เหตุ ใด bluetooth จึง ได้ รับ ความ นิยม อย่าง สูง ใน การ ใช้ เชื่อม ต่อ ระหว่าง อุปกรณ์

WiFi กับ Bluetooth ต่างกันอย่างไร

            ถึงแม้ว่า Bluetooth กับ Wi-Fi มันจะเป็นการติดต่อ รับส่งข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกัน คือเพื่อสร้างระบบ Network เล็กๆ โดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวเข้าหากันแต่การใช้งานของ Bluetooth กับ Wi-Fi นั้นมันต่างกันมาก แม้ว่าเทคโนโลยีของ Wi-Fi กับ Bluetooth มันจะใช้ความถี่คลื่นเดียวกันที่ 2.4 GHz  แต่ Bluetooth กับ Wi-Fi มันก็ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้

Bluetooth

   เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวเข้าหากันด้วยความถี่คลื่นที่ 2.4 GHz ซึ่งมีระยะการทำงานที่สั้นมากคือได้ประมาณ 30 ฟุตเป็นอย่างมากในที่โล่ง จุดประสงค์ที่เขาสร้าง Bluetooth ขึ้นมาก็เพื่อมาแทนที่สายไฟที่ระเกะระกะ ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สองตัวเข้าหากัน เช่น ลำโพง กับ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์มือถือ กับ Small talk

เหตุ ใด bluetooth จึง ได้ รับ ความ นิยม อย่าง สูง ใน การ ใช้ เชื่อม ต่อ ระหว่าง อุปกรณ์

เหตุ ใด bluetooth จึง ได้ รับ ความ นิยม อย่าง สูง ใน การ ใช้ เชื่อม ต่อ ระหว่าง อุปกรณ์

ข้อจำกัดของ Bluetooth

   นอกจากเรื่องของระยะทางที่สั้น แล้วเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็ยังต่ำกว่า Wi-Fi อีกด้วย หากเอามาใช้งานการส่งข้อมูลไม่มาก เช่น เอามาใช้ Hotsync กับเครื่อง Smartphone หรือ Beam file จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่อง เท่านี้คงจะไม่รู้สึกเท่าไร แต่หากจะเอา PC สองตัวมาทำระบบ Network โดยใช้ Bluetooth ก็จะเห็นถึงความอืดอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องยากและใช้เวลานานพอสมควร สำหรับการถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยใช้ Bluetooth สรุปง่ายๆก็คือว่า Bluetooth เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Device เล็กเข้ากัน ด้วยระยะทางเพียงสั้นๆ  เพื่อสร้าง Network ในแบบที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ  ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า PAN ( Personal area network )


เหตุ ใด bluetooth จึง ได้ รับ ความ นิยม อย่าง สูง ใน การ ใช้ เชื่อม ต่อ ระหว่าง อุปกรณ์

Wi-Fi

   เป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 802.11 ซึ่งมี ข้อดีก็คือ มันสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าหากัน หรืออาจจะใช้ Smartphone มาเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ก็ยังได้ เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Smartphone ก็สามารถรองรับ Wi-Fi ได้อยู่แล้ว ข้อดีอีกหลายข้อของ เทคโนโลยี 802.11 ก็คือ การทำงานสามารถสื่อสารได้ไกลกว่าการใช้ Bluetooth ,เป็นที่นิยมมากกว่า และมันคือระบบที่มีการทำงานคล้ายกับระบบ Network แบบมีสายมากที่สุด โดยเฉพาะ เทคโนโลยี 802.11n ซึ่งมีความเร็ว 450 Mb/s อันนี้จะนิยมมากที่สุด แต่ในอนาคตก็คงจะมีการพัฒนาให้มันส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้นไปอีก


เหตุ ใด bluetooth จึง ได้ รับ ความ นิยม อย่าง สูง ใน การ ใช้ เชื่อม ต่อ ระหว่าง อุปกรณ์

Bluetooth still alive and still be alive

     แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจมองว่าหมดยุคของ Bluetooth แล้ว เพราะ WiFi เข้ามาแทนที่ แต่ในความป็นจริง WiFi กับ Bluetooth ก็ไม่สามารถแทนกันได้ ตราบใดที่ WiFi ยังใช้พลังงานในการเชื่อมต่อ รับส่งข้อมูลมากกว่า Bluetooth มาก เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังมีอุปกรณ์หลายๆอย่างที่ยังคงใช้ Bluetooth อยู่ เช่น ลำโพงบูลทูธ หูฟังบูลทูธ สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ป็นต้น เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และไม่ต้องการใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากหรือระยะการเชื่อมต่อที่ไม่ไกลมาก

“เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ Bluetooth และ Wifi ยังคงถูกใช้งานควบคู่กันแต่อาจจะต่างกันในเรื่องของการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์ เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งสองยังจะคงมีต่อไปในอนาคต…”


บริษัท เคเอสเอส อินเตอร์เทค กรุ๊ป จำกัด

ศูนย์การค้า ไอที-เซียร์รังสิต ห้อง FB-046 เลขที่ 99 หมู่ 8 ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

โทรศัพท์ : 02-992-6912, 02-992-7275, 085-481-8425

E-Mail : 

Website : kssintertech.co.th

Line : kssintertech

ทำความรู้จัก “บลูทูธ” (Bluetooth) เทคโนโลยีที่มีมานานกว่า 20 ปี และผู้คนยังนิยมใช้ในยุคปัจจุบัน แต่ดูเหมือนจะไม่พัฒนาให้มีความสามารถไปมากกว่านี้ ทั้งด้านระยะทางและวิธีการเชื่อมต่อ

บลูทูธ” (Bluetooth) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือ มาอย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ตั้งแต่สมัยที่เป็นจอขาวดำ สู่รุ่นฝาพับ จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เป็นยุคสมาร์ทโฟนก็ยังคงมีเทคโนโลยีนี้อยู่

ABI Research บริษัทสำรวจตลาดเทคโนโลยีของสหรัฐ คาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อบลูทูธได้ ถูกใช้งานถึง 5 พันล้านเครื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 พันล้านเครื่องภายในปี 2569 ในปัจจุบัน บลูทูธแฝงอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด ตั้งแต่สมาร์ทโฟน หูฟัง ตู้เย็น ไปจนถึงหลอดไฟ ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย

ดูเผิน ๆ เหมือนเทคโนโลยีนี้จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่บลูทูธยังคงสร้างความปวดหัวให้แก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นความยากลำบากในการตั้งค่าการใช้งานอุปกรณ์ใหม่ และการเชื่อมต่อสลับอุปกรณ์ไปมา เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์พร้อมกันได้ รวมถึงระยะทางในการเชื่อมต่อที่แสนจะสั้น

“ผมมีความสัมพันธ์แบบทั้งรักทั้งเกลียดกับบลูทูธ เพราะเวลาใช้งานได้มันเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมาก แต่บทจะเชื่อมต่อไม่ได้ ผมนี่แทบจะหยุมหัวตัวเองคริส แฮร์ริสัน ศาสตราจารย์ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน กล่าวกับ CNN โดยยังระบุอีกว่า 

“บลูทูธมันควรจะใช้งานได้ง่ายกว่านี้ และราบรื่นไม่มีสะดุด แต่น่าเสียดายที่มันไม่เคยเป็นแบบนั้นเลย

ชื่อบลูทูธมาจากไหน

ในปี 2539 Intel, Ericsson และ Nokia ผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (ในขณะนั้น) ของสแกนดิเนเวีย ร่วมกันวางแผนสร้างมาตรฐานการรับส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ส่วนที่มาของชื่อ “บลูทูธ” นั้น เป็นการตั้งชื่อตามพระนามของ พระเจ้าฮารัลด์ “บลูทูธ” กอล์มสัน กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก และ นอร์เวย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีบลูทูธนี้

ก่อนหน้านี้มีมีม (meme) ที่ระบุว่า พระเจ้าฮารัลด์ ได้ชื่อเล่นว่า บลูทูธ เนื่องจากพระองค์ชอบเสวยบลูเบอร์รีมาก จนทำให้พระทนต์ของพระองค์เป็นสีฟ้า ซึ่งมีคนเชื่อเป็นจำนวนมาก แต่ความจริงแล้ว ฉายา บลูทูธ หรือฟันสีฟ้า นั้นมาจากที่พระทนต์ของพระองค์อยู่ในสภาวะฟันตาย (dead tooth) จนทำให้ฟันมีสีเทาแกมน้ำเงิน ไม่ได้มาจากการเสวยบลูเบอร์รีแต่อย่างใด

นอกจากนี้สัญลักษณ์ของบลูทูธที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็มาจากการรวมตัวอักษรยังเกอร์ ฟูทาร์ก” หรือ อักษรรูนโบราณของสแกนดิเนเวีย ตัว Hagall (ᚼ) และ Bjarkan (ᛒ) เข้าด้วยกัน ซึ่งก็มาจากคำว่าบลูทูธนั่นเอง

ปัญหาของบลูทูธ

บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระยะใกล้ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยกัน ใช้ความถี่คลื่นวิทยุย่าน 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz.) ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้คลื่นความถี่ที่ไม่เหมือนกัน จุดเด่นของบลูทูธคือ ใช้พลังงานต่ำ ไม่กินแบตเตอรี แถมยังมีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดอยู่แล้ว แต่มีระยะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองเพียง 5-100 เมตรเท่านั้น 

อีกทั้งเป็นการเชื่อมต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าจับคู่กับอุปกรณ์ใดแล้วก็จะไม่สามารถไปใช้กับอุปกรณ์อื่นได้อีก ต้องเสียเวลาในการยกเลิกการจับคู่กับอุปกรณ์เดิมก่อน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็มีวิธีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันออกไป

สัญญาณบลูทูธจะเดินทางผ่านคลื่นวิทยุที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ดังนั้นทุกคนจึงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ถ้าเชื่อมต่อได้) ซึ่งแตกต่างจากไวไฟ หรือ คลื่นวิทยุอื่น ๆ ที่บริษัทเอกชนได้รับใบอนุญาตเพื่อพัฒนาคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น AIS หรือ True แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการรายเดือนนั่นเอง

ด้วยความที่ใช้คลื่นวิทยุที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทำให้บลูทูธต้องแชร์คลื่นความถี่กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้คลื่นวิทยุประเภทเดียวกัน เช่น ของเล่นสำหรับเด็ก รีโมททีวี อาจทำให้เกิดการรบกวนและขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานของบลูทูธ 

บลูทูธไม่ปลอดภัย?

แม้ว่าบลูทูธจะมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอด จนปัจจุบันอยู่ในเวอร์ชัน 5.3 ซึ่งอัปเดตไปเมื่อ 13 ก.ค. 2564 แต่ดูเหมือนจะยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อส่งข้อมูลแบบไร้สาย เนื่องจากผู้ผลิตไม่เคยใส่ใจกับการออกแบบโหมดสามารถค้นพบได้ (discovery mode) ที่จะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถค้นพบอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อบลูทูธได้ นอกจากผู้ใช้งานอย่างจริงจัง

แฮร์ริสันกล่าวว่า “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีบลูทูธออกแบบมาไม่เหมือนกัน บางอุปกรณ์เริ่มทำงานอัตโนมัติ เข้าสู่โหมดจับคู่ทันที (pairing mode) แต่บางอุปกรณ์ต้องกดเพื่อเริ่มการทำงานเอง”

ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งของสหรัฐแนะนำผู้ใช้งานว่า การใช้บลูทูธอาจทำให้อุปกรณ์มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น โดยคณะกรรมการการสื่อสารของรัฐบาลกลาง หรือ FCC ออกโรงเตือนประชาชนว่า 

“บลูทูธอาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นเดียวกับการเชื่อมต่อไวไฟ หากคุณใช้อย่างไม่ระมัดระวัง

จากรายงานของ POLITICO สำนักข่าวการเมืองของสหรัฐ ระบุว่า กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีของสหรัฐ เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกมานานแล้วว่าหูฟังบลูทูธมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เห็นจากคลิปวิดีโอไวรัลที่แฮร์ริสกล่าวแสดงความยินดีกับประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่ชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด โดยเธอกล่าวว่า “เราทำได้แล้ว โจ” ("We did it, Joe!") จะเห็นว่าเธอถือหูฟังแบบมีสายอยู่ในมือ แทนที่จะเลือกใช้หูฟังแบบบลูทูธ

ใคร ๆ ยังคงใช้บลูทูธ

เนื่องจาก บลูทูธแทบไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรเลย ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ และผู้บริโภคยังคงนิยมใช้บลูทูธต่อไป เห็นได้จาก Apple Inc. เลิกใช้หูฟังแบบสาย แล้วเปิดตัว AirPods หูฟังไร้สายแทน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันออกมาเรื่อย ๆ หรือแม้กระทั่ง Apple Pencil ก็ยังใช้การเชื่อมต่อด้วยบลูทูธเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นักฟังเพลงหลายคนยังคงเลือกใช้หูฟัง หรือ เฮดโฟนแบบสาย เนื่องด้วยคุณภาพเสียงของหูฟังบลูทูธทำได้ไม่ดีเท่า ฟังแล้วไม่ได้สุนทรียภาพเท่าที่ควร

แม้ว่าบลูทูธจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่แฮร์ริสันยังคงเห็นว่าบลูทูธใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 70% ตลอดการใช้งาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ IoT หรือ อุปกรณ์ Smart Devices ยังคงต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อผ่านบลูทูธ

“บลูทูธอาจจะไม่ใช่เทคโนโลยีที่ดีที่สุด แต่บลูทูธจะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวที่เชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน” แฮร์ริสันกล่าวสรุป