ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคน ต้องมีการวางแผนจัดระเบียบทางการเงินกันอยู่แล้ว แต่เคยรู้กันบ้างไหมว่า เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว เมื่อเกษียณอายุเราจะได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ส่วนรายละเอียดการรับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร มาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อนครับ มาดูกันว่ามนุษย์เงินเดือน จะได้เงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกันเท่าไร?

Show

ที่มาของข้อมูล : moneybuffalo.in.th

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร

เงินชราภาพประกันสังคม คือ เงินยามเกษียณของเหล่ามนุษย์เงินเดือน ผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม โดยสะสมจากการทำงาน พูดง่ายๆ คือ เงินที่เราถูกหักค่าประกันสังคมในทุกๆ เดือน เป็นจำนวน 5% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ตั้งแต่ 250 – 750 บาท โดยใน 5% นี้จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่1 สมทบกองทุนดูแลเรื่อง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ / ทุพพลภาพ / คลอดบุตร และเสียชีวิต จำนวน 1.5% หรือ 225 บาท ถึงแม้ไม่ใช้สิทธิก็ไม่ได้รับเงินคืน

ส่วนที่2 เก็บเป็นเงินออมกรณีสงเคราะห์บุตร / ชราภาพ จำนวน 3 % หรือ 450 บาท จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

ส่วนที่3 ใช้ประกันการว่างงาน จำนวน 0.5 % หรือ 75 บาท ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นรายได้ระหว่างตกงานหรือกำลังหางานใหม่ หากไม่ใช้สิทธิ์ก็จะไม่ได้รับเงินคืน

*เงินทุกเดือนที่เราจ่ายประกันสังคมไป หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน เงินจำนวน 450 บาท จะถูกหักเข้าไปเป็นเงินออมชราภาพทันที เสมือนกองทุนประกันสังคม ช่วยทำหน้าที่เก็บออมเงินให้เรา

เงินชราภาพ เงินหลังเกษียณจากประกันสังคม

สาเหตุที่ต้องมีเงินชราภาพ ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำบาญไว้ใช้ยามชราภาพ เป็นสวัสดิการหลังเกษียณรูปแบบหนึ่ง

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

เงินชราภาพ ประกันสังคม ได้ตอนไหน ใครได้บ้าง

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพโดยผู้ที่ได้รับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (ม.33, ม.39, ม.40)

- ผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

- ผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องมีอายุมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ

กลุ่มที่ 2 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต

- ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย

- สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

- บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่

จะได้รับเป็น เงินบำเหน็จชราภาพ หรือ เงินบำนาญชราภาพ

ผู้ประกันตนจะรู้ได้ยังไงว่า จะได้รับเงินชราภาพเป็น เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง

เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินชราภาพที่ประกันสังคมจะจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินชราภาพที่ประกันสังคมจะจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต หลังอายุ 55 ปี

เลือกได้ไหม? ว่าจะรับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือ เงินบำนาญชราภาพ

คำตอบคือ ไม่สามารถเลือกได้ เพราะกองทุนประกันสังคมใช้ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเกณฑ์การตัดสิน

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

ขอรับ เงินชราภาพ ประกันสังคมที่ไหน

ยื่นเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ และขอรับเงินชราภาพได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพ โดยห้ามเกินแม้แต่วันเดียว เพราะจะถูกตัดสิทธิ์รับเงินบำเหน็จ-บำนาญทันที

จะได้รับเงินชราภาพเมื่อไร หลังยื่นเอกสาร

เงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับภายใน 7-10 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ) หลังจากได้รับการอนุมัติ

เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับการเงินโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป หลังจากได้รับการอนุมัติ

ขอรับเงินชราภาพได้ยังไง เอกสารหลักฐานที่ใช้มีอะไรบ้าง

- กรณีผู้ประกันตนขอคืนเงินชราภาพด้วยตัวเอง

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)

เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายสำหรับชาวเหล่าฟรีแลนซ์เลยก็ว่าได้นะครับ กับการที่เราต้องแบกรับความเสี่ยงทางการเงินไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งถ้าวันใดเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ต้องล้มหมอนนอนเสื่อขึ้นมา ค่าใช้จ่ายทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าหยูกค่ายา และค่าดูแลต่างๆ อาจสูงจนกระทบต่อเงินหมุนเวียนในบัญชีของเราได้เลย

ซึ่งฝันร้ายตรงนี้ไม่ได้มีแค่เหล่าฟรีแลนซ์เท่านั้นที่มองเห็นและเป็นกังวล แต่ภาครัฐเองก็ใส่ใจ และให้ความสำคัญกับความมั่นคงจุดนี้เช่นกันครับ โดยภาครัฐได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือฟรีแลนซ์และแรงงานคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นลูกจ้าง หรือเรียกรวมๆ ว่า แรงงานนอกระบบ ด้วยการปล่อยสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 40 ออกมา เมื่อยามเกิดกรณีฉุกเฉินกับชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และเป็นเงินให้เราหลังการเกษียณอีกด้วยนั่นเอง การเข้าร่วมประกันตนมาตรา40 ถือเป็นสิทธิ์ที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระควรจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เปล่าๆ เด็ดขาด ซึ่งสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 40 นี้จะมีข้อดียังไง และจะช่วยอะไรเราได้บ้าง ตามไปชมกันเลย

ประกันสังคมคืออะไร?

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

แต่ก่อนที่จะไปลงลึกถึงรายละเอียด เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันตั้งแต่ต้นก่อนว่า ประกันสังคมคืออะไร ซึ่งประกันสังคมก็คือ ระบบการออมเงินส่วนหนึ่งจากเงินเดือนหรือเงินได้อื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันในชีวิต และผู้ที่มีสิทธิ์จ่ายเงินสมทบประกันสังคมประจำทุกเดือนๆ เรียกว่า ผู้ประกันตนนั่นเอง ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปจะเป็นเหมือนเงินเก็บเอาไว้ให้เราเบิกใช้ในยามฉุกเฉิน ป่วยไข้ ทุพพลภาพ คลอดบุตร เก็บไว้ใช้ยามแก่หรือรักษาพยาบาล เป็นเหมือนการสร้างหลักประกันให้กับการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง

หลายๆ คนอาจจะรู้สึกว่าการเสียเงินทุกเดือนไปโดยไม่ได้ใช้งานในทันทีมันอาจจะดูเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยและไม่คุ้มค่า แต่บอกเลยครับว่าถ้าเพื่อนๆ รู้ถึงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่จะได้รับแบบครบถ้วนสมบูรณ์แล้วล่ะก็ ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธที่จะทำประกันสังคมไม่ได้เชียวล่ะ

ประกันสังคมมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง?

ประกันสังคม จะมีรูปแบบการประกันตนทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกันนะครับ โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรา คือ…

  1. พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33)
  2. อดีตพนักงานที่ลาออกแล้ว (มาตรา 39)
  3. ฟรีแลนซ์ แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40)

ซึ่งการประกันตนในแต่ละมาตราก็จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือ เราต้องส่งเงินประกันตนให้ภาครัฐทุกเดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกันสังคมมาตรา 33

ผู้ประกันตนมาตรานี้คือ เหล่าลูกจ้างพนักงานบริษัท และองค์กรต่างๆ โดยบริษัทจะจ่ายเงินสมทบร่วมกันกับผู้ประกันตน และได้รับการคุ้มครองในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

ประกันสังคมมาตรา 39

ผู้ประกันตนมาตรานี้คือ คนที่เคยประกันตนในมาตรา 33 มาก่อน แต่มีการลาออกจากงานมาแล้ว และต้องการคงสิทธิ์ประกันสังคมของตนเองไว้ ก็จะเข้ามาอยู่ในประกันสังคมมาตรา 39 แทน ซึ่งความคุ้มครองที่จะได้รับก็คือ เมื่อเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และเมื่อชราภาพ

ประกันสังคมมาตรา 40

ผู้ประกันตนมาตรานี้คือ คนที่เป็นฟรีแลนซ์ เป็นเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ นั่นคือเหล่าแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะมีการคุ้มครองในเรื่องของการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และอื่นๆ ตามรูปแบบการประกันตน ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสิทธิ์ประโยชน์จากการทำประกันสังคมมาตรา 40 กันครับ

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ประกันสังคมมาตรา 40 ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ประกันตน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลักดันผู้ประกอบการและฟรีแลนซ์หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และส่งเสริมการเจริญเติบโตของ GDP ประเทศไทย ทำให้หลายๆ คนได้รับประโยชน์ที่มากกว่าเดิม และใกล้เคียงกับประกันสังคมมาตรา 39 เลยทีเดียว ซึ่งเราจะมาเจาะลึกกันว่า ประกันตนมาตรา 40 ดียังไง ทำไมผู้ประกอบการและฟรีแลนซ์ทุกคนถึงควรทำ

ประกันสังคมมาตรา 40 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบตามยอดเงินสมทบ

แต่ก่อนประกันสังคมมาตรา 40 จะสามารถจ่ายเงินได้เพียง 2 รูปแบบเท่านั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้แรงงานนอกระบบหันมาเข้าสู้ระบบประกันสังคมมาตรา 40 มากขึ้น ปัจจุบัน ทางสำนักงานประกันสังคมจึงได้ออกรูปแบบการประกันตนเพิ่มขึ้นอีก 1 รูปแบบ เราจึงสามารถเลือกการจ่ายเงินได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ ซึ่งมีแตกต่างกันในเรื่องของความคุ้มของในส่วนต่างๆ

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 1 จ่าย 70 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณีคือ

  • เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
  • เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน
  • เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 2 จ่าย 100 บาท

ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ

  • เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
  • เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน
  • เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)
  • เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน

ประกันสังคมมาตรา 40 รูปแบบที่ 3 จ่าย 300 บาท

รูปแบบที่ 3 คือรูปแบบที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ โดยเราต้องจ่ายค่าประกันตน 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท แต่จะได้รับความคุ้มครองมากถึง 5 กรณีเลยทีเดียว คือ

  • เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ถ้านอนโรงพยาบาลจะได้รับวันละ 300 บาท ถ้าแพทย์สั่งให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท
  • เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน (ตลอดชีวิต)
  • เงินค่าทำศพ 50,000 บาท
  • เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิน 2 2 คน)
  • เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน

และในช่วงการระบาดโควิด-19 กลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระ 9 กลุ่ม ที่อยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด สามารถยื่นสิทธิขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทได้ เพียงลงทะเบียนสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40

อาชีพอิสระ 9 กลุ่ม ได้แก่

  • ธุรกิจที่พัก และร้านอาหาร : โรงแรม, รีสอร์ท, เกสต์เฮ้าส์, ภัตตาคาร, ร้านอาหาร, ธุรกิจจัดเลี้ยง, ร้านอาหารแผงลอย, ร้านค้าในตลาด, บาร์
  • ธุรกิจขนส่ง : รถโดยสารประจำทางข้ามจังหวัด, รถยนต์รับจ้าง, แท็กซี่, ตุ๊กตุ๊ก, มอเตอร์ไซด์รับจ้าง, รถขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็ง, รถขนส่งสินค้าแบบตู้คอนเทนเนอร์
  • ธุรกิจขายส่ง ขายปลีก : ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, ร้านขายปลีกทั่วไป
  • บริการสนับสนุนต่างๆ : ธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ รักษาความปลอดภัย บริการทำความสะอาด บริการจัดประชุม บริการจัดแสดงสินค้า (Event)
  • กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และวิชาการ : บริษัทโฆษณา, ออกแบบและตกแต่งภายใน, ตรวจสอบบัญชี, ให้คำปรึกษาเรื่องภาษี
  • ธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร : ผู้ผลิตภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ธุรกิจจัดฉายภาพยนตร์
  • ธุรกิจก่อสร้าง : ก่อสร้างอาคาร, ที่พักอาศัย, ถนน, สะพาน, อุโมงค์, ระบบประปา และระบบระบายน้ำ
  • ธุรกิจศิลปะ และความบันเทิง : สถานที่ออกกำลังกาย, ฟิตเนส, สโมสรกีฬา, สวนสนุก, ธุรกิจแสดงโชว์ และนันทนาการต่างๆ
  • ธุรกิจอื่นๆ : สปา, ร้านตัดผม, คลินิคเสริมความงาม, ธุรกิจแต่งเล็บมือเล็บเท้า, ธุรกิจเกี่ยวกับงานศพ

