2024 ทำไม สมเด จพระญาณส งวรณ อร ยะวงศาคตญาณ

เมื่อทรงบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ครั้นวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อวัดเหนือได้พามาฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐมและได้เริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดเสนหาในพรรษานั้น อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อจึงได้พามาถวายตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ในขณะนั้นยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้รับพระเมตตารับไว้และทรงมอบให้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา(เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ.๓ ต่อมาลาสิกขา)ทรงได้รับประทานฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สุวฑฺฒโน ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร ขณะนั้นมีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด พระองค์เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

2024 ทำไม สมเด จพระญาณส งวรณ อร ยะวงศาคตญาณ

ทรงอุปสมบท

พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุครบอุปสมบทได้ ทรงกลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดหรุงเจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ทรงอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยูที่วัดเทวสังฆาราม อยู่ ๑ พรรษา แล้วกลับมาทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (ขณะนั้นยังนับเดือน - เมษายนเป็นต้นปี) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระรัตนธัชมุนี (จู อิสฺสราโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงอุปสมบทอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ยังคงเวียนไปสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่อีก ๒ ปี และทรงสอบ เปรียญธรรมเรื่อยมาจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในระหว่างนั้นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต กับสวามีสัตยานันทปุรี นักพรตชาวอินเดียด้วย

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) พระพี่เลี้ยงเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีตามขัตติยราชประเพณี

2024 ทำไม สมเด จพระญาณส งวรณ อร ยะวงศาคตญาณ

สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่ในการคณะสงฆ์และการพระศาสนา

เมื่อทรงสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ก็ทรงรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งทางวัดและทางคณะสงฆ์ นับแต่ทรงเป็นครูสอนนักธรรมและบาลี และเมื่อมีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลีสนามหลวง ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีเรื่อยมาจนถึงชั้นประโยค ๙ ต่อจากนั้นได้ทรงรับ ภาระทางการคณะสงฆ์และการพระศาสนา เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ

พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงเป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นเลขานุการ ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงเป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงเป็นกรรมการอำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และเป็นกรรมการแผนกตำราของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม และได้เป็นผู้ร่วมในคณะทูตพิเศษที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอัครสาวก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พ.ศ. ๒๔๙๖ ทรงเป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทถาวร พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงเป็นกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.) พ.ศ. ๒๕๐๓ ทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต พ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค เป็พระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พ.ศ. ๒๕๐๖ ทรงเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ตามพระราชบัญัญติคณะสงฆ์ พ. ศ. ๒๔๐๕ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดราชสิทธาราม พ.ศ. ๒๕๑๗ ทรงเป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงเป็นรองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎกเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

2024 ทำไม สมเด จพระญาณส งวรณ อร ยะวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๓๕๑ ตรงกับ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

แบบอย่างที่ดีของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)คือข้อใด

ด้วยคุณธรรมอันเป็นแกนของชีวิตดังกล่าวพระองค์จึงทรงประสบความสำเร็จ หรือทรงเจริญก้าวหน้าไปตามครรลองของชีวิตจนถึงที่สุด ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ หากวิเคราะห์ ตามที่ปรากฏในพระประวัติ ก็จะเห็นได้ว่า พระคุณธรรมที่โดดเด่นในชีวิตของพระองค์ ก็คือ อดทน ใฝ่รู้ กตัญญู ถ่อมตน คารวธรรม

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน)ทรงมีผลงานด้านใด

ทรงอุปถัมภ์การสร้างโรงเรียนมัธยมญาณสังวร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สร้างวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ทรงอุปถัมภ์การสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดนาควัชรโสภณ จังหวัดกำแพงเพชร สร้างวัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

พระสังฆราชองค์ปัจจุบันอายุกี่ปี

นับเป็นวันมหามงคลอย่างยิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย เมื่อวันคล้ายวันประสูติของ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร)” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จะเวียนมาบรรจบอีกครั้ง ครบรอบ 96 ปีในวันที่ 26 มิถุนายนนี้

สมเด็จพระญาณสังวรมรณภาพปีไหน

สมเด็จพระอริยวงษญาณ พระนามเดิม สุก เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2363 อยู่ในตำแหน่ง 3 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2365 พระชันษาได้ 89 ปี 242 วัน