ทํา งาน 6 เดือน ลาออก ประกันสังคม

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณี "ผู้ประกันตน" มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

ส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้สิทธิ ต้องส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายความว่า

  • กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีคลอดบุตร ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีเสียชีวิต ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ยกเว้นกรณีว่างงานเพียงกรณีเดียว

ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนสัญชาติไทย

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคารโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
    - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารออมสิน
    - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ผู้ประกันตนต่างชาติ/คนต่างด้าว

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
  • ใบอนุญาตทำงาน (Work permit)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • ใบเสร็จรับเงินตัวจริง ถ้าขาดรายได้ไม่ใช้ใบเสร็จ
  • ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
    - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารออมสิน
    - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้วยสถานการณ์ของการประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานและลูกจ้าง โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า และสถานที่ที่ถูกสั่งปิดหรือจำกัดเวลาเปิดทำการ และทำให้ประชาชนจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ “ว่างงาน” แต่รู้หรือเปล่าว่า คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือผู้ประกันตนเอง ก็มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยเช่นกัน

ทํา งาน 6 เดือน ลาออก ประกันสังคม

"เงื่อนไข" ของผู้ที่จะได้สิทธิประกันสังคมหรือเงินชดเชย ประกันสังคมในกรณีลาออก หรือว่างงานเพราะได้รับผลกระทบจาก " "โควิด-19"

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

และยังมีมาตรการขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

  • งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมและผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

ก่อนการขึ้นทะเบียนเพื่อเบิกสิทธิประกันสังคมนั้น ต้องตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบก่อน ซึ่งเงื่อนไขคือจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เช่น หากว่างงานในเดือนเมษายน 2563 ต้องนับระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานคือ เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไปในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงานนั่นเอง

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยความที่ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดโควิด-19 คุณสามารถขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ง่าย ๆ เพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เลย

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้สิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

ทํางานกี่เดือน ลาออกได้ประกันสังคม

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

ลาออกจากงานได้อะไรจากประกันสังคม

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ...

ทำงาน 6 เดือนแจ้งว่างงานได้ไหม

ตอบ : สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน แต่หากมีการยื่นเรื่องล่าช้าเกินกว่า 30 วัน ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิในย้อนหลังในวันที่ผ่านไปแล้ว

พนักงานไม่ทำประกันสังคมได้ไหม

นายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