2024 ทำไม sing smule ถ งต องยกเล กชมว ด โอโฆษณา

ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่ง ในไทยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันระหว่างผู้บริการหลักๆ 3-4 ราย ได้แก่ JOOX ผู้บุกเบิกมิวสิกสตรีมมิ่งในไทย, Spotify ค่ายมิวสิกสตรีมมิ่งระดับโลกที่เข้ามาบุกตลาดไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา, YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่หันมาเปิดบริการ ยูทูบมิวสิก เมื่อปีที่ผ่านมา จากการเห็นโอกาสทางการตลาด และ แอปเปิลมิวสิก แพลตฟอร์มมิวสิกสตรีมมิ่งผู้บุกเบิกและผลักดันให้เกิดตลาดการขายเพลงในรูปแบบออนไลน์ของโลก

โดย 3 แพลตฟอร์มแรกที่เรากล่าวมา ได้แก่ JOOX, Spotify และ YouTube เป็น 3 แพลตฟอร์มที่เราจะหยิบยกขึ้นมาเทียบฟอร์มจากบิสซิเนสโมเดลของ 3 ธุรกิจนี้มีความคล้ายคลึงกันคือ เปิดให้ผู้ฟังสามารถฟังฟรีแลกกับโฆษณา และสามารถอัปเกรดฟังเพลงแบบไม่มีโฆษณา รวมถึงฟังเพลงในคุณภาพเสียงที่ดีกว่า และฟังเพลงในกลุ่มพรีเมียม (ในบางแพลตฟอร์ม) สามารถจ่ายเงินในรูปแบบสมาชิกได้

และรายได้ของ 3 แพลตฟอร์มนี้มาจาก 2 ทางคือ

รายได้จากโฆษณา และรายได้จากค่าสมาชิก ซึ่งรายได้ที่กล่าวมามีความแตกต่างในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น JOOX มีรายจากโฆษณา และสมาชิก 50:50 อ้างอิงในเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ส่วน Spotify ในประเทศไทย อ้างอิงในเดือนเมษายน 2563 มีผู้ใช้งานแอคทีฟต่อเดือนที่ 5.8 ล้านราย แบ่งเป็น ใช้งานฟรี 4.9 ล้านรายสมัครสมาชิกรายเดือน 9 แสนราย เมื่อดูจากตัวเลขนี้จะพอเดาได้ว่า Spotify มีรายได้จากโฆษณาสูงกว่ารายได้จากสมาชิก

และสำหรับ YouTube Music เป็นบริการที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อพฤศจิกายน 2562 โดยที่ผ่านมาข้อมูลจาก YouTube ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าคนไทยฟังเพลงผ่าน YouTube 29 ล้านคนต่อวัน

แม้บิสซิเนสโมเดลของทั้ง 3 แพลตฟอร์มที่กล่าวมาจะคล้ายกัน เรามาดูกันว่าแต่ละแพลตฟอร์มเป็นอย่างไร

2024 ทำไม sing smule ถ งต องยกเล กชมว ด โอโฆษณา

JOOX

JOOX ถือเป็นแพลตฟอร์มผู้บุกเบิก ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่ง ในไทย จากค่ายเทนเซ็นต์ เปิดตัวทำความรู้จักในประเทศไทยเมื่อมกราคม 2559 เพื่อเจาะกลุ่มคนไทยชาวไทยที่ชอบฟังเพลงไทยและเทศโดยเฉพาะ

โดยที่ผ่านมา JOOX มีการพัฒนาตัวเองเปิดบริการใหม่ๆ สร้างความหลากหลายเพื่อดึงผู้ใช้อยู่บนแพลตฟอร์มมากขึ้น เช่น บริการ Music Live & Video, ร้องเพลง Karaoke, การฟังเพลงในรูปแบบออฟไลน์ที่ JOOX เรียกว่า Offers free music

รวมถึงการจับมือกับค่ายเพลงทำ Original Content โปรเจกต์พิเศษบน JOOX เป็นต้น

ในปัจจุบัน JOOX มีรายได้จากโฆษณาและรายได้จากกลุ่มสมัครสมาชิกที่ JOOX เรียกว่า

VIP PREMIUM ในสัดส่วน 50:50

โดยกลุ่มสมาชิก JOOX ใช้กลวิธีดึง VIP Premium รายใหม่ๆ จากการเปิดให้เป็นสมาชิก VIP Premium ระยะสั้นๆ เช่น 1 ชั่วโมง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้ทดลองฟังเพลงที่ไม่มีโฆษณาที่ให้ความเพลิดเพลินในการฟังที่มากกว่า และสมัครสมาชิกในที่สุด

โดยอัตราค่าบริการ VIP Premium ของ JOOX จะมีการทำโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าอยู่เสมอ ในปัจจุบันมีราคาโปรโมชั่นเริ่มต้นที่ 99 บาทต่อเดือน และถูกลงเมื่อเป็นสมาชิกระยะยาว เช่น 879 บาทต่อปี รวมถึงมีแพ็กเกจ Family 139 ใช้ได้ 3 บัญชีผู้ใช้ เป็นต้น

ใครคือผู้ฟัง JOOX

น้อยกว่า 18 ปี 6%

18-24 ปี 35%

25-34 ปี 36%

35-44 ปี 14%

มากกว่า 45 ปี 8%

สำหรับกลุ่มผู้ฟัง JOOX ในประเทศไทยกลุ่มหลักจะเป็นกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมาได้แก่ 18-24 ปี ส่วนกลุ่มอายุน้อยกว่า 18 ปี ถือเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุด

Spotify

โดยจุดเด่นของ Spotify คือระบบ AI ที่เรียนรู้พฤติกรรมความชอบของผู้ฟังแต่ละบุคคล เพื่อวิเคราะห์แนะนำเพลงที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ในการฟังได้ดี

รวมถึงยังมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ สร้างความหลากหลายในการให้บริการและผู้ใช้อยู่กับแพลตฟอร์มนานขึ้น เช่น ฟีเจอร์คาราโอเกะ และทำให้คนใช้งานอยู่กับ Spotify มากถึง 156 นาทีต่อวัน อ้างอิงข้อมูลจาก Reseller อย่างเป็นทางการของ Spotify

คนไทยฟังเพลงใน Spotify 156 นาทีต่อวัน

06.00-12.00 น. 25%

12.00-18.00 น. 32%

18.00-24.00 น. 31%

24.00-06.00 น. 12%

ฟัง Spotify บน Device อะไร

มือถือ 69%

แท็บเล็ต 13%

คอมพิวเตอร์ 13%

ในปัจจุบัน Spotify มีผู้ใช้งานในประเทศไทย 5.8 ล้านราย ที่แอคทีฟต่อเดือน โดยมากถึง 85% เป็นกลุ่มผู้ใช้งานฟรี และ 15% เป็น Premium User

โดยค่าบริการ VIP Premium ของ Spotify เริ่มต้นที่ 129 บาทต่อเดือน

นอกจากนี้ ผู้ฟังส่วนใหญ่ของ Spotify อยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี เป็นหลัก และกลุ่มที่มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ 45 ปีขึ้นไป

ใครคือคนฟัง Spotify ในไทย

ผู้ใช้งาน 5.8 ล้านราย (แอคทีฟต่อเดือน)

แบ่งเป็น

ใช้งานฟรี 4.9 ล้านราย

สมัครสมาชิกรายเดือน 9 แสนราย

5.8 ล้านราย คือใคร

ชาย 53%

หญิง 47%

อายุ

ต่ำกว่า 18 ปี 12%

18-24 ปี 41%

25-34 ปี 28%

35-44 ปี 12%

45 ปีขึ้นไป 8%

YouTube Music

YouTube Music ถือเป็นบริการใหม่จากค่าย YouTube ที่เพิ่งเปิดตัวให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2562

การเปิดตัว YouTube Music มาจากการมองเห็นโอกาสทางการตลาดจากพฤติกรรมผู้ใช้งาน YouTube ที่มีจำนวนมากถึง 42 ล้านคน ที่มาใช้บริการใน YouTube ทุกวัน และมีจำนวนมากถึง 70% ของผู้ที่ใช้บริการบน YouTube ในแต่ละวันเข้ามาฟังเพลง

โดยจุดเด่นของ YouTube Music เป็นบริการที่ไม่มีโฆษณามาคั่นระหว่างฟังเพลง และสามารถฟังเพลงได้แม้จะปิดหน้าจอแอป YouTube ก็ตาม โดยคิดค่าบริการเดือนละ 129 บาท

นอกจากนี้ ในรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 สำรวจโดย ETDA ยังพบว่าช่องทางในการดูหนังฟังเพลงออนไลน์ของคนไทยผ่าน 3 แพลตฟอร์ม มีดังนี้

YouTube 98.1%

JOOX 33.4%

Spotify 15.1%

ซึ่ง YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่มีเปอร์เซ็นต์การชมที่สูงเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้มีเฉพาะคอนเทนต์เพลง ต่างจาก JOOX และ Spotify ที่มีเพียงคอนเทนต์เพลงเท่านั้น

แต่เมื่อดูที่ความนิยมของแพลตฟอร์มมิวสิกสตรีมมิ่ง จากการสำรวจของ Spotify โดย MediaDonuts

พบว่าผู้ฟังทุกช่วงอายุยังคงนิยมฟังเพลงผ่าน YouTube เป็นหลัก รองลงมาได้แก่ Spotify ส่วน JOOX เป็นอันดับสาม

คนไทยนิยมฟังเพลงจากสตรีมมิ่งไหน

Spotify JOOX Youtube 18-24 ปี 76% 67% 79% 25-34 ปี 79% 69% 81% 35-45 ปี 75% 67% 77% เฉลี่ย 74% 66% 79%

ที่มา: Spotify Research โดย MediaDonuts, เมษายน 2563

ทั้งนี้ การฟังมิวสิกสตรีมมิ่งในประเทศไทยแม้ในวันนี้ผู้ฟังยังคงนิยมฟังฟรี แต่ก็มีโอกาสในการสร้างรายได้จากโฆษณา ซึ่งการสร้างรายได้จากโฆษณาเป็นความท้าทายของแพลตฟอร์มที่จะดึงผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการบนแพลตฟอร์มให้มากที่สุด และนานที่สุด