ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักดนตรี

3.การบรรเลงรวมวง

      การบรรเลงเครื่องดนตรี
     เครื่องดนตรีที่พบเห็นทั่วไป มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีรูปแบบและวิธีการเล่นที่แตกต่างกันตามคุณลัษณะของเครื่องดนตรี ซึ่งการเล่นเครื่องดนตรีสามารถแบ่งเป็น การบรรเลงเดี่ยวและการบรรเลงเป็นวง
     การบรรเลงเดี่ยว คือ การบรรเลงเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียว ส่วนมากจะเป็นการบรรเลงเพื่อใช้ประกอบการแสดง
     การบรรเลงเป็นวง คือ การบรรเลงเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชิ้น พร้อมกัน โดยแต่ละชิ้นจะต้องบรรเลงตามบทบาทหน้าที่ และสอดคล้องกลมกลืนกัน

ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักดนตรี

3.1คูณสมบัติบัติของนักดนตรี หรือนักร้องที่จะบรรเลงรวมวงได้ดี

1. ควรรู้จักดูเเลรักษา หรือซ่อมบำรุงเบื้องต้นในเครื่องดนตรีที่ใช้ได้
2.มีความช่างสังเกตุในการบรรเลงทุกครั้ง หมั่นวิเคราะห์หาข้อติ มุมมองในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

3.มีความอดทนเเละมีวินัยต่อการฝึกซ้อม
4.รู้จักวิเคราะห์ตีความบทเพลงที่เล่น มีการเตรียมตัวที่ดีก่อนเเสดง
5.เป็นคนตรงเวลากับครูอาจารย์ เพื่อนสมาชิกร่วมวง สถานที่เเสดง ผู้ฟัง
6.มีความละเอียดในการฟัง ทำความเข้าใจกับการสื่อสารทุกอย่างในรูปเเบบของเสียง ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกการเขียน การอ่านเท่าที่มีโอกาสเรียนรู้
7.ไม่มองโลกเเง่ร้าย คอยติเตียนผู้ร่วมงาน เพื่อนนักดนตรีที่ทำผิดพลาดหรือด้อยกว่า

3.2ลักษณะของโน๊ตเพลงสำหรับการบรรเลงรวมวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักดนตรี

วาทยกร (อังกฤษ: conductor) หรือผู้อำนวยเพลง คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกรเป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรี พร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรีด้วย เสมือนผู้กำกับ

วาทยกรควบคุมวงดนตรีโดยการใช้รหัสหรือสัญญาณมือ มักถือไม้บาตอง (Baton) ที่มือขวาสำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายจะควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้นักดนตรีเล่นเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่วาทยกรต้องการสื่อสารกับนักดนตรีในวง วาทยากรจะพบในการแสดงดนตรีที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก เช่นในวง ออร์เคสตร้า วงประสานเสียง ส่วนการบรรเลงดนตรีในวงดุริยางค์ของกองทัพ อาจเรียกว่า หัวหน้าวงดุริยางค์

วาทยกรผู้เป็นสมาชิกของวงออร์เคสตร้าจะเป็นคนที่กำหนดทิศทางของวง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ผู้กำกับดนตรี หรือเรียกว่า คาเปลไมสเตอร์ (Kapellmeister) ในภาษาเยอรมันซึ่งหมายความถึง หัวหน้าวาทยากรในวงออร์เคสตร้าเยอรมัน สำหรับวาทยกรของวงประสานเสียง จะเรียก ผู้ควบคุมวงประสานเสียง ส่วนวาทยากรอาวุโสจะเรียกว่า มาเอสโตร (maestro - นาย) ในภาษาอิตาเลียน

แต่ความสำคัญของวาทยกรนั้น ไม่ได้อยู่แค่ที่การกำกับวงออกแสดงเท่านั้น กลับอยู่ที่การฝึกซ้อมนักดนตรีให้เล่นคีตนิพนธ์ต่าง ๆ ตามการตีความของวาทยกรแต่ละคน การนำวงดุริยางค์ออกแสดงเป็นแต่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ของการเล่นและการตีความคีตนิพนธ์นั้น ๆ เพราะการฝึกซ้อมต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการออกแสดงแต่ละครั้ง ทั้งนี้วาทยกรยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแนะนำหรือแก้ไขเทคนิคต่าง ๆ ให้แก่นักดนตรีได้ วาทยกรที่ดีจึงมักจะเป็นนักดนตรีที่ดีมาก่อนด้วย จึงจะสามารถเข้าใจปัญหาของวงได้เป็นอย่างดี และรู้ความสามารถและขีดจำกัดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

วาทยกรที่ดีเป็นแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่ให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะวาทยกรบางคนให้จังหวะแก่นักดนตรีได้อย่างแม่นยำ แต่วาทยกรบางคนก็ดูประหนึ่งว่าไม่ค่อยให้จังหวะแก่นักดนตรี หรือที่นักดนตรีเรียกว่า "ให้คิว" แต่กลับสื่อสารกับนักดนตรีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณค่าของวาทยกรจึงไม่ได้อยู่ที่ลีลาการกำกับวงเมื่อออกแสดง แต่อยู่ที่การฝึกซ้อมและการสื่อสารกับนักดนตรีให้เข้าใจ วาทยกรใหญ่หลายต่อหลายคนออกท่าทางน้อยมาก เช่น อิกอร์ มาร์เควิช (Igor Markevitch) หรือบางคนอาจดูเหมือนให้จังหวะที่สับสน เช่น วิลเฮ็ล์ม ฟวร์ตแวงเลอร์ (Wilhelm Furtwangler) แต่บทเพลงภายใต้การกำกับวงของเขาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยความล้ำลึก คุณค่าของวาทยกรจึงมิได้วัดด้วยสายตา แต่ต้องวัดจากการฟังของผู้ฟัง