ข้อใดคือธรรมที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญและส่งผลให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

หน่วยที่ 6

เรื่อง หลักธรรมเพื่อพัฒนาคนพัฒนางาน และสังคม

               หลักธรรมเพื่อการพัฒนาคน

            ศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาคนหรือการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้เป็น      ผู้เพียบพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ความเจริญ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ภายใต้ระเบียบคำสอนและจุดมุ่งหมายของแต่ละศาสนา ในส่วนของพระพุทธศาสนาได้กำหนดหลักธรรมในการพัฒนาคนที่สำคัญ คือ โอวาท ๓ ไตรสิกขา ๓ สันโดษ ๓       สุขของคฤหัสถ์ ๔ เบญจศีล-เบญจธรรม สัปปุริสธรรม ๗ และเวสารัชชกรณธรรม ๕ ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละข้อ ดังนี้

๑.      โอวาท ๓

โอวาท หมายถึง ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ หลักการส่วนใหญ่   ของโอวาท ๓ มุ่งเน้นให้มนุษย์พัฒนาตนเองในทุกด้าน เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีหลักการสำคัญ ๓ ประการ ดังนี้

1.1   ไม่ทีความชั่วทั้งปวง

1.2   ทำแต่ความดี

1.3   ทำจิตใจของตนให้สะอาด 

๒.    ไตรสิกขา

ไตรสิกขา หรือสิกขา ๓ หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำรับศึกษา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุขของชีวิต มี ๓ ประการ คือ

2.1 ศีล (อธิสีลสิกขา)

2.2 สมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

2.3 ปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

๓. สันโดษ ๓

สันโดษ หมายถึง ความยินดี ความพอใจ ความยินดีด้วยของของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม ความยินดีด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ มี ๓ ประการ คือ

3.1 ยถาลาภสันโดษ

3.2 ยถาพลสันโดษ

3.3 ยถาสารุปปสันโดษ

๔. สุขของคฤหัสถ์ ๔

สุขของคฤหัสถ์ หมายถึง สุขของชาวบ้าน หรือสุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้อย่างสม่ำเสมอ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี มี ๔ ประการ คือ

4.1 อัตถิสุข

4.2 โภคสุข

4.3 อนณสุข

4.4 อนวัชชสุข

๕. เบญจศีล

เบญจศีล หมายถึง ความประพฤติชอบทางกาย วาจา การักษากาย ว่าจาให้เรียบร้อย การรักษาปฏิบัติตามระเบียบวินัย ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและเบียดเบียนซึ่งกันและกันทั้งคนและสัตว์ มี ๕ ประการคือ

5.1 การละเว้นจากการฆ่า การประทุษร้าย การทำร้าย การทำลาย และการนเบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกันในมนุษย์และสัตว์

5.2 การละเว้นจากการถือเอาทรัพย์สิ่งของของคนอื่นที่เจ้าของไม่ได้ให้หรืออนุญาตมาเป็นของของตน หรือการแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินของคนอื่น รวมถึงการละเมินในลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา

5.3 การละเว้นจากกการประพฤติผิดในคู่ครอง หรือสิ่งของอันเป็นที่รักหวงแหนของผู้อื่น หรือการละเว้นจากกการประพฤติผิดประเพณีทางเพศด้วยประการต่างๆ

5.4 กระละเว้นจากกการพูดเท็จ พูดโกหก พูดหลอกลวง พูดส่อเสียด พูดยุแหย่ พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ

5.5 ละเว้นจากการดื่ม เสพสิ่งเสพติดและของมึนเมาทุกชนิด อันเป็นที่ตั้งแห่งความแระมาท

๖. เบญจธรรม

เบญจธรรมอันดีงามห้าอย่าง คุณธรรมห้าประการ ซึ่งเป็นธรรมที่ปฏิบัติไปพร้อมๆกับเบญจศีล เบญจธรรม ถือเป็นธรรมเกื้อกูลแก่ การรักษาเบญจศีล คือ ช่วยให้การรักษาเบญจศีลสมบูรณ์ขึ้น มี ๕ ประการ ดังนี้

6.1 เมตตาและกรุณา

6.2 สัมมาอาชีวะ

6.3 กามสังวร

6.4 สัจจะ

6.5 สติสัมปชัญญะ

๗. เวสารัชชกรณธรรม๕

เวสารัชชกรณธรรม หมายถึง ธรรมที่ทำให้แกล้วกล้า กล้าหาญ คุณธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ มี ๕ ประการ คือ

7.1 ศรัทธา

7.2 ศีล

7.3 พาหุสัจจะ

7.4 วิริยารัมภะ

7.5 ปัญญา

๘. สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ หรือธรรมที่ทำให้เป็นคนดี เป็นคุณธรรมสำหรับผู้ต้องการพัฒนาตนเอง มี ๗ ประการ คือ

8.1 ธัมมัญญุตา

8.2 อัตถัญญุตา

8.3 อัตตัญญุตา

8.4 มัตตัญญุตา

8.5 กาลัญญุตา

8.6 ปริสัญญุตา

8.7 ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา

                    หลักธรรมเพื่อการพัฒนางาน

            หมวดธรรมข้อนี้ เป็ฯหมวดธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีความมั่นคงเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นความผูกพันระหว่างคนกับคนได้เป็นอย่างดี จนสามารถก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะอีกด้วย พระพุทธศาสนากำหนดหลักธรรมสำคัญสำหรับเพื่อการพัฒนางาน เช่น กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ สมชีวิธรรม ๔ อปริหานิยธรรม ๗ และกัลป์ยาณมิตตธรรม ๗

๑.       กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔

กุลจิรัฏฐิติธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับการดำรงความมั่นคง มั่งคั่งของวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืนเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน กุลจิรัฏฐิติธรรม นอกจากจะเน้นในเรื่องของการพัฒนาครอบครัววงศ์ตระกูลแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ได้กับการพัฒนางาน หรือพัฒนาองค์กร โดยการสร้างให้สมาชิกในมีคุณธรรมตามหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ ประการ ดังนี้

1.1 นัฏฐคเวสนา

1.2 ชิณณปฏิสังขรณา

1.3 ปริมิตปานโภชนา

1.4 อธิปัจจสีลวันตสถาปนา

๒. สมชีวิธรรม๔

            สมาชีวิธรรม หมายถึง หลักธรรมของคู่ชีวิต ธรรมที่จะทำคู่สมรสมีชีวิตสม่ำเสมอกลมกลืนกัน อยู่ครองกันยืดยาว แม้ว่าโดยหลักแล้วสมชีวิธรรมจะเน้นในเรื่องของคู่รักหรือครอบครัวก็ตามแต่ก็สามารถประยุกต์ให้กับองค์การหรือหน่วยงานได้ ซึ่งไม่ว่าในครอบครัวหรือในองค์กรสมาชิกทุกคนต้องมีคุณธรรมจำเป็น ๔ ประการ ดังนี้

            2.1 สมศรัทธา

2.2 สมสีลา

2.3 สมจาคา

2.4 สมปัญญา

๓. อปริหานิยธรรม ๗

            อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งของความเสื่อม ธรรมเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว อปริหานิยธรรม ถือเป็นคำสอนที่สมาชิกในองค์กรต้องยึดถือเป็นคุณธรรมประจำใจ เพราะหากสมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาและบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรตั้งไว้ มีหลักปฏิบัติ ๗ ประการ ดังนี้

            3.1 หมั่นประชุมปรึกษาหารือกันบ่อยๆ

            3.2 พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุมพร้อมกัน พร้อมเพรียงในการช่วยกิจการงานที่เกิดขึ้น

            3.3 ไม่ลุแก่อำนาจบัญญัติในสิ่งที่หน่วยงานไม่ได้บัญญัติไว้  หรือไม่ถอดถอนยกเลิกในสิ่งที่ตกลงร่วมกันและที่ได้บัญญัติไว้แล้ว

            3.4 เคารพผู้เป็นใหญ่ที่เป็นประธานที่เป็นใหญ่ มีประสบการณ์มามาก ปละเคารพเชื่อฟังแล้วถือปฏิบัติ

            3.5 ให้เกียรติและคุ้มครองสตรี ไม่ข่มแหงรังแก ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น

            3.6 เคารพบูชาสักการะปูชนียสถาน อนุสรณ์สถาน อันเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนและทำการบูชาตามประเพณี

            3.7 จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครองแก่บรรพชิตผู้ทรงศีล

๔. กัลยาณมิตตธรรม ๗

            กัลยาณมิตตธรรม หมายถึง องค์คุณของกัลยาณมิตร คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่าน        ที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้หมายเอาเพื่อนในหน่วยงานซึ่งทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ๗ ประการ ดังนี้

