คําที่มาจากภาษาอังกฤษ หมวดของใช้

อ่าน

คำศัพท์หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาษาอังกฤษ

เครื่องใช้ไฟฟ้า(Electrical Machines)

คำศัพท์เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นภาษาอังกฤษ (พร้อมคำอ่าน)

television (เทล ละวิชชัน) โทรทัศน์
loudspeaker (เลาด สปิคเคอะ) เครื่องขยายเสียง
fan (แฟน) พัดลม
desk lamp (เดสค แลมพ) โคมไฟตั้งโต๊ะ
rice cooker (ไรช คุคเคอะ) หม้อหุงข้าว
speaker (สปิคเคอะ) ลําโพง
radio (เรดิโอ) วิทยุ
refrigerator (รีฟริจ'จะเรเทอะ) ตู้เย็น
air conditioner (แอร์ คอนดิช ชันเนอะ) เครื่องปรับอากาศ
iron (ไอ เอิร์น) เตารีด
hair dryer (แฮร์ ดรายเออะ) เครื่องเป่าผม
plug (พลัก) ปล็กไฟ
bulb (บัลบ) หลอดไฟฟ้า
turntable (เทรนเทเบิล) จานหมุนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง
circuiti (เซอคิวอิท) แผงไฟ, วงจรไฟฟ้า
toaster (โทส เทอะ) เครื่องปิ้งขนมปัง
microwave (ไมโครเวฟว) เตาไมโครเวฟ
blender (เบลนเดอะ) เครื่องปั่น
coffee maker (คอฟฟี เมคเคอะ) เครื่องทํากาแฟ
washing machine (วอช ชิง มะชิน) เครื่องซักผ้า
dishwasher (ดิช วอชเชอะ) เครื่องล้างชาม
thermos (เธอ มอส) กระติกน้ำร้อน
telephone (เทล ลิโฟน) โทรศัพท์
food processor (ฟูด โพรเซส เซอะ) เครื่องบดอาหาร
video (วิด ดีโอ) วีดีโอ
vacuum (แวคคิวอัม) เครื่องดูดฝุ่น
water pump (วอเทอะ พัมพ) เครื่องปั้มน้ำ
coffee grinder (คอฟ พิไกรน เดอะ) เครื่องบดกาแฟ
electric frying pan (อิเลคทริค ฟรายอิง แพน) กระทะไฟฟ้า
ice maker (ไอซู เมคเคอะ) เครื่องทําน้ำแข็ง
earphone (เอียร์โฟน) หูฟังวิทยุ
electric razor (อิเลคทริค เรเซอร์) มีดโกนหนวดไฟฟ้า
clock radio (คล็อค เรดิโอ) วิทยที่มีนาฬิกา
remote control (รีโมท คันโทรล) เครื่องควบคุมระยะไกล
battery (แบทเทอะรี) แบตเตอรี่
electric line (อิเลคทริค ไลน) สายไฟฟ้า
braker (เบรคเคอะ) เครื่องตัดไฟ
projector (โพรเจค เทอะ) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์
lawn mower (ลอน โม เวอะ) เครื่องตัดหญ้า
telegraph (เทลละกราฟ) เครื่องส่งโทรเลข
microphone (ไมโครโฟน) ไมโครโฟน
record (เรคเคิร์ด) แผ่นเสียง
scanner (สแกนเนอะ) เครื่องสแกนเนอร์
photocopier (โฟโทคอพพิเออะ) เครื่องถ่ายเอกสาร
water heater (วอ'เทอะ ฮีทเทอะ) เครื่องทําน้ำอุ่น

บริการงานแปลภาษาอังกฤษ

ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำภาษาอังกฤษ

              

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต   แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย  มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง  ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะบางประการเหมือนภาษาคำโดด และภาษาคำติดต่อปนอยู่   เมื่อภาษาอังกฤษมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด   มีประเทศต่าง ๆ   ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย   ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก
               สาเหตุที่ทำให้ภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนกับภาษาไทยคือ การเจริญสัมพันธไมตรี การค้าขาย การเผยแพร่วิทยาการความรู้ การศึกษา การเผยแผ่ศาสนา แสวงหาอาณานิคมทางประเทศตะวันออก

               ลักษณะคำภาษาอังกฤษ
               ๑. ใช้ตามคำเดิม แต่ออกเสียงตรงกับรูปที่เขียน เช่น ลอนดอน ลิตร ไอศกรีม วัคซีน เบนซิน
               ๒. ใช้ตามคำเดิม แต่ออกเสียงผิดกับรูปที่เขียน เช่น เมตร อ่านว่า เม็ด ออฟฟิศ อ่านว่า อ๊อฟฟิศ
               ๓. เปลี่ยนคำและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เช่น อิงลิช เป็น อังกฤษ
               ๔. ตัดรูปสระข้างหลังคำออก แล้วใช้คำไทยประกอบข้างหน้า เช่น อเมริกัน เป็น ชาวอเมริกา
               ๕. เติมไม้ทัณฑฆาตที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำ เช่น อิงแลนด เป็น อิงแลนด์
               ๖. เติมไม้ทัณฑฆาตลงที่พยัญชนะซึ่งอยู่ในระหว่างคำ เช่น ชอลก เป็น ชอล์ก
               ๗. ตัดตัวตามที่เป็นพยัญชนะซ้ำกับตัวสะกดออกตามหลักการเขียนอักษรซ้ำ
                   เช่น ฟุตบอลล เป็น ฟุตบอล
               ๘. เติมไม้วรรณยุกต์และไม้ไต่คู้ลงไปอย่างคำไทยเพื่อให้ออกเสียงชัดขึ้น เช่น ก๊าซ เชิ้ต ช็อกโกแลต
               ๙. ใช้คำคงที่เช่นเดียวกับคำไทย คือไม่เปลี่ยนแปลงรูปอย่างในภาษาเดิม จะเป็นเอกพจน์ พหูพจน์
                   เป็นชื่อคนหรือชื่อประเทศ ก็มีรูปคงที่อยู่อย่างนั้น

คำภาษาอังกฤษที่ใช้ในภาษาไทยมี ๓ วิธี
.  การแปลศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์  หมายถึง  การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก   หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม   ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน  การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป   ดังตัวอย่างเช่น


คำภาษาอังกฤษ

คำภาษาไทย

tea spoon

ช้อนชา

table spoon

ช้อนโต๊ะ

electricity

ไฟฟ้า

electric fan

พัดลม

airplane

เครื่องบิน

typewriter

เครื่องพิมพ์ดีด

war ship

เรือรบ

blackboard

กระดานดำ

black market

ตลาดมืด

short story

เรื่องสั้น

middle-man

คนกลาง

dry cleaning

ซักแห้ง

horse power

แรงม้า

honeymoon

น้ำผึ้งพระจันทร์

loan word

คำยืม

handbook

หนังสือคู่มือ

blacklist

บัญชีดำ

.  การบัญญัติศัพท์
                     การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ  โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ  หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้นใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง  คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่   เพื่อใช้สื่อสาร  โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย   ดังตัวอย่างเช่น


คำภาษาอังกฤษ

ศัพท์บัญญัติ

telegraph

โทรเลข

telephone

โทรศัพท์

telescope

โทรทรรศน์

television

โทรทัศน์

teletype

โทรพิมพ์

telecommunication

โทรคมนาคม

ecology

นิเวศวิทยา

pedology

ปฐพีวิทยา

reform

ปฏิรูป

globalization

โลกาภิวัตน์

federal state

สหพันธรัฐ

๓.การทับศัพท์
การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียง  และถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย   และปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ   คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย  คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า  คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ  คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป    มีตัวอย่างดังเช่น

คำภาษาอังกฤษ

คำทับศัพท์

graph

กราฟ

captain

กัปตัน

clinic

คลินิก

quota

โควตา

dinosaur

ไดโนเสาร์

transistor

ทรานซิสเตอร์

technology

เทคโนโลยี

bungalow

บังกะโล

plaster

ปลาสเตอร์

protein

โปรตีน

physics

ฟิสิกส์

cock

ก๊อก

copy

ก๊อบปี้

golf

กอล์ฟ

carat

กะรัต

captain

กัปตัน

gas

ก๊าซ, แก๊ส

card

การ์ด

cartoon

การ์ตูน

guitar

กีตาร์

cook

กุ๊ก

game

เกม