ข้อใดเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณ

คำบูชาพระรัตนตรัย

  • อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
  • สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
  • สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
  • พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
  • พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
  • พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า

  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
  • ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

บทสวดพุทธานุสสติ

  • อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วัชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
  • เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
    เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ

 

          (นำ) องค์ใดพระสัมพุทธ (รับพร้อมกัน)
ตัดมูลเกลศมาร
          หนึ่งในพระทัยท่าน
ราคี บ พันพัว
          องค์ใดประกอบด้วย
โปรดหมู่ประชากร
          ชี้ทางบรรเทาทุกข์
ชี้ทางพระนฤพาน
          พร้อมเบญจพิธจัก-
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล
          กำจัดน้ำใจหยาบ
สัตว์โลกได้พึ่งพิง
          ข้าขอประณตน้อม
สัมพุทธการุญ-
 สุวิสุทธสันดาน
บ มิหม่นมิหมองมัว
ก็เบิกบานคือดอกบัว
สุวคนธกำจร
พระกรุณาดังสาคร
มละโอฆกันดาร
และชี้สุขเกษมสานต์
อันพ้นโศกวิโยคภัย
ษุจรัสวิมลใส
ก็เจนจบประจักษ์จริง
สันดานบาปแห่งชายหญิง
มละบาปบำเพ็ญบุญ
ศิรเกล้าบังคมคุณ
ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)

บทสวดธัมมานุสสติ

  • สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
  • พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
    เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ

 

            (นำ) ธรรมะคือคุณากร(รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาธร ดุจดวงประทีปชัชวาล            แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล            ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้านับทั้งนฤพาน            สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬารพิสุทธิ์พิเศษสุกใส            อีกธรรมต้นทางครรไลนามขนานขานไขปฏิบัติปริยัติเป็นสอง            คือทางดำเนินดุจครองให้ล่วงลุปองยังโลกอุดรโดยตรง            ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนงด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ)
 

บทสวดสังฆานุสสติ

  • สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย,
    ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
  • พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
    ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (กราบ)

บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ

 

            (นำ) สงฆ์ใดสาวกศาสดา (รับพร้อมกัน) รับปฏิบัติมาแต่องค์สมเด็จภควันต์            เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-ลุทางที่อันระงับและดับทุกข์ภัย            โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร ปัญญาผ่องใสสะอาดและปราศมัวหมอง            เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพองด้วยกายและวาจาใจ            เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัยและเกิดพิบูลย์พูนผล            สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์อเนกจะนับเหลือตรา            ข้าขอนพหมู่พระศรา- พกทรงคุณา-นุคุณประดุจรำพัน            ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อันอุดมดิเรกนิรัติศัย            จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใดจงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)
 

 

          กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,          ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป.
          กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง,
ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม          ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระธรรม, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระธรรมในกาลต่อไป.
          กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ          ด้วยกายก็ดี ดวยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเดียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว
ในพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป.
 

อ้างอิง
ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.
รวบรวมข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

                  สนเทศน่ารู้  

บทสวดมนต์ใดคือบทสรรเสริญพระสงฆ์

คำนมัสการนอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน) ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ

บทสวดในข้อใดมีเจตนาเพื่อระลึกถึงพระธรรมคุณ

- สวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ - สวดสวากขาโต (รอบที่สอง) ระลึกถึงพระสังฆคุณ

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการสวดมนต์

การสวดมนต์เป็นการฝึกสมาธิ ให้ใจมีความสงบ ตั้งมั่นอยู่กับคำสวดมนต์อย่างต่อเนื่อง ใจจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ระมัดระวังไม่ให้สวดผิด ซึ่งการมีสมาธิอยู่กับสวดมนต์นี้ จะทำให้เรามีความสงบเยือกเย็นในจิตใจเพิ่มมากขึ้น และมีพลังในการคิดสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ข้อใดคือบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ

บทสวดพระสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