ก กด เงาเส ยงล าส ด 2562 15 ม นาคม2561

กิ๊กดู๋ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้เกมโชว์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2553 ในเริ่มแรกออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 15:45 - 17:30 น. ทางช่อง 7 HD ผลิตโดย บริษัท เจเอสแอลโกลบอลมีเดีย จำกัด และ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด โดยมีรูปแบบรายการเป็นวาไรตี้เกมโชว์ที่มีความหลากหลาย โดยปัจจุบันใช้ชื่อว่า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน และ ในออกอากาศทางช่อง PPTV HD36 ทุกวันศุกร์ เวลา 20:45 - 22:15 น.ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ประวัติ[แก้]

กิ๊กดู๋ เกิดจากการรวมเวลารายการของ 2 บริษัทคือรายการ 07 โชว์ ของค่าย เจเอสแอลโกลบอลมีเดีย ที่อยู่คู่กับสถานีมานานถึง 23 ปี (นับตั้งแต่รายการ วิก 07) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 15:45 - 17:00 น. และรายการ แฟนคลับ ของค่าย ทริปเปิ้ลทู ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 17.00 - 17.30 น. ทำให้ทั้ง 2 บริษัทตัดสินใจผลิตรายการใหม่และกลายเป็นผู้เช่าเวลารายการร่วมกัน ซึ่งกิ๊กดู๋นับเป็นรายการที่ 2 ต่อจาก กลมกิ๊ก ที่ทั้ง 2 บริษัทผลิตรายการร่วมกันแต่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อและรูปแบบจากรายการแฟนคลับ

ต่อมา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่โดยใช้ชื่อรายการว่า กิ๊กดู๋ สงครามเพลง เป็นการแข่งขันร้องเพลงระหว่างชุมชนต่อชุมชนเพื่อหาผู้ชนะประจำสัปดาห์ และผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาลหลังจากนั้นรายการก็หลุดผังไป 1 เดือน เพราะช่อง 7 HD เตรียมรายการอื่น ๆ ที่จะลงแทนในเวลาเดิมของรายการ ซึ่ง JSL นั้นมีสัญญาเช่ารายการในเย็นวันอาทิตย์มานานเกือบ 26 ปี จึงทำให้รายการออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2556

ต่อมา รายการก็กลับมาอีกครั้งเมื่อวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน โดยย้ายมาออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22:30 - 00:10 น. ทางช่อง 7 HD เช่นเดิม ซึ่งเป็นการแข่งขันร้องเพลงเช่นเดิมทุกประการ แต่เพิ่มเติมคือ แจกเงิน 1 ล้านบาท สำหรับผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล

ต่อมา รายการ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ได้แยกออกเป็น 2 รายการ คือช่วงประชันเงาเสียง โดยใช้ชื่อใหม่ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง และช่วงประชันจังหวัด ใช้ชื่อ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน เช่นเดิม และได้ย้ายกลับมาออกอากาศในช่วงเวลากลางวันอีกครั้ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 15.45 - 16.45 น. ซึ่งออกอากาศแทนช่วงเวลาของรายการ สับขาหลอก ของผู้ผลิตเดียวกัน ซึ่งออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2560 อนึ่ง สำหรับ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง ได้ออกอากาศแทนเวลาเดิมของรายการ แต่ลดเวลาลงจากเดิม 100 นาที เป็น 85 นาที ซึ่งออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30 - 23.55 น. ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560

ต่อมา รายการได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่อีกครั้ง ในชื่อใหม่กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน โดยยังคงเป็นการแข่งขันร้องเพลงระหว่างชุมชนต่อชุมชนเช่นเดิม แต่จะมีโอกาสได้ 1 ล้านบาทเป็นทุกสัปดาห์ จากการให้ซุปตาร์ดำน้ำหาเหรียญให้ชุมชนที่ชนะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นซุปตาร์ประจำจังหวัดที่ชนะ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561

