ภูมิภาคใดมีการส่งออกน้ำมันมากที่สุด

ถ้านับปริมาณน้ำมันดิบสำรอง เวเนซุเอลา ถือว่ามีน้ำมันมากที่สุด ที่ 303,806 ล้านบาร์เรล รองลงมาคือ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และคูเวต ส่วนรัสเซีย ซึ่งเผชิญการแบนนำเข้าน้ำมันจากชาติตะวันตก มีน้ำมันสำรองอยู่ที่ 80,000 ล้านบาร์เรล

ส่วนประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุด คือ สหรัฐฯ ราว 20.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน รองลงมาคือจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซียเอง

การคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ ต้องหันไปหาชาติคู่อริ อย่าง เวเนซุเอลา เพื่อเพิ่มปริมาณนำเข้าน้ำมันแทน

          ในส่วนของประเทศไทยนั้น BP Statistical Review Of  World Energy 2019 ระบุว่า มีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 300 ล้านบาร์เรล แต่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 228,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันสูงถึงราว ๆ 1,478,000 บาร์เรล/วัน เท่ากับว่าไทยผลิตน้ำมันได้เพียง 20% ของปริมาณที่ต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศอีกกว่า 80% เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รองรับปริมาณการใช้งานภายในประเทศที่มากขึ้น

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป  

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป  

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

ความโกลาหลที่กำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำให้เอเชียตระหนักชัดยิ่งขึ้นว่า ภูมิภาคของตนพึ่งพาน้ำมันจากภายนอกในระดับที่สูงเกินไป และมั่นใจต่อเสถียรภาพของภูมิภาคที่ส่งออกน้ำมันมากเพียงใด

ภูมิภาคใดมีการส่งออกน้ำมันมากที่สุด

เพราะถึงที่สุดแล้วไม่มีภูมิภาคใดที่จะรักษาความมั่นคงภายในไว้ได้ตลอดกาล แม้กระทั่งประเทศที่ดูเหมือนจะมั่นคงที่สุดอย่างโอมานและซาอุดีอาระเบีย ยังเริ่มเกิดแรงกระเพื่อมภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอมาน ที่ขณะนี้ไฟของความขัดแย้งเริ่มมอดไหม้ในประเทศอย่างรุนแรง

ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งอาจเหลือเพียงประเทศใหญ่ประเทศเดียวเท่านั้นในภูมิภาค ยังเผชิญกับความท้าทายอย่างไม่ประสบมาก่อน เมื่อนักวิชาการนับร้อยคนยื่นชื่อต่อรัฐบาลขอเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้ยกฐานะของสตรีให้มีบทบาทมากขึ้น

การฝากความหวังไว้ที่ภาพลักษณ์อันสวยหรูของคำว่า “เศรษฐีน้ำมัน” กลายเป็นภาพมายาอย่างรวดเร็ว เพราะเอเชียคิดว่าการเป็นเศรษฐีน้ำมันย่อมหมายถึงความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกันของประชาชนและผู้ปกครองประเทศ แต่เหตุจลาจลได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ฐานะเศรษฐีน้ำมันมิได้รับประกันว่าจะมีการแบ่งสันปันส่วนความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกัน

นี่คือปัญหาที่ซาอุดีอาระเบียกำลังเผชิญอยู่ ด้วยอัตราว่างงานที่สูงถึง 10.5% ยังไม่นับรูปแบบการปกครองที่เป็นอำนาจนิยมเต็มขั้น อีกทั้งสตรียังไม่มีบทบาทในสังคม

ประเด็นเหล่านี้นับเป็นแรงกดดันมหาศาลต่อรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่ประเทศรอบด้านเผชิญกับข้อเรียกร้องในทำนองเดียวกัน

หากซาอุดีอาระเบียติดเชื้อความรุนแรงขึ้น อาจถึงเวลาที่เอเชียจะต้องมองหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่อย่างจริงจังมากขึ้น และพยายามพึ่งพาตะวันออกกลางให้น้อยลง ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์เฉพาะหน้าบังคับ หรือเพราะความจำเป็นในระยะยาว

ขณะนี้ระดับการพึ่งพาน้ำมันในรูปของสัดส่วนการนำเข้าจากตะวันออกกลางโดยนานาประเทศในเอเชียอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ไม่มีหรือมีทรัพยากรพลังงานเป็นของตัวเองเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นที่ซื้อน้ำมันในสัดส่วนถึง 90% จากภูมิภาคดังกล่าว สิงคโปร์ซื้อเข้าประเทศจากแหล่งเดียวกันที่ 85% และเกาหลีใต้ในสัดส่วนไล่เลี่ยกันที่ 82%

แม้แต่ไทยและอินเดีย ซึ่งมีทรัพยากรไม่น้อยไปกว่าบางประเทศในตะวันออกกลาง ด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่าเยเมนและบาห์เรน ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนเกือบ 100%

ปัญหาสำคัญของไทยและอินเดียก็คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อประชาชนที่กำลังไม่พอใจกับปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง เฉพาะรัฐบาลอินเดียนั้น ในขณะนี้ไม่เพียงเผชิญกับภาวะขาดดุลอย่างมโหฬาร แต่รัฐบาลยังใช้มาตรการเฉพาะหน้าในการลดกระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น

ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลอินเดียจะลดซื้อขายภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินลง อีกทั้งยังเตรียมลดภาษีนำเข้าน้ำมันจาก 5% เหลือ 7%

