ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย

รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส

เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

วัฏจักรไนโตรเจน(Nitrogen Cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของธาตุไนโตรเจน และสารประกอบไนโตรเจนตามสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนด้วยกระบวนการทางเคมี และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทั้งในสิ่งมีชีวิต อากาศ ดิน หิน และน้ำ จากระบบหนึ่งไปสู่ระบบหนึ่ง หมุนเวียนเป็นวัฏจักร

ไนโตรเจนในอากาศ
ธาตุไนโตรเจนในอากาศ ถือเป็นแหล่งเริ่มต้นของวัฏจักรธาตุไนโตรเจน โดยพบมากที่สุดในอากาศถึงร้อยละ 78 จากปริมาตรอากาศทั้งหมด ในรูปของก๊าซไนโตรเจน (N2) นอกจากนั้น ยังพบในรูปของก๊าซอื่นๆ ได้แก่
– ก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide : NO
– ก๊าซไนตรัสออกไซด์หรือก๊าซหัวเราะ (Nitrous oxide : N2O)
– ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxide : NO2)
– ก๊าซ N2O4
– ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia : NH3)

ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

ก๊าซไนโตรเจนในรูปต่างๆ สามารถเกิดได้จากกระบวนการทางเคมี แบ่งได้ ดังนี้
1. กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ
ไนโตรเจนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยกระบวนการไฮโดรไลต์ โดยมีจุลินทรีย์บางชนิดเข้าร่วมซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในดิน และน้ำเป็นหลัก ตามสมการ

• โปรตีนในเนื้อเยื่อ → โปรตีโอส (proteoses) → เปปโตน (peptone) → เปปไตด์ (peptides)

• เปปไตด์ (peptides)  → กรดอะมิโน (amino acid) → แอมโมเนีย (NH3) → แอมโมเนียม (NH4+)

• แอมโมเนียม (NH4+) + น้ำ (3H2O) → ไนเตรต (NO3–) → ไนไตรท์ (NO2–)  → ไนตรัสออกไซด์ (N2O) → ก๊าซไนโตรเจน (N2)

จุลินทรีย์ที่เข้าย่อยสลายไนโตรเจนในรูปอินทรีย์สารให้เป็นอนินทรีย์สารจะเรียกกลุ่มจุลินทรีย์นี้ว่า แอมโมนิไฟเออร์ (ammonifiers) ซึ่งพบได้ในดินประมาณ 105-107 เซลล์/กรัมดินแห้ง

ในระหว่างการย่อยสลาย หากมีอออกซิเจนที่เพียงพอจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟต (SO4 2-) และน้ำ แต่หากมีออกซิเจนไม่เพียงพอจะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) เอมีน (R-NH2) มีเทน (CH4) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และกรดอินทรีย์ สังเกตได้จากดินมีกลิ่นเหม็นฉุน ส่วนในน้ำจะดำ และเหม็นเน่า

แอมโมเนีย (NH3) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของกระบวนการย่อยสลาย และการเปลี่ยนรูป โดยหลังจากกระบวนการย่อยสลายจนเกิดก๊าซแอมโมเนีย หากไม่สัมผัสกับน้ำก็จะระเหยออกสู่อากาศ แต่โดยมากจะเปลี่ยนรูปต่อเป็นไนเตรตจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นก๊าซไนโตรเจนในทีสุด

กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นแอมโมเนีย แบ่งเป็น 2 กระบวนการ ดังนี้
1. แอมโมนิเซชัน (ammonization)
เป็นกระบวนการแรกของการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทั้งในดิน และน้ำ ด้วยจุลินทรีย์จนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นเอมีน และกรดอะมิโน ดังสมการ

• โปรตีน → R-NH2 + CO2 + พลังงาน + ผลิตภัณฑ์อื่นๆ

2. แอมโมนิฟิเคชัน (ammonification)
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากแอมโมนิเซชัน ด้วยการย่อยสลายเอมีน และกรดอะมิโน จนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นแอมโมเนีย แอลกอฮอล์ และพลังงาน ดังสมการ

• R-NH2 + H2O → R-OH + NH3 + พลังงาน

• 2NH3 + H2CO3 →  (NH4)2CO3 + 2NH4+ CO32-

แอมโมเนียในขั้นตอนนี้มีทั้งระเหยสู่อากาศ ถูกพืชดูดไปใช้ และถูกตรึงในดินระหว่างอนุภาคดินเหนียว ซึ่งบางส่วนจะเข้าสู่การแปรสภาพเป็นไนเตรต และก๊าซไนโตรเจนต่อไป

กระบวนการทั้งสองจะเกิดขึ้นได้ดีในดิน และน้ำที่มีสภาพเป็นกลางได้ดีกว่าสภาพเป็นกรด เนื่องจากเป็นสภาวะที่จุลินทรีย์สามารถเติบโตได้ดีที่สุด รวมถึงในดินที่มีสภาพความชื้นที่เหมาะสม และสำหรับในดินที่มีน้ำขังหรือในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนจะทำให้เกิดแอมโมเนียตกค้างจำนวนมาก เพราะขาดออกซิเจนสำหรับเข้าเปลี่ยนรูปแอมโมเนียเป็นไนเตรต นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจะมีผลต่อการย่อยสลายด้วยเช่นกัน

การแปรสภาพแอมโมเนีย แบ่งเป็น 2 กระบวนการ ดังนี้
1. ไนตริฟิเคชัน (nitrification)
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากแอมโมนิฟิเคชัน โดยใช้แอมโมเนียเป็นสารตั้งต้นสำหรับเปลี่ยนสภาพให้เป็นแอมโมเนียม ไนไตร์ท และไนเตรท  ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังสมการ คือ
ขั้นแรก แอมโมเนีย/แอมโมเนียม ออกซไดซ์เป็นไนไตร์ท

• 2NH4+ + 3O2 → 2NO2- + 2H2O + 4H+ + พลังงาน

ขั้นที่ 2 ไนไตร์ทถูกออกซิไดซ์เป็นไนเตรท

• 2NO2-  + O → 2NO3–

ข้อ ใด ไม่ใช่ บทบาท ของแบคทีเรีย ต่อการ หมุนเวียน ไนโตรเจน

2. ดีไนตริฟิเคชัน (denitrification)
เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องจากไนตริฟิเคชัน ด้วยการรีดิวซ์ไนเตรทให้เป็นไนไตร์ท ไนตรัสออกไซด์ และาซไนโตรเจนหรือไนตริกออกไซด์ปลดปล่อยสู่อากาศ ดังสมการ

• ไนเตรต (NO3–) → ไนไตรท์ (NO2–)  → ไนตรัสออกไซด์ (N2O) → ก๊าซไนโตรเจน (N2)/ไนตริกออกไซด์ (NO)

โดยผลิตภัณฑ์ไนไตรท์ (NO2–) ที่เกิดในขั้นไนตริฟิเคชัน บางส่วนจะแปรรูปเป็นแอมโมเนียก่อนเข้าสู่กระบวนการรีดิวซ์อีกครั้ง และบางส่วนจะเข้าสู่กระบวนการรีดิวซ์เป็นก๊าซไนโตรเจนได้โดยตรง

2. กระบวนการเผาไหม้
การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือซากพืช ซากสัตว์ ทำให้เกิดก๊าซของสารประกอบไนโตรเจน

• เชื้อเพลิง/วัตถุ + O2 → NO/NO2/N2O4

• แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) + O2 → N2O

ไนโตรเจนในดิน
1. กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ
การย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุที่กล่าวข้างต้นในหัวข้อไนโตรเจนในอากาศจะเกิดสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนรูปแบบต่างๆในดินที่สามารถย่อยสลายได้อย่างรวดเร็ว โดยขั้นสุดท้ายที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ แอมโมเนีย (NH3) และ ไนเตรต (NO3-) ซึ่งสามารถอยู่ในดินได้จากแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคดินเหนียว ก่อนบางส่วนจะเกิดปฏิกิริยาต่อกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน

2. การตรึงไนโตรเจน

เป็นกระบวนการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศเป็นสารประกอบในโตรเจนที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยจุลินทรีย์ขนิด nitrogen fixing microorganism แบ่งการตรึงออกเป็น 2 แบบ คือ

• Symbiotic nitrogen fixation เป็นการตรึงไนโตรเจนจากอากาศแบบพึ่งอาศัยระหว่างจุลินทรีย์ และรากพืช โดยมีการสร้างบมบริเวณส่วนรากเพื่อเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียสำหรับตรึง และเก็บกักเพื่อให้รากพืชดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ จุลินทรีย์ที่พบ ได้แก่ ไรโซเบียม (Rhizobium) ส่วนพืชจะเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น

• Non-symbiotic nitrogen fixation เป็นการตรึงไนโตรเจนของจุลินทรีย์อิสระที่ไม่ต้องพึ่งแหล่งอาศัยเหมือนจุลินทรีย์แบบ Symbiotic nitrogen fixation

3. การใส่ปุ๋ย
รูปของธาตุไนโตรเจนที่สามารถอยู่ในดินได้จะเป็นสารประกอบของแข็งที่อยู่ในรูปปุ๋ยสำหรับใส่ให้แก่ต้นพืช ได้แก่
ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต  (ammonium nitrate, NH4NO3)
ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (potassium nitrate, KNO3)
ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท (calcium nitrate, Ca(NO3)

สารประกอบของปุ๋ยเมื่ออยู่ในดิน และสัมผัสกับความชื้นจะแตกตัวให้ประจุไนเตรต (NO3–) ที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

ไนโตรเจนในน้ำ
1. กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ
การย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุที่กล่าวข้างต้น สามารถเกิดในน้ำได้เช่นกัน จนได้สารประกอบไนโตรเจนรูปแบบต่างๆที่ละลายในน้ำ ทั้งในรูปของก๊าซ และของแข็งตกตะกอน ได้แก่
– ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ทีถูกตรึงอยู่ระหว่างอนุภาคของน้ำ แต่ส่วนมากจะออกสู่อากาศ
ไนเตรต (NO3-) ที่เข้าจับกับเกลือที่ละลายในน้ำจนตกตะกอน เช่น แคลเซียม (Ca) ได้เป็นแคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3), โพแทสเซียมไนเตรท (K) ได้เป็นโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เป็นต้น

2. การละลายของออกไซด์ไนโตรเจน
– กรดไนตริก (HNO3) จากการละลายของไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ในน้ำ (2NO2 + H2O = HNO3 + HNO2)

สารประกอบของไนโตรเจนในน้ำบางส่วนจากกระบวนการย่อยสลาย และการละลายจากก๊าซจะเกิดปฏิกิริยาต่อกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน (N2) เข้าสู่อากาศอีกครั้ง แต่บางส่วนจะรวมกับสารอื่นจนมีความเข้มข้นมากพอแล้วตกตะกอนในท้องน้ำ

ไนโตรเจนในพืช สัตว์ และจุลินทรีย์
ไนโตรเจนที่อยู่ในมนุษย์ สัตว์ พืช และจุลิทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจะได้รับจากสารอาหารที่กินหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปขององค์ประกอบของกรดอะมิโนที่เป็นโปรตีนในเซลล์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายไปก็จะเข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย และกลับเข้าสู่วัฏจักรไนโตรเจนต่อไป

ดังนั้น วัฏจักรไนโตรเจน แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. ไนโตรเจนปฐมภูมิ/แหล่งไนโตรเจน เป็นแหล่งไนโตรเจนที่พบในอากาศ
2. ไนโตรเจนทุติยภูมิ/ไนโตรเจนย่อยสลาย เป็นแหล่งไนโตรเจนที่พบในดิน หิน และน้ำ
3. ไนโตรเจนตติยภูมิ/ไนโตรเจนเก็บกัก และใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งไนโตรเจนที่พบในสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช และจุลินทรีย์