ต่อมาทั้ง 2 รายการก็หลุดผังประจำเดือนธันวาคม 2561 ของช่อง 7 HD เนื่องจากกระแสข่าวที่ว่ารายการจะย้ายไปออกอากาศทางช่อง PPTV HD36 เนื่องจากผู้ผลิตแบกรับภาระค่าเช่าเวลาของสถานีไม่ไหว ซึ่งค่าเช่าเวลาเท่าเดิม แต่รายได้จากค่าโฆษณาลดลง เนื่องจากรายการออกอากาศดึกเกินไป ทำให้ขายโฆษณาได้ไม่มากเท่าเดิม ทำให้ผู้ผลิตรับข้อเสนอของช่อง PPTV HD36 ที่จะจ้างผลิตรายการในขณะที่รายการนั้นยังมีสัญญาของช่อง 7 HD อยู่ ส่งผลให้ช่องเดิมยกเลิกสัญญารายการอย่างกะทันหัน ทำให้มีเทปรายการของ กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน จำนวน 4 เทป และ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง อีก 2 เทป ที่ยังไม่ได้ออกอากาศ ส่งผลให้ต้องออกอากาศทาง Line TV และ Facebook Live ในวันและเวลาเดิมไปก่อน เนื่องจากมีนักแสดงบางท่านติดสัญญาช่อง 7 HD อยู่ในเทปดังกล่าว ส่งผลให้รายการออกอากาศทางช่อง 7 HD ครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561

และปัจจุบันรายการได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง PPTV HD36 รวมถึงยุบรวมรายการ กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน และ กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง เป็นรายการเดียวกันอีกครั้งและกลับมาใช้ชื่อเดิม กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ในวันเดิมแต่เลื่อนเวลามาเร็วขึ้นเป็น 20.15 - 22.00 น. โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 พร้อมกับเปลี่ยนผู้ผลิตหลักเป็น บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด และให้ เจเอสแอลโกลบอลมีเดีย และ ทริปเปิ้ลทู ผู้ผลิตเดิมเป็นผู้รับจ้างผลิตรายการ เพื่อให้ทั้ง 2 บริษัทมีรายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณามากขึ้นและลดภาระค่าเช่าเวลา นับเป็นรายการแรกจากช่อง 7 HD ที่ย้ายช่องมาออกอากาศทางช่อง PPTV HD36 อย่างเป็นทางการ และนับตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป รายการได้ย้ายวัน-เวลาออกอากาศและเลื่อนเวลามาเร็วขึ้นไปเป็นทุกวันศุกร์ เวลา 19.30 - 21.30 น.

ชื่อรายการ[แก้]

  • กิ๊กดู๋ (24 ตุลาคม 2553 - 20 กุมภาพันธ์ 2554)
  • กิ๊กดู๋ สงครามเพลง (27 กุมภาพันธ์ 2554 - 27 มกราคม 2556)
  • กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน (26 กุมภาพันธ์ 2556 - 8 สิงหาคม 2560 / 2 กันยายน 2560 - 10 กุมภาพันธ์ 2561 / 8 มกราคม 2562 - 31 ธันวาคม 2564)
  • กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง (15 สิงหาคม 2560 - 11 ธันวาคม 2561)
  • กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน (17 กุมภาพันธ์ - 22 ธันวาคม 2561)

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ ทุกวัน เวลา ช่วงระหว่าง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อาทิตย์ 15:45 - 17:30 น. 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 27 มกราคม พ.ศ. 2556 อังคาร 22:30 - 00:10 น. 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 22:50 - 00:30 น. 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 22:30 - 00:10 น. 9 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 22:45 - 00:20 น. 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เสาร์ 15:45 - 16:45 น. 2 กันยายน พ.ศ. 2560 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 16:00 - 17:00 น. 3 มีนาคม - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พีพีทีวี อังคาร 20:15 - 22:00 น. 8 มกราคม​ พ.ศ. 2562 -​ 19 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2563 ศุกร์ 20:45 - 22:15 น. 5 มิถุนายน​ พ.ศ. 2563 -​ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

  • ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558 รายการจะออกอากาศไม่เท่ากันในแต่ละสัปดาห์ เนื่องจากในเวลา 18:00 น. มีรายการ เดินหน้าประเทศไทย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาคั่น แต่ในผังรายการประจำเดือนของช่อง ยังคงระบุว่ารายการจะเริ่มในเวลา 22:30 น. เช่นเดิม

พิธีกรดำเนินรายการ[แก้]

พิธีกรประจำรายการ[แก้]

  • เกียรติ กิจเจริญ
  • สัญญา คุณากร

นักแสดงประจำรายการ[แก้]

  • โน้ต เชิญยิ้ม (กิ๊กดู๋ สงครามเพลง)
  • โก๊ะตี๋ อารามบอย
  • จตุรงค์ มกจ๊ก (กิ๊กดู๋, กิ๊กดู๋ สงครามเพลง)
  • เจี๊ยบ เชิญยิ้ม (กิ๊กดู๋ สงครามเพลง)
  • แอนนา ชวนชื่น (กิ๊กดู๋ สงครามเพลง)
  • ติ๊ก กลิ่นสี
  • นุ้ย เชิญยิ้ม
  • วรรธนะ กัมทรทิพย์
  • เชษฐวุฒิ วัชรคุณ
  • เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม หรือ ดีเจเชาเชา

กรรมการกิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน[แก้]

กรรมการประจำรายการ[แก้]

  • วีรศักดิ์ นิลกลัด
  • สุทธิพงษ์ วัฒนจัง
  • ศิริพร อยู่ยอด
  • สมพล ปิยะพงศ์สิริ
  • ศกุนตลา เทียนไพโรจน์
  • สมจิตร จงจอหอ

กรรมการรับเชิญ[แก้]

  • เปรมสุดา สันติวัฒนา (ไม่ทราบ - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7 HD)
  • มยุรา เศวตศิลา
  • สุนารี ราชสีมา
  • อาภาพร นครสวรรค์
  • เจนภพ จบกระบวนวรรณ
  • กวินรัฏฐ์ ยศอมรสุนทร
  • ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร
  • อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล
  • เอก รังสิโรจน์
  • เขมนิจ จามิกรณ์
  • ณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม
  • ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
  • วิเชียร กุศลมโนมัย
  • แอนดี้ เขมพิมุก
  • ยิ่งยง ยอดบัวงาม
  • สุภัชญา ลัทธิโศภณกุล
  • อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์
  • อนุวัฒน์ ชูเชิดวัฒนา
  • นุ้ย เชิญยิ้ม
  • อนุวัต เฟื่องทองแดง (ไม่ทราบ - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากเป็นผู้ประกาศข่าวช่องวัน 31)

กรรมการกิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน[แก้]

กรรมการประจำรายการ[แก้]

  • ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม
  • นิภาภรณ์ ฐิติธนการ
  • ดรุณี สุทธิพิทักษ์ (เป็กกี้ ศรีธัญญา)
  • ดาว ขำมิน
  • สมจิตร จงจอหอ

รูปแบบรายการ[แก้]

กิ๊กดู๋ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)[แก้]

ทำทำไม[แก้]

ช่วงทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ว่าจะใช้ชีวิตประจำวันได้หรือไม่ โดยที่ผู้ชมทางบ้านได้เขียนจดหมายไปยังรายการ และให้รายการได้ทดลองวิทยาศาสตร์ที่ผู้ชมทางบ้านเขียนจดหมาย โดยการนำเสนอคล้ายคลึงกับรายการ จิกะไบต์

คนไทยก็ทำได้[แก้]

ช่วงที่คนไทยที่จะแสดงความสามารถ ความรอบรู้ต่างๆ ที่อยากจะออกรายการ อาทิเช่น จดจำหมายเลขไปรษณีย์ หรือ หมายเลขสายรถประจำทาง เป็นต้น

สนทนาหาเรื่อง[แก้]

ช่วงที่พิธีกรที่จะสนทนากับดารารับเชิญที่จะมาเชิญในแต่ละสัปดาห์นั้น ที่เคยมีประเด็นข่าวของวงการบันเทิงต่างๆ

ละคร จิกะดู๋[แก้]

ช่วงการแสดงละครตลก โดยนักแสดงจากค่ายทริปเปิ้ลทู ได้แก่ ติ๊ก กลิ่นสี, จาตุรงค์ มกจ๊ก, นุ้ย เชิญยิ้ม และนักแสดงจากค่ายเจเอสแอล ได้แก่ วรรธนะ กัมทรทิพย์, เชษฐวุฒิ วัชรคุณ และ เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม (เชาเชา)

รอบสุดท้าย (ดวงดีหรือดวงซวย)[แก้]

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการกิ๊กดู๋ มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 16 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายกิ๊ก 8 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด และแผ่นป้ายดู๋ 8 แผ่นป้าย มีเงินรางวัล 5,000 บาท ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คนสามารถเปิดแผ่นป้ายดู๋ได้ครบ 5 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 25,000 บาท โดยเงินรางวัลที่ได้จะมอบให้กับหน่วยงานสาธารณประโยชน์ต่างๆ

ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายกิ๊ก 8 แผ่นป้าย ดู๋ 7 แผ่นป้าย และดู๋คูณสอง 1 แผ่นป้าย ให้ผู้เข้าแข่งขัน 5 คน จะต้องเปิดป้ายคนละ 1 แผ่นป้าย ทั้งหมด 5 แผ่นป้าย ถ้าเปิดแผ่นป้ายเจอหน้า "ดู๋" จะได้รางวัลป้ายละ 10,000 บาท ถ้าเปิดแผ่นป้ายเจอหน้า "กิ๊ก" จะได้รับรางวัลป้ายละ 1,000 บาท ถ้าเปิดได้ป้ายเจอหน้าดู๋คูณสอง เงินรางวัลของป้ายนั้น และป้ายต่อๆ ไปเงินรางวัลจะถูกคูณสองและกว่าเกมจะยุติลง และนำมารวมกับเงินรางวัลกับป้ายที่เปิดออกมาก่อนป้ายดู๋คูณสอง โดยเงินรางวัล สูงสุดคือ 100,000 บาท และเงินรางวัลที่ได้จะมอบให้แก่หน่วยงานสาธารณประโยชน์ต่างๆ

กิ๊กดู๋ สงครามเพลง : รูปแบบที่ 1 (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)[แก้]

รูปแบบแรกจะมี 32 ทีมจาก 32 ชุมชน 32 อำเภอ ทีมละ 3 คน แบ่งเป็น 16 สาย สายละ 2 ทีมมาแข่งขันกันเพื่อหา 1 ชุมชนเพื่อต่อยอดและพัฒนาต่อไป

รูปแบบแรกนั้นใช้ไป 3 ฤดูกาล

เงินรางวัลสำผู้ชนะ (บาท) รอบ ผู้ชนะ รองชนะ 16 สาย/8 สาย/4 สาย 20,000 10,000 รองชนะเลิศ 50,000 10,000 ชิงชนะเลิศ 500,000 50,000 ขวัญใจสังเวียน (นัดพิเศษ) 40,000 (+ 30,000 จากพิธีกร) 20,000

ยกอุ่นเครื่อง[แก้]

โดยจะมีโชว์พิเศษจากศิลปินรับเชิญก่อน จากนั้นศิลปินรับเชิญจะให้โจทย์เพลงนั้นๆ ก่อนที่ทั้ง 2 ทีมจะมาโชว์ร้องเพลง หลังจากนั้นศิลปินรับเชิญจะให้ 50 คะแนน สำหรับทีมที่ร้องดี

ยกที่ 1[แก้]

ยกแรกจะมีแผ่นป้ายอยู่ 16 แผ่นป้ายแบ่งเป็น 2 ฝั่ง โดยฝั่งละ 8 แผ่นป้ายเปิดเจอเพลงอะไร ก็จะต้องเลือกสมาชิกคนใดคนนึงต้องออกมาร้องเพลง ซึ่งคณะกรรมการจะให้คะแนนระหว่างร้อง เมื่อร้องจบทั้ง 2 คน จะประกาศคะแนน ทีมไหนมีคะแนนเยอะกว่าจะได้เปรียบ

ต่อมาใน ฤดูกาลที่ 2 และ 3 ได้ปรับกติกาใหม่ คือ สามารถเลือกเพลงที่ถนัดได้

ยกที่ 2[แก้]

แตกต่างจะยกแรกคือ ทีมที่ชนะในยกแรกจะต้องเลือกสมาชิกที่เหลืออยู่มาร้อง โดยจะต้องเลือกเพลงจากแผ่นป้ายที่เหลือ เปิดเจอเพลงอะไรก็ต้องร้องเพลงนั้น โดยกรรมการจะให้คะแนนระหว่างร้อง หลังจากร้องจบ จะประกาศคะแนนซึ่งจะรวมจากคะแนนในยกแรกกับคะแนนในรอบนี้

ยกที่ 3[แก้]

หลังจากส่งคนมาในทั้ง 2 ยกแล้ว ยกสุดท้ายคือ คนที่ยังไม่ได้ร้องเป็นคนสุดท้ายจะต้องมาร้องเพลงและกรรมการทั้ง 7 คนจะให้คะแนนขณะที่ร้องอยู่ พอร้องครบทั้งคู่ จะประกาศคะแนนเพื่อหาคนชนะโดยรวมจากคะแนนใน 2 ยกแรกมารวมกับรอบนี้ ใครที่มีคะแนนเยอะกว่าจะชนะและเข้าสู่รอบต่อไป

สงครามข้างสังเวียน[แก้]

ช่วงการแสดงตลก โดยระยะแรก นักแสดงตลก ได้อธิบายเล่าเรื่องเกี่ยวข้องของทีมผู้เข้าแข่งขันในแต่ละจังหวัดที่ส่งเข้าแข่งขัน

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นช่วง รอยยิ้มข้างสังเวียน โดยปรับเปลี่ยนมาเป็นการแสดงตลกในแต่ละตอนแทน ซึ่งมีความยาวประมาณ 5-10 นาที

ต่อมาสุดท้าย ช่วงนั้นก็ถูกยกเลิกใน กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมา

รูปแบบที่ 2 (4 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 27 มกราคม พ.ศ. 2556)[แก้]

ต่อมาได้ปรับโฉมใหม่ในฤดูกาลที่ 4-8 ได้ลดจำนวนทีมให้แข่งขันได้เร็วขึ้น จาก 32 ทีม มาเป็น 16 ทีม ทีมละ 4 คน กรรมการลดเหลือเพียง 5 คน และเพิ่มช่วงใหม่เป็นการเงาเสียง

เงินรางวัลสำผู้ชนะ (บาท) รอบ ผู้ชนะ รองชนะ 8 สาย/4 สาย 20,000 10,000 รองชนะเลิศ 50,000 10,000 ชิงชนะเลิศ 500,000 50,000 แชมป์เจ้าสังเวียน (นัดพิเศษ) 1,000,000 500,000ประชันดวลเพลง[แก้]

ในฤดูกาลที่ 4 ทั้ง 2 ทีมจะต้องร้องเพลงจากคำในป้ายที่กำหนดภายในเวลา 5 วินาที โดยกรรมการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ ถ้าทีมไหนจำไม่ได้ใน 5 วินาที หรือร้องไม่ถูก และกรรมการตัดสินว่าไม่ผ่าน ทีมนั้นได้ 10 คะแนน

ในตอนที่ 4 ของ ฤดูกาลที่ 4 (25 มีนาคม พ.ศ. 2555) ได้เพิ่มสิ่งอุปสรรคให้โหดขึ้นกว่าเดิม

ในตอนที่ 5 ของ ฤดูกาลที่ 4 (1 เมษายน พ.ศ. 2555) เปลี่ยนกติกาคือ ทีมฝ่ายตรงข้าม เลือกป้ายสมาชิกจากฝ่ายตรงข้าม (จาก 8 ป้าย) จากนั้น ร้องเพลงให้ได้นานที่สุดบนสิ่งอุปสรรคที่กำหนด(บนวัวกระทิงหรือวิ่งบนรางลู่วิ่ง) โดยจากนับเป็นวินาที ใครร้องได้นานสุด ได้ 10 คะแนน

ในยุค กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ได้เปลี่ยนชื่อช่วงเป็น กระทิงซิงกิ้งคอนเทสต์ ลดเหลือสิ่งอุปสรรคคือ นั่งบนวัวกระทิง และการแข่งรอบนี้เหลือเพียง 1 รอบ เท่านั้น

ประชันเสียงดี[แก้]

จาก 3 คนอยู่ในประชันดวลเพลง เหลือ 1 คนจากทั้ง 2 ทีมจะมาประชันร้องหนึ่งว่าใคร จะเข้าสู้รอบต่อไป โดยผลตัดสินเป็นคะแนนจากกรรมการทั้ง 5 คน (เหมือนรูปแบบแรก) รวมกับคะแนนจากรอบประชันดวลเพลง

