป็นทฤษฎีที่สำคัญที่นำไปสู่วิธีการตัดสินผลงานและประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะได้ ดังนั้น ผู้เรียนควรเรียนรู้ถึงแนวทางการบรรยายผลงานทัศนศิลป์โดยการใช้ศัทพ์ทางทัศนศิลป์ เนื่องจากผลงานทุกชิ้นของทางทัศนศิลป์ ล้วนประกอบด้วยการสร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์เช่นเดียวกัน
                1.   ความสำคัญของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์
                       การบรรยายเป็นกระบวนการรับรู้ที่เกิดจากการมองเห็น สังเกตและบันทึกสิ่งที่พบเห็นในผลงาน ความเด่น และรายละเอียดอื่นๆ ที่อยู่ในผลงาน และดำเนินการบรรยาย อธิบายให้ผู้อื่นรับรู้ให้สังเกตรายละเอียด และทำความเข้าใจในผลงานอย่าง่ายๆ เพื่อให้รู้จักภาษาง่ายๆ ในการบรรยายตลอดจนรู้จักศัพท์ทางทัศนศิลป์ เนื่องจากการบรรยายเป็นขั้นตอนแรกของการรู้จัก การวิจารณ์ศิลปะและจะมีผลไปสู่ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นตี และขั้นตัดสินประเมินคุณค่าของผลงานทางทัศนศิลป์
                2.   หลักของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์
                       การบรรยายผลงานทางทัศนศิลป์ มีจุดประสงค์เพื่อสื่อให้เห็นจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์งานและเนื้อหาของงาน รวมถึงเพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ศิลปินต้องการสื่อ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ในการสื่อความหมาย
                             ตัวอย่างการบรรยายผลงานทัศนศิลป์โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์
                แนวคิดในการสร้างงานของศิลปิน โดยมีความต้องการให้ศาลานี้เป็นตัวแทนของทวีป ทั้ง 4 ทิศ ทั้ง 8, พนัสบดี,ธาตุ 4 , อริยสัจ 4 และสุดท้าย คือ อริยมรรค การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้นับว่า ทรงพลังมีสถาปัตยกรรมที่ดี เป็นกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัย
ทัศนะของศิลปิน อาจารย์ถวัลย์  ดัชนี

ข้อ ใด คือ การ บรรยาย ผล งาน ทัศน ศิลป์
ศาลาศูนย์ธรรมจักรวาล
ผลงานอาจารย์ถวัลย์  ดัชนี

                การสร้างงานศิลปะกรรมของศิลปิน เห็นว่า
น่าจะประกอบไปด้วยรูปแบบของศิลปะที่แสดงถึงจิต
วิญญาณของเชียงแสน ศรีสัชนาลัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ โดยจำลองรูปแบบศิลปะสมัยต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อแสดงสุนทรียภาพโดยรวมของความเป็นไทย รวมทั้งเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ50ปี เพื่อให้ได้ศาลาที่เป็นงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย และยังคงความงามเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน
โครงสร้างและความหมายของผลงาน
                  เป็นลักษณะเสา4ต้น ซึ่งเป็นตัวแทนของทวีปทั้ง4ที่ล้อมโลก อยู่ตามปกีรณัมโบราณของอินเดียโดยเสาทางทิศเหนือแทนอุดรทวีป ทิศใต้แทนอมรโคยานทวีป ทิศตะวันตกแทนชมพูทวีป ทิศตะวันออกแทนปุรพวิเพ ซึ่งเสา4ต้น อยู่บนอ่างศิลาดำ ซึ่งหมายถึงตัวแทนของโลก จักวาล ความคิดนี้เป็นแรงบันดาลใจมาจากภาพโบราณที่มีสันเขาพระสุเมรุอยู่ ศาลานั้นแบ่งเป็น3ชั้น ชั้นที่3 แบ่งย่อยออกเป็น2ชั้น รวมเป็น4ชั้น แทนความหมายมหาสติปัตฐาน4 คือ กายานุปฏิปทา เวทนานุปฏิปทา จิตตานุปฏิปทา และธรรมานุปฏิปทา ซึ่งเป็นธรรมที่นำไปสู่อริยมรรค หรือความหลุดพ้นทางพระพุทธศาสนา สำหรับช่อฟ้ากาแล แทนธาตุทั้ง4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่บริเวณปลายยอดของศาลาจะมีบราลี 8 อัน เปรีบยได้กับอริยมรรค (มรรคมีองค์8) ซึ่งเป็นสุดยอดของการของการนำไปสู่การหลุดพ้น ลักษณะศาลาเปลือยเพื่อต้องการให้มองเห็นได้จากทุกทิศ และส่วนประกอบที่พิเศษมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ หางหงส์ที่ศาลาที่1 เพราะว่าเป็นศุนย์รวมของความคิดในการสร้างศาลาร่วมสมัย นั่นคือ พนัสบดี ซึ่งเป็นตรีมูรติของพระศิวะ (ทรงโค)  พระพรหม (ทรงสิงห์) และพระนารายณ์ (ทรงครุฑ) โดยเป็นวัวมีเขาปกติ แต่มีปีกเป็นหงส์และมีปากเป็นครุฑ
ลักษณะที่สำคัญ
               ลายนกทั้งหมดจะเป็นลายคมกริช ซึ่งมีเฉพาะที่อยุธยาเท่านั้น ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ที่วัดหน้าพระสุเมรุ(สมัยพระนเรศวร) อีกประการหนึ่งคือเป็นศิลปกรรมร่วมสมัยตั้งแต่เชียงแสนถึงรัตนโกสินทร์โดยแต่ละสมัยจะมีตัวแทนแตกต่างกันออกไป ได้แก่ ล้านนา-กาแล  อยุธยา-คมกริช  สุโขทัย-บราลีคันทวย