            4.1 ปิโย

            4.2 ครุ

            4.3 ภาวนีโย

            4.4 วัตตา

            4.5 วจนักขโม

            4.6 คัมภีรัญ จะ กะถัง กัตตา

4.7   โน จัฏฐาเน นิโยวะเย

หลักธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม

            ๑. ธรรมโลกปาล หรือธรรมคุ้มครองโลก ๒ ประการ

      1.1 หิริ

      1.2 โอตตัปปะ

            ๒. สังคหวัตถุ ๔

            สังคหวัตถุ แปลว่า หลักการสงเคราะห์ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือ ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนและประสานหมู่คณะไว้สามัคคี

                        2.1 ทาน

                        2.2 ปิยวาจา

                        2.3 อัตถจริยา

                        2.4 สมานัตตตา

            ๓. พรหมวิหาร๔

            พรหมวิหาร หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำหับความแระพฤติจึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ อันจะนำมาซึ่งความสุขสงบ และสันติ ตลอดถึงมีความรักความผูกพันกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันและกัน มีหลักการสำคัญ๔ประการ ดังนี้

      3.1 เมตตา

      3.2 กรุณา

      3.3 มุทิตา

      3.4 อุเบกขา

            ๔. อคติ ๔

อคติ หมายถึง ความอำเอียง ความไม่เที่ยงธรรม ท่งความประพฤติที่ผิด

                        4.1 ฉันทาคติ

                        4.2 โทสาคติ

                        4.3 โมหาคติ

                        4.4 ภยาคติ

            ๕. ฆราวาสธรรม ๔

            ฆราวาสธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับฆราวาส ธรรมสำหรับผู้เรือน ธรรมสำหรับชาวบ้าน หรือ หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ (ชาวบ้าน)

                        5.1 สัจจะ

                        5.2 ทมะ

                        5.3 ขันติ

                        5.4 จาคะ

            ๖. มิตรแท้ ๔

            มิตรแท้ หมายถึง มิตรมีใจดีต่อกัน มิตรที่จริงใจต่อกันทั้งต่อหน้าและลับ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกในสังคมต้องแสดงออกถึงความเป็นมิตรแท้ต่อกัน ไม่หน้าไหว้หลังหลอก หรือคบหาสมาคม เพียงเพราะผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเพราะถ้าสมาชิกในสังคมมีความจริงใจต่อกัน ย่อมส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม หลักการประพฤติตนเป็นมิตรแท้มี ๔ ประการ ดังนี้

                        6.1  มิตรมีอุปการะ

                        6.2 เพื่อนร่วมสุข ร่วมทุกข์

                        6.3 มิตรแนะประโยชน์

                        6.4 มิตรมีน้ำใจ

            ๗. สารณียธรรม ๖

            สารณียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกันธรรมที่ให้เกิดความสามัคคี หรือหลักการอยู่ร่วมกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกในสังคมต้องแสดงออกถึงความรักความสามัคคี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข โดยการประพฤติตามหลักสารณียธรรม ๖ ประการ ดังนี้

                        7.1 เมตตากายกรรม

                        7.2 เมตตาวจีกรรม

                        7.3 เมตตามโนกรรม

                        7.4 สาธารณโภดี

                        7.5 สีลสามัญญตา

                        7.6 ทิฏฐิสามัญญตา

หลักธรรมใดมุ่งเน้นไปสู่ความสําเร็จในการทํางาน

อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการ มี 4 ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา 1. ฉันทะ คือ ความพอใจ ใฝ่รัก ใฝ่หาความรู้ และใฝ่สร้างสรรค์

ข้อใดคือคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ

หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน.
1. ฉันทะ : มีใจรักในงานที่ทำ ... .
2. วิริยะ : มุ่งมั่นทุ่มเทกับงานที่ได้รับมอบหมาย ... .
3. จิตตะ : มีสมาธิและจดจ่อกับงานที่ทำอยู่ ... .
4. วิมังสา : ทบทวนในงานที่ทำและพัฒนาต่อยอด ... .
7 คอร์สออนไลน์ สร้างรายได้เสริม เรียนฟรี! ... .
7 ของสะสมที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดใน 10 ปี.

บุคคลที่ประสบความสำเร็จในด้านการเรียนควรนำหลักธรรมใดมาเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต

หลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมหรือวิธีการที่คนจะพึงใช้เพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิตใช้ เป็นแนวทางในการเรียน และการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ (ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป) วิริยะ (ความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ...

หลักธรรมในการพัฒนางานให้สำเร็จมีหลักธรรมใดบ้าง

หลักธรรมที่สามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องของการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้ ก็คือ หลักธรรมในอิทธิบาท 4 ค่ะ.
1. ฉันทะ ... .
2. วิริยะ ... .
3. จิตตะ ... .
4. วิมังสา.