เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

เผ่ามาไซ (Massai) เครื่องแต่งกายสีแดง หอกคู่ใจ และการกระโดดให้สูงที่สุด! สิ่งเหล่านี้คือเอกลักษณ์ของ ‘ชนเผ่ามาไซ’ หนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญที่สุดของแอฟริกา และเชื่อว่ายังเป็นชนเผ่าที่หลายคนคุ้นชื่ออยู่ไม่น้อย ชาวมาไซเป็นกลุ่มคนแอฟริกันพื้นเมืองตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนียและในประเทศเคนย่า โดยชนเผ่ามาไซเป็นชาติพันธุ์กึ่งเร่ร่อนที่ใช้วัสดุท้องถิ่นในการสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว หรือที่เรียกว่า Inkajijik เนื่องจากพวกเขาไม่ได้อาศัยปักหลัก ณ ที่ใดที่หนึ่งแต่จะมีการเวียนที่อยู่ไปเรื่อยๆ ตามฤดูกาล

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

เผ่ามาไซ (Massai)

บ้านของชาวมาไซมีลักษณะเป็นกระท่อมทรงกลมถูกสร้างโดยผู้หญิงในเผ่า ส่วนผู้ชายมีหน้าที่สร้างรั้วไม้พุ่มล้อมรอบหมู่บ้านเรียกว่า Enkang สร้างจากไม้อะคาเซียที่มีหนามเพื่อป้องกันฝูงสัตว์ในเผ่าจากสัตว์ป่าในตอนกลางคืน ชาวมาไซดำรงชีวิตด้วยการเลี้ยงสัตว์เป็นหลักทั้งวัว แพะ และแกะ และสัตว์เหล่านี้ยังเป็นแหล่งอาหารของชาวเผ่าอีกด้วย โดยการวัดความมั่งคั่งของเผ่ามาไซจะนับจากจำนวนวัวและลูกที่มี หากมีวัวมากถึง 50 ตัวจะได้รับการนับหน้าถือตา และยิ่งมีลูกเยอะด้วยจะยิ่งได้รับความเคารพมากขึ้นไปอีก แต่ถ้าใครมีวัวหรือลูกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังถือว่าเป็นคนธรรมดา ไม่ได้ร่ำรวยหรือได้รับการยกย่องแต่อย่างใด

ชาวมาไซใช้ ภาษา Maa ซึ่งเป็นภาษาจากชนชาติ Nilotic เป็นหลัก (Nilotic คือกลุ่มคนพื้นเมืองในหุบเขาไนล์) นอกจากนี้ยังใช้ภาษาราชการของแทนซาเนียและเคนย่าด้วย และมีบางส่วนที่พูดภาษาสวาฮีลีและภาษาอังกฤษชาวมาไซมีจำนวนประชากรทั้งหมดจากประเทศแทนซาเนียและเคนย่าประมาณ 900,000 คน

เครื่องแต่งกายของชาวเผ่าจะแตกต่างกันไปตามเพศ อายุ และสถานที่ แต่ที่เป็นภาพจำของชาวมาไซคือการสวมเครื่องกายสีแดงซึ่งเป็นสียอดนิยมของชาวเผ่า นอกจากนี้ยังมีชุดสีดำ สีน้ำเงิน สีชมพู ชุดที่มีลวดลายอย่างลายตารางหมากรุกและลายทางก็เป็นที่นิยม

ชาวเผ่ามาไซใช้ผืนผ้าที่เรียกว่า Shúkrà ในภาษา Maa ปกคลุมร่างกาย โดยใช้ผ้าสองผืนคลุมไหล่แต่ละข้างและอีกผืนพาดทับบนสุด หรือบ้างก็สวมเครื่องแต่งกายที่เป็นเสื้อผ้าชิ้นเดียวเรียกว่า kanga ส่วนชาวมาไซที่อาศัยใกล้ชายฝั่งมักสวมผ้าซิ่นหลากสีเรียกว่า kakoi

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

ชาวมาไซ ส่วนใหญ่ในแทนซาเนียสวมรองเท้าแตะเรียบๆ ที่ทำจากหนังวัว แต่ปัจจุบันมักจะผลิตด้วยพลาสติกและยางทั่วไป ในส่วนของเครื่องประดับเองมีการสวมกำไลไม้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ฝ่ายหญิงมักจะประดับด้วยลูกปัดโดยถือว่าลูกปัดมีส่วนสำคัญในการเติมแต่งร่างกาย ลูกปัดหลากสีที่หญิงสาวสวมมีความหมายแตกต่างกันไป อย่างสีขาวหมายถึงความสงบ สีฟ้าหมายถึงน้ำ และสีแดงหมายถึงนักรบ เลือด และความกล้าหาญ

ก่อนยุคที่จะมีการติดต่อกับชาวยุโรป ลูกปัดส่วนใหญ่ของชาวมาไซผลิตจากวัสดุในท้องถิ่น อย่างลูกปัดสีขาวทำมาจากดินเหนียว, เปลือกหอย, งาช้าง หรือกระดูก ลูกปัดสีดำและสีน้ำเงินทำมาจากเหล็ก, ถ่าน, เมล็ดพืช, ดินเหนียว และเขาสัตว์ ส่วนลูกปัดสีแดงมาจากเมล็ดพืช, ไม้, น้ำเต้า, กระดูก, งาช้าง, ทองแดง และทองเหลือง

จนเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ลูกปัดแก้วสีสันสดใสจากยุโรปได้เข้ามามาถึงแอฟริกาตะวันออก ชาวเผ่าจึงเปลี่ยนจากลูกปัดเก่ามาทำด้วยวัสดุใหม่ และเริ่มใช้โทนสีที่มีความประณีตมากขึ้น ปัจจุบันนิยมใช้ลูกปัดแก้วทึบแสงและมีพื้นเรียบ

การย้ายถิ่นฐานของชนเผ่ามาไซ

เดิมทีเชื่อว่าชาวมาไซอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทะเลสาบทูร์คานา (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคนย่า) บริเวณหุบเขาไนล์ตอนล่าง ก่อนจะอพยพลงใต้เมื่อช่วงศตวรรษที่ 15 เดินทางมาถึงทางตอนกลางของแทนซาเนียและตอนเหนือของเคนย่าในระหว่างช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18

จนกระทั่งขยายดินแดนได้มากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 19 ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในบริเวณ Great Rift Valley และพื้นที่ติดกันจากบริเวณ Dodoma ในแทนซาเนียถึง Mount Marsabit ในเคนย่า จุดเปลี่ยนสำคัญคือเมื่ออังกฤษได้ทำสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1904 และ 1911 ทำให้ดินแดนของชนเผ่ามาไซในเคนย่าถูกลดลง 60 เปอร์เซ็นต์ และจำกัดพื้นที่ชาวมาไซให้อยู่แค่ในเขต Narok และ Kajiado เท่านั้น ส่วนชาวมาไซในแทนซาเนียเองก็ถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยในบริเวณภูเขาคิลิมันจาโรและภูเขาเมรู และบริเวณใกล้กับ Ngorongoro ในช่วงยุค 1940 โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกนำไปสร้างเป็นอุทยานแห่งชาติและเขตสงวนสัตว์ป่า

เรื่องราวของ adamu เต้นระบำด้วยการกระโดดแบบชาวมาไซ

นักท่องเที่ยวมากมายเดินทางมายังแทนซาเนียและเคนย่าเพื่อเยี่ยมชมหมู่บ้านของชนเผ่ามาไซ และมีส่วนร่วมในการเต้นรำ adamu ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ “Jumping Dance”

adamu สำหรับชาวมาไซไม่ใช่แค่การเต้นรำเคลื่อนไหวร่างกายทั่วไป แต่ยังเป็นประเพณีในการหาคู่แต่งงาน และยังช่วยแสดงถึงความแข็งแกร่งของนักรบในเผ่าอีกด้วย โดย adamu เป็นส่วนหนึ่งในพิธีฉลองการบรรลุนิติภาวะหรือเรียกว่า Eunoto จัดขึ้นสำหรับชายหนุ่มที่อยู่ในค่ายฝึกนักรบมาเป็นระยะเวลา 10 ปี และพร้อมสู่การเป็นนักรบเต็มตัว ภายในค่ายฝึกนักรบ (emanyatta) หนุ่มๆ จะได้เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ การปกป้องครอบครัว และการปฏิบัติตามหน้าที่ของนักรบมาไซ

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

พิธีAdamu ขอบคุณภาพจากคุณ Esin Üstün

พิธี Eunoto ไม่เพียงเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของนักรบรุ่นเยาว์ (morani) สู่การเป็นนักรบเต็มตัว แต่ยังหมายถึงการที่ชายหนุ่มในเผ่าจะสามารถขอหญิงสาวแต่งงานได้ และนั่นคือส่วนหนึ่งของการเต้นรำ adamu นั่นเอง ในช่วงการเต้นรำชาวเผ่าจะยืนล้อมรอบเป็นวงกลมและผลัดกันออกมาแสดงถึงพละกำลังและความแข็งแรงที่จะเอาชนะใจหญิงสาวในเผ่า ซึ่งหนุ่มๆ ได้ฝึกฝนการกระโดดในลักษณะเช่นนี้มาตั้งแต่วัยเด็กเพื่อเข้าร่วมพิธีนี้โดยเฉพาะ

การจัดพิธี Eunoto สามารถกินระยะเวลาได้นานถึง 10 วัน โดยช่วงสุดท้ายของพิธีจะมีการโกนผมของนักรบรุ่นเยาว์เพื่อแสดงถึงการเติบโตเป็นนักรบเต็มตัวที่พร้อมจะแต่งงาน มีครอบครัว และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

กระโดดให้สูงไปกับหนุ่มๆ ชาวมาไซ

ก่อนเริ่มการเต้นรำ adamu หนุ่มๆ สาวๆ ในเผ่าจะเพ้นท์หน้าและร่างกายเป็นลวดลายต่างๆ ด้วยผงสีแดงซึ่งทำจากดินเหลือง พร้อมสวมลูกปัดหินและผ้าคลุมไหล่สีสันสดใส

นักรบต่างยืนล้อมรอบเป็นวงกลม จากนั้นชายหนุ่มในเผ่าจะออกมาตรงกลางวง 2 คนพร้อมหอกในมือ ไม่พูดพร่ำทำเพลง พวกเขาเริ่มผลัดกันกระโดดให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทริคก็คือส้นเท้าทั้งสองข้างจะต้องไม่แตะพื้นระหว่างกระโดด ยืดตัวตรงและแขนสองข้างแนบข้างลำตัว อาจดูเหมือนง่ายแต่นักท่องเที่ยวหลายคนที่เคยชมพิธีกรรมนี้แล้วลองกระโดดดูบ้างต่างก็ต้องยอมแพ้กันไป เพราะ adamu นั้นต้องใช้ทั้งทักษะและความแข็งแรง และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ชาวมาไซต้องฝึกกระโดดตั้งแต่เด็ก

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

ภาพจากคุณ Dmitri markine

เมื่อหนุ่มๆ กระโดดได้ถึงจุดสูงสุดที่สามารถทำได้ (หรือจนเหนื่อยแล้ว) ก็จะผละออกจากวง เพื่อให้ชายหนุ่มคนอื่นผลัดกันเข้ามากระโดดกลางวงบ้าง การเต้นรำ adamu ไม่ได้มีเสียงกลองให้จังหวะเหมือนการเต้นรำทั่วไปที่เราคุ้นเคย แต่ใช้เสียงของคนในเผ่าในการให้จังหวะเป็นทำนอง ยิ่งกระโดดได้สูงเสียงร้องก็ยิ่งดังขึ้น

ชาวมาไซต่างเปล่งเสียงร้องออกมาดังขึ้นเรื่อยๆ สร้างความฮึกเหิมให้กับชายหนุ่มในเผ่ายิ่งกระโดดสูงขึ้น สาวๆ เองต่างก็ร้องเพลงและเต้นรำเข้ากับจังหวะเพื่อเชียร์หนุ่มๆ ที่พวกเธอชื่นชอบ ส่วนบรรดาแม่ๆ ของนักรบก็จะร้องเพลงเพื่อให้กำลังใจลูกชายของตัวเอง ท้ายที่สุดนักรบคนไหนที่สามารถกระโดดได้สูงที่สุดจะมีสิทธิ์ในการเลือกหญิงสาวที่ถูกใจเพื่อมาเป็นภรรยา

สามารถรับชมการเต้นรำ adamu ของชาวมาไซได้ทาง Maasai jumping contest

เสียงเพลงและดนตรีคือส่วนหนึ่งของประเพณีมาไซ

ไม่เพียงแต่พิธี Eunoto และการเต้นรำ adamu เท่านั้นที่มีเสียงเพลงและดนตรีเข้ามาสร้างความบันเทิงใจ แต่ทั้งเสียงเพลง ดนตรี และการเต้นรำเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาวมาไซไปแล้ว การแบ่งผู้ชายในเผ่าออกเป็นกลุ่มๆ ตามช่วงอายุนั้นถือเป็นแต่ละขั้นของชีวิต เมื่อเปลี่ยนจากขั้นหนึ่งไปสู่ขั้นหนึ่ง พวกเขาจะได้รับการต้อนรับด้วยเสียงเพลงและดนตรี

ดนตรีดั้งเดิมของชาวมาไซประกอบไปด้วยการให้จังหวะจากการร้องประสานเสียง ในขณะที่ผู้นำในการร้องเพลงจะเป็นผู้ขับร้องซึ่งมักเลือกจากผู้ที่สามารถร้องเพลงได้เพราะที่สุดขึ้นมาเป็นผู้นำ เมื่อผู้นำเริ่มต้นขับร้องด้วยชื่อเพลง กลุ่มประสานเสียงจะตอบรับอย่างพร้อมเพรียงกันหนึ่งครั้งเป็นอันรับทราบ จากนั้นผู้นั้นจะเริ่มร้องเพลงประกอบด้วยเสียงให้จังหวะของคนในกลุ่ม

การเฉลิมฉลองด้วยเสียงเพลงและการเต้นรำยังช่วยเปิดโอกาสให้ชาวเผ่าจากหลายๆ หมู่บ้านในภูมิภาคเดียวกันได้มารวมตัวกัน ซึ่งอาจเรียกได้การรวมตัวเฉลิมฉลองนี้เป็นอีกวิธีที่ชาวมาไซใช้ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมและรักษาความแน่นแฟ้นของชนเผ่ามาไซ ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีสิ่งรบเร้าภายนอกมากมายอาจทำให้วัฒนธรรมของชนเผ่ามาไซสูญหายได้

พิธีกรรมที่น่าสนใจของมาไซไม่ได้มีแค่ Eunoto

เนื่องจากวัฒนธรรมและประเพณีของชาวมาไซเกี่ยวข้องกับลำดับขั้นในแต่ละช่วงชีวิต ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่น่าสนใจนอกเหนือจาก Eunoto ไม่ว่าจะเป็น Enkipaata (การเติบโตของเด็กชาย), Emuratta (การเข้าสุหนัต), Emanyatta (การเข้าค่ายฝึกนักรบ), Enkang e-kule (การดื่มนม) และ Enkang oo-nkiri (การรับประทานเนื้อ) เป็นต้น

เพราะ เหตุ ใด ความเชื่อใน ดนตรีของชนเผ่า ต่างๆ จึงมีความ แตก ต่าง กัน

  • Enkipaata

พิธีกรรมที่พ่อจะจัดให้ลูกชายคนแรกซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นนักรบเต็มตัว โดยกลุ่มเด็กผู้ชายอายุ 14 ถึง 16 ปีจะเดินทางเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือนเพื่อประกาศถึงการก้าวผ่านของช่วงอายุจากวัยเด็กสู่วัยหนุ่ม

  • Emuratta

พิธีเข้าสุหนัตหรือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นพิธีกรรมที่สำคัญมากที่สุดในบรรดาพิธีกรรมทั้งหมด ทั้งชายหนุ่มและหญิงสาวในเผ่าต่างเฝ้ารอในการเข้าร่วมพิธีสุหนัตตามธรรมเนียม ซึ่งจะจัดขึ้นหลังเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นได้ไม่นานหรือหลังจากจบพิธี Enkipaata นั่นเอง

  • Emanyatta

หลังจากผ่านพ้นพิธี Emuratta ไปก็จะเข้าสู่การเข้าค่ายฝึกนักรบ แต่ไม่ใช่ว่าเด็กผู้ชายทุกคนในเผ่าจะได้เข้าค่ายนี้ นักรบของเผ่าจะเป็นผู้คัดเลือกผู้ชายจากบ้านต่างๆ ประมาณ 20 ถึง 40 หลังในการเข้าร่วมพิธี โดยพวกเขาสามารถพาแม่ให้ไปอาศัยอยู่ในค่ายด้วยตลอดระยะเวลาการฝึก

  • Enkang ekule

ก่อนเข้าร่วมพิธี Eunoto เหล่านักรบจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทานอาหารคนเดียวโดยไม่มีเพื่อน ยกเว้นว่าเจ็บป่วย หากต้องการดื่มนมขณะที่อยู่ข้างนอกค่ายจะทำได้ก็ต่อเมื่อไม่มีผู้หญิงอยู่ด้วย ข้อห้ามเหล่านี้เพื่อสอนให้ชาวมาไซพึ่งพาตัวเองมากกว่าพึ่งพาแม่ของพวกเขา ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเตรียมอาหารให้พ่อและน้องๆ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักรบสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ เช่น การขาดแคลนอาหาร

  • Enkang oonkiri

ต่อไปคือพิธีกรรมสำหรับเนื้อสัตว์จัดในค่ายคัดเลือกที่มีชาวเผ่าจากบ้านต่างๆ ประมาณ 10 ถึง 20 หลัง เหล่านักรบจะได้ทานเนื้อวัวที่ได้รับการคัดเลือกมาพิเศษสำหรับพิธีนี้ นอกจากนี้ Enkang oo-nkiri ยังเป็นพิธีกรรมสำหรับพิสูจน์ว่าภรรยาของพวกเขาไม่ได้นอกใจไปมีสัมพันธ์กับชายที่อายุน้อยกว่า หากพบว่ามีการละเมิดคำสัญญา ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปยังบ้านของพ่อหรือญาติของตัวเองเพื่อนำวัวกลับมาให้ฝ่ายชายเป็นการขอโทษ

อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าเศร้าที่พิธีกรรมหลายๆ อย่างอาจจางหายไปเนื่องจากอิทธิพลจากโลกภายนอก ชาวมาไซมักถูกบอกให้ปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตกซึ่งพึ่งพาได้มากกว่า ดังนั้นประเพณีและพิธีกรรมของชาวมาไซที่เรายังสามารถพบเห็นได้ทุกวันนี้อาจจะค่อยๆ เลือนหายไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตก็เป็นได้

ที่มาบทความ

  • GET UP! THE TRADITION OF THE MAASAI JUMPING DANCE
  • How high can you jump?
  • The Maasai Tribe, East Africa
  • Maasai Ceremonies and Rituals
  • เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับเผ่ามาไซ

อ่านบทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอื่นๆต่อได้ที่ >>> https://www.patourlogy.com/blog/inspiration

สนใจทัวร์ส่วนตัว และโปรแกรมทัวร์ คลิ๊ก >>> https://www.patourlogy.com/ทริปทัวร์เดินทาง

ทริปเดินพบปะกับชนเผ่ามาไซ > https://www.patourlogy.com/tour/ทัวร์แทนซาเนีย


ดนตรีภาคใต้แตกต่างจากภาคอื่นอย่างไร

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเด่น คือ เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทเป็นหลัก ส่วนเครื่องเป่าและเครื่องเป็นเพียงเครื่องดนตรีที่ช่วยเสริมให้เกิดความไพเราะ ลีลาของดนตรี เน้นลีลาจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยเฉพาะนิยมจังหวะเร็ว

ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีที่มีลักษณะแตกต่างจากดนตรีประเภทอื่นๆอย่างไร

ลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน คือ ดนตรีที่มีมาแต่ดั้งเดิมในทุกกลุ่มวัฒนธรรมทั่วโลก แม้แต่ในประเทศเดียวกันอาจจะมีดนตรีพื้นบ้านที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว หรือการขับร้องประกอบการบรรเลง หรือการขับร้องเพียงอย่างเดียว โดยปกติดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้

เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนามีลักษณะแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างไร

เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนา (Church music หรือ Sacred music) นี้เองมีส่วนทำให้ศาสนาโดยเฉพาะศาสนา คริสต์เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา นับเป็นเวลาที่ยาวนานมาถึงร่วม 7 ศตวรรษ เพลงศาสนานี้จัดได้ว่าเป็นคำตรงกันข้ามกับ คำว่า ดนตรีบ้าน (secular music) ดนตรีศาสนาจะขับร้องและบรรเลงกันในวัดหรือโบสถ์ ส่วนดนตรีบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านที่ฟังหรือ ...

เพราะเหตุใด ดนตรีไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลง

ดนตรีเป็นศิลปะของมนุษยชำติที่ถ่ำยทอดควำมรู้สึกนึกคิดทำงวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรม จึงย่อมมีกำร ผสมผสำน ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งปัจจัยส ำคัญ ๒ ประกำร ที่มีอิทธิพลต่องำนดนตรีของ ประเทศไทย คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองกับงานดนตรี การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับงานดนตรี