พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน

  • สมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งสุดท้ายของแอฟริกากำลังถูกท้าทาย ท่ามกลางข้อเรียกร้องการ ‘ปฏิรูป’ การเมืองและสถาบันกษัตริย์
  • กษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) ผู้ครองราชย์ยาวนานถึง 36 ปี บนเงื่อนไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่ปี 1973
  • ประชาชนเริ่มตาสว่าง ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเกือบ 30 คน

อาจเป็นเรื่องยากเมื่อต้องจินตนาการถึงประเทศที่ยังใช้ระบอบการปกครองแบบโบราณอย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสโลกที่เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยและการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนมากขึ้น 

หนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศเอสวาตินี (Eswatini) ซึ่งกำลังเผชิญความยากลำบากในการทานกระแสลมแห่งความเปลี่ยนแปลงในฐานะรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งสุดท้ายของทวีปแอฟริกา การสถาปนาความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์จึงต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน

พระมหากษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) ครองราชย์มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1986 จนถึงปัจจุบัน พระองค์มีอำนาจล้นพ้นทั้งในทางสังคมและการเมืองการปกครอง โดยมีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนมีข้อครหาเรื่องการมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมไปถึงการมีสถานะทางศาสนาที่สูงส่งประหนึ่งสมมุติเทพก็ทำให้ข้อเรียกร้องของฝ่าย ‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ ดูจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
พระมหากษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 (Mswati III)

การปะทะกันของสถาบันกษัตริย์กับกระแสโลกยุคใหม่ในเอสวาตินียิ่งทวีความร้อนแรงมากขึ้น เมื่อมีตัวละครหลายกลุ่มกระโดดเข้ามาแสดงบทบาททางการเมือง ตั้งแต่กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีพื้นฐานมาจากขบวนการนิสิตนักศึกษา กลุ่มแรงงาน ไปจนถึงพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และอำนาจแทรกแซงจากต่างประเทศ

ต่อไปนี้คือเส้นทางของการต่อสู้และข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์แห่งเอสวาตินี ตั้งแต่อดีตจนถึงการนองเลือดกลางเมืองหลวงในปัจจุบัน

สถาบันกษัตริย์ที่ไม่ปรับตัว กับการเมืองที่ไม่รองรับหลักสิทธิมนุษยชน

ประเทศเอสวาตินี หรือในอดีตถูกเรียกในชื่อ สวาซิแลนด์ (Swaziland) เริ่มจากการปกครองในรูปแบบชนเผ่า ก่อนที่จะพัฒนาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาในศตวรรษที่ 18 ซึ่งสืบทอดกลิ่นอายทางวัฒนธรรมการเมืองแบบรัฐสภามาจากอังกฤษผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ก่อนที่จะได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1968 และเริ่มการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาอีกครั้งโดย กษัตริย์ซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II) ซึ่งส่งต่อระบอบการปกครองโบราณนี้มาจนถึงมือของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 แห่งราชวงศ์ดลามินี (Dlamini) ผู้รับมือกับแรงเสียดทานต่ออำนาจด้วยการใช้กำลัง

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
กษัตริย์ซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II)

ภายใต้การครองราชย์ตลอด 36 ปี พระองค์ได้สถาปนาสถาบันกษัตริย์ให้มีอำนาจเหนือองค์กรการเมืองด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐบาล ไปจนถึงอำนาจในการสั่งยุบสภาได้ตามพระราชอัธยาศัย และเข้ายึดกุมหัวใจสำคัญของชาติอย่างอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จนเกิดเป็นข้อครหาจำนวนมากถึงทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2014[1] แม้ประเทศจะอยู่ในสภาวะยากจนเป็นอย่างมากก็ตาม

เอสวาตินีระงับการใช้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี 1973 ด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งภายหลังการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 พระองค์ให้สัญญาว่าจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ แต่เมื่อถึงปี 2001 คณะกรรมาธิการทบทวนรัฐธรรมนูญ (Constitutional Review Commission: CRC) ที่กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง กลับอ้างรายงานผลสำรวจความเห็นว่าประชาชนประเทศนี้ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ ซึ่งกระบวนการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวไม่ได้ถูกเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ และสื่อมวลชนก็ถูกห้ามนำเสนอข่าวเรื่องนี้เช่นกัน จนกระทั่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (Constitution Drafting Committee: CDC) ในปี 2004 ก็ถูกโจมตีว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ CDC นี้ไม่รับประกันหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิการแสดงออก สิทธิในการรวมกลุ่ม รวมไปถึงสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ที่ประชาชนพึงมี[2] แต่กลับให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการใช้กำลังถึงแก่ชีวิตได้ และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2005 ที่ยังคงถูกใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน[3]

ความพยายามในการต่อต้านรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรมฉบับนี้ของฝ่ายการเมืองในรัฐสภาไม่เป็นผล เนื่องจากฝ่ายตุลาการอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 1973 จนนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่การประท้วงบนถนนของกลุ่มสหภาพแรงงานสามารถระดมผู้ชุมนุมออกมาได้เพียง 100 คนเท่านั้น ท่ามกลางการจับตาดูอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีอาวุธครบมือ[4]

การประท้วงทุกรูปแบบจะจัดขึ้นได้ต้องขออนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจ ซึ่งมักจะไม่อนุญาตให้เกิดการชุมนุมขึ้นโดยการอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในปี 1973 ที่ยังไม่ถูกระงับการใช้งาน ซึ่งการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้มักนำมาสู่การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ต่อประชาชน ดังที่เกิดขึ้นกับกรณีการเดินขบวนประท้วงของกลุ่มนักศึกษาในปี 2005 ที่ประท้วงกระทรวงศึกษาธิการจากการตัดงบประมาณกองทุนการศึกษา จนนำมาสู่การใช้อาวุธกระบองและแก๊สน้ำตาปราบฝูงชน รวมถึงการแอบถ่ายรูปใบหน้าผู้ชุมนุมอีกหลายครั้งโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบตลอดมา[5]

อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็ยังคงถูกผลักดันโดยประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนปะทุอย่างรุนแรงอีกครั้งในปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
photo: nu.nl

การลุแก่อำนาจของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 มิได้มีเพียงแค่ในด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น แต่ในแง่พฤติกรรมส่วนตัวก็เป็นที่อื้อฉาวไม่น้อย โดยในปี 2003 พระองค์ต้องพระทัยกับเด็กสาววัย 18 ปีคนหนึ่ง และใช้อำนาจของสถาบันกษัตริย์ในการ ‘เรียกตัว’ เพื่อมาพบ หลังจากนั้นไม่นานมารดาของเด็กสาวคนดังกล่าวได้ฟ้องกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 ต่อศาล ทว่าเรื่องก็จบลงด้วยการไกล่เกลี่ยของเด็กสาวคนดังกล่าวว่าตนมีความสุขดี และกำลังจะได้เป็น ‘เจ้าสาว’ คนต่อไปของกษัตริย์[6] อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 ได้มีการเปิดเผยว่าพระองค์มีภรรยาอยู่ถึง 15 คน ขณะที่บางแหล่งข่าวระบุว่าอาจจะมีทั้งหมดถึง 25 คนด้วยกัน[7]

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน

 จับกุม คุมขัง เข่นฆ่าประชาชนผู้เรียกร้องการปฏิรูป

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่จำแลงตนเองอยู่ในคราบประชาธิปไตย ผ่านการมีรัฐสภาและรัฐธรรมนูญถูกท้าทายอีกครั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม 2021 เมื่อประชาชนนับพันตบเท้ากลับลงถนนในกรุงอึมบาบาเน (Mbabane) เมืองหลวงของอำนาจเผด็จการ มีการเผาทำลายและปล้นร้านค้าที่สถาบันกษัตริย์มีหุ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่โต้ตอบด้วยการยิงกระสุนจริงเข้าใส่ผู้ชุมนุม

ท่ามกลางความโกลาหลของสถานการณ์การปะทะ มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงและทุบตีด้วยกระบองเป็นจำนวนมาก จนโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง สัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในประเทศดับลงชั่วขณะ ซึ่งผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลในการปิดบังข้อมูลข่าวสารเรื่องผู้บาดเจ็บ ขณะเดียวกันผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวต่างแสดงความหวั่นวิตกถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

“กองทัพกับตำรวจอยู่ทั่วทุกที่เลย สถานการณ์ตึงเครียดมากๆ” ธูลานี มาเซโก (Thulani Maseko) ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนประจำกรุงอึมบาบาเน พูดถึงสถานการณ์การประท้วง “ผู้คนถูกยิง ผู้คนถูกจับ ผู้คนบาดเจ็บ ถนนข้างนอกมันไม่ปลอดภัยอีกแล้ว”[8]

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
ธูลานี มาเซโก (Thulani Maseko) | photo: hrf.org

ทางภาครัฐไม่ได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการใช้กำลังแต่อย่างใด ทว่ากลับออกมาให้เหตุผลว่าเจ้าหน้าที่กำลัง ‘รักษาความสงบ’ ของการชุมนุมที่มีลักษณะของการกระทำนอกกฎหมาย เป็นอาชญากรรมที่ต้องถูกจัดการเท่านั้น แน่นอนว่าสารนี้ยังระบุไปถึงการชุมนุมที่ถูกผลักดันโดยพรรคการเมืองนอกกฎหมายฝ่ายประชาธิปไตยอย่างพรรคฝ่ายค้าน People’s United Democratic Movement (PUDEMO) ที่ถูกรัฐมองว่ามีลักษณะเป็น ‘กลุ่มก่อการร้าย’ มากกว่าพรรคการเมือง

ก่อนหน้านี้ในปี 2010 เคยมีสมาชิกพรรค PUDEMO ที่ถูกจับกุมเนื่องจากสวมเสื้อลายพรรค PUDEMO ในวันแรงงาน และในเวลาไม่นานหลังการถูกจับกุมก็ ‘เสียชีวิต’ โดยทางการระบุสาเหตุว่าเขาฆ่าตัวตายในห้องขัง อีกทั้งบังคับให้ครอบครัวของผู้ตายจัดงานศพอย่างรวดเร็ว กรณีนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายตัวอย่างของการใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อผู้เห็นต่าง โดยเฉพาะผู้ที่แสดงตนว่าสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่มักถูกความไม่เป็นธรรมกลั่นแกล้งไปจนถึงเอาชีวิตอย่างเป็นปริศนา[9]

ท่ามกลางสถานการณ์การบุกจับกุมและความตายอย่างเป็นปริศนาของนักกิจกรรมหลายราย การประท้วงเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2021 และยิ่งทวีความรุนแรงเมื่อภาครัฐยุติการรับคำร้องจากประชาชน ทำให้ประชาชนจำนวนมากเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีได้ด้วยตนเอง และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญแบบที่สหราชอาณาจักรทำ 

นอกเหนือไปจากการประท้วงของกลุ่มนักเรียนด้วยการไม่เข้าเรียนแล้ว บุคลากรสาธารณสุขยังได้ออกมาร่วมขบวนการเคลื่อนไหวบนท้องถนนเช่นเดียวกัน โดย Nhlangano Health Centre สถานพยาบาลทางตอนใต้ของประเทศ ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการใช้กระสุนของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุมทั่วประเทศ และมีการเผยแพร่คลิปการชุมนุมของแพทย์และพยาบาลผ่านทวิตเตอร์

Nurses in various hospitals across the country are protesting against the shooting of civilians including health by the police on Wednesday. They have resolved not to attend to sickly police officers in the various health facilities. pic.twitter.com/gT9Jj6fo13

— Swazi News (@SwaziNews) October 22, 2021

ขณะเดียวกัน สหภาพพยาบาลเพื่อประชาธิปไตยสวาซิแลนด์ (The Swaziland Democratic Nurses Union: SDNU) ได้ประกาศไปถึงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศให้เลิกทำการรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจกันกับพยาบาลทั้ง 30 คน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงในช่วงการชุมนุมที่ผ่านมา[10]

การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไป วันที่ 24 มกราคม 2022 โคลานี มาเซโก (Colani Maseko) ประธานสหภาพนักเรียนแห่งชาติสวาซิแลนด์ (The President of the Swaziland National Union of Students: SNUS) ประกาศชัดเจนว่า ขบวนการเยาวชนพร้อมที่จะเคลื่อนไหวขนาดใหญ่อีกครั้งในปีนี้ พร้อมส่งสารผ่านบทสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ Swaziland News อย่างทรงพลังว่า 

“ประเทศนี้ไม่ได้เป็นของนักเรียนคนเดียว แต่ยังรวมถึงเยาวชนผู้ว่างงาน คนหนุ่มสาวบนท้องถนน ผู้ใช้แรงงานในโรงงานทอผ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ บางคนต้องเป็นคนสวน ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีหัวคิดทางธุรกิจ แต่เพราะรัฐบาลนี้ไม่สนใจรัฐสวัสดิการสำหรับคนหนุ่มสาว” จากนั้น มาเซโกประกาศชัดว่า “เรากำลังพูดถึงการชุมนุมใหญ่ที่ไม่ใช่มีแค่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย แต่ประชาชนทุกคนต้องร่วมกันปลดแอกประเทศนี้ให้ได้”[11] 

ต่อมา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2022 สถานการณ์ล่าสุดในการพยายามลดแรงเสียดทานของสถาบันกษัตริย์คือ การประกาศแผนโร้ดแมปการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 ถึงแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทิโมธี ไมเยนี (Timothy Myeni) จะแสดงความไม่พอใจต่อการประกาศการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม

“ประเทศนี้ไม่มีรัฐสภาหรอก เพราะเมื่อไหร่ที่คุณพูดถึงความต้องการของประชาชนจริงๆ คุณจะถูกจับ” ไมเยนีกล่าว “รัฐบาลกำลังพูดถึงการเลือกตั้ง แต่ไม่ฟังเสียงเรียกร้องการปฏิรูปจากประชาชน มันไม่มีรัฐสภาที่นี่หรอก การเลือกตั้งมีไว้แค่ตบตาประชาคมโลกเท่านั้น”[12] 

พลังความเชื่อและศาสนา รักษาฐานอำนาจราชบัลลังก์

นอกเหนือไปจากอำนาจในทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว สิ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เอสวาตินีสามารถธำรงอยู่ได้ทั้งปกเกล้าและปกครอง คือ การวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์เคียงคู่ไปกับหลักศาสนา จนส่งเสริมให้สถานะของกษัตริย์ผูกขาดความศักดิ์สิทธิ์ตามชุดคุณค่าที่สังคมชาวเอสวาตินีนับถือ และยิ่งทำให้การต่อต้านเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

สถาบันกษัตริย์มีอิทธิพลอย่างมากในด้านความเชื่อและหลักศาสนาของชาวเอสวาตินี เห็นได้ชัดจากงานประเพณี ‘Reed Dance’ ประจำปี ที่จะเปิดพื้นที่ของพระราชวังบางส่วนให้หญิงพรหมจรรย์กว่า 100,000 คน เข้ามาเต้นระบำเปลือยหน้าอกเพื่อประกอบพิธีตามหลักศาสนา ก่อนที่พระมหากษัตริย์จะทำการ ‘คัดเลือก’ เจ้าสาวคนใหม่จากกลุ่มหญิงสาวที่เข้าร่วมงานเทศกาลดังกล่าว ซึ่งครั้งสุดท้ายที่กษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 ได้เลือกเจ้าสาวคนใหม่จากพิธีนี้คือปี 2013[13]

  • พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
  • พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน
  • พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน

ศาสนาหลักของเอสวาตินีคือศาสนาคริสต์ ที่กษัตริย์อึมสวาตีที่ 2 นำเข้ามาในปี ค.ศ. 1825 อย่างไรก็ตาม สถาบันกษัตริย์ได้ผนวกเอาแนวคิดแบบสังคมชนเผ่าที่บูชาพระผู้สร้าง วิญญาณบรรพบุรุษ และพิธีกรรมบูชายัญสัตว์เข้ากับศาสนาคริสต์ ทำให้บทบาทของสถาบันกษัตริย์โดดเด่นขึ้นมาในฐานะผู้นำทางพิธีกรรมต่างๆ ผ่านบทบาทของ ‘Ndlovukati’ ที่มักดำรงตำแหน่งโดยพระมารดาของกษัตริย์ หรือพระราชินี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมประจำชาติอย่างงาน ‘Incwala’ ที่ผูกโชคชะตาของกษัตริย์เข้ากับโชคชะตาของประเทศ

งาน Incwala จะจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมและสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม พระมหากษัตริย์จะฉลองพระองค์ด้วยชุดนักรบเต็มยศตามประเพณีโบราณ โดยมีการเก็บเกี่ยวพืชผลและการเต้นระบำเป็นหนึ่งในจุดสำคัญของพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาปากต่อปากนับร้อยปี[14] เป้าหมายของพิธีกรรมคือการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้า และอ้อนวอนขอฝนหรือฤดูเก็บเกี่ยวที่ดีในปีถัดไป

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน

ในสายตาของประชาชนทั่วไปในประเทศ กษัตริย์ถูกมองว่าเป็นสมมุติเทพที่เปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นผลจากการประกอบสร้างสถานะด้วยการผูกศาสนาเข้ากับสถาบันกษัตริย์อย่างแยบยลเป็นเวลาหลายร้อยปี ทำให้แม้แต่พรรคฝ่ายค้านที่เป็นความหวังของประชาชนในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้น ยังเลือกที่จะคงระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เอาไว้ มากกว่าการหาทางพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไปเสีย สิ่งนี้ทำให้ ‘เพดาน’ สูงสุดของพรรค Pudemo จึงต้องการเพียงปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นแบบเดียวกับสถาบันกษัตริย์อังกฤษเท่านั้น[15]

นอกจากนี้ สถาบันกษัตริย์ยังได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสนจักรคริสต์ในประเทศ เนื่องจากประชากรส่วนมากที่เป็นคริสต์มักนิยมไปโบสถ์เพื่อเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา โบสถ์หลายแห่งจึงมักเชิญสมาชิกราชวงศ์มาร่วมในงานพิธีต่างๆ รวมไปถึงการเทศนาตามหลักศาสนาอีกด้วย[16]

ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สถาบันกษัตริย์เอสวาตินีได้ยึดกุมอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรม ทั้งปกเกล้าและปกครองไปจนหมดสิ้นแล้ว และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้แรงเสียดทานจากกระแสเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และระบบการเมืองถูกลดพลังลงเป็นอย่างมาก ผ่านชุดความคิดด้านความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ จารีตศาสนา และการสืบทอดของประเพณีโบราณจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน

บาดแผลของประชาชน บนความร่ำรวยของสถาบันกษัตริย์

ท่ามกลางคำกล่าวอ้างของกองทัพว่า การกวาดล้างผู้เห็นต่างนั้นเป็นไปเพื่อรักษาความสงบ ผดุงกฎหมาย และปกป้องพลเมืองทุกคนในชาติ ไปจนถึงข้ออ้างด้านการคุมเข้มมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคระบาดไวรัส COVID-19 การใช้กำลังกับกลุ่มผู้ชุมนุมในปัจจุบันทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมไปกว่า 40 ราย ตามคำให้การของพรรค PUDEMO ส่วนสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 24 คน และมีผู้บาดเจ็บอยู่ที่ 73 ราย[17] ในขณะที่ทางการระบุว่า “ยังไม่ได้รับรายงานการเสียชีวิตใดๆ” แต่จะจัดให้มีการสืบสวนต่อไป[18] 

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่จัดทำข้อมูลด้านเสรีภาพและประชาธิปไตยนานาชาติอย่าง Freedom House ระบุว่า เอสวาตินีเป็นประเทศที่ ‘ไม่เสรี’ ในการประเมินปี 2021 ด้วยคะแนนเพียง 19 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 ซึ่งแบ่งเป็น 1 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 ในหมวดสิทธิทางการเมือง และ 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 ในหมวดเสรีภาพพลเมือง[19] สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่หนักหน่วงของประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ และความสมบูรณ์ของระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง

แม้แต่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติของโรคระบาด COVID-19 ในปัจจุบัน มาตรการด้านการควบคุมโรคกลับถูกนำมาใช้เพื่อสกัดกั้นการรวมกลุ่มของผู้ชุมนุมมากกว่าการจัดการวิกฤติ นอกเหนือไปจากนั้นมาตรการด้านเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตก็ถูกควบคุมด้วยกฎหมายความมั่นคงทางเทคโนโลยีตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2021 และกฎหมายควบคุมสื่อออนไลน์ที่กำลังจะออกตามมา

กว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด หรือ 1.4 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน ส่วนอีกร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐ ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาความยากจนต่อเนื่องหลายสิบปี สถาบันกษัตริย์เข้าครอบครองอุตสาหกรรมเหมืองเหล็กหลายแห่ง และมีรายได้มหาศาลจนความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) ของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 ในปี 2021 ถูกคำนวณว่าอยู่ที่ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหนึ่งในรายได้ของพระองค์มาจากงบประมาณจากภาครัฐจำนวนถึง 61 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งพระองค์ได้นำไปใช้จ่ายกับรถหรูหลายคันและเรืออีกเป็นจำนวนมาก[20] 

ไม่เพียงวิกฤติด้านคุณภาพชีวิตของชาวเอสวาตินีแล้ว คุณภาพด้านสาธารณสุขเองก็ย่ำแย่เช่นกัน โดยร้อยละ 25 ของประชากรในประเทศถูกระบุว่ามีผลตรวจ HIV เป็นบวก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV มากที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันมาตรการในการจัดการปัญหาดังกล่าวกลับไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควรจากสถาบันกษัตริย์หรือรัฐบาล อีกทั้งยังมีข้อครหาจากกรณีที่กษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 ได้กล่าวในการประชุมรัฐสภาปี 2000 ว่า ประชาชนที่ถูกระบุว่ามีผลตรวจ HIV เป็นบวก ควรถูก ‘ตีตรา’ และทำให้เป็นหมันอีกด้วย[21]

จากความชอกช้ำของสังคมเอสวาตินีตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ยาวนานที่สุดในโลก ทำให้ประชาชนของประเทศเริ่มออกมาแสดงความไม่พอใจครั้งใหญ่โดยไม่เกรงกลัวตำรวจและกองทัพ ทุกหยดเลือดและน้ำตาของประชาชนจึงเป็นภาพสะท้อนความจำเป็นในการยุติการลุแก่อำนาจของสถาบันกษัตริย์ต่อสังคม และยิ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนในชาติมีสิทธิที่จะกำหนดอนาคตของชีวิตตนเองต่อไป

เชิงอรรถ

[1] Agence France-Presse in Mbabane. (2014). King of impoverished Swaziland increases household budget to $61m. The Guardian, From https://www.theguardian.com/world/2014/may/14/king-mswati-iii-swaziland-increases-household-budget 

[2] SWAZILAND. (2004). Amnesty International, From https://web.archive.org/web/20041013054919/http://web.amnesty.org/library/Index/ENGAFR550042004?open&of=ENG-SWZv 

[3] Swaziland Constitution. (2018). Index Mundi, From https://www.indexmundi.com/swaziland/constitution.html 

[4] Swaziland strike fizzles out on second day. (2005). Reuters, From https://web.archive.org/web/20070529190145/http://www.iol.co.za/index.php?set_id=1&click_id=68&art_id=qw1106814062464B224 

[5] Barry Bearak. (2008). In Destitute Swaziland, Leader Lives Royally. The New York Times, From https://www.nytimes.com/2008/09/06/world/africa/06king.html 

[6] Alexis Carey. (2019). King Mswati III of Swaziland slammed for spending millions on cars as country suffers. news.com.au, From https://www.news.com.au/finance/work/leaders/king-mswati-iii-of-swaziland-slammed-for-spending-millions-on-cars-as-country-suffers/news-story/232406da2d580c9a726ae5160850abc9 

[7] United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (OCHA). Swaziland: Doubt over legality of protests keep Swazis at bay, for now. (2005). News and Press Release. ReliefWeb, From https://reliefweb.int/report/swaziland/swaziland-doubt-over-legality-protests-keep-swazis-bay-now 

[8] John Eligon. (2021). Africa’s Last Absolute Monarchy Convulsed by Mass Protests. The New York Times, From https://www.nytimes.com/2021/07/02/us/africa-monarchy-eswatini-protests-swaziland.html 

[9] Killed in Swaziland for wearing T-shirt. (2010). AFRIKA, From https://web.archive.org/web/20110903103701/http://www.afrika.dk/killed-swaziland-wearing-t-shirt 

[10] Eswatini protests: Nurses refuse to treat police after colleagues shot. (2021). BBC, From https://www.bbc.com/news/world-africa-59011033 

[11] Zweli Martin Dlamini. (2022). NKILONGO MP: Eswatini preparing for Tinkhundla election of MPs who will be arrested for criticising royalty. Swaziland News, From https://www.swazilandnews.co.za/fundza.php?nguyiphi=1992 

[12] Zweli Martin Dlamini. (2022). Students President urges youth to prepare for a second wave of political unrest to topple King Mswati. Swaziland News, From https://www.swazilandnews.co.za/fundza.php?nguyiphi=1988 

[13] eSwatini Reed Dance, the Dance of 100,000 Virgins. Tour South Africa, From https://toursouthafrica.co.za/index.php/st_tour/eswatini-reed-dance-the-dance-of-100000-virgins/ 

[14] Incwala Festival. The Kingdom of Eswatini, From https://www.thekingdomofeswatini.com/eswatini-experiences/events/incwala-festival/ 

[15] A boiling pot. (2010). The Economist, From https://www.economist.com/middle-east-and-africa/2010/09/16/a-boiling-pot 

[16] Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. (2016). SWAZILAND 2016 INTERNATIONAL RELIGIOUS FREEDOM REPORT. International Religious Freedom Report for 2016. United States Department of State, From https://www.state.gov/wp-content/uploads/2019/01/Swaziland-3.pdf 

[17] S.Africa, UK urge restraint after deadly unrest in Eswatini. (2021). Yahoo news, From https://news.yahoo.com/africa-uk-urge-restraint-deadly-140919371.html?guccounter=1&guce_referrer=aHR0cHM6Ly9lbi53aWtpcGVkaWEub3JnLw&guce_referrer_sig=AQAAABzvymi8FVxEiED_oA-BLLlADwne0ilnuWueFgY4QH2WnATj64X4SHtryIxyWd4Z2QvpSqq7IsMjbb11RGH6CTYXMwz7_Nx4fGWr5ZySIIn3OteKCvWqLW-9HPuekc4ajzCuGp5GXyEbj4y1UGhI3IAWOkoMGaFLWgYyaSlmwRbs 

[18] Matthew Hill. (2021). Southern Africa Bloc to Send Team to Eswatini to Discuss Unrest. Bloomberg, From https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-07-03/southern-africa-bloc-to-send-team-to-eswatini-to-discuss-unrest-kqnxuokm 

[19] Eswatini. (2021). Freedom House, From https://freedomhouse.org/country/eswatini/freedom-world/2021 

[20] King Mswati Net Worth. (2021). Glusea, From https://www.glusea.com/king-mswati-net-worth/ 

[21] Ahmed Moor. (2011). Avarice: The madness of King Mswati. Al-jazeera, From https://www.aljazeera.com/opinions/2011/4/26/avarice-the-madness-of-king-mswati/ 

พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระองค์ใด * 1 คะแนน

ภูภุช กนิษฐชาต
คนหนุ่มผู้หลงใหลการตามหาสาระในเรื่องไร้สาระ คลั่งไคล้การถกเถียงเรื่องปรัชญาการเมืองยามเมามาย นิยมเสพสื่อบันเทิงแทบทุกชนิดที่มีบนโลก ขับเคลื่อนชีวิตด้วยคาเฟอีนและกลิ่นกระดาษหอมกรุ่นของหนังสือราวกับต้นไม้ต้องการแสงแดด ความฝันอันสูงสุดมีเพียงการได้มีชื่อของตนเองจารึกเอาไว้ใน Reading-list ของเหล่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเพียงเท่านั้น