ใบ งาน การ กํา หน ด ราคาในระบบเศรษฐกิจ

ใบ งาน การ กํา หน ด ราคาในระบบเศรษฐกิจ


        กลไกราคา (Price mechanism) เป็นกระบวนการปรับตัวของราคาสินค้าและบริการซึ่งขึ้นอยู่กับตลาดในระบบเศรษฐกิจ อุปสงค์หรือปริมาณเสนอซื้อและอุปทานหรือปริมาณเสนอขายสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กลไกลราคาจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการปรับการทำงานของหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ เข้าสู่จุดสมดุลของตลาด กลไกราคาทำให้เกิด การแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค 

ใบ งาน การ กํา หน ด ราคาในระบบเศรษฐกิจ


        อดัม สมิธ บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่ากลไกราคานั้นเปรียบเสมือน มือมืด ที่มองไม่เห็น (invisible hand) โดยนำเสนอแนวความคิดว่า " ในตลาดเสรีราคาสินค้าในตลาด มีทิศทางของมัน ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งกำหนดราคาแต่เพียงผู้เดียวได้ ราคาของสินค้าหรือบริการนั้นขึ้นอยู่กับ อุปสงค์และอุปทาน” 

ใบ งาน การ กํา หน ด ราคาในระบบเศรษฐกิจ


    ตลาดหมายถึง การแลกเปลี่ยนและ การซื้อขาย เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพราะเมื่อมีการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ๆ แล้ว จึงจำเป็นต้องมีวิธีการกระจายสินค้าและบริการไปสู่   ผู้บริโภค โดยทำหน้าที่จัดหาสินค้าซึ่งอาจผลิตขึ้นมาเอง หรือรับไปจากแหล่งผลิต เพื่อส่งต่อไปยังผู้บริโภค     ดังนั้น ตลาดจึงช่วยให้ผู้ผลิตขายสินค้าได้ และมีกำไร เพื่อนำไปสู่ระบบการผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้บริโภคได้สินค้าและบริการสนองความต้องการของตน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งถ้าหากตลาดทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ก็จะทำให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่มีคุณภาพราคายุติธรรม และผู้ผลิตก็สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้ด้วย 

1. ตลาดที่แบ่งตามลักษณะการดำเนินการขายของผู้ขายมี ดังนี้ 

    1.1 ตลาดขายส่ง คือ ตลาดที่มิได้ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง แต่จะขาย ให้กับบุคคลที่จะนำไปขายต่อ   อีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นพ่อค้าขายส่ง หรือขายปลีกก็ได้ โดยมีการซื้อขายสินค้าจำนวนมาก 

    1.2 ตลาดขายปลีก คือ ตลาดที่ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ตลาดเล็ก เช่น ตลาดสดใกล้บ้าน ตลาดนัด ตลาดน้ำ ไปจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้า โดยมีการซื้อขายสินค้าจำนวน    ไม่มาก 

2. ตลาดที่แบ่งตามประเภทของสินค้าและบริการที่จำหน่ายมีดังนี้ 

    2.1 ตลาดสินค้า คือ ตลาดที่เน้นการซื้อและขายสินค้าซึ่งอาจจะแยกย่อยได้ดังนี้ 

        2.1.1 ตลาดสินค้าผู้บริโภค คือ ตลาดที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค นำไปบริโภคโดยตรง 

        2.1.2 ตลาดสินค้าผู้ผลิต คือ ตลาดที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ นำไปผลิตสินค้าหรือบริการอีกทอดหนึ่ง 

    2.2 ตลาดบริการ คือ ตลาดที่เน้นการบริการเป็นแกนหลัก แต่มีองค์ประกอบ ของสินค้าเข้ามาช่วยให้การบริการนั้นลุล่วงไปได้ เช่น ร้านตัดผมเน้นที่บริการตัดผม ไม่ได้เน้น การจำหน่ายกรรไกรตัดผม หรือกิจการสปาเน้นที่บริการนวดแผนต่าง ๆ ไม่ได้เน้นการจำหน่ายสมุนไพรขัดผิว 

    2.3 ตลาดการเงิน คือ ตลาดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกได้ ดังนี้ 

        2.3.1 ตลาดเงิน เป็นตลาดการเงินที่ให้กู้ยืมในระยะสั้น 

        2.3.2 ตลาดทุน เป็น ตลาดการเงินที่ให้กู้ยืมเงินในระยะยาว และมีหลักทรัพย์ คือ พันธบัตร และหุ้นของบริษัทต่าง ๆ เป็นสินค้าซึ่งขายกัน เช่น ประเทศไทยมีตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (SET : Stock Exchange of Thailand) เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายหุ้นและหลักทรัพย์ 

3. ตลาดที่แบ่งตามลักษณะของการแข่งขันตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ลักษณะ ของการแข่งขันของผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ 

    3.1 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแข่งขันกัน ได้อย่างเสรีโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ผลประกอบการขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการ เป็นสำคัญ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 

        3.1.1 ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก จนผู้ซื้อและผู้ขายคนใดคนหนึ่ง ไม่สามารถมีอิทธิพลในการกำหนดราคาสินค้าในตลาดได้ 

        3.1.2 ราคาสินค้า เกิดขึ้นจากความต้องการซื้อและความต้องการขายอย่างแท้จริง 

        3.1.3 สินค้าที่ซื้อขายกันมีรักษาคุณภาพและมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันจากผู้ขายคนใดก็ตาม ผู้ซื้อจะได้รับ ความพึงพอใจเหมือนกัน 

        3.1.4 ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับสภาพกาลของตลาดเป็นอย่างดี เพราะ มีความใกล้ชิดกัน หากผู้ขายคนหนึ่งลดราคาผู้ซื้อและผู้ขายรายอื่นก็จะทราบทันที เพราะในตลาดประเภทนี้จะมีราคาอยู่เพียงราคาเดียว ดังนั้น จึงไม่มีผู้ขายคนใดขายสินค้าราคาสูงกว่าราคาตลาด และไม่มีผู้ซื้อคนใดซื้อสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด 

        3.1.5 การซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจะกระทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วรวมถึงการเคลื่อนย้ายสินค้า และปัจจัยการผลิตจะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนการผลิตมากนัก เนื่องจากอาจจะกระทบต่อราคาสินค้าในที่สุด 

    หากพิจารณาลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะเห็นได้ว่า เป็นตลาดที่เกิดขึ้นจริงได้ยาก ตลาดประเภทนี้จะกลายเป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ จะมีเพียงแต่ตลาด ที่ใกล้เคียงกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เช่น ตลาดขายสินค้าเกษตรกรรม ตลาดหุ้น 

    3.2 ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ เป็นตลาดที่มีลักษณะตรงข้ามกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายมีการแข่งขันได้อย่างเสรี เป็นการบิดเบือนระบบกลไกตลาด ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ซื้อและผู้ขาย มีการผูกขาดโดยกลุ่มทุน ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแข่งขัน ประเภทของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์มี 3 ประเภท ได้แก่ 

        3.2.1 ตลาดผูกขาด คือ ตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว มีอำนาจในการควบคุม จำนวนสินค้าและราคาของสินค้าชนิดนั้นในตลาดได้อย่างสมบูรณ์ โดยอำนาจดังกล่าวมีอิทธิพลต่างกันในแต่ละประเภท สินค้าจำนวนมากจึงต้องมีกฎหมายออกมารองรับ เช่น กิจการไฟฟ้า ประปารถไฟไทย 

        3.2.2 ตลาดผู้ขายน้อยรายลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยรายมีดังนี้ 

            1) มีจำนวนผู้ขายในตลาดเพียง 3 - 4 ราย ดังนั้น การกระทำของผู้ขาย รายหนึ่งรายใดไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณหรือราคา จะมีผลกระทบต่อผู้ขายรายอื่น 

            2) สินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ในสายตาของผู้ซื้อ 

            3) มีอุปสรรคกีดกันการเข้าสู่ตลาด ของผู้ผลิตรายใหม่บ้าง เช่น ต้นทุน การผลิตที่สูง การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสูง 

            4) ตลาดประเภทนี้มักเป็นกิจการขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมหนัก เช่นเหล็กกล้า รถยนต์ น้ำอัดลม ปูนซีเมนต์ 

    3.3 ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ลักษณะของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมี ดังนี้ 

        3.31 มีผู้ผลิตหรือผู้ขายจำนวนมาก โดยผู้ผลิตแต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาด น้อยมากจนไม่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาในท้องตลาดได้ 

        3.3.2 การเข้าออกกระทำได้อย่างเสรี 

        3.3.3 สินค้ามีความคล้ายครึ่งกัน แต่ไม่เหมือนกันแตกต่างกันในสายตาของผู้ซื้อด้านคุณภาพของสินค้า การให้บริการ สถานที่ตั้ง การโฆษณา และการบรรจุหีบห่อ 

        3.3.4 ตลาดประเภทนี้มักจะเป็นตลาดที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่นร้านอาหาร สบู่ ยาสีฟัน 

        ราคาสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จะถูกกำหนดขึ้นโดยอุปสงค์ซึ่งแสดงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และอุปทานซึ่งแสดงปริมาณความต้องการขายสินค้า ของผู้ผลิตเรียกว่า กลไกราคา 

        กลไกราคา (price mechanism) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้า ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของอุปสงค์ และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามทำการปรับปรุงการผลิตของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาด เมื่อใดที่ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นมามีเป็นจำนวนมาก ขณะที่ปริมาณความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีเท่าเดิม ระดับราคาสินค้าชนิดนั้นจะลดลง 

        กลไกราคามีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ คือ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิต กล่าวคือ ถ้าเมื่อใดที่ระดับราคาสินค้าสูงมาก แสดงว่า ความต้องการของผู้บริโภคมีมากทางผู้ผลิตจะดำเนินการผลิตสินค้าและบริการเพิ่ม ทำให้ปริมาณสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าก็จะลดลง ถ้าเมื่อใดที่ระดับราคาสินค้าต่ำมาก แสดงว่า สินค้านั้นมีปริมาณเกินความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตก็จะดำเนินการลดปริมาณการผลิตลง ระดับราคาสินค้าก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น กลไกราคาจึงอาศัยกระบวนการทำงานของอุปสงค์ และอุปทานของสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 

    อุปสงค์ (demand) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการ และสามารถซื้อสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของสินค้าและบริการชนิดนั้น 

    1. ราคาสินค้าชนิดนั้น ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณซื้อจะลดลงถ้าราคาสินค้าลดลงปริมาณซื้อจะเพิ่มขึ้น 

    2. จำนวนประชากร ถ้าประเทศใดมีประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการก็เพิ่มขึ้น ถ้าประชากรเป็นเพศหญิงมาก อุปสงค์ของใช้ผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นตาม 

    3. รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ถ้าประชากรมีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้น ความต้องการสินค้าบางประเภทก็จะเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

    4. การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาวความต้องการเสื้อกันหนาว ผ้าห่มเพิ่มมากขึ้น ในฤดูร้อนความต้องการปริมาณเครื่องดื่ม น้ำแข็ง เพิ่มขึ้น เป็นต้น 

    5. การศึกษาและการโฆษณา เช่น การได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของนม ทำให้คนบริโภคนมมากขึ้น การโฆษณาที่ดีทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จักทำให้จำหน่ายได้มากขึ้น 

    6. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น รสนิยม ความนิยม การคาดคะเนราคาสินค้า 

    อุปทาน (supply) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายพร้อมที่จะผลิต ออกขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อุปทานของสินค้าชนิดใดก็ตามจะมีมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง เช่น ต้นทุนการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ เทคนิคการผลิต เป็นต้น 

    1. ราคาสินค้าที่ผลิตถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ผลิตยินดีจะผลิตสินค้ามากขึ้นเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น ถ้าสินค้าราคาลดลงผู้ผลิตจะลดจำนวนการผลิตลง 

    2. เป้าหมายของธุรกิจ ผู้ผลิตจะกำหนดเป้าหมายการผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงภาวะน้ำมันมีราคาแพง ผู้ใช้รถยนต์นิยมใช้รถที่ประหยัดน้ำมันผู้ผลิตจะทำการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่ประหยัดน้ำมัน มากกว่ารถยนต์ที่สิ้นเปลืองน้ำมันมาก 

    3. การเปลี่ยนแปลงของเทคนิคการผลิตให้มีความทันสมัยมากขึ้น แต่ใช้ปัจจัยการผลิต เท่าเดิม ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น 

    4. ราคาปัจจัยการผลิต ถ้าหากมีราคาสูงขึ้นผู้ผลิตจะได้กำไรน้อยลง จึงทำให้ลดกำลังการผลิตลง 

    5. จำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขาย ถ้ามีมากทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น ถ้าผู้ผลิตหรือผู้ขายลดลง จะทำให้อุปทานลดลงด้วย 

    6. สภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปริมาณน้ำฝนเหมาะสม สภาพอากาศไม่แปรปรวน ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรก็เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าฝนแล้งหรือน้ำท่วมทำให้ปริมาณการผลิตลดลง 

    7. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเก็บภาษีของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการลงทุน ถ้าปัจจัยดังกล่าวสูงขึ้นจะทำให้อุปทานลดลง 

การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ 

        การกำหนดราคาสินค้าในตลาด เป็นไปตามอุปสงค์ อุปทาน และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต หรือของธุรกิจด้วย โดยเฉพาะประเทศที่กลไกราคาไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ในตลาดที่มีผู้ผลิตน้อยรายผู้ผลิตจึงมีอำนาจ และสามารถกำหนดราคาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งการกำหนดราคาของธุรกิจอาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น เพื่อสร้างกำไร เพื่อสร้างยอดขาย หรือเพื่อขยายตลาด การกำหนดราคาโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามกลไกราคา 

        อุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการมีความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับราคาสินค้า ดังนั้นปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ และผู้ขายต้องการขายจะปรับตัวตามระดับของราคาสินค้าและบริการที่เปลี่ยนแปลงไป    แต่เนื่องจากการปรับตัวของปริมาณซื้อและปริมาณขาย ตัวราคาจะมีลักษณะตรงกันข้าม กล่าวคือ ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการลดลงผู้ซื้อจะซื้อสินค้ามากขึ้น แต่สำหรับผู้ขายหรือผู้ผลิตก็จะนำสินค้ามาวางจำหน่ายน้อยลง  การปรับตัวนี้จะเป็นเหตุให้ปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากันพอดี ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า      ณ ระดับราคานั้นปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อขนาดนั้น จะเท่ากับปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะผลิตออกมาขาย ในขณะเดียวกันพอดีนั่น คือ ราคาดุลยภาพ 

        ดุลยภาพของตลาด (market Equilibrium) ไว้ว่า เป็นสภาวะที่ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายพอดี ทั้งนี้ระดับราคาสินค้าที่ปริมาณเสนอซื้อเท่ากับปริมาณเสนอขายจะเรียกว่าราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) และปริมาณสินค้าที่เท่ากันระหว่างปริมาณเสนอซื้อกับปริมาณเสนอขายจะเรียกว่าปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) 

    1. ราคาดุลยภาพ = ราคาที่เกิดจากปริมาณซื้อและปริมาณขายเท่ากัน 

    2. ปริมาณดุลยภาพ = ปริมาณซื้อขายที่เท่ากันพอดี

    จุดดุลยภาพ (Equilibrium) คือ จุดที่เส้นอุปสงค์ และเส้นอุปทานตัดกัน ก่อให้เกิดเป็นจุดดุลยภาพที่แสดงให้เห็นถึงราคาดุลยภาพ และปริมาณดุลยภาพที่เกิดขึ้น

วิธีการสร้างจุดดุลยภาพ

         1. สร้างตารางอุปสงค์และอุปทานขึ้นมาโดยกำหนดให้มีราคาของสินค้าที่มีราคาแตกต่างกันและกำหนดปริมาณความต้องการในการขายสินค้าที่แตกต่างกันตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เช่น 1, 2, 3 หรือ 5,10,15 เป็นต้น

          2. สร้างกราฟให้แกน Y หรือแกนตั้งแทนราคา จะใช้สัญลักษณ์แทนว่า ราคา Price หรือP

          3. สร้างกราฟให้แกน X หรือแกนนอนแทนราคา จะใช้สัญลักษณ์แทนว่า ปริมาณ Quantity หรือ Q

          4. กำหนดให้ระยะห่างในกราฟทั้งแกนตั้งและแกนนอนมีระยะห่างเท่า ๆ กัน

เช่น ห่างกันทีละ 1 เซนติเมตร

          5. สร้างกราฟอุปสงค์และอุปทานตามตารางที่ได้กำหนดไว้แล้วข้างต้น โดยให้ทำทีละเส้นจะทำเส้นอุปสงค์ก่อนหรืออุปทานก่อนก็ได้ ให้ทำทีละคู่ราคากับปริมาณ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน แต่ละคู่ที่เขียนในกราฟให้ทำเครื่องหมาย . ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการวาดเส้นอุปสงค์และอุปทาน

          6. เมื่อทำครบทุกคู่แล้วให้วาดเส้นอุปสงค์ และอุปทานโดยลากผ่าน . ที่เราได้กำหนดไว้ข้างต้นให้ใช้ปากกาต่างสีกัน

7. ใส่สัญลักษณ์กำกับเส้นอุปสงค์ Demand หรือ D และเส้นอุปทาน Supply หรือ S

8. ดูจุดตัดของเส้นอุปสงค์และอุปทาน โดยจุดที่ทั้งสองเส้นตัดกันเป็นจุดดุลยภาพ    ให้ . แล้วขีดเส้นราคาขนานกับปริมาณ และปริมาณขนานกับราคาไปจนถึงจุดดุลยภาพ         ที่กำหนดไว้

9. ใส่สัญลักษณ์กำกับจุดดุลยภาพ Equilibrium หรือ E

10. ตอบจุดดุลยภาพว่าอยู่ที่ราคาเท่าใด และปริมาณเท่าใด เช่น E = 30, 1 (30 คือราคา และ 1 คือปริมาณ แสดงว่าดุลยภาพอยู่ที่ ราคา 30บาท จำนวน 1 คู่)