การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

ไปได้ก็จะเจอตรีโกณอีกครั้งในชั้นม.ปลาย เพื่อเตรียมตัวสู่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ ที่ต้องใช้การคำนวณเป็นหลัก

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

ตรีโกณมิติมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า trigonon ซึ่งเป็นเรื่องของการวัดมุมสามเหลี่ยมและฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งเชื่อว่ามีมายาวนานกว่า 2000 ปีก่อนคริสตศักราช แบ่งเชือกออกเป็น 12 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วทำปมตรงจุดที่แบ่ง ก่อนที่จะดึงเป็นรูปสามเหลี่ยมในอัตราส่วนของด้าน 3:4:5 โดยที่มุมที่อยู่ตรงข้ามด้านยาวสุดจะเป็นมุมฉากเสมอ จนก่อให้เกิดเป็นทฤษฎีและสมการพีทาโกรัสขึ้นมา

c2\=a2+b2

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

โดยที่

  • a แทนความยาวตรงข้ามมุม A
  • b แทนความยาวตรงข้ามมุม B
  • c แทนความยาวตรงข้ามมุม C
  • และด้าน AB เรียกว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก
  • ด้าน AC และ BC คือด้านประกอบมุมฉาก

*ข้อควรระวังการนำสมการและทฤษฎีพีทาโกรัสไปใช้ จะต้องเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากเท่านั้น

ในขณะที่อัตราส่วน ตรีโกณมิติ คือ อัตราส่วนที่เกี่ยวกับด้านและมุมของสามเหลี่ยม โดยผลรวมของมุมทุกมุมจะต้องเท่ากับ 180 องศาเสมอ หากสามเหลี่ยมมีการกำหนดขนาดด้านมาให้เพียงด้านเดียวและกำหนดมุมมาให้ 1 มุมก็สามารถที่จะนำฟังก์ชันตรีโกณมิติมาหาด้านที่เหลือตามทฤษฎีพีทาโกรัสได้

โดยที่ ด้านตรงข้ามมุมฉาก คือ ด้านที่อยู่ตรงข้ามมุมฉากจะมีความยาวมากที่สุดของสามเหลี่ยมมุมฉาก ในที่นี้คือ c

ด้านตรงข้าม คือ ด้านที่อยู่ตรงข้ามมุมที่สนใจ ในที่นี้คือ a

ด้านประชิด คือ ด้านที่อยู่ติดกับมุมที่สนใจและมุมฉาก ในที่นี้คือ b

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

จากนิยามดังกล่าวสามารถเขียนออกมาเป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติได้ทั้งหมด 6 แบบ ได้แก่

  1. Sine คือ อัตราส่วนของด้านตรงข้ามกับด้านตรงข้ามมุมฉากของสามเหลี่ยม จากรูปคือ a/c
  2. Cosine หรือ cos คือ อัตราส่วนของด้านประชิดกับด้านตรงข้ามมุมฉากของสามเหลี่ยม จากรูปคือ b/c
  3. Tangent หรือ tan คือ อัตราส่วนของด้านตรงข้ามกับด้านประชิดของสามเหลี่ยม จากรูปคือ a/b
  4. Cosecant หรือ cosec คือ อัตราส่วนของด้านตรงข้ามมุมฉากกับอัตราส่วนของด้านตรงข้าม จากรูปคือ c/a
  5. Secant หรือ sec คือ อัตราส่วนของด้านตรงข้ามมุมฉากกับด้านประชิด จากรูปคือ c/b
  6. Cotangent หรือ cot คือ อัตราส่วนของด้านประชิดกับด้านตรงข้าม จากรูปคือ b/a

จากความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนำมาเป็นเคล็ดลับในการจำสูตรตรีโกณมิติง่าย ๆ ดังนี้

  • Sine = ข้าม/ฉาก ส่วนกลับคือ Cosec = ฉาก/ข้าม
  • Cos = ชิด/ฉาก ส่วนกลับคือ Sec = ฉาก/ชิด
  • Tan = ข้าม/ชิด ส่วนกลับคือ Cot = ชิด/ข้าม

เนื่องจากรูปสามเหลี่ยมจะมีมุมภายในรวมกันเท่ากับ 180 องศา โดยจะมีมุมหลัก ๆ ที่นำมาใช้งานอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ มุม 30องศา, 45 องศา, 60 องศาและ 90 องศา ซึ่งมีเทคนิคและวิธีในการจำค่า sin cos tan ของมุมเหล่านี้ง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องคำนวนให้ยุ่งยาก

แบบที่ 1 วาดรูป สามเหลี่ยมด้านเท่า (มุมทุกมุมมีค่าเท่ากับ 60 องศา) และด้านทุกด้านมีค่าเท่ากับ 1 หน่วย

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

ลากเส้นตรงจากยอดมายังฐานสามเหลี่ยมโดยจะต้องตั้งฉากกันตามรูป จะทำให้ได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก 2 รูปที่มีขนาดเท่ากัน

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

จากรูปเมื่อนำมาหาค่า sin cos tan ของมุม 30 องศาและ 60 องศา จะได้ดังนี้

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

จะเห็นว่าค่า Sine 30 จะมีค่าเท่ากับ Cos 60 และ Cos 30 จะมีค่าเท่ากับ Sine 60

สำหรับวิธีการจำ sin cos tan ของมุม 45 องศา จะง่ายมากกว่า เพราะภายในสามเหลี่ยมจะมีมุม 45 องศาด้วยกัน 2 มุมและมุม 90 องศา 1 มุม สามารถแทนค่าตามรูปได้ดังนี้

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

จากมุมของสามเหลี่ยมทั้ง 3 มุมดังกล่าวสามารถนำมาเขียนเป็นตารางเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำดังนี้

แบบที่ 2 เทคนิคการหาค่า sin cos tan ด้วยมือซ้าย

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

หากการจดจำตารางตรีโกณมิติ อาจทำให้ใครหลายคนสับสนและงุนงงกับตัวเลข ยังมีอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถช่วยให้เข้าใจและหาค่าตัวเลขตรีโกณมิติได้ นั่นคือการใช้มือซ้ายของเรานั่นเอง

วิธีการใช้งานมือซ้ายของเราเองเพื่อหาค่า ตรีโกณมิติ คือ จะต้องแทนค่ามุมลงไปในแต่ละนิ้วมือดังนี้

  • นิ้วโป้ง = 0 องศา
  • นิ้วชี้ = 30 องศา
  • นิ้วกลาง = 45 องศา
  • นิ้วนาง = 60 องศา
  • นิ้วก้อย = 90 องศา
  • และฝ่ามือมีค่าเท่ากับ ?2\tfrac{\sqrt{?}}{2}
  • หากต้องการหาค่า Sin 30 ให้พับนิ้วชี้ลงมา ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 นิ้ว แทนค่าลงไปใน ช่วงว่างบนฝ่ามือ ซึ่ง 12\tfrac{\sqrt{1}}{2} root 1 มีค่าเท่ากับ 1 ก็จะมีค่าเท่ากับ 12\tfrac{1}{2}
  • หากต้องการหาค่า Cos 30 ให้ดูนิ้วที่เหลือด้านขวาหลังจากพับนิ้วชี้ว่าเหลือนิ้วเท่าไร ซึ่งเหลือด้วยกัน 3 นิ้ว นำมาใส่ในช่องว่างบนฝ่ามือ จะได้ 32\tfrac{\sqrt{3}}{2}
  • หากต้องการหาค่า Sin 45 ให้พับนิ้วกลางลงมา จากนั้นนับนิ้วฝั่งขวาเหลือนิ้วเท่าไร นำไปแทนค่าในช่วงว่างบนฝ่ามือจะได้ 22\tfrac{\sqrt{2}}{2}
  • ในขณะที่ Cos 45 จะมีค่าเท่ากันกับ Sin 45
  • หากต้องการหาค่า Sin 60 ให้พับนิ้วนางลงมา จากนั้นนับนิ้วฝั่งซ้ายเหลือนิ้วเท่าไร แทนค่าลงไปในช่วงว่างบนฝ่ามือ 32\tfrac{\sqrt{3}}{2}
  • หากต้องการหาค่า Cos 60 ให้พับนิ้วนางลงมา จากนั้นนับนิ้วฝั่งขวาเหลือนิ้วเท่าไร แทนค่าลงไปในช่วงว่างบนฝ่ามือ 12\tfrac{\sqrt{1}}{2} ซึ่ง root 1 มีค่าเท่ากับ 1 ก็จะมีค่าเท่ากับ 12\tfrac{1}{2}
  • หากต้องการหาค่าTan 30 เพียงนำค่าSin30/Cos30 ก็จะได้ค่าTan 30 = 1232=13\tfrac{\tfrac{1}{2}}{\tfrac{\sqrt{3}}{2}}=\tfrac{1}{\sqrt{3}}
  • หากต้องการหาค่า Tan60 เพียงนำค่า Sin60/Cos60 ก็จะได้ค่า Tan 60 = 3212=3\frac{\frac{\sqrt{3}}{2}}{\frac{1}{2}}={\sqrt{3}}

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

ความสัมพันธ์ของอัตราส่วน ตรีโกณมิติ สูตร ที่ควรจดจำและนำไปใช้ในแบบฝึกหัดได้บ่อย

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

การ หา ค า sin cos tan โดยใช ม อ

แม้วิชาคณิตศาสตร์ ตรีโกณมิติ ม.3 อาจทำเอาหลายคนปวดหัวไปกับสูตรและตัวเลขต่าง ๆ แต่ถ้าได้ฝึกฝนและเข้าใจถึงวิธีคิด ก็จะ สามารถแก้ไขโจทย์ที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างไม่ยากเย็น หากเข้าใจกฎและเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ดี ก็จะช่วยให้การทำโจทย์คณิตศาสตร์เป็นไปอย่างราบรื่นและสนุกกับการเรียน