29 จังหวัด ได้แก่ : กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, สมุครสงคราม, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ราชบุรี, อ่างทอง, นครนายก, ปราจีนบุรี, ลพบุรี, ระยอง, สิงห์บุรี, สระบุรี, นครราชสีมา, เพชรบูรณ์ และตาก

เงื่อนไข คุณสมบัติผู้สมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

  1. สัญชาติไทย
  2. อายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
  3. เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  4. ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน ที่มีประกันตน ม.33 อยู่แล้ว
  5. ไม่เป็นผู้ประกันตน ม.39
  6. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  7. เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 ยกเว้น 00

ตารางเปร ยบเท ยบ ประก นส งคม ม.33 ม.39 ม.40

วิธีการสมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

การสมัครรับสิทธิประกันสัคมมาตรา 40 สามารถสมัครด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา แต่สำหรับการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท จะสมัครได้ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 เท่านั้น

  1. สมัครผ่านเว็บไซต์ ประกันสังคม www.sso.go.th
  2. เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40
  3. กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่นๆ
  4. เลือกรูปแบบเงินสมทบที่จะต้องจ่ายทุกเดือน มี 3 รูปแบบ คือ 70 บาท 100 บาท และ 300 บาท
  5. ระบบจะยืนยันการสมัครผ่าน SMS ทันที
  6. เมื่อได้รับ SMS ให้ไปชำระเงินค่าลงทะเบียนที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส โลตัส บิ๊กซี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ตู้บุญเติม หรือ Shopee pay
  7. ช่องทางอื่นๆ ในการสมัครรับสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 : สำนักงานประกันสังคม เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เคาน์เตอร์บิ๊กซี สมัครผ่่านตัวแทนเครือข่ายประกันสังคม หรือโทร. 1506

หลักฐานประกอบการสมัคร

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่
  • แบบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40) ดาวน์โหลด

การจ่ายเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 40

การจ่ายเงินสมทบ เลือกได้ว่าจะชำระเป็นเงินสด หรือเลือกหักผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งจะต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน แต่สำหรับผู้สมัครเพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมติครม. บอกว่า หลังจากสมัครและได้รับเงินเยียวยาแล้ว จะส่งเงินสมทบต่อหรือไม่ก็ได้ ไม่มีการบังคับใดๆ

ชำระแบบเงินสด จ่ายได้ที่

  • สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่นั้นๆ
  • หน่วยบริการเคื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ค่าธรรมเนียม 10 บาท)
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ห้างเทสโก้โลตัส
  • ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

หักผ่านบัญชีธนาคาร

  • บัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  • บัญชีธนาคารออมสิน
  • บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
  • บัญชีธนาคารกรุงไทย
  • บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สำหรับเงินสมทบที่ต้องจ่าย ตามมติครม. ให้จ่ายเพียงร้อยละ 60 ของจำนวนเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ สิงหาคม 2564 – มกราคม 2565

  • จากเดิมจ่าย 70 บาท เหลือ 42 บาท / เดือน
  • จากเดิมจ่าย 100 บาท เหลือ 60 บาท / เดือน
  • จากเดิมจ่าย 300 บาท เหลือ 180 บาท / เดือน

ซึ่งการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ครั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกจ่ายเงินสมทบรูปแบบไหน ก็จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทเท่ากันทุกคน ตรวจสอบสิทธิการได้รับเงินเยียวยา ที่ www.sso.go.th

*อัพเดตล่าสุด

รอบการจ่ายเงินเยียวยา

  • ผู้ที่สมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.40 และจ่ายเงินสมทบก่อนวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ทั้ง 29 จังหวัด จะได้รับเงินเยียวยาโอนเข้าพร้อมเพย์ในวันที่ 24-26 สิงหาคม 2564
  • ผู้ที่สมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ม.40 ใน 19 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ตาก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา จะได้รับเงินเยียวยาโอนเข้าพร้อมเพย์ภายในเดือนกันยายน แต่ต้องเป็นผู้ที่สมัครและจ่ายเงินสมทบก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เท่านั้น
  • ส่วนผู้ประกันตน ม.39 ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ตาก จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2564

ผู้ประกันตนที่สมัครรับสิทธิ์ประกันสังคม ม.40 ระหว่างวันที่ 1-24 ส.ค. 64 สามารถเข้าไปเช็คสถานะการเป็นผู้ประกันตน ในเว็บประกันสังคมได้แล้ววันนี้ ที่ www.sso.go.th/eform_news/ คลิกตัวเลือก ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนมาตรา 40)

  • หากตรวจสอบพบว่ามีสิทธิได้รับเงินเยียวยา แต่เงินยังไม่เข้าบัญชี อาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ 1. กรอกชื่อ-นามสกุลผิด / ไม่ตรงกับชื่อ-นามสกุลในทะเบียนบ้าน 2. ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน / บัญชีปิด
  • ในกรณีแรก สามารถยื่นทบทวนสิทธิโดยติดต่อ 1506 หรือติดต่อสำนักงานประกันสังคมในจังหวัด ดาวน์โหลดเอกสารสำหรับยื่นทบทวนสิทธิได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
  • กรณีที่ 2 ให้รีบดำเนินการผูกบัตรประชาชนกับพร้อมเพย์ผ่านแอปฯ ธนาคาร หรือหากผูกแล้วแต่เงินยังไม่เข้าให้ติดต่อธนาคารที่ผูกบัตรประชาชนเอาไว้ หรือโทร 1506
  • ทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2564

แต่นอกจากการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาแล้ว ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่จะสร้างหลักประกันให้กับตัวคุณเองเมื่อถึงคราวจำเป็น เงินเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเสียไปทุกเดือนนั้นแทบจะไม่มีค่าอะไรเลยครับ เมื่อเทียบกับสิ่งที่เราจะได้คืนกลับมา ถ้าถามว่าฟรีแลนซ์อย่างเราๆ ทำประกันสังคมมาตรา 40 ดีมั๊ย และคุ้มหรือเปล่า ต้องบอกเลยครับว่า “คุ้มมาก” จริงๆ

ม.33 กับ ม.40 ต่างกันอย่างไร

สิทธิประกันสังคมทั้งหมดที่ผู้ประกันตนควรรู้มาตรา 33 คือผู้ที่ทำงานให้นายจ้าง มาตรา 39 คือผู้ที่ลาออกจากงานประจำ มาตรา 40 คือผู้ที่มีอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย

ม.39 ม.40 ต่างกันยังไง

สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แตกต่างจากผู้ประกันตนมาตรา 40 ว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะใช้สิทธิรักษาพยาบาลเป็นสิทธิประกันสังคมเช่นเดียวกับผู้ประกันมาตรา 33 ซึ่งเป็นลูกจ้างในระบบ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 จะไม่คุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ให้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามสิทธิบัตรทอง ...

ประกันสังคมมาตรา 33/39 คืออะไร

ประกันสังคม มาตรา 33 เป็นประกันสังคมภาคบังคับ สำหรับพนักงานเอกชนที่ทำงานในสถานประกอบการ ส่วนประกันสังคมมาตรา 39 เป็นประกันสังคมภาคสมัครใจ สำหรับคนที่เคยเป็นพนักงาน หรือลูกจ้าง แล้วลาออก แต่ยังต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อยังสามารถรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 39 มีอะไรบ้าง

ประกันสังคมมาตรา 39 คืออะไร ? ผู้ประกันตนโดยสมัครใจเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออก แต่ต้องรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, ตาย, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