                    ความรู้เพิ่มเติม  

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) เมื่อปี พ.ศ.2544 เกิดที่จังหวัดเชียงราย

ข้อ ใด คือ การ บรรยาย ผล งาน ทัศน ศิลป์

.    ข้อใด คือ การบรรยายผลงานทัศนศิลป์

ก.  พิจารณา สังเกต บรรยาย

ข.  คิดวิเคราะห์สิ่งที่เห็นก่อน

ค.  ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์

ง.  ใช้คำศัพท์ทางทัศนศิลป์ประกอบ

2.  ข้อใด คือ การบรรยายจุดประสงค์

ก.  จำแนกแยกแยะทัศนธาตุ

ข.  เน้นคุณค่าทางสุนทรียภาพ

ค.  แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

ง.  ความมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ผลงาน

3.  ข้อใด คือ ประโยชน์ของการใช้คำศัพท์ทางทัศนศิลป์

บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์

ก.  เพื่อให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

ข.  เพื่อให้มีทักษะและกระบวนการปฏิบัติงาน

ค.  เพื่อฝึกให้สามารถค้นหาสิ่งสำคัญในผลงาน

ง.  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้

4.  ข้อใด คือ เทคนิคการพิมพ์ภาพภาพเทคนิคแกะไม้

ก.  การพิมพ์จากส่วนนูน

ข.  ใช้เครื่องอัดด้วยแท่นพิมพ์

ค.  ใช้ส่วนที่เป็นร่องของแม่พิมพ์

ง.  เส้น หรือลวดลายต่างๆ ชัดเจน

5.  รากฐานของศัพท์ภาพพิมพ์มาจากภาษาใด

ก.  กรีก                       ข.  อียิปต์

ค.  อิตาลี                        ง.  อังกฤษ

6. ข้อใด คือ เครื่องพิมพ์

ก.  แท่นพิมพ์ที่มีลูกกลิ้งเหล็กด้านบน

ข.  แท่นพิมพ์ที่มีลูกกลิ้งเหล็กด้านล่าง

ค.  แท่นพิมพ์ที่มีลูกกลิ้งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

ง.  แท่นพิมพ์ที่มีลูกกลิ้งเหล็กขนาบด้านบนและด้านล่าง

7. สถาปัตยกรรมเป็นงานทัศนศิลป์ประเภทใด

ก.  การออกแบบสิ่งก่อสร้าง

ข.  การออกแบบรูปร่างรูปทรง

ค.  การใช้ทัศนธาตุสร้างสรรค์งาน

ง.  การใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

8. ข้อใดคือรูปลักษณ์ใหม่ของงานสถาปัตยกรรม

ก.  การใช้วัสดุใหม่ๆ ตามวิทยากร

ข.  การรักษารูปแบบอิทธิพลจากจีน

ค.  การรักษารูปแบบอิทธิพลจากอินเดีย

ง.  การรักษารูปแบบอิทธิพลจากตะวันตก

9. การบรรยายงานสถาปัตยกรรมเน้นเรื่องใด

ก.  เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์

ข.  เน้นเรื่องการสื่อความคิดจินตนาการ

ค.  เน้นเรื่องรูปทรงและประโยชน์ใช้สอย

ง.  เน้นเรื่องการใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

10.  งานสถาปัตยกรรมจะใช้ศัพท์เฉพาะด้านใด

ก.  การออกแบบโครงสร้าง

ข.  สุนทรียภาพงานออกแบบ

ค.  การใช้วัสดุ สถาปัตยกรรม

ง.  การก่อสร้างและประโยชน์ใช้สอย

11.  ผลงานทางทัศนศิลป์สามารถบ่งบอกในเรื่องใด

ก.  ช่วงเวลาในแต่ละสมัย

ข.  แหล่งกำเนิดของผลงาน

ค.  การออกแบบรูปร่าง รูปทรง

ง.  รูปแบบและลักษณะของผลงาน

12.  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีเครื่องปั้นดินเผาลักษณะใด

ก.  เครื่องปั้นดินเผาภาชนะทรงสูง

ข.  เครื่องปั้นดินเผาภาชนะเขียนสี

ค.  เครื่องปั้นดินเผาภาชนะเคลือบสี

ง.  เครื่องปั้นดินเผาเขียนลวดลายเคลือบ

13.  ความพิเศษของผลงานทัศนศิลป์ยุคโลหะ คือข้อใด

ก.  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติป่าเขา

ข.  คตินิยมตามความเชื่อของท้องถิ่น

ค.  เครื่องปั้นดินเผาเขียนสีแบบบ้านเชียง

ง.  การประกอบพิธีกรรมแบบชุมชนเล็กๆ

14.  ภาพเขียนผนังถ้ำมักเขียนเรื่องใด

ก.  ศาสนา

ข.  ธรรมชาติ

ค.  การล่าสัตว์

ง.  รูปทรงเรขาคณิต

15.  นิยมสร้างธรรมจักรกับกวางหมอบเพื่อเรื่องใด

ก.  คติความคิด

ข.  บูชาธรรมชาติ

ค.  พิธีกรรม เซ่นไหว้

ง.  ประกาศพระพุทธศาสนา

16.   ส่วนใดเป็นส่วนสำคัญของศิลปะขอม

ก.  เขียนสี

ข.  ทับหลัง

ค.  ลวดลาย

ง.  รูปทรงแปลก

17. พระพุทธรูปที่เป็นเอกลักษณ์เด่นของศิลปะสุโขทัย

คือข้อใด

ก.  พระปางนาคปรก

ข.  พระพุทธรูปปางลีลา

ค.  พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ง.  พระพุทธรูปปางสมาธิ

1 8. ในรัชกาลที่ 5 อาคารบ้านเรือนรับอิทธิพลจากที่ใด

ก.  จีน                     ข.  พม่า

ค.  อินเดีย                ง.  ตะวันตก

1 9. ข้อใดคือวิวัฒนาการทางทัศนศิลป์ในดินแดน

ประเทศไทย

ก.  ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรม การบูชา

ข.  ความเชื่อเกี่ยวกับความศรัทธาเลื่อมใส

ค.  ความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ

ง.  ความเชื่อเกี่ยวกับการเซ่นไหว้ด้วยวิธีการต่างๆ

20.  อิทธิพลจากที่ใดที่มีบทบาทต่องานทัศนศิลป์ไทย

มากที่สุด

ก.  จีน       ข.  ขอม

ค.  อินเดีย        ง.  ตะวันตก

21.  ข้อใด คือ การนำสีศิลปะ 2 แขนง มาสร้างสรรค์

เป็นงานชิ้นเดียวกัน

ก.  ภาพพิมพ์

ข.  งานสื่อผสม

ค.  งานปฏิมากรรม

ง.  งานออกแบบตกแต่ง

22.  ข้อใด คือ การพัฒนาของศิลปินไทยจากการใช้สีน้ำมัน

ผสมกับวัสดุ 3 มิติ

ก.  สีน้ำผสมกับวัสดุ 3 มิติ

ข.  สีฝุ่นผสมกับวัสดุ 3 มิติ

ค.  วัสดุสำเร็จรูปผสมผสานเป็นงาน 3 มิติ

ง.  วัสดุสำเร็จรูปผสมผสานเป็นงาน 2 มิติ

23.  ข้อใด ไม่ใช่การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ประเภทสื่อผสม

