กรมพ ฒนาฝ ม อแรงงาน เช ยงใหม เร องผ ประกอบอาหารไทย

จังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ ปีงบประมาณ 2567

วันนี้ (27 ต.ค. 66) ที่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมพิจารณาขั้นตอนการดำเนินโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ ปีงบประมาณ 2567 เพื่อหารือคัดเลือกหลักสูตรและลงมติเห็นชอบการฝึกอบรม รวมถึงการสนับสนุนตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้รับการฝึกได้เข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ "แรงงานมีฝีมือ" ให้มีรายได้ที่สูงขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิต

นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและภัตตาคาร รวมทั้งความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านช่างไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศที่กำลังขยายตัวตามการเติบโตของจังหวัด ดังนั้นคณะกรรมการขับเคลื่นโครงการฯ จึงมีความเห็นชอบให้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ เปิดฝึกอบรม 2 หลักสูตรอาชีพ ได้แก่ ผู้ประกอบอาหารไทย และช่างเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

ด้าน นางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดสรรงบประมาณให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ เตรียมความพร้อมทั้งด้านหลักสูตรและด้านต่างๆ สำหรับรองรับการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคม 2567 และจะเริ่มฝึกอบรมในสถาบันฯ ตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นต้นไป จากนั้น จะให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรมเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบกิจการต่างๆ ต่อไป

โดยหลังเสร็จสิ้นการประชุม จะได้มอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ ไปดำเนินการจัดประชุมครูแนะแนวตามโครงการฯ จากนั้นจะให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการรวบรวมความประสงค์ของนักเรียน พร้อมจำแนกนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าฝึก เพื่อนำนักเรียนมาดูงานกิจกรรมการฝึก ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เห็นภาพกิจกรรมผ่านประสบการณ์จริง พร้อมทั้งให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดฯ ทำแบบวัดบุคลิกภาพเพื่อการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพ (VG New E-Service) นำไปประกอบการตัดสินใจเลือกหลักสูตรการฝึกสำหรับนักเรียนต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ หรือโทร 0 5312 1002–3 ต่อ 107 ฝ่ายพัฒนาศักยภาพแรงงาน กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน

ลำดับ สาขา ระยะเวลาที่ฝึก (ชั่วโมง) รูปแบบ วันเริ่ม ฝึกอบรม วันสิ้นสุด ฝึกอบรม หน่วยงาน 1 เทคนิคการใช้เครื่องวัดค่าสีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์(เฉพาะแรงงานในสถานประกอบการ) 30ปกติ 14 ธันวาคม 2566 18 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี สมัคร 2 การเขียนโปรแกรมสำหรับงานประมวลผลภาพและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(เฉพาะแรงงานในสถานประกอบการ) 30ปกติ 15 ธันวาคม 2566 19 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี สมัคร 3 การทำโต๊ะปูนปั้นไม้เทียมเพื่องานประดับ(กรุณาตรวจสอบมหมายโทรศัพท์และ E-Mail ให้ถูกต้อง) 30ปกติ 15 ธันวาคม 2566 18 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 21 ภูเก็ตเต็ม 4 การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมพื้นฐานคูก้า(เฉพาะแรงงานในสถานประกอบการ) 30ปกติ 15 ธันวาคม 2566 19 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี สมัคร 5 Advanced PLC และระบบ SCADA(เฉพาะแรงงานในสถานประกอบการ) 30ปกติ 15 ธันวาคม 2566 19 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี สมัคร 6 การขับรถฟอร์คลิฟท์อย่างปลอดภัยและถูกวิธี 30ปกติ 16 ธันวาคม 2566 24 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 9 พิษณุโลกเต็ม 7 การใช้โปรแกรม Microsoft Word 32ปกติ 16 ธันวาคม 2566 24 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสุรินทร์เต็ม 8 การทำขนมฟิวชั่น 30ปกติ 16 ธันวาคม 2566 25 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 9 พิษณุโลกเต็ม 9 การใช้โปรแกรม Microsoft Excel 32ปกติ 16 ธันวาคม 2566 24 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสุรินทร์เต็ม 10 การทำ Video Content Marketing & Production ด้วย Application บนสมาร์ทโฟน(ฝีกอบรมที่ สพร.23ปัตตานี) 30ปกติ 16 ธันวาคม 2566 24 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 23 ปัตตานี สมัคร 11 การเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือชิ้นงานแผ่นต่อชนตามมาตรฐานสากล 18ปกติ 16 ธันวาคม 2566 18 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 7 อุบลราชธานี สมัคร 12 การนวดหน้าเพื่อความงาม 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตรังเต็ม 13 การทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากผ้า 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสมุทรสงคราม สมัคร 14 ช่างเชื่อมแม็ก(เหล็กบาง) ระดับ 1(แรงงานในระบบ) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานยโสธร สมัคร 15 การตัดเย็บเสื้อผ้า(ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 34 กาญจนบุรี สมัคร 16 บาริสต้ามืออาชีพ 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 29 ฉะเชิงเทรา สมัคร 17 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า(อบรมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อบรมทีจังหวัดร้อยเอ็ด รุ่นละ 20 คน) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 39 ร้อยเอ็ด สมัคร 18 การทำเก้าอี้-โต๊ะ ทู อิน วัน(-) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสุโขทัยเต็ม 19 การตัดผมชายเบื้องต้น(กรุณาตรวจสอบมหมายโทรศัพท์และ E-Mail ให้ถูกต้อง) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 21 ภูเก็ต สมัคร 20 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการทำงาน 30ออนไลน์ 18 ธันวาคม 2566 21 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรีเต็ม 21 การตัดเย็บเสื้อผ้า(อบรมในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเท่านัน รุ่นละ 20 คน) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 39 ร้อยเอ็ด สมัคร 22 ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร(ฝึกอบรมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด รุ่นละ 20 คน) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 39 ร้อยเอ็ด สมัคร 23 การนวดหน้าเพื่อความงาม(ผู้ต้องขัง) 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 22 ธันวาคม 2566สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานยโสธร สมัคร 24 ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 30ปกติ 18 ธันวาคม 2566 21 ธันวาคม 2566สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรีเต็ม