ทำไมเวลาออกกำลังกายถึงหน้ามืด

���¤�������͡���ѧ�������ѡ�ѡ�����͡���ѧ������������Ҩ�Դ�ҡ��˹���״ �������������֡��������ҧ�����Һ��������������ҹ������¡�͹��͡���ѧ��� ���Һ����������ҷ����֧���蹹�� ��С�͹�͡���ѧ�����Ҥ�÷ҹ���á�͹������� ��÷ҹ��͹������͡���ѧ��¹ҹ����è֧����ա����§�ҡ�ôѧ�������

�ѹ�������դ���������Һ͡�����������Һ�ѹ��� :)


ทำไมเวลาออกกำลังกายถึงหน้ามืด


㹢�з������͡���ѧ��¹�� ��ҧ��¨й����ਹ�������������õ��������������Ѻ�������������͡���������觾�ѧ�ҹ �����ਹ�ж١����¹����ӵ����������������Ҽ�ҭ�繾�ѧ�ҹ����


�Ѻ ����������ѡ��������������ਹ���ͧ�����������е�ҧ���੾�С�������͠��з�����ਹ����������㹡�������͹���������ö���������������ͧ�ҡ�Ҵ�͹���ҧ��Դ�


��������ਹ㹡��������Ŵ����������ŧ�ҡ��÷ӡԨ������ҧ� �Ѻ�������§���ਹ��ҹ��������ʹ����ѧ��������� �����ͧ�����ա������˹�觷���ͧ��������ਹ�ҡ�Ѻ�����觾�ѧ�ҹ�蹡ѹ���ͧ�ҡ��ͧ�������ö����ѹ�����õչ�����觾�ѧ�ҹ�µç��


�ҡ�س����Ѻ��зҹ�������������͡���ѧ��� ���ਹ����������ж١��仨���� ��觹���Ҩ������Դ�ҡ�����¹����е���������ͧ�ҡ��ͧ�Ҵ��ӵ�š���� �������͵�Ǩ�дѺ��ӵ������ʹ��о�������дѺ���Ŵ���ŧ���һ��������¡���й����� hypoglycemia �����ҡ���Ѻ��ӵ�������ҡ����Ѻ��зҹ������ҡ�õ�ҧ���������С�Ѻ���繻����ա����


ทำไมเวลาออกกำลังกายถึงหน้ามืด


�ѧ�����͹�͡���ѧ����ء���駤س�֧����Ѻ��зҹ�������ǧ˹�����ҧ���� 2-3 ����������������ҧ����վ�ѧ�ҹ������§�� ������͡������÷�����§����蹡����������͢���ѧ �繵� ���ͧ�ҡ����ö������дٴ��������ѹ�� ��Ф��������������§�͡Ѻ����ҳ�˧��ͷ��Ҵ��Ҩ�����仡Ѻ����͡���ѧ���㹤��駹�鹴�� 


�����ҡ�Ѻ��зҹ����þǡ��������õ�ҡ�Թ���͹�͡���ѧ��� ���Ҩ�觼������ҧ����Ҽ�ҭ��ѹ����������� ���ͧ�ҡ��ҧ��¨����͡�֧��ѧ�ҹ�ҡ��������õ����Ѻ��зҹ��������͹ �͡�ҡ������Ѻ��зҹ�����������͡���ѧ��·ѹ�չ������繼Ŵ������Ҩ������Դ�ҡ�èء�蹷�ͧ������ѹ��������

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

เมื่อคนเราออกกำลังกาย โดยหวังจะให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายควรมอบแต่ประโยชน์ ไม่ใช่โทษ หากระหว่างออกกำลังกายมีอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายต่อร่างกาย ควรรีบหยุดออกกำลังกายทันที ก่อนที่ร่างกายจะไม่ไหว จนเกิดอาการผิดปกติ

8 สัญญาณอันตราย ควรหยุดออกกำลังกายทันที

  1. เหนื่อยมากผิดปกติ รับรู้ได้ว่ากำลังฝืนขีดจำกัดของร่างกายมากเกินไป

  2. ใจเต้นรัวผิดปกติ รู้สึกถึงใจที่เต้นแรง และเร็ว มากกว่าการออกกำลังกายครั้งไหนๆ

  3. หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจขัดเป็นช่วงๆ

  4. เวียนศีรษะ หรือตาเริ่มพร่าลาย

  5. คลื่นไส้

  6. หน้ามืด

  7. เหงื่อออกมากเกินกว่าปกติ และ/หรือมือเท้าเย็นเฉียบ

  8. เริ่มรู้สึกว่ากำลังจะไม่ได้สติ

หากมีอาการดังกล่าวเพียง 1 อาการ ควรหยุดออกกำลังกาย แล้วนั่งพักจนกว่าจะหายเหนื่อย หรือจนกว่าร่างกายจะเป็นปกติ

สาเหตุที่ทำให้ออกกำลังกายไม่ได้

หลายคนอยากออกกำลังกาย แต่ออกกำลังกายแล้วรัยรู้ได้ว่าร่างกายไม่ไหว อาจมีสาเหตุมาจาก

  • พักผ่อนน้อยเกินไป
  • ทั้งวันทานอาหารน้อยเกินไป
  • หักโหมต่อการออกกำลังกายมากเกินไป
  • กำลังอยู่ในสภาวะเจ็บป่วย ไม่สบาย ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง 100% หรือเพิ่งหายไม่สบายมาใหม่ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นฟูเต็มที่
  • อากาศอาจจะร้อนอบอ้าวมากเกินไป อาจทำให้เป็นลม หมดสติได้ (ในกรณีที่ผู้ออกกำลังกายอาจยังมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงมากพอเหมือนนักกีฬาอื่นๆ)
  • เพิ่งทานอาหารเสร็จใหม่ๆ เลือดในระบบไหลเวียนโลหิตจะถูกแบ่งไปใช้ในการย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นเลือดที่จะไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนของกล้ามเนื้อที่จะใช้ในการออกกำลังกายก็จะน้อยลง อาจเกิดอาการบาดเจ็บ เป็นตะคริว หรืออาจมีอาการจุกท้องได้ง่าย
  • ขาดน้ำ ทั้งก่อน และหลังออกกำลังกายควรแน่ใจว่าตัวเองได้รับน้ำดื่มสะอาดๆ มากเพียงพอ จนไม่อยู่ในภาวะขาดน้ำหลังออกกำลังกาย เพราะอาจเหนื่อยมากจนช็อคได้


สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหัวใจ ควรค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทีละน้อย 5-10-15 นาที และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากเกินไป หรือต้องมีการแข่งขัน เช่น กีฬาอย่างฟุตบอล ยกน้ำหนัก เพื่อไม่ให้ร่างกาย และหัวใจ ทำงานหนักโดยไม่ได้ตั้งใจ

ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรออกกำลังกายใกล้ช่วงเวลานอน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และหลีกเลี่ยงการออกกำลังในบริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีดอินซูลีนในระยะเวลา 1 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้อินซูลินซึมเข้ากระแสเลือดผ่านเลือดที่สูบฉีดขณะออกกำลังกายบริเวณนั้นเร็วเกินไป จนอาจเกิดอาการช็อค อ่อนเพลีย มึนงง หรือหมดสติ

ผู้ป่วยหอบหืดสามารถออกกำลังกายเบาๆ และต่อเนื่องได้ แต่ควรพกยาพ่นเอาไว้ข้างตัวด้วย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายติดต่อกันเกิน 15-30 นาที และอย่าลืมวอล์มอัพและคูลดาวน์ก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง หากเหนื่อยมากให้หยุดพักทันที

ก่อนออกกำลังกายควรมั่นใจว่าร่างกายพร้อมต่อการออกกำลังกายจริงๆ อย่าฝืนออกกำลังกายมากเกินกำลังของตัวเอง มิเช่นนั้นแทนที่จะได้ร่างกายที่แข็งแรงเป็นของขวัญ อาจต้องล้มหมอนนอนเสื่อเข้าโรงพยาบาลแทนนะคะ

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาหลังจากศิลปินหนุ่ม ตูน Body Slam ได้ทำกิจกรรมวิ่งการกุศล หาเงินบริจาคให้โรงพยาบาลบางสะพาน ซึ่งได้มีผู้ร่วมบุญเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเหตุการณ์ที่แฟนคลับที่เข้ามาขอถ่ายรูปกับนักร้องหนุ่มขณะวิ่งซึ่งทำให้นักร้องหนุ่มนั้นต้องหยุดวิ่งกะทันหัน จนหลายคนออกมาเตือนว่าการหยุดวิ่งกะทันหันนั้นเป็นอันตรายมากและอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

ทั้งนี้หลายคนอาจยังสงสัยอยู่ว่าการหยุดออกกำลังกายกะทันหันนั้นทำไมถึงเป็นอันตราย โดยมีคำอธิบายคือ

ระหว่างการออกกำลังกายเส้นเลือดจะมีการสูบฉีด หัวใจเต้นเร็วขึ้น หากหยุดออกกำลังกายกะทันหันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดมากขึ้น กล้ามเนื้อไม่หดตัวเหมือนเดิม เลือดที่สูบฉีดมายังหัวใจจะน้อยลงแต่หัวใจเต้นเท่าเดิม ทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะอาจทำให้หมดสติได้

ส่วนการหยุดออกกำลังกายที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีการ Cool down ก่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานหนักขณะออกกำลังกายได้ค่อยๆ ทำงานลดจากนั้นร่างกายจะรักษาสมดุลเอาไว้

การออกกำลังกายที่ถูกต้องประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. Warm up เริ่มด้วยเดินหรือวิ่งเหยาะ (Jogging) ประมาณ 5-10 นาที ให้ร่างกายเตรียมพร้อม กล้ามเนื้อยืดตัวหดตัว
  2. Stretching การยืดเหยียด อีกประมาณ 5-10 นาที เพื่อความพร้อมของเอ็น ข้อ และการไหลเวียนโลหิต ป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดจากการออกกำลังกาย
  3. Cool down การค่อยๆ ลด หรือผ่อน คือการออกกำลังกายให้เบาลงทีละน้อย จนกระทั่งหายเหนื่อย ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานหนักขณะออกกำลังกาย ได้ค่อยๆ ทำงานน้อยลง

การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรคำนึงถึงอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด

โดยทั่วไปหัวใจคนเราเต้นสูงสุด 220 ครั้ง/นาที แต่ขึ้นอยู่กับอายุด้วย โดยสามารถคำนวณได้จาก 220 – อายุ แล้วผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราของหัวใจที่เต้นเร็วที่สุด และการออกกำลังกายที่ดีก็ไม่ควรเกิน 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของเรา เช่น ถ้าหากอายุ 20 ปี จะได้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็น 220 – 20 = 200 ดังนั้นไม่ควรออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็วเกิน 160 ครั้ง/นาที

แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถนั่งนับจังหวะการเต้นของหัวใจตัวเองได้ ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีให้วัดว่าระหว่างออกกำลังกายอยู่นั้นยังสามารถพูดกับคนข้างๆ ได้เป็นคำๆ อยู่หรือไม่ หากเสียงเริ่มสั่น หรือเริ่มพูดไม่เป็นคำ นั่นแสดงว่าคุณออกกำลังกายหักโหมเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บได้ แต่สำหรับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าใครที่มีโรคประจำตัวก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้นก่อนออกกำลังกายควรสำรวจตัวเองก่อนว่าร่างกายพร้อมหรือไม่