ก.  การใช้ปูนปลาสเตอร์

ข.  การใช้ภาพและเสียง

ค.  การใช้เสียงและกลิ่น

ง.  ใช้ศิลปะประเภทการจัดวาง

24.  ข้อใด คือ ลักษณะพิเศษของผลงานถาวร โกอุดมวิทย์

ก.  ใช้โลหะ                   ข.  ใช้หนังสัตว์

ค.  ใช้กิ่งไม้เล็ก              ง.  ใช้ทองคำเปลว

25.  ข้อใด คือ ศิลปินสื่อวีดิทัศน์

ก.  ทวน ธีระพิจิตร         ข.  วิโชค มุกดามณี

ค.  กมล เผ่าสวัสดิ์            ง.  มณเฑียร บุญมา

26.   ชลูด นิ่มเสมอ เป็นผู้บุกเบิกผลงานลักษณะใด

ก.  ผลงานสื่อผสมสมัยใหม่

ข.  ผลงานการออกแบบภาพพิมพ์

ค.  ผลงานด้านภาพพิมพ์สมัยใหม่

ง.  ผลงานการใช้เทคนิคการพิมพ์ภาพ

2 7. ข้อใด คือ วัสดุที่ญาณวิทย์ กุญแจทอง ใช้สกัดและ

สังเคราะห์สี

ก.  ดิน                              ข.  ยางไม้

ค.  ดอกไม้                         ง.  เปลือกไม้

28. สุรสีห์ กุศลวงศ์ สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์

ในลักษณะใด

ก.  ภาพพิมพ์สื่อผสม

ข.  ภาพพิมพ์นามธรรม

ค.  ภาพพิมพ์เหมือนจริง

ง.  ภาพพิมพ์ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว

29. ศิลปินท่านใดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพทิวทัศน์

ก.  สุรสีห์ กุศลวงศ์

ข.  พิษณุ ศุภนิมิตร

ค.  ทินกร กาษรสุวรรณ

ง.  ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์

30.  วัสดุใดที่สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ แล้วสามารถ

สื่อได้ถึงพลังลี้ลับ

ก.  ดิน                              ข.  ไม้

ค.  หิน             ง.  โลหะ

31.  หลักฐานภาพพิมพ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มักพบได้ที่ใด

ก.  สมุดบันทึก

ข.  พิพิธภัณฑ์

ค.  ผลงานภาพพิมพ์

ง.  ลวดลายบนผนังถ้ำ

32.  ชนชาติใดของแถบเอเชียที่รู้จักสร้างผลงานภาพพิมพ์

เป็นชาติแรก

ก.  จีน                            ข.  ไทย

ค.  อินเดีย                                                                            ง.  ศรีลังกา

33.  ข้อใดคือลักษณะทางกายภาพของภาพพิมพ์ในปัจจุบัน

ก.  มีความลึก                  ข.  มีความหนา

ค.  ลักษณะ 3 มิติ             ง.  พื้นผิวแบนราบ

34.  การออกแบบเบื้องต้นมีความสำคัญต่องานพิมพ์อย่างไร

ก.  เพื่อเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์

ข.  วางแผนเกี่ยวกับการใช้สี

ค.  เลือกใช้วัสดุได้เหมาะสม

ง.  เป็นแนวทางในการพิมพ์ภาพ

35.  ในอดีตการพิมพ์ภาพของไทยเลือกใช้สีประเภทใด

ก.  สีน้ำ

ข.  สีฝุ่น

ค.  สีโปสเตอร์

ง.  สีจากธรรมชาติ

36.   ข้อใดคือความสำคัญของเทคนิคการพิมพ์ภาพเบื้องต้น

ก.  การออกแบบ

ข.  วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์

ค.  การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์

ง.  วัตถุประสงค์ของการพิมพ์

37. การสร้างแม่พิมพ์นูนควรคำนึงถึงข้อใด

ก.  การกลับจากซ้ายของพื้นรองรับ

ข.  การกลับจากขวาของพื้นรองรับ

ค.  การกลับจากซ้ายไปขวาของพื้นรองรับ

ง.  การกลับจากขวาไปซ้ายของพื้นรองรับ

38. ข้อใดคือเทคนิคการพิมพ์ภาพร่องลึกที่นิยมใช้ใน

ปัจจุบัน

ก.  การแกะไม้                ข.  การกัดกรด

ค.  การแกะปูน               ง.  การแกะหินทราย

3 9. นางสาวสมศรีควรเลือกเทคนิคการพิมพ์แบบใด

ลงบนเสื้อกีฬา

ก.  แบบพิมพ์ราบ            ข.  แบบพิมพ์นูน

ค.  แบบพิมพ์ร่องลึก        ง.  แบบพิมพ์ลายฉลุ

40.  จีนเคยสร้างตราประทับให้ไทยในสมัยใด

ก.  ธนบุรี                      ข.  อยุธยา

ค.  สุโขทัย      ง.  รัตนโกสินทร์