เพราะเหตุใดภาษาจึงมีความสัมพันธ์กับความคิด

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด

บทบาทของภาษาในการพัฒนาความคิด

       ในขณะที่มนุษย์กำลังใช้ความคิดนั้นย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วยโดยอัตโนมัติ  ภาษาจึงเปรียบประดุจเงาที่ติดตามเนื่องไปกับความคิดตลอดเวลา  ถ้าความสามารถในการคิดของผู้ใดมีอยู่อย่างจำกัด  ความสามารถในการใช้ภาษาก็พลอยถูกจำกัดไปด้วย  ซึ่งตรงกันข้ามถ้าบุคคลใดมีความสามารถสูงในการคิด  บุคคลนั้นก็มีความสามารถในการใช้ภาษาสูงไปด้วย  อันเป็นผลต่อเนื่องเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
       ในกรณีที่บุคคลหลาย ๆ คนใช้ความคิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา  บทบาทของภาษาจะยิ่งมีความสำคัญมาก  เพราะบุคคลที่ร่วมกันคิดแต่ละคนจะต้องแสดงความคิดเป็นคำพูดออกไปดัง ๆ ให้คนอื่นได้รับรู้  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน

วิธีคิดเชิงวิเคราะห์

การวิเคราะห์คือ  การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง  แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า   แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
๑  กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์ให้ชัดเจน
๒.  กำหนดจุดมุ่งหมายจะวิเคราะห์เพื่ออะไร
๓.  พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
๔.  หาวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสม
๕.  สรุปและรายงานผล

ตัวอย่าง

     “สมัยนั้นบางลำพูได้ชื่อว่าเป็นชุมนุมโรงมหรสพมากกว่าตำบลใดในกรุงเทพ ฯ มีโรงหนัง ๔ ลิเก ๓ และละครร้องอีก ๑ สำหรับโรงหนังได้แก่ ปีนัง บางลำพูและนครราชสีมา”
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเนื้อความกล่าวถึงโรงมหรสพในย่านบางลำพู  โดยแยกให้เห็นว่าโรงมหรสพมีอะไรบ้าง ถ้าข้อสอบถามว่าเป็นการคิดแบบใด  ตอบได้เลยว่าเป็นระเบียบวิธีคิดเชิงวิเคราะห์

วิธีคิดเชิงสังเคราะห์

การสังเคราะห์ หมายถึง การรวมส่วนต่าง ๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น
๑.  ขั้นตอนของการคิดเชิงสังเคราะห์  
๒.  ตั้งจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าต้องการที่จะสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้น  เพื่อประโยชน์อะไร  หรือเพื่อให้ทำหน้าที่อะไร
๓.  หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ  ทฤษฎีหรือแนวทางที่เหมาะสม  เพื่อนำมาใช้เป็นหลัก
๔.  ทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบ
๕.  ใช้ความรู้ในข้อ ๒ ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์
๖.  ทบทวนว่าผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่เพียงไร
ตัวอย่าง
วันเสาร์นี้เป็นวันรวมญาติเรามาทำก๋วยเตี๋ยวหมูสับรับประทานกันดีกว่า  ไปซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยว  เส้นใหญ่  เนื้อหมูสับ  ผักกาดหอม  แป้งมันด้วยนะ   ช่วยกันทำคงสนุกดี
สังเกตดูเนื้อความนี้เกิดสิ่งใหม่  สร้างสรรค์สิ่งใหม่อะไรไหม  ในข้อความนี้แนะนำการทำก๋วยเตี๋ยวหมูสับ  ถ้าข้อสอบถามว่าเป็นการคิดแบบใดตอบได้เลยว่าเป็นการคิดแบบเชิงสังเคราะห์

วิธีคิดเชิงประเมินค่า

     คำว่า ประเมินค่า  หมายถึง  การใช้ดุลยพินิจพิจารณาแล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ซึ่งอาจเป็นบุคคล ผลงาน  วัตถุ  หรือการกระทำก็ได้  
วิธีคิดประเมินค่ามีแนวปฏิบัติดังนี้
๑.  ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เราจะประเมิน  (วิเคราะห์)
๒.  กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าให้ชัดเจน
๓.  ถ้าจะประเมินค่าโดยไม่ใช้เกณฑ์  อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นซึ่งมีความสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้  การประเมินค่าโดยนำสิ่งที่ไม่สมควรจะเปรียบเทียบกันมาเปรียบเทียบอาจทำให้การประเมินผิดพลาด  และก่อให้เกิดความสับสนหรือความเข้าใจผิดสืบเนื่องต่อไปได้มาก
ตัวอย่าง
“เราเห็นว่าเป็นการถูกต้องที่ยินยอมให้เด็กหัวดีที่สอบเทียบได้สอบแข่งขันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐต่อไป”
หลักในการดูว่าข้อความนั้น ๆ เป็นวิธีคิดแบบประเมินค่าหรือไม่  ให้ดูว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดีเหมาะหรือไม่เหมาะ  เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ  ถ้าพบข้อความเหล่านี้ตอบได้เลยว่าเป็นความคิดแบบประเมินค่า

วิธีคิดแก้ปัญหา

ปัญหา  คือ  สภาพการณ์ที่ทำความยุ่งยากให้แก่มนุษย์  มนุษย์ทุกคนนับแต่เกิดจนตายจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ นานัปการ

หลักในการคิดเพื่อแก้ปัญหา
๑.  ศึกษาประเภทของปัญหา  เราแยกประเภทของปัญหาเป็น  ๓  ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑.  ปัญหาเฉพาะบุคคล  ได้แก่  ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น  ซึ่งอาจมีที่มาหรือเชื่อมโยงไปสู่บุคคลอื่นได้  อาจเป็นได้ทั้งทางกายและทางจิตใจ  อาจเป็นปัญหาปัจจุบันทันด่วนหรือยืดเยื้อเรื้อรังก็ได้
๒.  ปัญหาเฉพาะกลุ่ม  ได้แก่  ปัญหาที่กลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งประสบความยุ่งยากร่วมกัน  
๓.  ปัญหาสาธารณะ  อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญหาสังคมก็ได้  เป็นปัญหาที่มีผลกระทบถึงคนทุกคนอันอาจก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิต  ร่างกายและทรัพย์สิน
๒.  หาสาเหตุและสภาพแวดล้อมของปัญหา
๓.  เป้าหมายในการแก้ปัญหา
๔.  การเลือกวิถีทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้

21 พ.ค. 2021

ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น /โดย ลงทุนแมน

หลายศตวรรษที่ผ่านมา หลายคนมักคิดว่าภาษาเป็นเพียงแค่การใช้คำศัพท์
หรือการเรียงประโยคที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น

แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว กรอบความคิดและทักษะส่วนหนึ่งของเราเอง
อาจจะถูกครอบงำจากภาษา โดยที่เราก็ไม่ทันรู้ตัว

ทำไม คนจีนถึงมีความชำนาญด้านตัวเลข
ทำไม คนอังกฤษกับสเปนอาจมีมุมมองต่อเรื่องเดียวกัน ไม่เหมือนกัน
รวมถึงว่าทำไม ประเทศไทยถึงมีการปลูกฝังเรื่องความอาวุโสตั้งแต่ยังเล็ก

ทุกอย่างนี้สามารถอธิบายได้ โดยสิ่งที่เรียกว่า “ภาษา”
แล้วภาษา มีอิทธิพลต่อเราขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บนโลกนี้มีภาษาที่ใช้สื่อสารถึงกว่า 7,000 ภาษาด้วยกัน
ซึ่งแต่ละภาษามีความแตกต่างในหลายแง่มุม
ทั้งจากการออกเสียง คำศัพท์ และโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน

นอกจากนี้ สังเกตได้ว่าคนในแต่ละประเทศ
มีทั้งวัฒนธรรมและความคิดแตกต่างกันไป
นั่นจึงเป็นที่มาให้บรรดานักภาษาศาสตร์ศึกษาว่า
ภาษานั้นส่งผลต่อความคิดและการกระทำหรือไม่

เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
จึงได้ทำการวิจัยและทดลองคนแต่ละประเทศ
แล้วพบว่าภาษาไม่ได้เพียงแค่ส่งผลต่อความคิดและทักษะเท่านั้น
แต่มันอาจจะเป็น “ตัวกำหนดความคิดของเรา” เลยด้วยซ้ำ

จึงเกิดเป็นทฤษฎี Linguistic Relativity หรือ ทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา
ถูกคิดโดยเอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ และเบนจามิน วอร์ฟ
ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 แนวคิดคือ

1. Linguistic Determinism ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา
2. Linguistic Relativity คนที่ใช้ภาษาต่างกัน จะมีมุมมองและวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน

แล้วทฤษฎีนี้ มีเหตุผลสนับสนุนอะไรบ้าง ?
เรามาดูตัวอย่างงานวิจัยและทดลองที่ผ่านมา

เบนจามิน วอร์ฟ ได้ยกตัวอย่างโดยการเทียบ
ระหว่างภาษายุโรปกับภาษาอเมริกันอินเดียนหรือ Hopi

ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพว่า ภาษาที่มีไวยากรณ์ที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อความคิดของเรา

โดยภาษายุโรป จะมองว่าเวลานั้นมีตัวตนเหมือนสิ่งของทั่วไป
สามารถนับเป็นหน่วยได้ เช่นเดียวกับสิ่งของที่นับเป็นชิ้น

แต่เวลาจะนับเป็นหน่วยวินาทีหรือชั่วโมงแทน
ซึ่งการมองว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตนนี้เอง ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมา

เช่น การให้ความสำคัญกับเวลา ซึ่งนำมาสู่สิ่งประดิษฐ์อย่าง ปฏิทินและนาฬิกา
หรือกระทั่งความสนใจในอดีต อย่างการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
หรือแม้กระทั่งหลักไวยากรณ์ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษก็จะมีรูปประโยคที่แสดงถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ในขณะที่ Hopi เองนั้นมองเวลาเป็นเพียงแค่สิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นเพียงแค่สิ่งที่วนเวียนเหมือนเดิม

จึงไม่แปลกที่จะไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์ด้วยภาษา Hopi และก็สะท้อนมายังสังคมของชาว Hopi ที่ให้ความสำคัญกับการกระทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะพูดถึงสิ่งเดียวกัน
แต่ความคิดและมุมมองจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา

นอกจากความคิดแล้ว
ภาษายังส่งผลต่อทักษะอีกด้วย

สะท้อนมาจากงานวิจัยของเลรา โบโรดิตสกี
ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์
ที่ได้ไปเจอกับชุมชนชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย

ซึ่งผู้คนในชุมชนนี้ไม่รู้จักคำว่าซ้ายหรือขวาเลย
แต่จะบอกทิศทางโดยการใช้ศัพท์ตามเข็มทิศ
ตัวอย่างรูปประโยคแปลเป็นภาษาไทย
เช่น “มีมดเกาะอยู่บนขาข้างตะวันตกเฉียงใต้”

นอกจากนี้ พวกเขามักจะทักทายด้วยคำว่าสวัสดี
แล้วต่อด้วยการถามเส้นทางของคู่สนทนา
เช่น “สวัสดี คุณกำลังไปทางไหน”

ซึ่งจากการใช้ภาษาแบบนี้ ทำให้ชาวอะบอริจินมีความเชี่ยวชาญในการระบุทิศทางได้ดี
นี่ถือเป็นตัวอย่างแรกที่ชี้ให้เห็นว่าภาษาส่งผลต่อทักษะเช่นกัน

ตัวอย่างถัดไปก็คือ การแยกเฉดสีของชาวรัสเซีย
ปกติแล้ว ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษมักจะเรียกสีฟ้าเข้มและอ่อนว่า Blue ทั้งหมด

แต่ชาวรัสเซียกลับต้องจำแนกเฉดสี
ระหว่างสีฟ้าอ่อน ที่เรียกว่า “โกลูบอย” กับสีฟ้าเข้ม ที่เรียกว่า “ซีนีย์”
นั่นจึงทำให้พวกเขามีความสามารถในการแยกแยะสีได้เร็วกว่าชาติอื่น

และตัวอย่างสุดท้ายคือ ทักษะด้านตัวเลขของชาวจีน
ชาวจีนเก่งการนับเลขมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ
นั่นก็เพราะว่าตัวเลขมีการสื่อสารที่เรียบง่าย
ในขณะที่เลข 11 ภาษาอังกฤษ คือ Eleven
หรือ 12 คือ Twelve ซึ่งจะเป็นการสร้างคำพูดใหม่ขึ้นมา

แต่สำหรับเลขจีน กลับเป็นคำพูดที่เรียบง่าย เช่น เลข 11 หรือ 十一
อ่านว่า สืออี ซึ่งเป็นการนำคำศัพท์เลข 10 กับเลข 1 มาผสมกัน เท่านั้น

ทีนี้ เรามาดูอีกผลวิจัยที่พิสูจน์ว่าแต่ละภาษาส่งผลต่อการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันด้วย

ซึ่งเป็นการทดลองโดยการฉายภาพเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา
ในรูปแบบคลิปวิดีโอเกี่ยวกับแจกันแตก
เพราะมีคนบังเอิญเดินมาชนอย่างไม่ตั้งใจ

และมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 2 ประเภท คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ที่ใช้ภาษาสเปน

ผลทดลองพบว่า สิ่งที่คนอังกฤษสรุปออกมาได้ก็คือ แจกันแตกเพราะมีคนชนมันตกลง
ในขณะที่คนสเปนจะจดจำได้เพียงแค่ว่า มีแจกันแตกเท่านั้น

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมคนสเปนถึงจำได้แค่นั้น
นั่นก็เพราะว่าภาษาสเปนจะคำนึงถึงเจตนาด้วย
หากเป็นอุบัติเหตุ ชาวสเปนจะตัดเรื่องราวส่วนผู้กระทำออกไป
โดยไม่ให้ความสำคัญกับส่วนนั้นและมองว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องจดจำ

ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า
แม้เราจะเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่เรากลับมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งมันก็จะนำไปสู่วิธีคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน

เรื่องดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงการพิพากษาคดี หรือแม้แต่การตัดสินใจร่วมกันของคนต่างชาติ ต่างภาษา อีกด้วย

นอกจากนี้ ภาษาก็ส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมอีกเช่นกัน
เช่น ประเทศไทย เป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้นหรือความอาวุโส
ซึ่งก็สะท้อนมาจากการใช้คำว่า ครับ หรือ ค่ะ ท้ายประโยคแทนความเคารพ
แตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตก

ในขณะเดียวกัน เราก็มีคำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้อื่นหรือตัวเองที่มีอยู่มากมาย
ตั้งแต่ เรา ผม หนู ฉัน ดิฉัน กระผม ข้า ข้าพเจ้า หม่อมฉัน
ซึ่งแต่ละสรรพนามก็ใช้แตกต่างกันตามสถานะของอีกฝ่าย

เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเอง ก็เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความอาวุโสเช่นกัน
จึงเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศมีคำที่ใช้สื่อสารต่อผู้คนที่แตกต่างกัน

เช่น เกาหลีใต้ คำว่า 요 หรือ -습니다
จะถูกใช้ท้ายประโยคเหมือนคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ของคนไทย
และเหล่าคำกริยาก็สามารถผันเป็นรูปอื่น
เพื่อแสดงความเคารพต่อคนที่อาวุโสกว่า

ภาษาญี่ปุ่น はい แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เป็นการตอบแบบสุภาพ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์
ในขณะที่ ええ แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เช่นกัน แต่ใช้ได้แค่คนระดับเดียวกันหรือรองลงมา

ในทางกลับกัน ชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาอย่างมาก
แต่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าคำศัพท์ของไทยไม่มีการผันตามเวลา
ซึ่งต่างจาก 2 ประเทศข้างต้น ที่มีการผันคำศัพท์ที่แตกต่างตามช่วงเวลา

จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาษาคือสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความคิดของผู้คนแต่ละพื้นที่ จึงไม่แปลกใจที่คนพูดได้หลายภาษาจะสามารถมองโลกได้กว้างกว่า

และนี่จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่า
ทำไมบางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศหนึ่ง
อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในบางประเทศ

ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ภาษาเป็นสื่อของความคิดและความคิดที่มีคุณภาพย่อมเกิดจากการคิดที่เป็นกระบวนการ นั่นคือ ผู้คิดต้องมีทักษะการคิดหรือกระบวนการคิด ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการใช้ การฟังและการอ่านเป็นทักษะการรับรู้เรื่องราว ความรู้และประสบการณ์ การฝึกทักษะการคิดให้แก่ผู้เรียนขณะฟัง อ่าน พูดและเขียน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ...

ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดอย่างไร

ภาษาช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดโดยแสดงออกผ่านทางการพูด การเขียน และการกระทำ ซึ่งเป็นผลจากการคิด ถ้าไม่มีภาษามนุษย์จะคิดไม่ได้ ถ้ามนุษย์มีภาษาน้อย มีคำศัพท์น้อยความคิดของมนุษย์ย่อมแคบไม่กว้างไกล ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย ส่งผลให้การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆดีขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย เมื่ออ่านแล้ว ...

การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดอยู่เสมอให้ประโยชน์อย่างไร

มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจได้ผู้กระทำก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเราจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ และยังเป็นการขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่มนุษย์ใช้ความคิดย่อมใช้ภาษาเป็น ...

ภาษามีความสําคัญอย่างไร

ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย.
ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา) และวรรณคดีลายลักษณ์.
ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม.
ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา.
ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ.