ม.2 ถนนคลองชลประทานต.แม ใจ อ.แม ใจ จ.พะเยา 56130

บ้านดงอินตาเหนือหมู่ที่ 11 เดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกับบ้านดงอินตา หมู่ที่ 6 ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดยการนำของ พ่ออินตา อุตตะมะ การอพยพครั้งแรกได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสันคอกม้า (ปัจจุบันเป็นฌาปนสถาน) มีจำนวน 30 ครัวเรือน ต่อมามีผู้อพยพตามมาเรื่อย ๆ มีประชากรมากขึ้น และประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พ่ออินตาได้นำกระบือไปเลี้ยงในป่าดง นานวันเข้ามีชาวบ้านนำกระบือมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับพื้นที่บ้านสันคอกม้าน้ำที่ใช้อุปโภค บริโภคกลายเป็นน้ำสีเหลือง (น้ำมีสนิม) ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ พ่ออินตาจึงพาครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านดงเป็นครอบครัวแรก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า เมื่อปี พ.ศ. 2465 และมีชาวบ้านอพยพตามมาทีหลัง มีผู้คนเยอะขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกว่า “บ้านดง” และกลายเป็น “บ้านดงอินตา” ในปัจจุบัน (นำเอาชื่อพ่ออินตาต่อท้ายเป็นการให้เกียรติผู้ที่มาอยู่เป็นคนแรก)

ต่อมาพ่ออินตาได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัดร้าง (วัดห่าง) ขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ วัดดงอินตา ในปัจจุบัน และจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดเพื่อให้ลูกหลานมีโอกาสได้เรียนหนังสือ วัดดงอินตาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ และมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา พ่ออินตาได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างบ้านเรือน และพัฒนาบ้านดงอินตาจนรุ่งเรืองมาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต พ่ออินตาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคชรา ในปี พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 85 ปี พ่ออินตาได้เริ่มสร้างหลักปักฐานอยู่บ้านดงเมื่อพุทธศักราช 2465 และได้ร่วมกับชาวบ้านเริ่มบูรณะวัดร้าง (วัดห่าง) ขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ วัดดงอินตา ในปัจจุบัน และจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสเรียนหนังสือ วัดดงอินตาเป็นวัดโดยสมบูรณ์และมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลตั้งแต่พุทธศักราช 2470 เป็นต้นมา พ่ออินตาทำหน้าที่เป็นผู้นำเรื่อยมาและได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ใหญ่บ้านมาเรื่อย ๆ หมู่บ้านดงอินตามีการพัฒนามากขึ้นตามมา

อำเภอแม่ใจ จัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) โดยมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ซึ่งได้จัดการปกครองรวมกันเข้าเป็นจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2453 กำหนดให้อำเภอแม่ใจ ขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในเขตมณฑลพายัพ

ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้จัดแบ่งท้องที่ปกครองเป็น “เมือง” และ “อำเภอ” เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในขณะนั้น“แม่ใจ” มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ที่ได้จัดการปกครองรวมกันเป็นจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ให้อำเภอแม่ใจขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในมณฑลพายัพ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ จำนวน 6 คน คนแรกคือนายถิน ได้นามสกุลภายหลังการมี พรบ.นามสกุลคือ ควรสมาคม ต่อมาในปี ร.ศ. 133 (พ.ศ. 2457) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา)

พ.ศ. 2499 ได้มีโรคเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ที่ชาวบ้าน เรียกว่า โรคเปลี้ย (โรคโปลิโอ) มีลักษณะหัวโต พุงโล ก้นปอด จะดีขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น ประมาณ 4-5 ปี และเมื่อปีพุทธศักราช 2522 มีชาวบ้านไปทำงานต่างจังหวัด และกลับมาพร้อมกับโรคไข้จับสั่น แต่ขณะนั้นการสาธารณสุขเริ่มดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลรักษาและควบคุมโรคได้ดี และมีการทำถนนลูกรังเข้าหมู่บ้านเมื่อปีพุทธศักราช 2523 ถัดมาอีกหนึ่งปีก็พัฒนาขึ้นเป็นถนนลาดยาง โดยยานพาหนะที่ใช้ในตอนนั้นมีเพียงเกวียนลาก จากนั้นมีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านเมื่อปีพุทธศักราช 2526 และปีต่อมาพุทธศักราช 2527 ได้มีการอบรม อสม.รุ่นแรกขึ้น และมีถนนคอนกรีตเข้าซอยภายในหมู่บ้าน

พ.ศ.2470 ชาวบ้านกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จากที่ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านได้เล่าให้ฟังว่าอพยพมาจากบ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง โดยการนำของพ่ออินตา อุตตะมะ การอพยพครั้งแรกตั้งบ้านเรือนที่บ้านสันคอกม้า (ปัจจุบันเป็นฌาปนสถาน) จำนวน 30 ครัวเรือน ภายหลังที่อาศัยถิ่นฐานนี้ได้ไม่นาน บ่อน้ำตื้นที่ขุดใช้ น้ำมีสภาพเป็นสีสนิม ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้ จึงชักชวนกันย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ใหม่ ไม่ไกลกัน ที่บ้านดงอินตา ณ ปัจจุบัน ต่อมาได้มีประชาชนอพยพเข้ามาเรื่อยๆ และประชากรส่วนใหญ่ในขณะนั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรม

พ.ศ. 2474 มีการขุดเจอพระพุทธรูปจึงได้สร้างวัดดงอินตาขึ้น โดยมีวิหาร 1 หลังเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

พ.ศ. 2475 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อนายมี มุมวงศ์ (2475-2478) หมอพื้นเมือง หมอตำแย คือ พ่อหนานน้อย อุตตะมะ ได้ทำคลอดให้กับคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

พ.ศ. 2478 มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ชื่อนายก๋องคำ ปีกจุมปู (2478-2491)

พ.ศ. 2480 ได้ขอจัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยให้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านดงอินตา

พ.ศ. 2488 มีการระบาดของโรคไข้ทรพิษในหมู่บ้าน ชาวบ้านรักษาตัวเองด้วยการใช้ยาต้ม ยาสมุนไพรพื้นบ้าน

พ.ศ. 2490 มีการระบาดของโรคห่า (อหิวาตกโรค) กับประชาชนในหมู่บ้าน รักษาโดยหมอเมืองโดยการใช้ใบตองรองนอนและใช้ใบลูกยอต้มให้ดื่ม

พ.ศ. 2491 มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ชื่อนายปั่น ทาตรี (2491-2515)

พ.ศ. 2493 ชาวบ้านดงอินตาได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษโดยรวมตัวกันนั่งล้อเกวียนไปฉีดที่สุขศาลาแม่ใจ

พ.ศ.2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อยตำบลแม่สุก อำเภอพาน และตำบลแม่ปืม อำเภอพะเยา สมควรยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจึงได้สั่งการให้จังหวัดเชียงรายและอำเภอพาน พิจารณาดำเนินการขอยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ

พ.ศ. 2505 ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ดงอินตา เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่พ่ออุ้ยอินตา อุตตะมะ ที่ได้เสียชีวิตลง

พ.ศ. 2506 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอแม่ใจ มีเขตการปกครองรวม 4 ตำบล คือตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลศรีถ้อยและตำบลแม่สุก ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รวม 4 คน

พ.ศ. 2508 พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอแม่ใจ พ.ศ. 2508 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอแม่ใจ จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2512 มีรถจักรยานยนต์คันแรก ของพ่อหนานศรี ไม่ทราบนามสกุล ชาวบ้านได้รู้จักรถจัรยานยนต์เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2515 มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 ชื่อนายอ้าย มุมวงศ์ (2515-2526)

พ.ศ. 2520 วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2520 ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก สืบค้นวันที่ 28 กันยายน 2564) อำเภอแม่ใจ เมื่อแยกจากจังหวัดเชียงรายมาขึ้นยังจังหวัดพะเยา นายอำเภอแม่ใจขณะนั้นคือ นายเพชร ดิฐธาตรี (พระวิมลธรรมโมลี, 2546 : 138)

พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสถานีอนามัยบ้านดงอินตา

พ.ศ. 2525 เริ่มมีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน

พ.ศ. 2526 เริ่มมีถนนลาดยางในหมู่บ้าน มีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน มีการชุดคลองชลประทาน มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 ชื่อนายผัด ปิงวงศ์

พ.ศ. 2527 จัดตั้งโรงสีข้าวแห่งแรกของหมู่บ้าน และแยกหมู่บ้านดงอินตาใต้ หมู่ 9 จากบ้านดงอินตา หมู่ 6

พ.ศ. 2528 ทำถนน ร.พ.ช. เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านคนที่6 ชื่อนายศรีใจ ทาตรี (2528-2530)

พ.ศ. 2530 มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 7

พ.ศ. 2535 แยกหมู่บ้านดงอินตาเหนือหมู่ที่ 11 จากบ้านดงอินตา หมู่ 6 มีผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้

  • นายศรีนวล ใหม่จันทร์ตา ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พุทธศักราช 2535-2540
  • นายหวัน วังหล้า ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พุทธศักราช 2541-2545
  • นายหลั่น ปินใจ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พุทธศักราช 2546-ปัจจุบัน

พ.ศ. 2536 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านดงบุนนาค อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยาโดยเฮลิคอปเตอร์ และได้ทรงเห็นว่าบ้านดงอินตาอยู่ห่างไกลสถานีรักษาจึงได้ทรงจัดตั้งสถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พย 1 (หน่วยแพทย์ พอ.สว.) ขึ้น

พ.ศ. 2549 หมู่บ้านดงอินตาเหนือได้มีอารามเวียงห้าว (สำนักปฏิบัติธรรมสวนโพธิอิสระ)

พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลชมเชยป่าชุมชนบ้านดงอินตาเหนือ จากกรมป่าไม้และผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด

พ.ศ. 2555 โครงการประกวดชุมชนมาตรฐานหมู่บ้านปลอดภัยการเผาจากการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม