พน กงาน a&g technology co ltd ม พน กงานก คน

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หนึ่งในปัจจัยหลักที่จะเลือกสมัครงานกับบริษัทใดสักแห่ง แน่นอนว่าย่อมต้องมีค่าตอบแทน สวัสดิการ หรือผลประโยชน์ที่บริษัทจะมอบให้พนักงานรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง เงินเดือน ค่าวิชาชีพ วันลาพักร้อน หรือจะเป็นเงินบำเหน็จ บำนาญหลังเกษียณอายุ เป็นต้น

แต่ในมุมมองของกิจการ หรือบริษัทนั้น สิ่งเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายของบริษัททั้งสิ้น แน่นอนว่าเมื่อมีค่าใช้จ่าย ย่อมต้องกระทบกับกำไรสะสม และกำไรของบริษัทในแต่ล่ะปี

โดยผลประโยชน์พนักงานนี้ อาจจะแบ่งออกเป็นผลประโยชน์ระยะสั้น ๆ ที่จะต้องจ่ายภายใน 1 ปี เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง หรือโบนัสประจำปี และผลประโยชน์ที่จะจ่ายในระยะยาว เช่น เงินชดเชยยามเกษียณอายุ หรือรางวัลจากการทำงานกับองค์กรเป็นระยะเวลานาน (ทำงานครบ 10 ปี ได้ทองคำ 1 บาท)

และเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเกิดเหตุการณ์ในทำนองที่ว่า ไม่มีเงินจ่ายผลประโยชน์ให้พนักงาน จึงมีการกำหนดมาตรฐานทางบัญชีว่าบริษัทจะต้องรับรู้หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และสำรองเงินไว้ให้เพียงพอ ซึ่งก็ครอบคลุมตัวผลประโยชน์พนักงานนี้ด้วยเช่นกัน

สำหรับผลประโยชน์ระยะสั้น ๆ บริษัทก็สามารถรับรู้ได้ง่าย ๆ เช่น พนักงานมีเงินเดือน 25,000 บาท แปลว่าทั้งปีนี้ ก็รู้อยู่แล้วว่าบริษัทจะเป็นหนี้พนักงานอยู่เดือนละ 25,000 บาท ก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายกันไป

แต่สำหรับผลประโยชน์ระยะยาวนั้นต่างออกไป เช่น หากลองสมมติดูว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องจ่ายเงินชดเชยเกษียณอายุตามกฎหมายซึ่งอ้างอิงจากเงินเดือนสุดท้าย ให้พนักงานคนหนึ่ง 1,000,000 บาท ถามว่าเราควรสำรองเงินไว้ทั้ง 1,000,000 บาทเลยหรือเปล่า และในช่วง 20 ปีนี้ เงินเดือนพนักงานคนนี้เพิ่มขึ้น แล้วผลประโยชน์ที่จะต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร แล้วควรจะสำรองเงินไว้ตอนนี้เป็นจำนวนเท่าไรกันแน่

และคำถามนี้ คือที่มาของการประเมินภาระผูกพันของผลประโยชน์พนักงาน กล่าวคือ เป็นการประเมินว่าปัจจุบัน บริษัทควรจะตั้งเงินสำรองเท่าไร และในอนาคตควรจะเพิ่มเงินสำรองให้พนักงานปีละเท่าไร เพื่อที่จะได้มีเงินเพียงพอจ่ายให้พนักงาน ในวันที่พนักงานเกษียณอายุ

พน กงาน a&g technology co ltd ม พน กงานก คน

รูปด้านบนนี้ คือรูปตัวอย่างแสดงการผลการคาดการณ์ว่าในอนาคตแต่ละปี บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยปีล่ะประมาณเท่าไร ซึ่งจะเห็นว่ามีการผันผวนอย่างมากในแต่ละปี และในกรณีที่ไม่มีการตั้งเงินสำรองเอาไว้ก่อน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะกระทบกับผลกำไรของบริษัททันที และอาจทำให้บริษัทขาดทุน หรือยิ่งไปกว่านั้น อาจทำให้บริษัทล้มละลายได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น เมืองดีทรอยต์ (Detroit) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกว่าล้มละลาย กล่าวคือไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเงินเดือน สวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานของภาครัฐ และรวมถึงเงินชดเชยเกษียณอายุด้วย

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุคือการตั้งเงินสำรองสำหรับหนี้สินผลประโยชน์พนักงานน้อยเกินไป โดยสำรองไว้ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ความจริงแล้วควรสำรองไว้ 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นหมายความว่า เมืองดีทรอยต์รับรู้หนี้สินน้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึงเกือบ ๆ 6 เท่า

ดังนั้นจึงจะเห็นว่าการตั้งเงินสำรองนั้นมีความสำคัญอย่างมากกับทุกธุรกิจ เพราะทุกบริษัทจะมีภาระผูกพันจากผลประโยชน์พนักงานระยะยาวที่ต้องจ่ายในอนาคตกันทั้งนั้น

นอกจากนี้ หากใครพอจะจำได้ ธุรกิจฟิตเนสที่เป็นข่าวโด่งดังว่าล้มละลายเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ ก็จัดอยู่ในกลุ่มได้เงินมาก่อน แล้วต้นทุนเกิดขึ้นทีหลังเช่นกัน เพราะรับค่าสมาชิกแบบตลอดชีพจากลูกค้า แล้วต้นทุนอย่างพวก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบำรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ รวมถึงเงินเดือนของพนักงาน จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกใช้บริการของฟิตเนส

แน่นอนว่าธุรกิจในลักษณะนี้จะต้องประมาณหนี้สิน และตั้งเงินสำรองให้เพียงพอ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดผลกระทบกิจการ และพนักงานในอนาคต

ทั้งนี้การประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงานของบริษัททั่วไปตามหลักสากลแล้วจะใช้วิธีการแบบคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งประกอบด้วยหลักสถิติ เช่น โอกาสที่พนักงานจะลาออกจากงาน หรือเสียชีวิตก่อนเกษียณอายุ และหลักคณิตศาสตร์การเงิน เช่น ทฤษฎีดอกเบี้ย หรือคำนวณดูว่าเงินเดือนสุดท้ายของพนักงานจะเป็นเท่าไร

แต่สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันแล้วจะมีความพิเศษตรงที่ บริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทในต่างประเทศเลย (กล่าวง่าย ๆ คือ SMEs ทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้มีบริษัทสากลมาถือหุ้น หรือไม่ได้ไปถือหุ้นบริษัทสากล) จะได้รับการยกเว้นให้ประมาณการโดยไม่ต้องใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็ได้ แต่เมื่อไรที่เริ่มมาข้องแวะกับบริษัทที่ต้องใช้หลักมาตรฐานสากล หรือต้องเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อไร ก็ค่อยหันมาคำนวณกันจริงจังอีกที

สรุปคือ การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน คือการประเมินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ่ายผลประโยชน์พนักงานของบริษัทเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายผลประโยชน์ และเพื่อไม่ให้กระทบกับกำไรขาดทุนของบริษัท ในวันที่มีการจ่ายผลประโยชน์ออกไปจริงๆ

การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าโครงการผลประโยชน์อาจไม่ได้จัดตั้งเป็นกองทุนหรืออาจจัดตั้งเป็นกองทุนที่กิจการจ่ายเงินสมทบทั้งหมด หรือบางส่วน และบางครั้งพนักงานร่วมสมทบด้วย โดยจ่ายสมทบเข้าไปในกิจการหรือกองทุนที่แยกต่างหากตามกฎหมายจากกิจการที่เสนอรายงาน โดยผลประโยชน์ของพนักงานจะจ่ายออกจากกองทุนดังกล่าว

<path d="M18.6514224,10.4604595 C17.3924224,11.9688254 13.9774224,15.4790227 9.46342244,15.5 L9.42442244,15.5 C6.26242244,15.5 3.20842244,13.7938483 0.345422443,10.4264963 C-0.115140814,9.88163847 -0.115140814,9.08439833 0.345422443,8.5395405 C1.60442244,7.03117456 5.01942244,3.52097727 9.53342244,3.5 L9.57342244,3.5 C12.7354224,3.5 15.7894224,5.20615167 18.6524224,8.5735037 C19.1122856,9.11875503 19.1118633,9.91569484 18.6514224,10.4604595 Z M17.8674224,9.2228003 C15.2084224,6.09518855 12.4194224,4.50990594 9.57442244,4.50990594 L9.54042244,4.50990594 C5.46142244,4.52888537 2.30642244,7.78335969 1.14042244,9.18084575 C0.991393136,9.3517953 0.988008897,9.60533857 1.13242244,9.78019645 C3.79142244,12.9078082 6.58142244,14.4920919 9.42542244,14.4920919 L9.46042244,14.4920919 C13.5394224,14.4741114 16.6934224,11.2196371 17.8604224,9.822151 C18.0095734,9.6511131 18.0125381,9.39726759 17.8674224,9.2228003 L17.8674224,9.2228003 Z M9.49942244,13.3932823 C7.35251405,13.3646853 5.63255349,11.6080263 5.65157552,9.46333471 C5.67059754,7.31864313 7.42144652,5.59270141 9.56852513,5.6021069 C11.7156037,5.61151239 13.4512316,7.35272696 13.4514224,9.49750271 C13.4349115,11.6625186 11.6668124,13.4054651 9.49942244,13.3932823 L9.49942244,13.3932823 Z M9.49942244,6.61762258 C7.91092198,6.63961751 6.63891624,7.93990193 6.65354481,9.52676854 C6.66817338,11.1136351 7.96393479,12.3902997 9.55257137,12.3830695 C11.1412079,12.3758393 12.4252698,11.0874333 12.4254224,9.50049946 C12.4127657,7.89797688 11.1037033,6.60820738 9.49942244,6.61762258 L9.49942244,6.61762258 Z" /><path d="M9.5,13 L15,13 C15.5522847,13 16,12.5522847 16,12 L16,12 L16,5 C16,4.44771525 15.5522847,4 15,4 L15,4 L4,4 L4,4 C3.44771525,4 3,4.44771525 3,5 L3,12 C3,12.5522847 3.44771525,13 4,13 L7,13 L7,15.5 L9.5,13 Z M15.0081158,13.973325 L10,13.973325 L7.42191625,16.5445317 C6.63661359,17.3277395 6,17.0667904 6,15.9700713 L6,13.973325 L3.99188419,13.973325 C2.89179693,13.973325 2,13.0706688 2,11.979044 L2,4.994281 C2,3.89287002 2.89339733,3 3.99188419,3 L15.0081158,3 C16.1082031,3 17,3.90265618 17,4.994281 L17,11.979044 C17,13.0804549 16.1066027,13.973325 15.0081158,13.973325 Z" />

Provision คืออะไร บัญชี

18. ประมาณการหนี้สิน (Provision) หมายถึง หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ ซึ่งบริษัทสามารถประมาณมูลค่าหนี้สินนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ และเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่

Bonus จัดเป็นผลประโยชน์ประเภทไหน

1. ผลประโยชน์ระยะสั้น คือ พวกเงินเดือน โบนัส หรือวันลาระยะสั้นที่ได้รับผลตอบแทน 2. ผลประโยชน์หลังเลิกจ้าง คือ ผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงานเมื่อไล่ออกจากงาน

Employee Benefit มีอะไรบ้าง

10 สวัสดิการ (Employee Benefit) ที่ “พนักงาน” ให้ความสำคัญมากที่สุด โบนัส วันหยุด-วันลาตามกฎหมาย ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ค่าล่วงเวลา เงินออมพิเศษ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ... .

10 สวัสดิการที่ “องค์กร” นิยมจัดสรรให้กับพนักงานมากที่สุด วันหยุด-วันลาตามกฎหมาย ประกันสังคม โบนัส ค่าล่วงเวลา กิจกรรมสันทนาการ.

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ PAES ปัจจุบันที่ใช้อยู่ในปี2566 มีกี่ฉบับ

  1. จำนวน 8 ฉบับ ลงราชกิจจาฯ แล้ว เมื่อวันที่ 26. กันยายน 2565 (Link จากราชกิจจาฯ ตามด้านล่าง) ทั้ง 8 ฉบับนี้ มี 6 ฉบับ (TAS 16, TAS 37, TFRS 1, TFRS 9, TAS 41 และ TFRS 3) ที่มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหา