บ่อน้ำมันในไทย เป็น ของ ใคร

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเข้าชิงสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย แปลง G1/61 จำนวน 5 บริษัท และ G2/61 จำนวน 4 บริษัท 

วันที่ 28 พ.ค. 2561 นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แถลงผลการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นผู้เข้าร่วมการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ตามทีโออาร์การเปิดประมูลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) ในฐานะผู้ดำเนินงาน หลังจากผู้ประกอบการได้ส่งหลักฐานแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น เมื่อวันที่ 15-16 พ.ค.ผ่านมา

นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้มีการพิจารณาคุณสมบัติผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลฯ แปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จำนวน 5 บริษัท ได้แก่

1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.,
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited,
3. บริษัท MP G2 (Thailand) Limited.,
4. บริษัท Total E&P Thailand,
5. บริษัท OMV Aktiengesellschaft

บ่อน้ำมันในไทย เป็น ของ ใคร

บริษัทฯที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลฯ แปลง G2/61 จำนวน 4 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท Chevron Thailand Holdings Ltd.,
2. บริษัท PTTEP Energy Development Company Limited,
3. บริษัท MP L21 (Thailand) Limited,
4. บริษัท OMV Aktiengesellschaft

ผู้ที่ผ่านการพิจารณามีคุณสมบัติครบถ้วนใน 2 หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ

1. มีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2559 หรือ 2560 สำหรับผู้ที่จะร่วมประมูลในแปลง G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และมีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2559 หรือ 2560 ในแปลง G2/61

2. เป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล (Offshore Gas Field Operate) อย่างน้อย 1 แหล่ง ที่มีอัตราการขายก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในระหว่างปี 2559 หรือ 2560

บ่อน้ำมันในไทย เป็น ของ ใคร

หลังจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะประกาศผลผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นทางเว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและจะแจ้งผลการพิจารณาไปยังทุกบริษัทที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น โดยขั้นตอนต่อไป ผู้ขอสิทธิที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว และประสงค์จะยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ จะต้องยื่นเอกสารแสดงความจำนงพร้อมชำระค่าเข้าร่วมประมูล จำนวน 7 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2561- วันที่ 1 มิถุนายน 2561

จากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะเปิดให้ผู้ร่วมประมูลได้เข้าศึกษาข้อมูลเชิงลึกของแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย แปลง G1/61 และ G2/61 ที่ห้องศึกษาข้อมูล (Data Room) ที่ได้จัดเตรียมไว้ พร้อมรับมอบชุดข้อมูลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (Data Package) จำนวน 1 ชุด เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ และยื่นเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในวันที่ 25 กันยายน 2561

  • เอราวัณ จุดเริ่มต้นแหล่งพลังงานไทยจากท้องทะเล

เมื่อปี พ.ศ. 2511 ประเทศไทยได้เริ่มให้สัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ในบริเวณแปลงสำรวจหมายเลข 12 ถือเป็นแปลงที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งมากที่สุด โดยห่างจากชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 145 กิโลเมตร ซึ่งอีก 5 ปีต่อมา ได้ค้นพบก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิตและคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ในพื้นที่แปลงสำรวจย่อยหมายเลข 12-1 และเนื่องจากเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแห่งแรกในอ่าวไทยที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก จึงได้รับการขนานนามว่า โครงสร้าง “เอ” โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ” ซึ่งชื่อเอราวัณนี้หมายถึงชื่อช้างของพระอินทร์ เป็นช้างสามเศียรที่มีอิทธิฤทธิ์ ในตำนานพระอินทร์ได้ใช้ต่อสู้กับเหล่ามารเพื่อปกป้องบ้านเมือง เฉกเช่นเดียวกันกับแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่ถือเป็นแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมที่เปรียบเสมือนอาวุธสำคัญ ที่ใช้ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณได้ดำเนินการสำรวจมาจนกระทั่ง 17 สิงหาคม พ.ศ.2524 จึงได้เริ่มมีการผลิตและซื้อขายก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก แต่เมื่อเริ่มกระบวนการผลิตไประยะหนึ่ง กลับพบว่าปริมาณสำรองของแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณมีปริมาณน้อยกว่าที่คาดคะเนไว้ และมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินใต้พื้นพิภพ ทำให้ต้องปรับแนวทางการพัฒนาแหล่งก๊าซเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะธรณีวิทยาของอ่าวไทย โดยปรับเปลี่ยนเป็นติดตั้งแท่นหลุมผลิตก๊าซจำนวนมาก กระจายออกไปในพื้นที่ของแหล่งกักเก็บก๊าซต่างๆ แล้วส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อใต้น้ำมายังแท่นผลิตกลาง

ทั้งนี้ การดำเนินงานผลิตก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นงานที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย จึงยังไม่มีการนำระบบต่างๆ ในการทำงานเข้ามาใช้ กระทั่งต่อมา ได้เริ่มต้นใช้ระบบการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนระบบจัดการเรื่องความปลอดภัย (International Safety Rating System : ISRR) เพื่อใช้รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ และเรียนรู้จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น และต่อมาได้นำระบบตรวจสอบ (Inspection System) มาใช้เพื่อตรวจสอบแท่นผลิตปิโตรเลียม อุปกรณ์และท่อก๊าซ เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์นั้นๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมไปถึงระบบอัดน้ำกลับลงหลุมผลิต (Water Injection) ที่นำมาใช้กับแหล่งเอราวัณเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งระบบนี้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่ทำการผลิตปิโตรเลียมได้ดียิ่งขึ้น และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทำการสำรวจและผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงมีการย้ายห้องควบคุม และแท่นผลิตกลาง มาอยู่ที่แท่นพักอาศัย โดยไม่ต้องหยุดทำการผลิตเลย

กว่า 36 ปี ที่เริ่มผลิตก๊าซครั้งแรก จนกระทั่งวันนี้ กลุ่มเอราวัณสร้างรายได้ให้ภาครัฐรวมกว่า 275,607.85 ล้านบาท มีปริมาณการผลิตรวมของก๊าซธรรมชาติ 3,446 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คอนเดนเสท 127 ล้านบาร์เรล มีปริมาณการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คอนเดนเสท 45,000 บาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบ 33,000 บาร์เรลต่อวัน

แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะนอกจากจะได้สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมากแล้ว ยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่อื่นๆ และต่อเนื่องไปยังการสร้างอาชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย

บ่อน้ำมันในไทย เป็น ของ ใคร

  • บงกช แหล่งพลังงานขับเคลื่อนอนาคตไทย 

จากการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปี 2516 จากหลุม 15-B-1X ในเขตสัมปทาน B15 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “แอ่งมาเลย์” และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ แต่ต่อมาผู้เจาะสำรวจในขณะนั้น ก็ได้ยืนยันว่าพื้นที่บริเวณนี้ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ จากนั้นได้ขุดเจาะอีกถึง 23 หลุม เพื่อยืนยันลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าวในรอยแยกของชั้นหิน ที่รู้จักกันในวงการว่า “โครงสร้างบี” ส่งผลให้รัฐบาลไทยในขณะนั้น ตระหนักถึงผลประโยชน์อันมหาศาลจากก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ จึงซื้อสัมปทานคืนจากบริษัทที่ถือครองสัมปทาน และมอบหมายให้ ปตท.สผ. ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2528 เป็นผู้ถือครองสัมปทานแทน

ต่อมาในปี 2533 ปตท.สผ. ได้ร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันระดับโลก 3 แห่ง เพื่อพัฒนา “โครงสร้างบี” ซึ่งได้รับการขนานนามใหม่ว่า “แหล่งก๊าซบงกช” แปลได้ว่า ดอกบัว โดยเปรียบว่า การเริ่มผลิบานขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยยังพึ่งพาการนำเข้าพลังงานปิโตรเลียมทุกชนิด และการผลิบานของ “บงกช” นี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศ และส่งผลต่อเนื่องไปยังการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอีกหลายแขนงที่ต่อยอดมาจากก๊าซธรรมชาติ เช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กว่า 25 ปีที่ “แหล่งบงกช” ยังคงเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศไทย มีบทบาทและสร้างคุณค่ามากมายให้เป็นที่ประจักษ์ในด้านพลังงาน แหล่งบงกชเป็นแหล่งก๊าซที่มีอัตราการผลิตคงที่ ให้ความเชื่อมั่นได้ถึงร้อยละ 99.5 มีอัตราการผลิตก๊าซสูงกว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พร้อมทั้งคอนเดนเสทประมาณ 27,000 บาร์เรลต่อวัน ตอบสนองความต้องการด้านก๊าซธรรมชาติในประเทศได้ถึงร้อยละ 20 หรือเท่ากับร้อยละ 30 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศ
นอกจากนั้น แหล่งก๊าซบงกชยังเป็นหนึ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในปัจจุบันร้อยละ 70 ของการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

รวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ที่ถือเป็นบทบัญญัติสำคัญของการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมด้านอากาศและน้ำจะได้รับการปกป้องอย่างดี รวมถึงมาตรการเข้มงวดด้านความปลอดภัยที่มีมาอย่างยาวนาน ที่แม้ว่าแหล่งบงกชจะทำงานกับวัตถุไวไฟ แต่ที่นี่ ยังคงเป็นสถานที่มีความปลอดภัยในการทำงานสูงสุดแห่งหนึ่งเสมอมา

น้ำมันในประเทศไทยเป็นของใคร

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Oil Public Company Limited) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทยออยล์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยมีธุรกิจหลักคือ การกลั่นนํ้ามัน ...

บ่อน้ำมันในไทยมีจริงใหม

แหล่งขุดเจาะบัวหลวง ผลิตน้ำมันดิบ 7,400 บาร์เรลต่อวัน แหล่งขุดเจาะสงขลา ผลิตน้ำมันดิบ 17,500 บาร์เรลต่อวัน แหล่งขุดเจาะเอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล และแหล่งไพลิน ผลิตน้ำมันดิบ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 34,000 บาร์เรล และก๊าซธรรมชาติประมาณ 1,000 ล้านฟุตต่อวัน

น้ำมันประเทศไทยมีกี่บ่อ

ประเทศไทยมีบ่อน้ำมันมากกว่า 7,000 บ่อ เกินพอที่จะใช้ภายในประเทศ ต้นทุนขุดเจาะลิตรละบาทกว่า

บ่อน้ำมันอยู่ประเทศไหน

แหล่งปิโตรเลียมที่ใหญ่และสําคัญของโลกส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มประเทศแถบ ตะวันออกกลางและเป็นสมาชิกผู้ส่งออกน้ำมันของโลก (หรือกลุ่มโอเปก) อันได้แก่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อิรัก คูเวต การตาร์ สหพันธ์รัฐอาหรับเอมิเรตส์ กลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน ซึ่งได้แก่ ประเทศเวเนซูเอลลา โคลัมเบีย เม็กซิโก และตรินิแดด รวมทั้งเอควาดอ ...