ผู้ที่บรรพชาให้ราหุลคือใคร


      สามเณรราหุลเป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางพิมพาหรือยโสธรา และเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์วันที่สามเณรราหุลประสูติเป็นวันเดียวกับที่เจ้าชายสิทธัตถะพระราชบิดาตัดสินพระทัยออกผนวชและไปบำเพ็ญเพียรจนตรัสรูเป็นพระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้แล้วพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์และประทับอยู่ที่นิโครธาราม

      วันหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังพระราชวัง พระนางพิมพาได้บอกให้ราหุลกุมาร ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษาไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า ราหุลกุมารเมื่อได้พบพระพุทธเจ้าแล้วก็เกิดความเคารพรัก พอพระพุทธเจ้าเสด็จกลับก็ทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า “ทรัพย์สมบัติในทางโลกเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เราควรให้ทรัพย์สมบัติในทางธรรมที่ประเสริฐและยั่งยืนแก่ราหุลกุมารดีกว่า” จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรจัดการบรรพชาหรือการบวชให้แก่ราหุลกุมาร ราหุลกุมารจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา

ผู้ที่บรรพชาให้ราหุลคือใคร

        หลังจากบวชแล้ว สามเณรราหุลก็ตั้งใจศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยสามเณรจะลุกขึ้นแต่เช้า กอบทรายเต็มกำมือแล้วตั้งความปราถนาว่า “ขอให้ได้รับคำสั่งสอนจากพระ พุทธเจ้าหรือพระสารีบุตรให้ไดมากเท่ากับเม็ดทรายในกำมือ” จากความตั้งใจในการศึกษานี่เอง สามเณรราหุลจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศในด้านใฝ่ศึกษา

สามเณรราหุลนอกจากเป็นผู้ใฝ่ศึกษาแล้ว ยังเป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ถือตัว มีอัธยาศัยสุภาพเรียบร้อยพร้อมจะทำตามคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของพระภิกษุทั้งหลาย และเป็นที่ประทับใจของผู้ที่พบเห็น

เมื่ออายุครบ 20 พรรษาสามเณรราหุลก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วความพากเพียร จนบรรลุเป็นพระอรหันต์

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช

Quick facts: พระราหุล, ข้อมูลทั่วไป, พระนามเดิม, พระนามอื่... พระราหุลข้อมูลทั่วไปพระนามเดิมราหุลพระนามอื่นเจ้าชายราหุล
ราหุลกุมาร
ราหุลศากยกุมารวันประสูติประมาณวันที่เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชสถานที่ประสูติกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะสถานที่บวชกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะวิธีบวชติสรณคมณูปสัมปทาสถานที่บรรลุธรรมกรุงกบิลพัสดุ์เอตทัคคะผู้เลิศในด้านใคร่การศึกษาอาจารย์พระโคตมพุทธเจ้านิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และพระพุทธเจ้าสถานที่นิพพานสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ฐานะเดิมชาวเมืองกบิลพัสดุ์วรรณะเดิมกษัตริย์ราชวงศ์ศากยะหมายเหตุสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา

ผู้ที่บรรพชาให้ราหุลคือใคร
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนาClose

ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง"

อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู"

อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรัดชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข

ผู้ที่บรรพชาให้ราหุลคือใคร

       เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ ก็โทมนัสเสียพระทัยยิ่งนัก รีบเสด็จไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้ายังพระวิหาร แล้วทูลขอประทานพระพุทธานุญาตว่า
“ตั้งแต่นี้ต่อไปในภายหน้ากุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชหากมารดาบิดา
ยังไม่ยินยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้ว ขอให้ทรงงดไว้ก่อน อย่าเพิ่งให้
บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้นั้น” พระบรมศาสดาก็ประทานพรแก่พระพุทธบิดา

ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง

บทภาพยนตร์

พระราหุล
       พระมารดาบอกว่า พระบิดามีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล …
นับแต่พระบิดาออกบวช  ก็ไม่ยินดีในราชสมบัติ … ข้าพระองค์มาทูลขอ
ทรัพย์สมบัติเหล่านั้น ในฐานะที่ข้าพระองค์เป็นรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อไป

พระพุทธเจ้า (เสียงก้องในความคิด)
        ทรัพย์สมบัติภายนอก เป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
…เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นทรัพย์ภายในที่ประเสริฐสุดให้แทน


พระพุทธเจ้า
       ราหุล ..เจ้าจงรับอริยทรัพย์อันประเสริฐเอาไว้เถิด

พระพุทธเจ้า
       สารีบุตร … เธอช่วยปลดเปลื้องทุกข์ และมอบอริยทรัพย์ด้วยการบรรพชาราหุล
ให้เป็นสามเณรเถิด …


พระพุทธเจ้า
       … ราหุล นับแต่นี้ไปเธอก็คือสามเณรราหุล …

พระเจ้าสุทโธทนะ(เสียงก้องในความคิด)
       โธ่ … เมื่อตอนที่สิทธัตถะออกบวชตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เราก็หวังจะได้นันทะ
สืบราชสมบัติต่อ... แต่พระพุทธองค์กลับพานันทะออกบวช …เหลือแต่หลานราหุล
ของเราที่พอจะเป็นรัชทายาทสืบต่อไป

พระเจ้าสุทโธทนะ(เสียงก้องในความคิด)
       พระพุทธองค์ก็พาราหุลไปบวชอีก … ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้อีกไม่นาน …
บรรดาศากยวงศ์ก็จะไปบวชจนหมดแน่ …


พระเจ้าสุทโธทนะ(เสียงก้องในความคิด)
       อา … เราต้องรีบไปทูลขอพรพระพุทธองค์ที่นิโครธารามซะแล้ว …


พระเจ้าสุทโธทนะ
       ขอพระพุทธองค์ทรงโปรดด้วยเถิด …นับแต่นี้ต่อไป ถ้ากุลบุตรผู้ใดที่ต้องการ
บวชในพระพุทธศาสนา... หากบิดามารดายังไม่ยินยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้ว
ขออย่าให้บรรพชา แก่กุลบุตรผู้นั้นเลย


พระพุทธเจ้า
       พระบิดาเราอนุญาตให้ตามที่ขอ … พรุ่งนี้เราจะพาพระนันทะและสามเณรราหุล
กับเหล่าพระสงฆ์กลับวัดพระเวฬุวัน ที่กรุงราชคฤห์

พระพุทธเจ้า
       นันทะ …


พระพุทธเจ้า
        นับตั้งแต่ออกบวช เธอก็ไม่มีแก่ใจจะปฏิบัติธรรม ประพฤติพรหมจรรย์
คิดแต่จะกลับไปครองเรือนอยู่ตลอดเวลา …

พระนันทะ
       จิตใจของข้าพระองค์เฝ้าแต่คิดถึงนางชนบทกัลยาณี ชายาของข้าพระองค์
อยู่ตลอดเวลา … ไม่มีแม้แต่เสี้ยวเวลาที่ไม่คิดถึงนาง …


พระพุทธเจ้า
       นันทะ … มากับเราเถิด เราจะให้เธอได้พบเห็นในสิ่งที่เธอไม่เคยพบเห็นมาก่อน

พระพุทธเจ้า
       นันทะ …


พระพุทธเจ้า
       นั่นคือ นางเทพอัปสรบนสรวงสวรรค์ … เธอเห็นพวกนางแล้วเป็นอย่างไร

พระนันทะ
       นางเทพอัปสรเหล่านี้ล้วนแต่มีรูปร่างหน้าตางดงาม ยากจะหาสิ่งใดมาเปรียบ …
แม้แต่นางชนบทกัลยาณี ผู้เป็นชายาของข้าพระองค์ ก็ไม่งดงามถึงครึ่งหนึ่ง
ของนางเทพอัปสรเหล่านี้เลย


พระพุทธเจ้า
       นันทะ...เธอเห็นแล้วใช่ไหมว่าสิ่งที่เธอเคยคิดว่างามเลิศเลอ แท้ที่จริงแล้ว
ก็มีความงามเลิศเลอกว่าอยู่อีกมาก


พระนันทะ
       ข้าพระองค์เห็นแล้วพระพุทธเจ้าข้า

พระนันทะ (เสียงในความคิด)
        ต่อไปเราจะตั้งใจปฏิบัติธรรมและประพฤติพรหมจรรย์ โดยจะไม่ยอมปล่อยใจ
ให้หมกมุ่นอยู่กับนางชนบทกัลยาณีอีกเลย เพราะอย่างไรก็ดี นางเทพอัปสรเหล่านี้
ก็งดงามกว่านางชนบทกัลยาณีมากมายนัก

พระนันทะ
        ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี...ไม่มีสิ่งใด
ที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ...แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่ง
เครื่องพันธนาการที่มัดตรึงเหนียวแน่นให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิด
และจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป

พระพุทธเจ้า
       ถูกต้องแล้วนันทะ... ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบที่หาได้ในตัวเรานี้เอง
...ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่นเขาจะไม่พบความสุข
ที่แท้จริงเลย...เมื่อเธอปล่อยวาง...มองดูโลกเป็นของว่างเปล่าเสียแล้ว...จิตก็ว่าง
ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่ดังนี้

ราหุลกุมารได้รับการบรรพชาเมื่ออายุได้กี่ปี

สามเณรราหุล ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางยโสธรา เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนะ เมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อมีอายุได้ประมาณ ๗ ขวบ ได้ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยออกบวชหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ได้ ๗ วัน

พระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะคือใคร

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช

เพราะเหตุใด สามเณรราหุลจึงเป็นที่รักใคร่

สามเณรราหุลนอกจากเป็นผู้ใฝ่ศึกษาแล้ว ยังเป็นคนที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ถือตัว มีอัธยาศัยสุภาพเรียบร้อยพร้อมจะทำตามคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของพระภิกษุทั้งหลาย และเป็นที่ประทับใจของผู้ที่พบเห็น

สามเณรราหุลให้สมบัติอะไรจากเจ้าชายสิทธัตถะ

ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก