ข้อ ใด คือ หัวใจ หลัก ของ การทำโครงงาน วิทยาศาสตร์

แบบทดสอบเรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์

Test Description: แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

Instructions: Answer all questions to get your test result.

Show

1) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

Aการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ Bจุดมุ่งหมายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือการเข้าประกวดแข่งขัน Cการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง Dการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนรับผิดชอบ

2) ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์คือข้อใด

Aเป็นกิจกรรมที่นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา Bเป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าค้นคว้าด้วยตนเอง Cเป็นงานวิจัยเล็กๆ ของนักเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Dถูกทุกข้อ

3) ข้อใดไม่จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์

Aเขียวผลิตยาขจัดกลิ่นกายสูตรธรรมชาติที่ไม่เหมือนใคร Bส้มทำสบู่สมุนไพรสูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเอง Cขาวศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเครื่องอบผ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ Dแดงซื้อชุดทำยาหม่องน้ำจากร้านค้ามาทำยาหม่องแจกเป็นของชำร่วย

4) ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์

Aเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจลักษณะธรรมชาติวิทยาศาสตร์ดีขึ้น Bเพื่อให้มีประสบการณ์ตรงในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ Cเพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ Dเพื่อให้นักเรียนได้รับคำตอบในปัญหา

5) หลักการของการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์คือข้อใด

Aความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ Bการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ Cความสามัคคีในหมู่คณะ Dการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

6) ข้อใดคือองค์ประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Aเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนาและแสดงความสามารถ Bกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ Cนักเรียนเป็นผู้ริเริ่มเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง Dนักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

7) ข้อใดเป็นคุณค่าของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Aสร้างความสำนึก และรับผิดชอบในการศึกษาหาความรู้ Bเป็นกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้า Cนักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า Dเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8) ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

Aเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรักและสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ Bเพื่อให้เห็นถึงนิสัยและพฤติกรรมของผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ Cเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ Dเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

9) ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

Aรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น Bเป็นการหาความรู้ด้วยตนเองที่หลากหลาย Cเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง Dช่วยส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลงาน และเป็นหนทางในการสร้างรายได้

10) นักเรียนได้รับประโยชน์อะไรจากการทำโครงงานมากที่สุด

Aได้ประสบการณ์และพัฒนาคุณลักษณะในหลายๆด้านให้กับผู้เรียน Bได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ Cได้ประสบการณ์และพัฒนาคุณลักษณะในหลายๆด้านให้กับผู้เรียน Dได้ฝึกการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหา

*select an answer for all questions

Play Games with the Questions Above



Teachers: Create FREE classroom games with your questions Click for more info!
©2007-2022 ReviewGameZone.com | About | Privacy | Contact | Terms | Site Map

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ข้อ ใด คือ หัวใจ หลัก ของ การทำโครงงาน วิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องปฏิรูปการเรียนรู้ขึ้นโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เพื่อให้เด็กปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ความมุ่งหวังให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี และมีสุข จากแนวทางดังกล่าวการปฏิรูปจึงมุ่งเน้นให้มีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ให้หลายฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการปรับหลักสูตร และครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องเน้นเด็กได้ปฏิบัติจริง ได้สัมผัสกับประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติปรากฎว่านักเรียนยังไม่มีความสามารถ ตามที่จุดเน้นกำหนดนั่นคือ คิดยังไม่เป็น ทำยังไม่เป็นและแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอย่างมาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3โดยนายสันติ สวนแก้วจึงได้จัดทำเอกสาร “แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้” เพื่อให้ครูผู้สอน ได้นำไปศึกษาและใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และใช้ประกอบการอบรมครูผู้สอนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น
แนวคิด การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

ความหมาย การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง

 

วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง

ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี

รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา / ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน / วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา (ถ้ามี)
8. วัสดุ อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10. ระยะเวลาการดำเนินงาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต หรือตามที่สงสัย
- ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
- จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ

การประเมินผลการทำโครงงาน ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา