โปรแกรมสแครชเหมาะกับใครมากที่สุด

การเรียนเรื่องการเขียนโปรแกรมเมื่อก่อนอาจจะดูเป็นเรื่องยากแล้วก็ไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก เพราะส่วนใหญ่ใครที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มักจะคุยกับใครไม่ค่อยรู้เรื่อง การสอนจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจ ยิ่งเด็กไทยเราแล้วมาเจอข้อความในการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษก็มึนหัวไปแล้ว

แต่การเขียนโปรแกรมก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราเริ่มมีการสอนการเขียนโปรแกรมให้กับนักเรียนตั้งแต่ตอนอายุน้อยๆ ค่อยๆ พัฒนากระบวนการคิด เชื่อว่าน่าจะแข่งขันในด้านนี้กับนานาประเทศในอนาคตอันใกล้ได้

ทำไมเราควรหัดเขียนโปรแกรม

เมื่อเราเกิดมา เราเรียนรู้การฟัง และ การพูด เพื่อใช้สื่อสาร เมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียน เรียนหนังสือ เราเรียนรู้การอ่าน และ การเขียน เมื่อเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เราเอาแต่ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ น้อยคนนักที่จะเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง Douglas Rushkoff กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ … “ถ้าเราไม่ได้เป็นคนที่เขียนโปรแกรม สักวันหนึ่งเราอาจเป็นคนที่ถูกโปรแกรม”

โปรแกรม Scratch คืออะไร

โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของกราฟิก ลากแล้ววาง อาจมีการกำหนดค่าบ้างเล็กน้อย นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สนุกสนานกับการเรียนรู้ ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างสร้างสรรค์  สามารถสร้างชิ้นงานได้หลากหลายตามความต้องการหรือตามจินตนาการ เช่น การสร้างการเคลื่อนไหว สร้างเป็นเรื่องราว สร้างเกม หรือด้านดนตรีตลอดจนงานศิลปะ ฯลฯ

Scratch เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ จะเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง…?

ผลงานที่สร้างด้วยโปรแกรม Scratch ยังสามารถนำขึ้นเว็บไซต์ของ Scratch แสดงผลงานกันได้ ซึ่งมีตัวอย่างต่างๆ จากทั่วโลก

โปรแกรมสแครชเหมาะกับใครมากที่สุด

โปรแกรม Scratch 

เหมาะสำหรับการเริ่มต้นในการหัดเขียนโปรแกรมเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาสักอย่าง ก็มีหลายวิธีที่จะแปรเปลี่ยนความคิดให้เป็นผลงานที่จับต้องได้ และสะท้อนความคิดของเขาได้ ในยุคปัจจุบัน คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันแพร่หลายแล้ว และเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ใช้สอนในโรงเรียน โปรแกรมสำเร็จรูปสามารถสร้างผลงานอะไรได้มากมาย แต่ไม่ยืดหยุ่นพอที่จะให้สะท้อนความคิด ความต้องการ ของแต่ละคนได้ การสอนให้เด็กเขียนโปรแกรม เป็นความท้าท้ายใหม่ในการศึกษายุค ICT เด็กควรคิดเป็น และสร้างผลงานของตัวเองได้ (ด้วยการเขียนโปรแกรมเอง) โปรแกรม Scratch เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ที่ใช้สร้างผลงานด้วยการเขียนโปรแกรม เริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ สู่การวิเคราะห์ปัญหา หาคำตอบอย่างเป็นระบบ จนเป็นผลงานที่สามารถนำเสนอให้กับคนอื่นๆ ได้อย่างมั่นใจ

นอกจากการเล่นกีฬา เล่นเกม อ่านหนังสือ หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าการเขียนโค้ดก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ ได้ ทั้งในแง่ของกระบวนการคิดและการสร้างสรรค์จินตนาการ แต่ใคร ๆ ก็คงคงเคยได้ยินว่าการเขียนโค้ดไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจ ว่าควรให้ลูกเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโค้ดจากตรงไหนดี!?

ไม่ต้องห่วงค่ะ ! เพราะวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโปรแกรมเขียนโค้ดฉบับเข้าใจง่าย อย่าง “Scratch Coding” ที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาสกิลการเขียนโค้ดกันแบบสบาย ๆ ทั้งสนุกและได้ประโยชน์มาแนะนำกันค่ะ

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย

Scratch Coding คืออะไร ?

ในช่วงที่ผ่านมา หลายโรงเรียนทั่วโลกเริ่มมีการนำการเขียนโค้ดดิ้งเบื้องต้นเข้ามาเป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานเหมือนกับวิชาการอื่น ๆ  ซึ่ง Scratch เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ถูกนำไปช่วยในการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อสร้างทักษะเบื้องต้นให้กับเด็ก ๆ

โดยโปรแกรม Scratch (สแครช) เป็นโปรแกรมเขียนโค้ดง่าย ๆ ในรูปแบบลากวางบล็อกเป็นลำดับขั้นตอน (Block-based Programming) เพื่อสร้างคำสั่งให้ตัวละครที่เราสร้างขึ้นในโปรแกรมมีการเคลื่อนไหว พูดคุยหรือโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ตามต้องการ ซึ่งเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้และสร้างกระบวนการคิดจากการนำบล็อกมาจัดวางและสร้างผลงานออกมาหลากหลายตามจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบ เรื่องราว นิทาน เกม เสียงดนตรีรวมไปถึงอะนิเมชันต่าง ๆ

Scratch Coding เหมาะกับช่วงอายุเท่าไร ?

จริง ๆ แล้ว Scratch Coding สามารถใช้งานได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่ด้วยความที่มีฟังก์ชันการใข้งานที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ก็จะตอบโจทย์ในการสร้างการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กหรือผู้ใช้งานที่มีอายุตั้งแต่ 8 – 11 ปีมากที่สุด แต่เด็กโตและผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ Scratch ได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในคนที่กำลังเริ่มเรียนหรือสนใจในการเขียนโค้ด “Scratch นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการช่วยให้เรามีพื้นฐานการลำดับกระบวนการคิดในการเขียนโปรแกรม” และค่อย ๆ นำไปต่อยอดในการเขียนโค้ดบนโปรแกรมที่ซับซ้อนขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษา C#, Java หรือ Python

Scratch มีความน่าสนใจยังไง ?

Scratch มีความแตกต่างจากโปรแกรมเขียนโค้ดทั่วไปที่ต้องเขียนแบบใช้คำสั่งเป็นข้อความ (Text) ซึ่งมีโครงสร้างของภาษา (Syntax) ที่ค่อนข้างซับซ้อนและต้องเขียนให้มีความถูกต้องแบบเป๊ะ ๆ ถึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ แต่ผู้ปกครองหรือเด็ก ๆ ที่สนใจในการเขียนโค้ดไม่ต้องกังวล เพราะ Scratch ทำให้การเขียนโค้ดเป็นเรื่องสุดแสนจะง่าย “คำสั่งต่าง ๆ ในโปรแกรมจะถูกนำมาใส่ในรูปของบล็อกคำสั่ง (Block-based)” ที่มีสีสันสดใสและสัญลักษณ์แบบเข้าใจง่าย เพียงแค่เรานำบล็อกคำสั่งสำเร็จรูปที่มีในโปรแกรมมาเรียงต่อกันและกำหนดเวลาหรือข้อความตามที่ต้องการ ก็สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวหรือการ์ตูนสนุก ๆ ได้ตามจินตนาการกันเลย

แม้โปรแกรมจะถูกทำมาเพื่อให้เราเขียนโค้ดได้แบบง่าย ๆ แต่ Scratch ยังมีความหลากหลายของ Option ภายในโปรแกรมให้ได้ลองเล่น ตั้งแต่ประเภทของตัวละคร เสียง บุคลิก ท่าทาง ธีมต่าง ๆ รวมถึงสามารถนำเข้าข้อมูลรูปภาพหรือเสียงที่เรามีเข้ามาใช้ในโปรแกรมได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สร้างสรรค์ผลงานได้ตามต้องการจริง ๆ ค่ะ

Scratch Community

นอกจากนี้ เมื่อเราได้ผลงานจากการเขียนโค้ดแล้วก็สามารถแชร์ผลงานที่ตัวเองทำบนชุมชนออนไลน์ของ Scratch Community กับผู้คนทั่วโลกได้อีกด้วย ทำให้สมาชิกคนอื่นสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ให้คำติชม และแลกเปลี่ยนความรู้จากกันและกันได้

คุณพ่อคุณแม่ทีกำลังมองหากิจกรรมสนุก ๆ ให้ลูกทำในยามว่าง Scratch เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่บอกเลยว่าน่าสนใจทีเดียวค่ะ เพราะการใช้ Scratch ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องมีพื้นฐานการเขียนโค้ดก็สามารถใช้งานได้ มีสีสันสดใสน่าสนใจ “ที่สำคัญการใช้ Scratch ยังช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการเล่าเรื่องไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้กับการโค้ดดิ้ง” ด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อน ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

Scratch Coding ช่วยพัฒนาทักษะอะไรบ้าง ?

  1. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ (Creative Skill)

เราสามารถสร้างตัวละครรวมถึงเรื่องราวต่าง ๆ ได้แบบไม่มีข้อจำกัด Scratch จึงเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ใช้ได้

  1. การวางแผน (Planning Skill)

เพราะการวางแผนเป็นพื้นฐานของการเขียนโค้ด การใช้ Scratch จึงต้องมีการวางแผนเพื่อสร้างเรื่องราวหรือเกมต่าง ๆ วางลำดับขั้นตอนเหตุการณ์เพื่อให้เนื้อเรื่องของเราออกมาสมบูรณ์ที่สุด

  1. การคิดอย่างมีเหตุผล (Logical Thinking Skill)

การเขียนโค้ดดิ้งต้องมีการคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักเรียงลำดับเหตุและผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมถึงการคิดหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

  1. การสื่อสาร (Communication Skill)

ใน Scratch เราสามารถแชร์ผลงานที่เราทำและรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ จากสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ การร่วมพูดคุยแบบนี้จะช่วยให้เราพัฒนาทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีมากขึ้น


หากใครสนใจใน Scratch สามารถลองเข้าไปใช้งานได้ง่าย ๆ โดยการสมัครสมาชิกได้ฟรีบนเว็บไซต์ scratch.mit.edu หรือหากใครต้องการใช้งานบนสมาร์ทโฟน ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Scratch ได้ที่ Play Store หรือ Apple Store กันได้เลยนะคะ

โปรแกรมสแครชมีประโยชน์อย่างไร

โปรแกรม Scratch (อ่านว่า สะ – แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกมดนตรี และศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว สามารถนาชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้ แสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้ ทาให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้หลักการ ...

ใครเป็นผู้นําการพัฒนาของ Scratch

Scratch.

โปรแกรมสแครชมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของโปรแกรม Scratch 1. แถบเมนูเครื่องมือ 2. เครื่องมือเวที 3. ข้อมูลเวทีหรือตัวละครที่ถูกเลือก 4. บล็อกโปรแกรมคาสั่ง 5. ชุดคาสั่งของบล็อกที่เลือก 6. พื้นที่ทางาน 7. เวที 8. รายการตัวละคร และเวทีที่ใช้ในโปรเจคต์ปัจจุบัน

โปรแกรม Scratch สามารถเข้าใช้งานได้กี่วิธี

การเข้าใช้งาน Scratch แบบOnline สมารถเข้าได้ที่ https://scratch.mit.edu/ แบบOffline สามารถเข้าไปโหลดได้ที่ https://scratch.mit.edu/download.