น่าสงสัยเหลือเกินว่า ด้วยสภาพทางการเงินที่ย่ำแย่และเงินเฟ้อที่ยิ่งไต่ระดับ รัฐบาลอินเดียจะใช้มาตรการประชานิยมซื้อเวลาไปได้นานสักเพียงไร

ไม่เฉพาะอินเดียเท่านั้นที่ใช้มาตรการขายผ้าเอาหน้ารอด ด้วยการอุดหนุนน้ำมันราคาถูก แต่ยังมีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พยายามตรึงราคาน้ำมันให้ถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสความไม่พอใจของประชาชน หลังจากที่เมื่อช่วงปี 2007-2008 รัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียต้องประสบกับความสั่นคลอนอย่างรุนแรง หลังจากตัดสินใจระงับมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 21 ของโลก ส่วนมาเลเซียอยู่ที่อันดับ 27 ซึ่งทั้งสองประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่าไทย(ที่ 33) แต่ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงผลพวงจากราคาน้ำมันแพงได้ นับประสาอะไรกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีทรัพยากรด้านพลังงานน้อยกว่า หรือกระทั่งไม่มีเลย อย่างภูมิภาคตะวันออกไกล

โอกาสที่ราคาน้ำมันจะถีบตัวถึง 150-200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีอยู่สูงมาก มิใช่เพราะสถานการณ์ในตะวันออกกลาง แต่เพราะน้ำมันเป็นทรัพยากรที่จำกัด และพร้อมที่จะหมดสิ้นไปจากโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง

หากเหตุวุ่นวายในตะวันออกกลางไม่ถึงกับทำให้ราคาน้ำมันทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่าในเวลาอันสั้น ก็ยังนับว่าเป็นเคราะห์ดีสำหรับเอเชีย ที่พอมีเวลาจะมองหาแหล่งน้ำมันทางเลือกแทน ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายเกินพิกัดจนกำลังการผลิตน้ำมันโลกหายไปเกือบ 2 ใน 4 อีกทั้งยังจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันสำรองเกือบครึ่งของโลก ที่กระจุกตัวในตะวันออกกลาง

ไม่เพียงเท่านั้น การนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางยังนับเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเอเชีย เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่ไกลนัก สามารถขนส่งน้ำมันได้โดยสะดวกผ่านเส้นทางขนส่งทางเรือเป็นหลัก และมีความพยายามโดยอินเดียที่จะต่อท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากอิหร่านผ่านปากีสถานอีกด้วย แม้จะประสบกับปัญหาขลุกขลักหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาทางการเมืองระหว่างอริเก่าที่เป็นเจ้าของเส้นทางท่อส่งน้ำมันร่วมกัน

โจทย์สำคัญก็คือ ในเมื่อตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำมันสำรองและน้ำมันที่ผลิตได้รายวันสูงที่สุดในโลก เอเชียจะแสวงหาแหล่งอื่นที่ทัดเทียมกันได้จากที่ใด?

หากมองไปที่จีน จะพบทางออกชั่วคราวสำหรับปัญหานี้ เพราะในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาจีนพยายามเจาะเข้าถึงแหล่งพลังงานในเอเชียกลาง หรือกระทั่งเจาะข้ามเอเชียกลางไปถึงภูมิภาคเทือกเขาคอเคซัสใกล้กับรัสเซีย เช่น ในอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีปริมาณน้ำมันมหาศาล จีนยังยอมแม้กระทั่งญาติดีกับรัสเซียซึ่งมีกำลังการผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลกที่กว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 8 ของโลก ที่ 6 หมื่นล้านบาร์เรล

ทั้งจีนและรัสเซียนี้เคยผิดใจกัน แต่วันนี้ทั้งสองประเทศร่วมมือแข็งขันโดยเฉพาะในด้านพลังงาน

นอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งพลังงานภายในเอเชียแล้ว ภูมิภาคนี้ควรกระชับความร่วมมือกับรัสเซียและแถบคอเคซัส เพื่อใช้พลังงานจากแถบนี้รองรับในกรณีที่ตะวันออกกลางเกิดภาวะมิคสัญญียืดเยื้อ

เมื่อหันมาดูที่ยุโรป จะพบว่าพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางมากที่สุด เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับลิเบีย ยุโรปเองก็พึ่งพารัสเซียไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานจำเป็นในฤดูหนาว แต่แล้วรัสเซียมักใช้ก๊าซเป็นตัวต่อรองราคาและอำนาจทางการเมืองกับยุโรป บ่อยครั้งที่มีการปิดวาล์วท่อส่งก๊าซเอาดื้อๆ หากรัสเซียเห็นว่าอีกฝ่ายกำลังเล่นแง่ทางการเมืองกับตน

แม้เอเชียจะมีความเปราะบางสูงจากวิกฤตในตะวันออกกลาง แต่สิ่งที่เอเชียมีอยู่เหนือกว่ายุโรป คือ สถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงกว่า จะเป็นเสมือนเบาะรองหากเส้นเลือดใหญ่ด้านพลังงานถูกตัดขาดอย่างทันทีทันใด

และด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่คึกคักอยู่ตลอดเวลานี่เอง จะทำให้หลายประเทศในเอเชียเริ่มตระหนักเร็วขึ้นถึงความจำเป็นในการพึ่งพาแหล่งพลังงานจากที่อื่น หรือกระทั่งแสวงหาหนทางที่จะพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทน