ใครโปรดให้มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ฝ่ายได้แก่สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก

ประวัติสำนักพระราชวัง

          สำนักพระราชวังเป็นหน่วยงานราชการที่มีประวัติของการวิวัฒนาการมาตั้งแต่พุทธศักราช ๑๘๙๓ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและทรงจัดระเบียบการปกครองภายในราชธานีออกเป็น ๔ กรม เรียกรวมกันว่า “จตุสดมภ์” ซึ่งแปลว่า “หลักทั้ง ๔” คือ เมือง (เวียง) วัง คลัง นา หัวหน้าจตุสดมภ์ทั้ง ๔ มีตำแหน่งเป็น “ขุน”

          กรมที่เรียกว่า “วัง” อันเป็นต้นกำเนิดของสำนักพระราชวังนี้ มีหน้าที่ดูแลฝ่ายพระราชสำนัก และช่วยแบ่งเบาภาระของพระมหากษัตริย์ในหน้าที่ตุลาการ โดยมี “ขุนวัง” เป็นหัวหน้า 

          ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พุทธศักราช ๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ โดยแยกการทหารและการพลเรือนออกจากกันเป็นครั้งแรกคือ “สมุหพระกลาโหม” บังคับการฝ่ายทหารทั่วไป และ “สมุหนายก” บังคับการฝ่ายพลเรือนทั่วไป มีตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดีเสมอกัน นอกจากนี้ ยังมีจตุสดมภ์อีก ๔ กรม คือ กรมเมือง (เวียง) กรมวัง กรมคลัง และกรมนา ซึ่งมีตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดี

          ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมานั้น “กรมวัง” มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบต่อทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชสำนัก รวมทั้งการซ่อมแซมพระบรมมหาราชวัง การพระราชพิธีต่างๆการตรวจสอบดูแลขุนนางทั้งหมดที่จะเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง ยกเว้นมหาดเล็ก ควบคุมพระราชทรัพย์พิเศษเกี่ยวกับพระบรมมหาราชวังตลอดจนดูแลแจกจ่ายทาสและไพร่ไปทำงานในวัดหลวง นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ในหน้าที่ตุลาการและมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้ง “ยกกระบัตร” ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ เมืองละคนโดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาประจำหัวเมืองและเป็นผู้ดูแลตรวจสอบข้าหลวง อีกทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้ง “หลวงวัง” ที่มีหน้าที่ดูแลกิจการภายในจวนข้าหลวงนั้น ออกไปประจำตามหัวเมืองอีกด้วย“กรมวัง” ได้มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมย่อยๆ หลายกรม อาทิ กรมพระตำรวจวัง (ตำรวจ เป็นบรรดาศักดิ์ของเขมรโบราณ หมายถึงขุนนางที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ หรือองครักษ์ของพระมหากษัตริย์) กรมพระราชยาน กรมอาวุธหลวง กรมฉางข้าวหลวง และกรมสวนหลวง

          สำหรับตำแหน่งเสนาบดีกรมวังนั้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีบรรดาศักดิ์หรือราชทินนามเป็น “พญาธรรมาธิบดี” แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็น “เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์” ใช้ตราเทพยดาขี่พระนนทิการ (พระโคเผือก) เป็นตราประจำตำแหน่ง

          การจัดระเบียบการปกครองที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้นั้น ยังคงยึดถือปฏิบัติกันต่อมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นเวลานานกว่า ๔๐๐ ปีจนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดระเบียบราชการบริหารแบบกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ ในส่วนของการบริหารราชการส่วนกลางนั้น  ได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวงต่างๆ ออกเป็น ๑๒ กระทรวง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยุบเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบการบริหารราชการแต่ละกระทรวงเสมอกัน ดังนั้น “กรมวัง” จึงถูกยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง เรียกว่า “กระทรวงวัง”  มีหน้าที่ปฏิบัติราชการในพระราชสำนักเช่นเดิม ส่วนงานที่เกี่ยวกับการตุลาการนั้น ได้โอนไปขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้ตั้งขึ้นใหม่ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมวังแต่เดิมอยู่ก่อนแล้วนั้น เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง

สมุหพระกลาโหม (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)

     สมุหพระกลาโหม

          ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งในพจนานุกรมฉบับนี้ มีการแก้ไขปรับปรุงและเพิ่มเติมบทนิยามศัพท์จำนวนมาก รวมทั้งศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ คำที่จะกล่าวถึงในวันนี้ คือ คำว่า สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก

          เดิมในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บคำ สมุหกลาโหม กับ สมุหพระกลาโหม ไว้คู่กันและให้บทนิยามไว้ดังนี้          สมุหกลาโหม สมุหพระกลาโหมเป็นคำนาม หมายถึงตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ แต่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้แก้ไขบทนิยามศัพท์คำนี้ใหม่ โดยตัดคำว่า
สมุหกลาโหม ออก ให้เก็บไว้แต่ สมุหพระกลาโหม เท่านั้น เพราะจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว พบว่าคำที่ถูกต้องคือ สมุหพระกลาโหม และให้บทนิยามดังนี้
          สมุหพระกลาโหมเป็นโบราณศัพท์เป็นคำนาม หมายถึง ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายทหาร รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองปักษ์ใต้          อีกคำหนึ่งคือ สมุหนายก ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้บทนิยามไว้ว่า สมุหนายกเป็นคำนาม หมายถึงตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนครั้งโบราณแต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้แก้ไขบทนิยามศัพท์ให้สอดคล้องกับ คำ สมุหพระกลาโหม ดังนี้          สมุหนายกเป็นโบราณศัพท์เป็นคำนามหมายถึง ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ.

ปิยรัตน์ อินทร์อ่อน

ใครโปรดให้มีการการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ฝ่ายได้แก่ สมุหกลาโหมและสมุหนายก

ตำแหน่งสมุหนายก ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ โดยให้สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและสมุหกลาโหมบังคับบัญชาทางใต้ ทั้งกิจการฝ่ายทหารและพลเรือน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ...

กษัตริย์พระองค์ใด โปรดตั้งให้ตั้งอัครเสนาบดี2ตำแหน่ง คือสมุหพระกลาโหมและสมุหนายก

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ...

สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายใด

เดิมสมุหพระกลาโหมดูแลการทหารเท่านั้น แต่ในรัชกาลพระเพทราชาได้เพิ่มอำนาจหน้าที่เป็นบังคับบัญชางานทั้งด้านทหารและพลเรือนสำหรับหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกที่เดิมดูแลด้านพลเรือนเท่านั้น ก็ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่เป็นบังคับบัญชาทั้งด้านทหารและพลเรือนสำหรับหัวเมืองฝ่ายเหนือ

การปกครองส่วนกลางมีสมุหนายกดูแลเรื่องใด

1) การปกครองส่วนกลาง ฝ่ายพลเรือน มีพระสมุหนายก หรืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย เป็นหัวหน้า มีหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบกิจการพลเรือน คือ เวียง วัง คลัง นา ส่วนไพร่ได้รับสิทธิเลือกสังกัดฝ่ายทหารหรือฝ่ายพลเมืองได้ แต่ในยามสงคราม ไพร่ทั้งสองฝ่ายต้องออกรบด้วยกัน