ประชันเงาเสียง[แก้]

ช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านที่มีเสียงคล้ายกับศิลปิน ในฤดูกาลที่ 4 จะมีสัปดาห์ละ 2 คน ซึ่งคนร้องที่เป็นเงาเสียง จะต้องเข้าไปที่ตู้และร้องเพลง ซึ่งกรรมการทั้ง 5 คน จะกด Like ให้นักร้องเงาเสียง ถ้ากรรมการกด Like 3 ใน 5 เสียง จะได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท แต่ถ้ากรรมการ 5 คน กด Like ทั้งหมด จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และแต่ถ้ากรรมการกดไม่ถึง 3 Like จะโดนแป้งในตู้ทันที

ต่อมาในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา จะมีเจ้าของศิลปินมาเป็นกรรมการด้วย (มาในบางครั้ง รวมทั้งในยุค กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน ด้วย) และนักร้องเงาเสียงทั้ง 2 คนจะเป็นเงาเสียงคนเดียวกัน และตู้ได้เพิ่มเป็น 2 ตู้

กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน : รูปแบบที่ 1 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560)[แก้]

กลับมาหลังจากรายการหายไป 1 เดือน กลับมาในรูปแบบเดิม เพิ่มเติมคือแจกเงินให้ชุมชนเป็น 1 ล้านบาท

เงินรางวัลสำผู้ชนะ (บาท) รอบ ผู้ชนะ รองชนะ 8 สาย/รองชนะเลิศ 20,000 10,000 ชิงชนะเสิศ/แชมป์เจ้าสังเวียน (นัดพิเศษ) 1,000,000 100,000

ประชันเงาเสียง[แก้]

เปลี่ยนกติกาใหม่เล็กน้อยคือ โดยกรรมการทั้ง 5 คนจะให้กด Like ทีละคน แต่เงินรางวัลเป็นของยุค กิ๊กดู๋ สงครามเพลง เหมือนเดิม และรวมทั้งศิลปินต้นฉบับมาตัดสินด้วย กติกานี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 9 เมษายน พ.ศ. 2556 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ต่อมาได้เปลี่ยนกติกาใหม่ในฤดูกาลที่ 2 (ล้านที่ 2) คือ โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันสัปดาห์ละ 4 คน แบ่งเป็น 2 คู่ (โดยวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 มี 3 คน ต้องหาจับคู่ และคนที่เหลือต้องรอคนที่ชนะรอบแรกมาแข่ง) แต่ละคู่จะเข้าแข่งขันโดยร้องเพลง 1 เพลงของศิลปินประจำสัปดาห์ จากนั้นจะให้กรรมการ 5 ท่านเป็นผู้ตัดสิน โดยยกป้ายว่าพึงพอใจเสียงผู้เข้าแข่งขัน A หรือ B ผู้เข้าแข่งขันคนใดได้คะแนนจากกรรมการมากกว่า จะเข้ารอบต่อไปเพื่อแข่งขันกับผู้ชนะของอีกคู่ จากนั้นจะนำผู้ชนะของแต่ละคู่มาร้องเพลงของศิลปินประจำสัปดาห์ 1 เพลง เมื่อจบเพลงจะให้ศิลปินเจ้าของเพลงเป็นผู้ตัดสินว่าเสียงของผู้เข้าแข่งขันคนใดเสียงเหมือนที่สุด ผู้แพ้ในแต่ละรอบจะโดนแป้ง และผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนจากคณะกรรมการหรือเจ้าของเงาเสียง

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงประชันเงาเสียง[แก้]
  • ในเทปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 คู่ที่เป็นเงาเสียงในเทปนี้ เป็นเงาเสียงคนละคน และไม่มีศิลปินต้นฉบับมารับเชิญด้วย
  • มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ศิลปินเจ้าของเพลงที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครแพ้หรือชนะ เทปเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 ในเงาเสียงพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ในรอบตัดสินนั้นมีดาว ขำมินและติ๊ก ธรรมนูญ ปานา เนื่องจากทั้งสองนั้นร้องเสียงได้เหมือน จึงทำให้หมู พงษ์เทพและกรรมการต้องให้แชมป์ร่วมและได้ร้องคู่กับหมูพงษ์เทพ
ช่วงพิเศษ ต้นฉบับพบเงาเสียง[แก้]

โชว์พิเศษ จากต้นฉบับ ที่ร่วมร้องเพลงกับเงาเสียงในรายการ

ประชันเสียงมัน Battle[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมจะต้องเลือก 1 แผ่นป้ายจากแผ่นป้ายผู้สนับสนุนทั้ง 8 แผ่นป้ายในฝั่งสีแดงและสีน้ำเงินของตนเอง (2 ฝั่งรวมเป็น 16 แผ่นป้าย) เพื่อเปิดชื่อจับคู่ผู้เข้าแข่งขันของฝ่ายตรงข้าม โดยจะเริ่มเป็นการแข่งขันในรอบที่ 1 ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะถูกจับคู่เป็นการแข่งขันรอบที่ 2 ต่อไป

หลังจากการแข่งขันกรรมการทั้ง 5 คน มีคนละ 1 คะแนน จะต้องยกป้ายเลือกว่าจะพอใจจังหวัดไหน จังหวัดใดที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในแต่ละรอบ และจะได้เก็บคะแนนสะสมไป โดยการ Battle ในรอบที่ 1 จะได้ 5 คะแนน และการ Battle รอบที่ 2 จะได้ 10 คะแนน ซึ่งรวมแล้วคะแนนเต็มในรอบนี้คือ 15 คะแนน

กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน : รูปแบบที่ 2 (2 กันยายน พ.ศ. 2560 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561)[แก้]

โชว์เปิดสนาม[แก้]

เป็นการแสดงของนักร้องนักดนตรีวงต่าง ๆ มาแสดงก่อนเริ่มการแข่งขันสงครามเพลงเงินล้าน

กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน : รูปแบบที่ 3 (8 มกราคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)[แก้]

เกมในการแข่งขันจะแข่งเป็น เดี่ยว แบบ ตัวต่อตัว

ประชันเงาเสียง[แก้]

สืบเนื่องจากกติกาใน กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงาเสียง คือ ศิลปินต้นฉบับประจำสัปดาห์จะต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุน 8 แผ่นป้าย โดยแบ่งเป็นฝั่ง A สีแดง 4 แผ่นป้าย และฝั่ง B สีน้ำเงิน 4 แผ่นป้าย เพื่อเลือกผู้แข่งขัน 2 คนจาก 4 คนมาจับคู่เป็นการแข่งขันในคู่แรก ส่วนการแข่งขันคู่ที่ 2 ผู้ชนะจากคู่แรก จะมีสิทธิ์เลือกที่จะแข่งกับผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ อีก 2 คนได้โดยไม่ต้องเปิดแผ่นป้าย และรอบตัดสินผู้ชนะจากรอบที่ 2 จะต้องแข่งขันกับผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่ทันที

การตัดสินต้นฉบับจะมีสิทธิ์ร่วมตัดสินการแข่งขันในคู่แรกและคู่ที่ 2 ด้วย โดยต้นฉบับจะมี 2 Like (สามารถยกให้ได้ทั้ง A และ B ในกรณีที่ให้เสมอ) และกรรมการ 5 คนจะมีคนละ 1 Like หากผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนน Like มากกว่าจะเป็นผู้ชนะในรอบนั้นและผู้แพ้จะต้องโดนแป้ง

ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา (เทปเงาเสียงไมค์ ภิรมย์พร) จะเพิ่มตู้เป็น 4 ตู้ แต่ละตู้จะไม่เหมือนกัน จะมีกระดาษสี, น้ำ, แป้ง (ของเดิม) และโคลน(ภายหลังเพิ่มแยมขนมปัง ซึ่งมีรสชาติแตกต่างกันมาด้วย) ซึ่งผู้แข่งขันจะต้องเลือกตู้ก่อน ฝั่งที่แพ้ก็จะโดนสิ่งนั้นจากตู้ร่วงลงมาใส่ทันที หมายเหตุ : ของลงโทษในแต่ละตู้อาจจะมีการสลับสับเปลี่ยนในแต่ละเทปได้และจะมีของลงโทษเพิ่มเติมในภายหลัง

