เพราะ เหตุ ใด เรา ควร ศึกษา ประวัติ นาฏศิลป์

หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ นิสัยใจคอของคนในท้องถิ่นนั้นๆหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามโดยอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย



เพราะ เหตุ ใด เรา ควร ศึกษา ประวัติ นาฏศิลป์

ที่มาของรูป : http://thaigoodview.com  


ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

                    -นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ แสดงถึงอารยประเทศ ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่  ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย จารีต ประเพณี และ วัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ จึงควรแก่การอนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป

             -นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆ เช่น การประพันธ์วรรณคดีต่างๆ สถาปัตยกรรม(ในการสร้างฉาก สถานที่ประกอบฉาก) ประติมากรรม(ศิลปะการทำอุปกรณ์การแสดง รูปปั้น รูปหล่อต่างๆ) จิตรกรรม(ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย การสร้างฉาก) ดุริยางคศิลป์ (ศิลปะในการขับร้อง บรรเลงดนตรี) หรือ อื่นๆ

             -นาฏศิลป์ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้แสดง ให้ผู้แสดงมีความกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ทำให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างาม ทำให้ความจำและปฏิภาณดี และหากได้ความรู้นาฎศิลป์จนเกิดความชำนาญ ก็จะสามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง หรือ ยึดเป็นอาชีพต่อไปได้

             -นาฏศิลป์ทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ นาฏศิลป์ทำให้ผู้แสดงมีความสามัคคีกัน เพราะผู้แสดงต้องร่วมกันแสดงท่ารำทางนาฏศิลป์ เพื่อให้การแสดงนาฏศิลป์นั้นออกมาเรียบร้อยและงดงาม

ความมุ่งหมายในการเรียนนาฏศิลป์

 การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมายดังนี้

1.      เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน

2.      เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น

3.      เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4.      เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก

ประโยชน์ในการเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.      ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส

2.      มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3.      สามารถยึดเป็นอาชีพได้

4.      ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ

5.      ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี

6.      ช่วยให้เป็นคนที่มีบุคลิกท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม

7.      ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

8.      ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง

 คุณสมบัติของผู้เริ่มเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ผู้ที่เริ่มเรียนควรมีคุณสมบัติดังนี้

1.      ต้องมีความสนใจและตั้งใจจริง

2.      ต้องทำใจให้รักและนิยมในศิลปะแขนงนี้

3.      ต้องมีสมาธิแน่วแน่ในขณะปฏิบัติ

4.      ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต

5.      ต้องพยายามเลียนแบบครูให้มากที่สุด

6.      ต้องเป็นผู้ที่ไม่ท้อถอยต่อความยากของบทเรียน  หรือความเมื่อยล้า

      ที่เกิดขึ้น

7.      ต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทบทวนฝึกซ้อมท่ารำอยู่สม่ำเสมอ

เพราะ เหตุ ใด เรา ควร ศึกษา ประวัติ นาฏศิลป์


“นาฏศิลป์” หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายดัวยท่าทางที่ประดิษฐ์คิดค้นออกมาเป็นแบบแผนงดงาม โดยอาศัยการขับร้องและการบรรเลงดนตรีร่วมด้วย เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ชมมีอารมณ์คล้อยตาม ซึ่งนาฏศิลป์ของไทยเรา ได้แก่ 1.ฟ้อนรำ ระบำ 2.ละคร 3.โขน 4.การแสดงพื้นเมือง

การเรียนนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร

1.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านร่างกาย ธรรมชาติของเด็กนั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกายในการเดิน วิ่ง กระโดด ยักย้ายร่างกายไปมา ดังนั้น การที่เด็กได้ร่ายรำ ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะและเสียงดนตรี ซึ่งเป็นเหมือนการออกกำลังกายไปในตัว ส่งผลให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสมส่วน คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง

2.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ ขณะที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการฟ้อนรำหรือเต้นระบำประกอบเพลงนั้น เด็กจะมีความสนุกสนาน ได้ปลดปล่อยความเครียด ส่งผลให้เด็กๆมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง

3.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสังคม กิจกรรมนาฏศิลป์เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เด็กๆ ได้ร่ายรำ เล่นละคร แสดงการละเล่นพื้นเมืองร่วมกับเพื่อน เป็นการที่เด็กๆ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการเป็นผู้นำผู้ตาม และการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบท่าทางที่พรัอมเพรียงไปกับเพื่อนๆ นั้น ก็เป็นการหล่อหลอมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในตัวของเด็กอีกด้วย

4.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เช่น ในการฝึกให้เด็กๆ ฟ้อนรำนั้น เด็กๆ ต้องจดจำและแยกแยะท่าทางการรำแบบไทยให้ถูกตัอง เช่น ท่าจีบหงาย จีบคว่ำ ตั้งวง ตีไหล่ อีกทั้งต้องจดจำท่าทางต่างๆ ให้เข้ากับเนื้อร้องและจังหวะของเพลงอย่างถูกต้องแม่นยำและพรัอมเพรียงกับผู้อื่น จึงเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาในเรื่องของความจำและการคิดวิเคราะห์โดยตรง

ในปัจจุบันสำนักงานพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ โดยลดหมวดหมู่วิชาเรียนจาก 8 หมวด คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ เหลือเพียง 6 หมวด โดยยกเลิกหมวดศิลปะ/ดนตรี/นาฏศิลป์ โดยเอาวิชาเหล่านี้ไปรวมอยู่ในหมวดสังคมและความเป็นมนุษย์

ซึ่งตามความคิดเห็นของผู้เขียนเห็นว่า การจัดหมวดหมู่ของสาระวิชาเรียนใหม่อาจไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญเท่ากับการที่ “ยังคง” จัดให้เด็กๆ ได้เรียนวิชานาฏศิลป์อยู่ในโรงเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา เพราะนอกจากการเรียนนาฏศิลป์จะมีประโยชน์ต่อเด็กๆในการช่วยพัฒนาในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาดังที่กล่าวในข้างต้นแล้ว วิชานาฏศิลป์ยังช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นไทยที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้นผ่านการเรียนนาฏศิลป์ อันได้แก่ การร่ายรำทำจังหวะแบบไทยเดิม การขับร้องแบบไทย การบรรเลงดนตรีไทย การแต่งกายแบบไทย ซึ่งคือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจที่ควรอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่คู่กับประเทศชาติของเราสืบไป

เพลง “รำไทย” (2548) คำร้อง/ทำนอง ดร.แพง ชินพงศ์

เกิดมาบนแผ่นดินนี้ พวกเราน้องพี่ล้วนเป็นคนไทย
มีท่ารำไม่เหมือนชาติใด เป็นแบบไทยๆ ของเรานานมา
มาซิมาฟ้อนรำ มาซิมาฟ้อนเรา
พวกเราคนไทยชอบรำไทยเอย
รำไทยไม่ใช่เรื่องยาก
จีบหงาย จีบคว่ำ เอาละวา
ตั้งวง ตีไหล่ ยักซ้าย ย้ายขวา
ยกเท้าออกไปข้างหน้า
เชิญเพื่อนหญิงชายรำไทยด้วยกัน

ข้อมูลอ้างอิง: เพลง “รำไทย” ดร.แพง ชินพงศ์, ร้องเล่นเต้นสนุก, บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์, 2548
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพราะ เหตุ ใด เรา ควร ศึกษา ประวัติ นาฏศิลป์

“ตรี-นันทรัตน์” ฉุนจัด! สพฐ.ถอดนาฎศิลป์ !

ทำเอาดาราสาว “ตรี-นันทรัตน์ ชาวราษฎร์” หรือ ผีนางรำ ในละคร “วิวาห์ป่าช้าแตก” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส ฉุนหนักเมื่อได้ยินข่าวมาว่า สพฐ.มีนโยบายจะถอดวิชานาฎศิลป์ไทยออกจากระบบการศึกษา งานนี้สาวตรีขอเป็นแกนนำอีกหนึ่งคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าที่ตนได้ดีและเข้ามาทำงานในวงการบันเทิง ก็เพราะรำไทย ถ้าไม่รักษาไว้ต่อไปวัฒนธรรมของไทยคงสูญพันธุ์