เพราะเหตุใดกระเพาะปัสสาวะจึงสามารถขยายตัวได้

อาการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ และเข้าห้องน้ำหลายครั้ง อาจทำให้หลายคนชะล่าใจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความจริงแล้วอาจกำลังเผชิญอยู่กับภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder – OAB) ที่ส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว ถ้าไม่รีบรักษาอย่างทันท่วงที

 

รู้จักกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder – OAB) เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ที่เกิดจากการรับรู้ของกระเพาะปัสสาวะที่เร็วกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะดื่มน้ำในปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม ทำให้เกิดความรำคาญ ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ตั้งแต่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานช่วงอายุ 30 – 40 ปี และพบมากในผู้สูงวัยช่วงอายุตั้ง 50 ปีขึ้นไป

 

อาการบอกโรค

อาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย โดยปัสสาวะบ่อยมากขึ้นกว่าปกติที่เคย หรือไม่ต่ำกว่า 7 ครั้งตอนกลางวัน ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะรีบ ปวดปัสสาวะมาก ไม่สามารถกลั้นได้ ต้องเข้าห้องน้ำทันที 

 

ตรวจเช็กให้รู้ทัน

การตรวจเช็กภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินสามารถประเมินได้โดยแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์จะทำการซักถามและให้ทำแบบประเมินโดยละเอียด ซึ่งจะพิจารณาจาก

  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ปัสสาวะใน 1 วัน ตั้งแต่หลังตื่นนอนตอนเช้าถึงก่อนนอนตอนกลางคืน
  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนนับตั้งแต่นอนหลับถึงตื่นนอนในตอนเช้า
  • จำนวนครั้งที่ปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถกลั้นได้
  • จำนวนครั้งที่ปัสสาวะเล็ดราดในขณะที่ปวดอย่างทันทีทันใดแล้วไม่สามารถกลั้นไว้ได้

นอกจากนี้จะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจการติดเชื้อ ตรวจปัสสาวะตกค้าง ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีการเติมน้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยแทรกโรคอื่น ซึ่งการส่งตรวจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ

 

เพราะเหตุใดกระเพาะปัสสาวะจึงสามารถขยายตัวได้
เพราะเหตุใดกระเพาะปัสสาวะจึงสามารถขยายตัวได้

รูปที่ 1 กระเพาะปัสสาวะปกติและอยู่ในสภาพผ่อนคลาย มีน้ำปัสสาวะอยู่ครึ่งเดียว

กระเพาปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโอเอบี คืออะไร?

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโอเอบี เป็นคำที่ใช้วินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการดังต่อไปนี้

• ปวดปัสสาวะรีบ (urgency) คือ ความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะอย่างมากที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่สามารถรั้งรอต่อไปได้ ต้องรีบไปห้องน้ำทันที อาการนี้เกิดขึ้นทั้งๆที่มีน้ำปัสสาวะเพียงเล็กน้อยในกระเพาะปัสสาวะ บางครั้งอาจมีปัสสาวะเล็ดราดออกมาในขณะมีอาการปวดปัสสาวะรีบ ก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำ เรียกว่า ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urge incontinence)

• ปัสสาวะบ่อย คือ การที่ต้องไปถ่ายปัสสาวะหลายครั้งเกินไปในตอนกลางวัน (มักบ่อยเกินกว่า 7 ครั้ง)

• ปัสสาวะบ่อยกลางคืน คือ การที่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อไปถ่ายปัสสาวะมากเกินกว่าหนึ่งครั้งในตอนกลางคืน

กลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินนี้ พบในสตรี (และบุรุษ) ได้ในทุกๆช่วงอายุ ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะว่าสูงวัยขึ้นเท่านั้น

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโอเอบี คืออะไร?

กลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโอเอบี เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัว เพื่อขับถ่ายน้ำปัสสาวะออกมาในเวลาที่ไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือน และในเวลาที่คุณไม่ตั้งใจที่จะปัสสาวะ รูปที่ 2

เพราะเหตุใดกระเพาะปัสสาวะจึงสามารถขยายตัวได้

รูปที่ 2 กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินและอยู่ในสภาพบีบรัดตัว แม้มีน้ำปัสสาวะอยู่ครึ่งเดียว แต่ทำให้ปัสสาวะเล็ดราด

แพทย์หรือพยาบาลจะเก็บปัสสาวะของคุณเพื่อส่งตรวจหาการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้ คุณอาจได้รับการตรวจอื่นๆเพื่อหาว่ามีนิ่วหรือเนื้องอกผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ กลุ่มอาการนี้ยังอาจเกิดได้จากภาวะอื่นๆที่มีผลทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติไป ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงมาก่อน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณมีกลุ่มอาการนี้ได้ นอกจากนั้น ปริมาณและชนิดของเครื่องดื่มที่คุณดื่มมีผลต่ออาการต่างๆ ตัวอย่าง เข่น เครื่องดื่มประเภทที่มีคาเฟอีนจะทำให้อาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ดี ในสตรีจำนวนมาก ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการนี้ได้ แต่กระนั้นก็ตาม มีการรักษาหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณจัดการกับกลุ่มอาการเหล่านี้

คุณจะได้รับการตรวจสืบค้นอะไรบ้าง?

แพทย์จะซักถามคุณเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ ปริมาณและชนิดของสารน้ำที่ดื่ม ตลอดจนสุขภาพทั่วไปของคุณ

หลังจากนั้นคุณจะได้รับการตรวจทางนรีเวชวิทยาเพื่อค้นหาปัญหา ที่อาจเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน คุณอาจต้องจดบันทึก “ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ” ของคุณมาให้แพทย์ดู โดยจดบันทึกว่าในวันหนึ่งๆ คุณดื่ม (น้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ) ในปริมาณเท่าไร ถ่ายปัสสาวะกี่ครั้ง และปริมาณน้ำปัสสาวะที่ถ่ายออกมาแต่ละครั้ง หากมีปัสสาวะเล็ดราดให้บันทึกปริมาณปัสสาวะที่เล็ดออกมาและกิจกรรมขณะนั้นด้วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ว่าคุณดื่มเข้าไปเป็นปริมาณเท่าไร และปริมาณน้ำปัสสาวะที่กระเพาะปัสสาวะของคุณสามารถกลั้นอยู่ได้เป็นเท่าไร โปรดสอบถามแพทย์หรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอตัวอย่างแบบบันทึก “ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ”

นอกจากนี้ คุณอาจได้รับการตรวจสืบค้นดังต่อไปนี้

  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการเก็บตัวอย่างน้ำปัสสาวะเพื่อตรวจการติดเชื้อหรือเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจวัดปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะ เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสแกน หรือใช้ท่อเล็กๆสวนปัสสาวะภายหลังถ่ายปัสสาวะ เพื่อหาปริมาณน้ำปัสสาวะที่ตกค้างเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • การตรวจยูโรพลศาสตร์หรือยูโรไดนามิกส์ (urodynamics) ใช้เพื่อตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีการเติมน้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ การตรวจนี้จะบอกว่ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวอย่างไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการบีบตัวเกิดขึ้น เรียกว่า กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (detrusor overactivity) นอกจากนี้ ยังใช้ตรวจว่ามีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง และมีการขับถ่ายปัสสาวะได้หมดหรือมีปัสสาวะตกค้างหรือไม่

การรักษาผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้มีอะไรบ้าง?

การรักษากลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินมีหลายวิธีต่างๆกัน ควรเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนลีลาชีวิตของคุณก่อน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา โคล่า จะทำให้อาการต่างๆแย่ลง ฉะนั้น การลดเครื่องดื่มเหล่านี้ลงอาจช่วยได้ เครื่องดื่มที่มีฟองซ่าอย่างโซดา น้ำผลไม้ และแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดกลุ่มอาการนี้เช่นกัน คุณควรพิจารณาจาก “ไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ” ว่าเครื่องดื่มใดบ้างที่ทำให้อาการของคุณแย่ลง แล้วลองเปลี่ยนไปดื่มน้ำ ชาสมุนไพร และเครื่องดื่มที่สกัดคาเฟอีนออกไปแล้วแทน คุณควรดื่มน้ำประมาณวันละ 1.5 ถึง 2 ลิตร หรือ ประมาณครึ่งแกลลอน

การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ

คุณอาจสังเกตว่าตนเองมีนิสัยชอบไปห้องน้ำบ่อยๆ เพื่อถ่ายปัสสาวะ คุณจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปยังสถานที่ซึ่งไม่มีห้องน้ำหรืออยู่ไกลจากห้องน้ำ พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้อาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินแย่ลงไปอีก เพราะว่ากระเพาะปัสสาวะของคุณจะยิ่งไม่ทนต่อน้ำปัสสาวะในปริมาณที่น้อยลงเรื่อยๆ การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้คุณกลั้นปัสสาวะนานขึ้น โดยฝึกให้กระเพาะปัสสาวะทนได้กับน้ำปัสสาวะในปริมาณที่มากขึ้น ช่วยให้คุณไปเข้าห้องน้ำด้วยความถี่น้อยลง การฝึกฝนนี้ทำได้โดยให้คุณค่อยๆ ยืดระยะระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งให้นานออกไป เมื่อมีอาการปวดปัสสาวะรีบและอยากขับถ่ายปัสสาวะ ให้คุณพยายามที่จะกลั้นปัสสาวะให้ได้นานขึ้นอีกเล็กน้อยก่อนที่จะไปห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะ แพทย์และนักกายภาพบำบัดจะให้ข้อมูลแก่คุณเกี่ยวกับการฝึกนี้ (กรุณาอ่านบทความเรื่อง “การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ” หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม)

การรักษาด้วยยา

ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายชนิดที่ช่วยบรรเทากลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน แม้ว่าจะแพทย์จะสั่งจ่ายยาเหล่านี้แก่คุณ แต่การควบคุมการดื่มและฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะของคุณยังเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ยาช่วยให้คุณกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ลดความถี่ของการเข้าห้องน้ำลง (ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน) และลดอาการปัสสาวะเล็ดราด แต่ยาอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ทำให้ปากคอแห้งในผู้ป่วยบางคน บางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องลองยาหลายๆชนิดก่อนเพื่อหาว่ายาชนิดใดเหมาะกับคุณ ภาวะท้องผูกเป็นอีกปัญหาที่พบได้จากการใช้ยา แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทาอาหารและใช้ยาระบาย หลังรับประทานยาไปได้สองสามเดือน อาการของคุณอาจดีขึ้น จนบางครั้งสามารถหยุดยาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายรายยังจำเป็นต้องรับประทานยาต่อไปในระยะยาว เพื่อควบคุมอาการต่างๆ

การรักษาอื่นๆ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายหรือดีขึ้นจากกลุ่มอาการนี้โดยการปรับเปลี่ยนปริมาณและชนิดของสารน้ำที่ดื่ม การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ และการใช้ยา อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการคงอยู่ทั้งๆที่ได้รับการรักษาดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การฉีดโบทูลินัม ท็อกซิน (botulinum toxin) เข้าไปในผนังกระเพาะปัสสาวะผ่านทางกล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ ภายใต้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ ผลที่เกิดคือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเกิดการคลายตัว ช่วยให้อาการปวดปัสสาวะรีบลดลง และกระเพาะปัสสาวะสามารถเก็บกักน้ำปัสสาวะได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ทราบถึงผลระยะยาวของการฉีดโบทูลินัม ท็อกซิน แต่เชื่อว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิผล (อัตราการหายสูงถึงร้อยละ 80) แต่ผลของการรักษาอยู่ได้นานไม่เกิน 9 เดือน จึงอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดซ้ำ อย่างไรก็ดี ภายหลังฉีดร้อยละ 20 ของผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาถ่ายปัสสาวะลำบาก และอาจต้องได้รับการสวนปัสสาวะ แพทย์สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณในเรื่องนี้
  • การกระตุ้นเส้นประสาททิเบียล (Tibial nerve stimulation) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะทางอ้อมผ่านทางเส้นประสาททิเบียลซึ่งทอดผ่านบริเวณข้อเท้า ทำได้โดยการแทงเข็มขนาดเล็กมากๆ ผ่านผิวหนังที่บริเวณใกล้ข้อเท้าเข้าไป แล้วเชื่อมต่อปลายอีกข้างของเข็มเข้ากับอุปกรณ์ที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท การกระตุ้นนี้เป็นการฝึกเส้นประสาทให้กลับมาควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้อีก
  • การกระตุ้นเส้นประสาทใต้กระเบ็นเหน็บ (Sacral nerve stimulation) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะโดยตรง โดยผ่าตัดฝังอุปกรณ์กระตุ้นเส้นประสาทไว้ในร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น ดังนั้น จึงเลือกใช้การรักษาวิธีนี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล

แพทย์ที่ดูแลคุณจะให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด แม้ว่าการรักษานั้นๆอาจไม่สามารถทำให้คุณหายขาดจากกลุ่มอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินนี้ อย่างไรก็ดี หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณตระหนักว่ายังมีการรักษาอีกหลากหลายวิธีที่อาจช่วยคุณในการจัดการกับปัญหานี้ และปลดเปลื้องชีวิตอิสระของคุณไม่ให้ถูกจำกัดโดยกระเพาะปัสสาวะของคุณเอง

เพราะเหตุใดการตรวจปัสสาวะจึงสามารถทราบต้นเหตุของโรคต่างๆได้

หลายคนเคยตรวจปัสสาวะในการตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งนี้เพราะเลือดถูกไตกรองออกมาเป็นปัสสาวะ จึงสามารถใช้ 'ตรวจคัดกรอง' โรคไตและโรคบางโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก โดยถ้าหากมีภาวะไตเสื่อมจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งหลุดออกมาในปัสสาวะ หรือที่หมออาจแจ้งว่า 'ไข่ขาวในปัสสาวะ' เพราะโปรตีนชนิดนี้พบมากในไข่ขาว

กระเพาะปัสสาวะขยายได้กี่เท่า

กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณตรงท้องน้อย ทำหน้าที่เป็นที่พักของปัสสาวะซึ่งถูกกรองมาจากไต แล้วผ่านท่อ ( ureter ) มาพักที่กระเพาะปัสสาวะ โดยปกติจะมีปัสสาวะผ่านมาจากท่อไตประมาณนาทีละ 30 หยด กระเพาะปัสสาวะของคนเราปกติจะมีความจุเฉลี่ยโดยประมาณ ครึ่งลิตร และสามารถขยายใหญ่ได้ถึงประมาณ 1 ลิตร

กระเพาะปัสสาวะสามารถกักเก็บน้ำปัสสาวะได้กี่ลิตร

กระเพาะปัสสาวะ (อังกฤษ: Urinary bladder) ใช้เก็บปัสสาวะของมนุษย์ สามารถเก็บได้มากถึง 500 มิลลิลิตร ถ้าเกิน 250 มิลลิลิตร จะรู้สึกปวดปัสสาวะ และจะถูกขับออกโดยไต ถ้าเก็บไว้นานจะเกิดโรคเช่นโรคนิ่ว จะเกิดขึ้นเพราะการตกตะกอนทำให้อุดตันท่อปัสสาวะ จนเกิดเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต้องไปพบแพทย์

กระเพาะปัสสาวะเพศชายมีหน้าที่ทำอะไร

กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูกของผู้หญิง และจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนักของผู้ชาย มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังกระเพาะปัสสาวะจะ ...