หน่วยจัดเก็บข้อมูลใดที่มีมากที่สุด

Random access memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรม บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (volatile) ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลที่ถูกเก็บในหน่วยความจำแรมจะถูกลบหายไป เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในแรมไว้ใช้งานในอนาคตจะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาบางประเภทจะใช้หน่วยความจำ ที่เรียกว่า flash ROM หรือ flash memory ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ได้

รอม (ROM)

Read – 0nly memory หรือ ROM เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม

 

หน่วยความจำแคช (Cache memory)

        ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์บางส่วนที่ทำงานช้า จึงมีการใช้วีธีหน่วยความจำแบบแรมมาเพิ่มความเร็วของอุปกรณ์เหล่านั้น อันจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมเร็วขึ้นมาก เรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่า หน่วยความจำแคช (Cache memory) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

•  แคชสำหรับหน่วยความจำ (Memory cache) จะเป็นการใช้หน่วยความจำแรมชนิดความเร็วสูงเป็นพิเศษมาเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ จากหน่วยความจำแรมปกติของระบบ เพื่อลดเวลาที่ซีพียูใช้ในการอ่านหน่วยความจำแรมของระบบ ซึ่งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าการทำงานของซีพียูมาก

•  แคชสำหรับอุปกรณ์ (Device cache) เป็นการออกแบบเพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง โดยจัดสรรแรมมาใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้บ่อย ๆ จากอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำ เช่น ฮาร์ดดิสก์ มาไว้ในแคช ทำให้จำนวนครั้งที่ต้องทำการเรียกใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้นลดลง จึงทำงานได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ในบางครั้งจะพบกับ หน่วยความจำแบบบัฟเฟอร์ (Buffer memory) ซึ่งเป็นแคชสำหรับอุปกรณ์แบบง่าย ๆ ทำหน้าที่พักข้อมูลจากอุปกรณ์ไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้ซีพียูมาอ่านไปใช้ โดยไม่มีการใช้วีการที่ซับซ้อนในการเลือกว่าข้อมูลใดที่มีโอกาสสูงที่สุดที่ซีพียูจะเรียกใช้งาน

หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)

        จะเป็นวีธีในการนำพื้นที่ของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( ส่วนมากจะเป็นฮาร์ดิสก์) มาจำลองเป็นหน่วยความจำ เนื่องจากหน่วยความจำของระบบมีจำกัดและมีราคาสูง การใช้หน่วยความจำเสมือนจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมขนาดใหญ่มาก ๆ ได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องหน่วยความจำไม่เพียงพอ ระบบการทำงานของหน่วยความจำเสมือนจะใช้วิธีแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วน ๆ และคอมพิวเตอร์จะทำการ สลับ (swap) ส่วนโปรแกรมที่ยังไม่ได้ใช้ลงไปยังหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง และทำการสลับกลับมาในหน่วยความจำหลักเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน หลักการของหน่วยความจำเสมือนทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมที่ต้องการใช้แรมไม่ต่ำกว่า 6 เมกะไบต์ บนเครื่องที่มีแรมเพียง 4 เมกะไบต์เท่านั้น

        หน่วยความจำ ECC (Error Correction Code

หน่วยความจำ ECC จะเป็นหน่วยความจำ RAM ซึ่งมีการใช้บิตพิเศษ (Parity bit) 3 บิตในการตรวจสอบข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ หากข้อมูลที่เก็บอยู่มีข้อผิดพลาดก็จะทำการคำนวณและแก้ไขบิตที่ผิดให้โดยอัตโนมัติ

        เมื่อเลิกใช้หน่วยความจำแบบแฟลชที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องยกเลิกการเชื่อมต่อ โดยคลิกขวาที่การเชื่อมต่อด้านขวามือของทาส์กบาร์ คลิก Safe To Remove Hardware จากนั้นคลิก stop และ close ที่หน้าจอ ไม่ควรดึงออกจากการต่อเชื่อมเลยทันที

ในยุคนี้ตั้งแต่สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทความกับชีวิตประจำวันของหลายคนมากขึ้น เรื่องไอทีหรือศัพท์ไอทีต่างๆ ก็ไม่ใช้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เพราะหากเราจะใช้มือถือจำเป็นต้องรู้สเปค ว่ามีคำจุเท่าไหร่ แรมเท่าไหร่ สเปคเป็นอย่างไร ก่อนจะตัดสินใจ วันนี้ก็เลยจะมาพูดถึงเรื่องของหน่วยความจำ หรือความจุ ของอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ว่าเขาใช้หน่วยอะไร และแต่ละหน่วยมันมีความหมายอย่างไร

หน่วยจัดเก็บข้อมูลใดที่มีมากที่สุด

หากจะพูดถึงหน่วยความจำต้องเริ่มจาก bit

bit ถือว่าเป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด และ bit มีค่าในเลขของฐานขอ เท่ากับ 0 หรือ 1 เท่านั้น และ 8 bit เท่ากับ 1 Byte

Byte =  1 ตัวอักษร

ไบต์ เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน

มาดูตารางของความจุกันดีกว่า

ชื่อSizeBitSingle Binary Digit (1 หรือ 0)Byte8 bitsKilobyte (KB) กิโลไบต์1,024 BytesMegabyte (MB) เมกะไบต์1,024 KilobytesGigabyte (GB) กิกะไบต์1,024 MegabytesTerabyte (TB) เทระไบต์1,024 GigabytesPetabyte (PB) เพตะไบต์1,024 TerabytesExabyte (EB) เอกซะไบต์1,024 PetabytesZettabyte (ZB) เซตตะไบต์1,024 ExabyteYottabyte (YB) ยอตตะไบต์1,024 Zettabyte

หากมาคิดดูแล้ว 1 YB = 1,000,000,000,000,000,000,000,000 Byte (หนึ่งล้านล้านล้านล้านไบต์) เรียกไดว่าหากไม่มีคำเรียกให้มันสั้นลงเราคงพิมพ์ 0 กันมันเลยเวลารายงานสเปคอุปกรณ์ไอที คงจะพอทราบกันแล้วใช้ไหมครับเกี่ยวกับการเรียกชื่อความจุ ตอนนี้ยังอยู่ในยุคที่ใช้หน่วยความจำสูงสุดอยู่ในกลุ่ม TB อยู่ ยังไม่มี PB ออกมาให้เห็นแต่คาดว่าอีกไม่นาน ที่มีๆอยู่กันนี้อาจจะใช้งานกันจนเรียกชื่อพวกนี้กันคร่องปากเลยก็เป็นไปได้