ผลงานของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

                        ท่านใช้ความพยายามหมั่นเพียรพล่ำสอนศิษย์ให้ฉลาดด้วยการฝึกอบรมจิตใจตามหลักสมถวิปัสสนา ให้ศิษย์เป้นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม มั่นคงในพระธรรมวินัย โดยท่านได้ทำตนให้เป็นทิฎฐานุคติแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งปวง

21.ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทน ในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้ และในดวงใจนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพ ทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้น

22.ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ

23.ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริงทั้ง ๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

24.อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใด ๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณ ให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ

25.การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจ ของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่ปิดซ่อนให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง

26.ความทุกข์ ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

27.ศาสนาทางมิจฉาทิฏฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย ฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแล

28.ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

29.จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้วปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยยานิกธรรมทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ได้รับการอบรมจิตที่ไม่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้

30.กิเลสแท้ ธรรมแท้อยู่ที่ใจ ส่วนเครื่องส่งเสริมและกดถ่วงกิเลสและธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไปทั้งภายในภายนอก ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้หลบหลีกปลีกตัวจากสิ่งยั่วยวนกวนใจ อันจะทำให้กิเลสที่มีอยู่ภายในกำเริบลำพอง มีรูป เสียง เป็นต้น และสอนให้เที่ยวอยู่ในที่วิเวกสงัด เพื่อกำจัดกิเลสชนิดต่าง ๆ ด้วยความเพียรได้ง่ายขึ้น อันเป็นการย่นวัฏฏะภายในใจให้สั้นลง

�Դ�ѹ����ʺ�� ��͹��� ������ �ѹ��� 20 ���Ҥ� �.�. 2413 ����ҹ�Ӻ� �����⢧���� �ѧ��Ѵ�غ��Ҫ�ҹ� �ʡ���蹷��� �繵С�Źѡú ����蹷����繻�� ����¼�ҹ�֡�����§��ҧ ��¤Ӵ�ǧ�繺Դ� �ҧ�ѹ�������ô� �Ѻ��;�оط���ʹҵ�ʹ��

�ؤ�ԡ�ѡɳ� ��ҧ��� ��Ǣ��ᴧ ���ͧ���� ��ͧ�� ʵԻѭ������ǩ�Ҵ �դ�����оĵ� �Ѹ��������º���� �ͺ�֡�Ҹ���� �ѡ��ȹѡ�Ǫ��Шӹ����

�ػ�������� 22 �� ����Ѵ���º �ѧ��Ѵ�غ��Ҫ�ҹ� ������¡���繾���ػѪ���� ��Ф���շ��繾�С����ҨҨ���� ��Ф�ٻ�Шѡ���غŤس��͹���ʹҨ����

                พระธรรมเทศนาของท่านมักให้ข้อคิดแก่ผู้ฟัง เช่น “ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษ แห่งคัมภีร์ใบ ลานเปล่า ๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขา มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัวอย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย” นี่คือคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตที่เคยพูดเสมอ ๆ นอกจากนั้นท่านยังเป็นตัวอย่างของพระนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งถือว่าเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจิตและเจริญปัญญาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในปัจจุบัน จึงถือว่าท่านเป็นชาวพุทธตัวอย่างที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาด้วยดี มาตลอด

หลังจากที่เราได้เล่าอุบายธรรมของ "หลวงปู่มั่น" เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว อาทิตย์นี้นี้จะขอกล่าวถึงประวัติของหลวงปู่มั่น พระผู้ได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็น พระผู้เลิศทางธุดงควัตร

หลวงปู่มั่นหรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต ถือเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของธรรมยุตินิกาย หรือ สายกรรมฐานพระป่า ท่านปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนของพระวินัยสงฆ์ และยึดถือ ธุดงควัตร ด้วยจริยวัตร อย่างเคร่งครัด

 

ท่านยังได้วางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า "คำสอนพระป่า สายพระอาจารย์มั่น"


 

หลวงปู่ได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน แต่จิตท่านกลับคิดถึงแต่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ บ้านคำบง พระอาจารย์มั่นในขณะเป็นฆราวาสจึงเข้าถวายการรับใช้และมีจิตศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ ต่อมาได้ถวายตัวเป็นศิษย์ติดตามเดินทางเข้าเมืองอุบลราชธานี

หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อ อายุ 23 ปี ณ วัดเลียบ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกระวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย ญาณสโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนาดนามเป็นภาษามคธว่า ภูริทตฺโต แปลว่า ผู้ให้ปัญญา


 

หลังจากนั้นได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2436 และได้ออกจาริกเดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ธุดงค์วิเวกไปพำนักจำพรรษา ณ พระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งพระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนไม่รู้ถึงความสำคัญจึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของท่านมาพำนักจำพรรษาจึงได้บอกให้ชาวบ้านญาติโยมทราบว่า พระธาตุพนม องค์นี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อชาวบ้านได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยกันทำความสะอาด ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน 3 ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

ปี พ.ศ. 2455 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังองค์เดียว ได้ไปพำนักปักหลักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ณ ถ้ำสาริกา แห่งนี้ ท่านได้รู้ได้เห็นธรรมอันอัศจรรย์ และได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายประการ อย่างตอนที่ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบและมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ แต่ด้วยเหตุว่าท่านได้บำเพ็ญบารมี (กำลังใจในการปฏิบัติที่สั่งสม) ไว้มากในพระบวรพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจออกไปนั่งสมาธิ  เจริญอสุภะกรรมฐาน จนกระทั่งจิตเกิดความอัศจรรย์ สามวันสามคืน พอจิตของท่านอิ่มตัวจากการประพฤติปฏิบัติ ได้เกิดนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมา

 

จึงนำสิ่งที่ได้พบได้เห็นมาพิจารณาธรรมในข้อที่ว่า "กายะ ทุกขัง อริยสัจจัง" คือว่าพิจารณาว่ากายเป็นทุกข์ ไม่ทำให้เกิดความสุขให้เรา ระหว่างการภาวนาท่านระลึกได้ว่า ท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า) จึงค้นลงไปอีกว่าปรารถนาตอนไหน พอเห็นว่าปรารถนาเมื่อสมัยพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า จึงเห็นว่าผ่านมานานแล้ว ท่านเล่าอีกว่าถอนความปรารถนานั้น มุ่งมั่นความพ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติ จากนั้นเกิดเหตุในนิมิตว่า มียักษ์ตนหนึ่งจะเข้ามาทำร้าย แต่ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ ยักษ์ได้ยอมแพ้และได้เนรมิตรกายกลับเป็นเทพบุตรกล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ในกาลเวลาต่อมา จิตท่านจึงรวม เห็นโลกทั้งโลกราบเรียบเตียนโล่งเสมอด้วยลักษณะทั้งสิ้นภายในจิต


หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ละสังขารเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อายุ 79 ปี 56 พรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ซึ่งต่อมาอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุในหลายที่ได้มีการแจกตามจังหวัดต่างๆที่ได้ส่งตัวแทนมารับ

 

โดยแนวปฏิบัติ ที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ

 

  • ปังสุกุลิกังคธุดงค์ - ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
  • ปิณฑปาติกังคธุดงค์ - ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
  • เอกปัตติกังคธุดงค์ - ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
  • เอกาสนิกังคธุดงค์ - ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
  • ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ - ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม
  • เตจีวริตังคธุดงค์ - ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน
  • อารัญญิกังคะ - ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน
     

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้กว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอได้ยากยิ่ง  มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ธรรมะของหลวงปู่มั่นเป็นธรรมะที่ออกมาจากใจ เฉียบคมเต็มไปด้วยข้อคิด ปัญญา เป็นมรดกตกทอดมาให้ลูกหลานชาวพุทธจนถึงทุกวันนี้ บทความนี้จึงขอส่งต่อวิทยาทานดี ๆ ให้เราชาวพุทธศึกษาและนำไปปฏิบัติกัน

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ทำอะไร

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาส ...

ภูริทัตโต แปลว่าอะไร

"ภูริทัตโต" แปลว่า "ผู้ให้ปัญญา ประดุจดั่งแผ่นดิน"

หลวงปู่มั่นเกิดวันที่เท่าไร

20 มกราคม 2413หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต / วันเกิดnull

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีคุณธรรมใดเด่นที่สุด

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ศึกษาเล่าเรียนและประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่ง ครัด วัตรปฏิบัติของท่านนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาแก่ศิษยานุศิษย์และพุทธ ศาสนิกชนเป็นจำนวนมากในวัยเด็กท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียร ชอบการศึกษาเล่าเรียน