ประชันเสียงดี[แก้]

ในการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือ โดยจะมีป้ายของฝังทีมเองทั้ง 8 ป้าย ซึ่งเป็นป้ายเพลงของ ศิลปินต้นฉบับประจำสัปดาห์ ทั้งหมด และผู้เข้าแข่งขันในชุมชน จะร้องเพลงตามแนวที่ถนัดของตน ตามป้ายเพลงที่เลือกไว้ โดยจะตัดสินจาก กรรมการ 5 คนจะให้คะแนน 1,000 คะแนน ใครได้คะแนนมากสุด ผ่านเข้ารอบต่อไป

กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน[แก้]

เปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้เร็วขึ้นคือ จะแจกเงินล้านเป็นรายสัปดาห์ เพื่อหาผู้ชนะไปช่วยร่วมกับดารา โดยทีมเป็นชุมชนของจังหวัด 2 ทีม ทีมละ 2 คน ซึ่งทีมที่แพ้และทีมพลาดเงินหนึ่งล้านบาทต้องกลับมา โดยโหวตทาง Facebook

ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยคือ ตั้งแต่ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ดาราจะมาแข่งด้วย เป็นคนละทีมรวมกับสมาชิกของชุมชนอีก 1 คน โดยดาราเลือกเป็นตัวแทนประจำชุมชน

รอบดวลเพลง[แก้]

โดยจะมีป้ายของฝังทีมเองทั้ง 8 ป้าย เลือกป้ายคนที่จะร้องในคู่แรก และอีกคู่ไปดวลอีก 1 ยก กรรมการทั้ง 4 คนจะให้คะแนน โดยทั้ง 2 ยก มี 1,000 คะแนน ทีมใดได้คะแนนสูงสุดทั้ง 2 ยก เข้ารอบโบนัส ซุปตาร์เงินล้าน

รอบสุดท้าย (โบนัส ซุปตาร์เงินล้าน)[แก้]

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของ กิ๊กดู๋ ซุปตาร์เงินล้าน จะใช้รูปแบบเกมจากรอบแจ็กพอตของ 07 โชว์ ในยุคแรก มาปรับเปลี่ยนใหม่ โดยดาราจะงมหาเหรียญในตู้น้ำที่มีหีบสมบัติอยู่ ตามเวลากำหนด 45 วินาที โดยก่อนจะเริ่ม ทีมที่เข้ารอบจะได้เลือกป้ายเพิ่มเวลา 2 ป้าย จาก 9 ป้าย โดยมี 30 วินาที 1 ป้าย, 20 วินาที 6 ป้าย และ 10 วินาที 2 ป้าย

  • ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ทีมที่ได้รับกองเชียร์ยอดเยี่ยมของทีมที่เข้ารอบ จะเลือกได้อีก 1 ป้าย
  • ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทางรายการได้ย้ายตู้น้ำจากด้านขวาของฉาก มาไว้ที่ตรงกลางด้านหลังประตูจอแอลอีดีเลื่อน และตั้งอยู่ตรงนั้นจนสิ้นสุดการออกอากาศ

ซึ่งในการงมหาเหรียญนั้น ภายในตู้น้ำจะมีหีบสมบัติอยู่จำนวน 3 หีบ ดาราจะต้องหาเหรียญที่มีตราสัญลักษณ์ของรายการแล้วเอามาวางที่แท่นใส่เหรียญเท่านั้น อย่าเจอเหรียญที่ไม่มีตราสัญลักษณ์ ภายในเวลาที่กำหนด (65 วินาที,75วินาที,85วินาที,95วินาที ,105วินาที,และสูงสุด 115วินาที)

โดยเหรียญที่มีตราสัญลักษณ์มีค่าเงินรางวัลเหรียญละ 10,000 บาท แต่ถ้าเจอเหรียญที่มีตราสัญลักษณ์ครบ 7 เหรียญ จะได้รับเงินรางวัล Jackpot ให้ชุมชน 1,000,000 บาทและเกมจะยุติลงทันที แต่ในกรณีเมื่อหมดเวลาแล้วไม่สามารถหาเหรียญที่มีตราสัญลักษณ์ของรายการจนเจอ ชุมชนจะได้รับเงินรางวัลปลอบใจไป 10,000 บาท